“รัฐกุล” คือผู้จัดทำเอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย ทั้งในส่วนของบัญชีเรียกชื่อและสมุดบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ และสมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย เพื่อใช้ในการบันทึกและประเมินผลของพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งมีมาตรฐานตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิคอยกำกับดูแลเนื้อหาให้ถูกต้องชัดเจน โดยเนื้อหาสาระ (ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์) ในเอกสารการประเมินพัฒนาการของรัฐกุลบางส่วนนั้น ไม่ได้ตรงกันกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 100% เพราะมีจำนวนข้อของตัวบ่งชี้บางตัว และจำนวนข้อของสภาพที่พึงประสงค์บางตัวในเอกสารการประเมินพัฒนาการของ หจก.รัฐกุล (ศพด.01/-ศพด.02 และ อ.01 / อ.02) ที่ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ? ก่อนที่จะไปอธิบายถึงที่มาและที่มาไปและสาเหตุของการที่มีข้อมูลบางส่วนไม่ตรงกันนั้น ต้องบอกก่อนว่า…ในส่วนของพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาในการพัฒนาและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นตรงกัน! ส่วนประเด็นในเรื่องจำนวนข้อของตัวบ่งชี้บางตัว และจำนวนข้อของสภาพที่พึงประสงค์บางตัวไม่ตรงกันนั้น มาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้ คณะทำงานยกร่างเอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 พบว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ได้กำหนดจำนวนตัวบ่งชี้ของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์บางมาตรฐาน ไม่สอดคล้องกับหลักการทางวิชาการที่ควรจะเป็น กล่าวคือ ใน 1 มาตรฐาน ควรกำหนดตัวบ่งชี้ไว้ไม่น้อยกว่า 1 ตัวบ่งชี้ และใน 1 ตัวบ่งชี้ ควรกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ไว้ไม่น้อยกว่า 1 สภาพที่พึงประสงค์ ทว่ามีบางมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ได้กำหนดไว้เพียง 1 ตัวบ่งชี้ หรือใน 1 ตัวบ่งชี้ ได้กำหนดไว้เพียง 1 สภาพที่พึงประสงค์ หรือใน 1 สภาพที่พึงประสงค์ ควรกำหนดพฤติกรรมที่เด็กควรแสดงออกได้ตามวัยเพียง 1 พฤติกรรม เพื่อความชัดเจนของการประเมิน แต่ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 บางจุดประสงค์ได้กำหนดไว้เพียง 1 ข้อ แต่มีพฤติกรรมหลายพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้ครูที่ทำการประเมินยุ่งยากในการประเมิน อันจะนำมาซึ่งความไม่ชัดเจน และตรงกับผลการประเมิน ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทาง หจก.รัฐกุล จึงได้ทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักวิชาการ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คุณครูผู้ประเมิน อันจะส่งผลให้เกิดความง่ายต่อการประเมิน และตรงกับสภาพความเป็นจริง ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการประเมินอย่างแท้จริง จุดที่แบบประเมินของรัฐกุลแตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560
ตัวอย่างจุดที่ 1 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 1 : ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี คุณลักษณะที่ 1.1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยสภาพที่พึงประสงค์ - มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
- มีเส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์
เอกสารการประเมินพัฒนาการของ หจก.รัฐกุล ศพด.หรือ อ.01/ต และ ศพด.หรือ อ.02/ต สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 1 : ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี คุณลักษณะที่ 1.1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยสภาพที่พึงประสงค์ - มีน้ำหนักตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
- มีส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
- มีเส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
