ปกติแล้วในการดำเนินการสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียน สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คงจะเป็นปรัชญาและวิสัยทัศน์ และแน่นอนสำหรับหลักสูตรของเด็กปฐมวัยก็เช่นกัน ในหลักสูตรสำหรับพวกเขาแล้วจำเป็นต้องมีสองสิ่งนี้ เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามวิสัยทัศน์กว้างไกลที่ควรจะเป็น โดยตรงจุดนี้ถือเป็นสาระสำคัญของหลักสูตร ที่ผู้สอนต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ก่อนที่จะเริ่มลงมือสอนและอบรมบ่มเพาะแก่เด็ก และสำหรับวันนี้ ‘รัฐกุล’ มาพร้อมกับสาระสำคัญของหลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 อย่าง “ปรัชญา” และ “วิสัยทัศน์” ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ถูกกำหนดไว้ให้มีแนวทางการปฏิบัติอย่างไรบ้าง เราได้สรุปให้ทุกคนเข้าใจในบทความนี้แล้ว ถือว่าบทความนี้เป็นอีกหนึ่งตอนของซีรีส์ “หลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560” ที่เรานำมาย่อยให้ทุกคนให้อ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น มาค่ะ มาดูกันว่าเนื้อหาแบบสรุปจะเป็นเช่นไร อยากเข้าใจอย่ารอช้า อ่านบทความนี้ได้เลย
* ปรัชญา หมายถึง ความรู้,ความปรารถนาจะเข้าถึงความรู้ และ วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ** วิสัยทัศน์ หมายถึง เป้าหมายที่มีลักษณะกว้าง มองการณ์ไกลและวางแผนไปถึงอนาคต ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ได้มีการกำหนดปรัชญาแห่งการเรียนรู้ที่ว่าด้วยการคำนึงถึงความสมดุล ของการพัฒนาในตัวเด็กให้สมกับวัย โดยปรัชญาสำหรับการศึกษาปฐมวัยนั้นต้องสะท้อนภาพให้เห็นถึง ‘ความเชื่อ’ พื้นฐานในการพัฒนาเด็กในช่วง อายุแรกเกิด – 6 ปี โดยต้องให้การอบรมดูแลเด็กให้มีการพัฒนาโดยองค์รวม ซึ่งได้แก่ สุขภาพ จิตใจ สภาพสังคม และ สติปัญญา ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องกับตัวเด็กต้องให้ความร่วมมือที่สอดคล้องกัน หมั่นสอดส่องดูพัฒนาการของเด็กว่าพัฒนาไปทางด้านไหน และบกพร่องทางด้านไหน ยอมรับถึงความแตกต่างของตัวเด็กที่มีการพัฒนาการอาจจะไม่เท่ากัน และหมั่นสอนเขาด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ทำให้เขารู้สึกมีความสุขกับการใช้ชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
สรุป ผู้สอน/ผู้ปกครอง → เด็ก → สอนและอบรมเพื่อพัฒนาเด็กได้ครบองค์รวม วิสัยทัศน์การศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับปี 2560 ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหวังของการพัฒนาของเด็ก ให้สามารถไปได้ไกลและทำได้จริงในอนาคตข้างหน้า โดยวิสัยทัศน์ที่ตั้งเป้าหมายไว้นั้นจะสั่งสอนผ่านประสบการณ์ ที่เด็กได้เจอ โดยผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องต้องคอยอธิบายเพื่อให้เขาเข้าใจถึงประสบการณ์ที่เขาได้เรียนรู้นั่นเอง โดยนอกจากประสบการณ์แล้ว ผู้สอนและผู้ปกครองอาจจะต้องสอดแทรก ‘ทักษะการใช้ชีวิต’ ให้เขาได้เรียนรู้ ให้เขาสามารถใช้ชีวิตในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ปฏิบัติตนตามหลักพลเมืองดีและใช้ชีวิตตามวิถีพอเพียง เพื่อให้เขาได้ยึดเป็นหลักในการใช้ชีวิตในภายภาคหน้า
สรุป ผู้สอน/ผู้ปกครอง → เด็ก → สั่งสอนผ่านประสบการณ์ ให้เขาได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตที่ดีไปจนถึงอนาคตข้างหน้า “หลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560” เห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการพัฒนาของเด็กทุกคน จึงเน้นย้ำในการให้ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง เช่นผู้ปกครองมีส่วนร่วมกันในเรื่องนี้ เพราะว่าการจะหล่อหลอมเด็กมาสักคนหนึ่งนั้น ความรู้ความเข้าใจในหลักการเรียนรู้และหลักการใช้ชีวิตนั้นต้องมาควบคู่กันเสมอ นอกจากนี้ต้องวางแผนสำหรับเขาให้ได้พัฒนาไปได้ไกลกว่าเดิมในอนาคตในทุกด้าน ทั้งสังคม จิตใจ สุขภาพ และสติปัญญา เพื่อให้เขาได้เติบโตมาอย่างมีความสุขในสังคมที่เขากำลังอยู่นั่นเอง
Create Date : 25 กรกฎาคม 2564 |
Last Update : 1 สิงหาคม 2564 11:54:28 น. |
|
0 comments
|
Counter : 5120 Pageviews. |
|
|