เมื่อความรักมาบรรจบ...ความสุขก็เริ่มต้นขึ้น
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
4 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
การแพทย์แผนจีน ศาสตร์แห่งการรักษาพันปี




การแพทย์แผนจีน ศาสตร์พันปีกับการดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอว

โดย : นายแพทย์กิตติศักดิ์ เก่งสกุล
พ.บ. ศูนย์การแพทย์ฝังเข็ม รพ.วิชัยยุทธ
อุปนายกสมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพรแห่งประเทศไทย




มุมมองของแพทย์แผนปัจจุบัน WESTERNIZED MEDICINE

สาเหตุของอาการปวดหลัง Low back pain ที่พบบ่อย มี 4 ประการ

1. กล้ามเนื้อ
= Back muscle sprain + spasm

2. เส้นเอ็น
= Chronic Lower Lumbar Ligamentous strain

3. กระดูก
= Lumbar spondylosis

4. หมอนรองกระดูก
= Prolapsed Lumbar disc



3 และ 4 อาจมีการกดทับระคายเส้นประสาท เช่น ประสาท sciatic(sciatica) ร่วมด้วย

มุมมองของแพทย์แผนจีน

อวัยวะและเส้นลมปราณ (Jing-Lou) ที่เกี่ยวข้องกับ Low back pain ประกอบด้วย ไต กระเพาะปัสสาวะ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี

ไต ในทางการแพทย์จีนมีหน้าที่ควบคุม กระดูก ไขกระดูก ไขสมอง (คือสมองและไขสันหลังและเส้นประสาททั้งหมด) และมีหน้าที่เสริมบำรุงกล้ามเนื้อหลัง

กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะคู่กับไต จึงมีผลต่อกัน

ตับ มีหน้าที่ควบคุมเส้นเอ็น(ligament และ tendon)

ถุงน้ำดี เป็นอวัยวะคู่กับตับ จึงมีผลต่อกัน

ม้าม มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อทั้งหมด


เมื่อมองในสายตาของแพทย์แผนจีน สาเหตุแห่งโรคปวดหลังเกิดจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ

1. ถูกรุกรานด้วยอิทธิพลของความเย็นและความชื้น
เพราะมี exposure ของร่างกายบริเวณหลังและท้องต่อภูมิอากาศที่เย็นและมีความชื้นมาก ยกตัวอย่างเช่น หลังออกกำลังกายยังใส่เสื้อผ้าที่เปียกชุ่มเหงื่ออยู่เป็นเวลานานหรือการเดินตากฝนแล้วไม่เปลี่ยนเสือผ้า

2. เกิดจากการปิดกั้น-คั่ง (stagnation) ของ Qi และ Blood
เช่น เกิดจากอุบัติเหตุบริเวณนี้หรือ sprain จากการทำงาน การออกกำลังกายมากเกินไปหรือไม่ถูกต้อง

3. เกิดจากภาวะพร่องของไต

ในเพศชายเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์มากเกินไป
ในเพศหญิงอาจเกิดจากการมีการตั้งครรภ์บ่อยและมากเกินไปหรือการพักผ่อนบำรุงระหว่างคลอด-หลังคลอดไม่เพียงพอ เหล่านี้ทำให้ Qi และ Yang ของไตถูกใช้ไปมากและบกพร่องลง โดยปกติ Qi และ Yang ของไตมีหน้าที่ส่งการบำรุงให้กลับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขา , เข่า เมื่อพร่องก็จะปรากฎอาการปวดหลัง เมื่อยขา เข่าอ่อนไม่มีกำลัง

อาการใช้ที่แยกกัน

- พวกที่มี Stagnation ของ Qi และ Blood (2) จะมีอาการปวดรุนแรง เป็นลักษณะ stabbing pain(ปวดเหมือนถูกแทง) และหากมีการขยับ ออกกำลังกายเบาๆจะรู้สึกดีขึ้น

- พวกที่เกิดจากไตพร่อง(kidney difficiency) จะเป็นอาการปวดตื้อๆ( dull ache) และอาการจะดีขึ้นเมื่อได้ rest

- พวกที่เกิดจาดความชื้นเย็น (DAMP+COLD) อาการจะแย่ลงเวลาอากาศเย็นตอนเช้ามืด พอสายๆก็ทุเลา หากประคบอุ่นๆ อาการก็จะดีขึ้น

หลักการรักษาคือ

ต้องฝังเข็มแบบระบาย - ในจุดที่เจ็บ (Ah shi – อาฃื่อ), - ในจุดระบาย

ต้องบำรุงในจุดที่เป็นจุดบำรุง ไต ตับ ม้าม

ใช้จุดบนเส้นลมปราณ DU MAI ซึ่งอยู่ในแนวกลางหลังมาช่วย
ใช้จุด Hua Tou JiaJi (ห่างจาก Mid line of back 0.5 cun)

และจุด Shu (ห่างจาก Mid line of back 1.5 cun) ที่ใกล้เคียงมาช่วยด้วย
รวมทั้งใช้จุด Extrapoint นอกเส้นลมปราณหลักมาช่วยด้วย

• การใช้ยาลนโกฏิ์จุฬารัมภา (MOXA) มาช่วยลนให้ความอบอุ่นต่อจุดฝังเข็มหรือติดด้ามเข็มขณะฝังเข็ม จะช่วยให้มีการระบายความชื้น ความเย็น และช่วยให้ Qi และ Blood ไหลเวียนดีขึ้นเป็นการแก้ Stagnation ของ Qi และ Blood

• การใช้วีธีการครอบแก้วสุญญากาศเป็นอีกวิธีในการระบายและปรับการไหลเวียนเลือดและ Qi ไม่ให้ติดขัด

จุดฝังเข็มที่ Effective ที่ใช้บ่อย
ประกอบด้วยจุดบริเวณที่ปวด (Local Point) และจุดไกล (Distance Point)








Create Date : 04 เมษายน 2551
Last Update : 25 พฤษภาคม 2551 21:59:25 น. 0 comments
Counter : 1929 Pageviews.

RabbitRose
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




ติดต่อ RabbitRose ทางเฟสบุ๊คจะสะดวกรวดเร็วที่สุดค่ะ
Friends' blogs
[Add RabbitRose's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.