จะเห็นได้ว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 กำหนดไว้ 2 สภาพที่พึงประสงค์ แต่รัฐกุล กำหนดไว้ 3 สภาพที่พึงประสงค์ โดยแยกน้ำหนักและส่วนสูงออกจากกัน เนื่องจากหน่วยในการชั่งน้ำหนักและหน่วยในการวัดต่างกัน หากนำมารวมกัน คุณครูปฐมวัยผู้ประเมิน จะประเมินได้ยาก และผลการประเมินจะไม่ชัดเจน ตามสภาพความเป็นจริง จึงได้แยกข้อออกจากกัน ทำให้มีจำนวนข้อ เพิ่มขึ้นเป็น 3 ข้อ และได้เพิ่มสาระของเกณฑ์ให้ชัดเจน ว่าเป็นเกณฑ์ของกรมอนามัย ตัวอย่างจุดที่ 2 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 คุณลักษณะที่ 1.2 มีร่ายกายแข็งแรงสภาพที่พึงประสงค์ - มีภูมิต้านทานโรค ไม่ป่วยบ่อย ขับถ่ายเป็นเวลา นอนและพักผ่อนเหมาะสมกับวัยเอกสารการประเมิน พัฒนาการของ หจก.รัฐกุล
คุณลักษณะที่ 1.2 มีร่ายกายแข็งแรงสภาพที่พึงประสงค์ - มีภูมิต้านทานโรค
- ไม่ป่วยบ่อย
- ขับถ่ายเป็นเวลา
- นอนและพักผ่อนเหมาะสมกับวัย
จะเห็นได้ว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 กำหนดไว้ 1 สภาพที่พึงประสงค์ โดยพฤติกรรมที่สมควรมี 4 พฤติกรรมมารวมกันในข้อเดียว หจก.รัฐกุล จึงได้กำหนดสภาพที่พึงประสงค์ไว้ 4 ข้อ โดยแยกพฤติกรรมที่สมควรมี 4 พฤติกรรม ที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 เอามารวมกันเป็นข้อเดียวนั้นออกจากกัน เพื่อให้คุณครูปฐมวัยผู้ประเมินสามารถประเมินได้ง่ายขึ้น และมีผลการประเมินที่ชัดเจน ตรงสภาพตามความเป็นจริง เพราะหากนำมารวมกัน คุณครูผู้ประเมิน จะประเมินได้ยาก เพราะแต่ละพฤติกรรมมีลักษณะเฉพาะของตนเอง และผลการประเมินจะไม่ชัดเจน ไม่เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง ตัวอย่างจุดที่ 3 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560เด็กอายุ 3-6 ปี มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 1 : ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัยสภาพที่พึงประสงค์ 1.น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัยเอกสารการประเมินพัฒนาการของ หจก.รัฐกุล ศพด.หรือ.01/1-3 และ ศพด.หรือ อ.02/1-3 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 1 : ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยดี ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัยสภาพที่พึงประสงค์ - มีน้ำหนักตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
- มีส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
จะเห็นได้ว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 กำหนดไว้เพียง 1 สภาพที่พึงประสงค์ โดยเอาน้ำหนักและส่วนสูงมารวมกัน ส่วน หจก.รัฐกุล ได้กำหนดไว้ 2 สภาพที่พึงประสงค์ โดยแยกน้ำหนักและส่วนสูงออกจาก เนื่องจาก หน่วยในการชั่งน้ำหนักและหน่วยในการวัดต่างกัน หากนำมารวมกัน คุณครูผู้ประเมิน จะประเมินได้ยาก และผลการประเมินจะไม่ชัดเจน ไม่ตรงตามสภาพความเป็นจริง จึงได้แยกข้อออกจากกัน ทำให้มีจำนวนข้อ เพิ่มขึ้นเป็น 2 ข้อ ซึ่งจะทำให้ครูผู้ประเมิน สามารถประเมินพฤติกรรมดังกล่าวได้ง่ายขึ้น และมีผลการประเมินที่ชัดเจน ตรงสภาพตามความเป็นจริง
ตัวอย่างจุดที่ 4 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นสภาพที่พึงประสงค์ 1.3.1 เล่นและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัย เมื่อมีผู้ชี้แนะเอกสารการประเมินพัฒนาการของ หจก.รัฐกุล ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นสภาพที่พึงประสงค์ 1.3.1 เล่นและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัยเมื่อมีผู้ชี้แนะ 1.3.2 ปฏิบัติตนต่อความปลอดภัยของตนเอง จะเห็นได้ว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 กำหนดไว้ 1 สภาพที่พึงประสงค์ ส่วน หจก.รัฐกุล ได้กำหนดไว้ 2 สภาพที่พึงประสงค์ เหตุผลที่ต้องเพิ่มจำนวนสภาพที่พึงประสงค์อีก 1 ข้อนั้น ได้ยึดหลักการทางวิชาการ ที่กำหนดไว้โดยทั่วไปว่า 1 มาตรฐาน ต้องมีมากกว่า 1 ตัวบ่งชี้ และ 1 ตัวบ่งชี้ ต้องมีมากกว่า 1 สภาพที่พึงประสงค์ สาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นนั้น ได้พิจารณาให้สอดคล้องกับสาระของตัวบ่งชี้ และสอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
Create Date : 08 เมษายน 2564 |
Last Update : 23 เมษายน 2564 14:48:19 น. |
|
0 comments
|
Counter : 734 Pageviews. |
|
|