3 daughters 1 son ...I love you...

sanooker_cute
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




สาวหน้าบี้ทั้ง 3 กับ 1 หนุ่มไซตัวโต๊โต
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sanooker_cute's blog to your web]
Links
 

 

o0o การดูแลขณะคลอดและหลังคลอด o0o

การดูแลขณะคลอด

ขณะที่แม่สุนัขที่พร้อมที่จะคลอดลูก เจ้าของสุนัขควรคอยดูออยู่ห่างๆ เว้นแต่ในรายของสุนัขที่คลอดยากหรือมีแรงบีบตัวของมดลูกน้อย ในกรณีนี้เจ้าของสามารถช่วยเหลือลูกสุนัขได้โดย :

1. ควรช่วยดึงลูกสุนัขเบาๆ โดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้า gauze จับลูกสุนัข การดึงต้องทำด้วยวิธีที่นุ่มนวลมากที่สุด และด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

2. หลังจากที่ช่วยดึงลูกสุนัขออกมาแล้ว จะต้องรีบดึงเยื่อเมือกที่หุ้มตัวลูกสุนัขออกให้หมดโ ดยเฉพาะส่วนหัวควรล้างเอาเยื่อเมือกต่างๆ
ออกจากปากและหลอดลม ขณะเดียวกันอาจจะจับลูกสุนัขเอาหัวลง สะบัดให้เยื่อเมือกออกจากปาก ลูกสุนัขจะเริ่มต้นการหายใจ

3. ทำการตัดสายสะดือ โดยใช้ไหม (silk) ที่ได้รับการฆ่าเชื้อโรคผูก และตัดสายสะดือห่างจากผนังช่องท้องประมาณ 1 1/ 2 นิ้ว

4. ใช้ผ้าแห้งที่สะอาดเช็ดเยื่อเมือกต่างๆ ทั่วตัวลูกสุนัข เป็นการกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบการห ายใจ

5. นำลูกสุนัขที่คลอดไปรับน้ำนมแรกคลอดจากแม่โดยเร็วที่ สุด เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะสามารถถ่ายทอดจากแม่มาสู่ลูกสุนัขได้ ้ ถ้าไม่สามารถทำการช่วยเหลือได้ เช่น ลูกสุนัขมีขนาดใหญ่มาก ควรพาไปพบสัตวแพทย์
แม่สุนัขหลังคลอดลูกและเลี้ยงลูก

อาหารที่ใช้เลี้ยงสุนัขที่เลี้ยงลูกไม่ได้มีให้เฉพาะ แม่สุนัขเท่านั้น แต่มันจะต้องถ่ายทอดไปให้ลูกสุนัขด้วย โดยการเปลี่ยนเป็นนม
ฉะนั้นปริมาณอาหารที่แม่สุนัขจะได้รับจะต้องเพิ่มขึ้นโดย

สัปดาห์แรก เพิ่มเท่าครึ่งจากปกติ
สัปดาห์ที่ 2 เพิ่มเป็น 2 เท่า
สัปดาห์ที่ 3 เพิ่มเป็น 3 เท่า

สิ่งที่ต้องเสริมเพิ่มเติมแก่แม่สุนัขได้แก่ แร่ธาตุ คือ แคลเซียมและฟอสฟอรัส เพราะแม่สุนัขให้นมลูก ทำให้ปริมาณแคลเซียมก็จะลดลงจนถึงระดับที่เกิดการขาด แร่ธาตุที่เราเรียกว่า ภาวะแคลเซียมต่ำ
แม่สุนัขจะแสดงอาการชัด เกร็ง น้ำลายไหลยืด ตัวร้อนจัดซึ่งจะเรียกว่า Milk Fever หรือไข้น้ำนม

เมื่อเจ้าของนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ซึ่งสัตวแพทย์จะฉีด แคลเซียมให้ อาการจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้โดยการเพิ่มเติมแคลเซียมลงไปในอาหารของแม่สุนัขเลี้ยงลูกตามคำแนะนำจากสัตว แพทย์
พร้อมกับให้จากแหล่งอาหารธรรมชาติคือ นม ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาได้ดี

การดูแลสุนัขแรกคลอด

ลูกสุนัขที่เกิดใหม่ควรให้อยู่ในที่อบอุ่นและเงียบสงบ โดยอาจจะปูผ้าให้นอนและหมั่นคอยเปลี่ยนผ้ารองเพื่อให้้มีความสะอาด และแห้งอยู่เสมอ และระวังอย่าให้ผ้าปิดจมูกลูกสุนัข มิฉะนั้นจะหายใจไม่ออก ลูกสุนัขที่มีสุขภาพดีเป็นปกติที่เพิ่งเกิด จะต้องการพักผ่อนและมักจะหลับเป็นเวลานาน หากลูกสุนัขตัวใดตะเกียกตะกายหรือส่งเสียงร้องตลอดเวลาเจ้าของควรจะดูแลใกล้ชิดและหาสาเหตุของความผิดปกติ ที่เกิดขึ้น การดูแลลูกสุนัขแรกคลอดสามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้คือ :
ลูกสุนัขแรกคลอด
-ให้ความอบอุ่น
-ให้อยู่ในที่เงียบสงบ
-ให้ได้รับน้ำนมจากแม่สุนัข (colostrum) โดยเร็วที่สุดซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากต่อความคุ้มโรคของลูกสุนัข

อายุ 2-3วัน - สายสะดือจะแห้งและหลุดออก
อายุ 3-4 วัน พาไปหาหมอเพื่อตัดหางและนิ้วติ่งออก (ในสุนัขบางพันธุ์)




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 30 ตุลาคม 2552 20:43:53 น.
Counter : 1489 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.