|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ธาลัสซีเมียและโรคพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก ป้องกันได้แล้ว!!
เมื่อก่อนก็ไม่ได้สนใจว่า โรคธาลัสซีเมีย ที่เค้าพูดๆ กัน มันคืออะไร เป็นยังไง แต่พอได้งานมาชิ้นนึง ที่ต้องทำโบรชัวร์เกี่ยวกับโรคนี้ ก็เลยต้องเอาใจมาใส่งานนี้ให้สำเร็จ แล้วก็อ่านๆๆ จนเริ่มรู้สึกหวั่นๆ ว่ามันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลตัวเรานี่เอง ก็คงจะเป็นการดีถ้าได้เอาเรื่องที่เรารู้ มาบอกต่อ อาจจะได้บุญไม่ใช่น้อย เผื่อจะรวยกะเค้ามั่ง อิอิ
อันนี้ได้มาจาก Forward Mail ที่เพื่อนส่งมาให้ ลองอ่านดูค่ะ ....................................................
ไม่อยากให้ลูกเสี่ยงเป็นโรคทางพันธุกรรม ทำได้แล้วนะ
จริงเหรอ? เรื่องจริงค่ะไม่ได้เม้าท์ ข้อมูลดีๆ แบบนี้ ไม่อ่าน ไม่ส่งต่อ เสียดายแย่ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ หลายคนเห็นว่าตัวเองแข็งแรงดี ไม่เคยเจ็บป่วย แต่หารู้ไม่ว่าตัวเราเองอาจเป็นพาหะของโรคพันธุกรรมต่างๆ ก็ได้ และคนที่จะได้รับผลร้ายนี้ ก็คือ ลูกของเราในอนาคตนั่นเอง
โรคพันธุกรรมใกล้ตัวที่คนไทยเป็นกันเยอะมากๆ ก็คือ โรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจาง โดยคนไทยทุกๆ 1 ใน 3 คน* มีความเสี่ยงที่จะเป็นพาหะของโรคนี้กันอย่างถ้วนหน้า ทำให้โอกาสที่พาหะกับพาหะจะแต่งงานกันก็มีมาก และเมื่อมีลูกด้วยกัน ลูกก็มีโอกาสป่วยเป็นธาลัสซีเมียถึง 1 ใน 4 คน โดยอีก 2 คนจะเป็นพาหะเช่นเดียวกับพ่อแม่ และมีแค่ 1 คนเท่านั้นที่ไม่เป็นอะไรเลย
เห็นมั้ยคะว่าเป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ใกล้ตัวมากแค่ไหน แล้วจะไม่ให้ดีใจกับข้อมูลนี้ได้ยังไง พอเสิร์ชเจอในอินเตอร์เน็ทก็ต้องรีบเซฟเก็บไว้ส่งต่อให้เพื่อนๆ รวมทั้งพี่สาวตัวเองด้วย เพราะเพิ่งตรวจพบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียเหมือนกัน และกำลังจะแต่งงานด้วยค่ะ อันนี้ขอเม้าท์พี่นิดนึง เห็นว่าต้องรีบฉุดกระชากลากตัวว่าที่พี่เขยของดิฉันไปตรวจเลือดกันยกใหญ่ ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือเปล่างานนี้ ไม่ได้ค่ะเรื่องนี้ จะมีครอบครัวกับเขาซะทีต้องรอบคอบกันหน่อย
เอาล่ะเข้าเรื่องกันเลย ที่ทราบมาว่าพ่อแม่ที่เป็นพาหะโรคพันธุกรรมจะป้องกันยังไง ไม่ให้โรคนี้ถ่ายทอดไปยังลูก ตอนนี้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การตรวจคัดกรองตัวอ่อน หรือ PGD-PCR ซึ่งทำร่วมกับวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว แต่จะมีขั้นตอนการตรวจอย่างละเอียดยิบถึงระดับยีนและโครโมโซม เพื่อเลือกเฟ้นตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรคและสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด ให้เป็นผู้โชคดีได้กลับเข้าไปอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ต่อไป ได้ยินแล้วก็ทึ่งซะไม่มีว่าตอนนี้เขาทำได้ถึงขนาดนี้กันแล้ว ใครที่อยากรู้รายละเอียด ลองอ่านเข้าไปดูในเว็บไซต์ที่ให้ไว้ด้านล่างค่ะ แล้วจะรู้ว่าผู้เขียนไม่ได้คิดไปเอง
ที่น่าปลื้มมากๆ ก็คือ เทคโนโลยี PGD-PCR ที่ช่วยให้คู่รักหลายคู่มีลูกสำเร็จได้ด้วยดีอันนี้ เป็นผลงานของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และนักวิทยาศาสตร์คนไทยของเรานี่เอง จาก ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. (Superior A.R.T.) ศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน เทคโนโลยีล้ำๆ แบบนี้ คนไทยก็ทำได้ เก่งใช่มั้ยล่ะคะ
สำหรับใครที่ยังลังเลว่าจะเสี่ยงมีลูกเองตามธรรมชาติดีมั้ย แบบว่าโชคดีก็ดีไป โชคร้ายลูกก็อาจจะได้รับมรดกตกทอดจากพ่อแม่ เป็นโรคร้ายต่อๆ กันไปอีกหนึ่งชีวิต จะดีเหรอ? อยากให้ลองไปศึกษาดูค่ะ จะได้รู้ว่าชีวิตนี้มีอะไรตั้งหลายอย่างที่เราเลือกได้ รวมทั้งเลือกสุขภาพที่ดีให้กับลูกของคุณในอนาคตได้อีกด้วย โชคดีนะคะ
ที่มา: //www.thaisuperiorart.com * ข้อมูลจากโครงการวิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
....................................................
ประเดิมบล็อกแรกเรื่องสุขภาพ ด้วยข้อมูลดีๆ มีประโยชน์ ผิดไปจากเรนคนเดิมมากมาย อิอิ จะได้อัพตัวเองเป็นคนมีสาระมากขึ้น เพื่อนๆ ไม่ต้องตกใจว่าเข้าบล็อกผิดรึป่าว หวังว่าเข้ามาแล้ว จะได้อะไรดีๆ กลับไปเช่นกัน สวัสดีค่า
Create Date : 18 พฤษภาคม 2552 |
|
3 comments |
Last Update : 19 พฤษภาคม 2552 0:52:01 น. |
Counter : 1497 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: ชากีร่า 18 พฤษภาคม 2552 22:47:51 น. |
|
|
|
| |
โดย: สายลม...แห่งรัก IP: 58.137.132.252 20 พฤษภาคม 2552 11:43:35 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]
|
โชคดีนะ..ที่โลกกลม และหมุนรอบตัวเอง ไม่อย่างงั้นเราคงไม่ได้เจอกัน
โชคดีที่เรายังมีฝันให้วิ่งตามหา เป็นการออกกำลังกายและใจไปในตัว
แล้วเธอล่ะ.. คิดว่าโชคดีหรือโชคร้าย ที่ได้มารู้จักกัน :) แต่ถ้าเธอเคยมีความฝัน อย่างน้อยเราก็มีบางอย่างที่คล้ายกันแล้วนะ
ยินดีที่ได้รู้จักจ้ะ*-*
|
|
|
|
|
|
|