ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
อุโบสถแห่งกาลเวลา ยืนหยัดมากว่า100 ปี

อุโบสถแห่งกาลเวลา ยืนหยัดมากว่า100 ปี

ที่วัดสีหยัง อยู่ริมถนนทางหลวงสงขลา-นครศรีธรรมราช สร้างเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2310 

อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนฐานสูง มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียวทางด้านหน้า รอบอุโบสถมีลานทักษิณาวัฎ มีหน้าต่างด้านละ 2 ช่อง ขอบประตูและหน้าต่าง ตกแต่งด้วย ลวดลายปูนปั้นเป็นรูปวงโค้งและเทวดาหน้าบัน ด้านหน้ามีลายปูนปั้นลายดอกพุดตานใบเทศ มีบุคคลเป็นส่วนประกอบ ตรงจั่วมีช่อฟ้าใบระกา มีปั้นลมรูปหัวนาคแทนหางหงส์ ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย ฝีมือช่างท้องถิ่น

วัดสีหยัง อยู่ริมถนนทางหลวงสงขลา-นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่เลขที่ 127 บ้านสีหยัง หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 33 ไร่ 3 งาน น่าจะสร้างในสมัยศรีวิชัยประมาณ พ.ศ.2310 เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วประมาณ พ.ศ.2320 เดิมมีนามว่า "วัดสีกุยัง" หนังสือกัลปนาวัดหัว เมืองพัทลุงสมัยอยุธยาเรียกว่า "วัดศรีกูยัง" โดยอุโบสถและศาลาการเปรียญเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านของ สงขลา เป็นวัดที่พระราชมุนีสามีราม (หลวงพ่อทวด) เมื่อครั้งเป็นสามเณรมาศึกษาธรรมบททศชาติก่อนไปบวชที่วัดดีหลวง 




     โบราณสถานและโบราณวัตถุที่ควรค่าแก่การชม คือ 

     ฐานเจดีย์ก่อด้วยอิฐดินเผาและปะการัง ใช้ยางไม้ชนิดหนึ่งแทนการสอปูน เรียงอิฐแบบไม่มีระบบ ซึ่งเป็นเทคนิคของช่างสมัยศรีวิชัย เดิมสันนิษฐานว่าองค์เจดีย์มีรูปทรงแบบ มณฑปพระบรมธาตุไชยา ต่อมาได้หักพังลงเหลือแต่ฐานเจดีย์ ศาสนาจารย์บวชเซอลิเยร์ นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัย ศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18) 

     อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนฐานสูง มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียวทางด้านหน้า รอบอุโบสถมีลานทักษิณาวัฎ มีหน้าต่างด้านละ 2 ช่อง ขอบประตูและหน้าต่าง ตกแต่งด้วย ลวดลายปูนปั้นเป็นรูปวงโค้งและเทวดาหน้าบัน ด้านหน้ามีลายปูนปั้นลายดอกพุดตานใบเทศ มีบุคคลเป็นส่วนประกอบ ตรงจั่วมีช่อฟ้าใบระกา มีปั้นลมรูปหัวนาคแทนหางหงส์ ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย ฝีมือช่างท้องถิ่น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 90 ปี มาแล้ว 


     เทวรูปสำริด เป็นเทวรูปสำริดถือรวงข้าว ชาวบ้านเล่าว่า พบขณะขุดหลุมสร้างโรงเรียนวัดสีหยัง บริเวณวัดสีหยังจะมีคูขุดล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีความกว้างประมาณ 200 เมตร คูกว้าง 30 เมตร ปัจจุบันแนวคูได้ตื้นเขินไปมากแล้ว 

     เมื่อปี พ.ศ.2522 หน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กองโบราณคดี ได้สำรวจขุดแต่งบูรณะวัดสีหยัง พบว่ามีซากสถูปก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่ในเนินดินเป็นสถูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนบนหัก หายไป มีการใช้หินปะการัง ซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นรูปบัวของสถูปแทนอิฐ ส่วนต่อระหว่างฐานรากและองค์เจดีย์ที่ต่อขึ้นไปด้านหน้าฐานเจดีย์ มีฐานวิหารเหนือเป็นเนินดิน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจเป็นวิหารที่สร้างเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาหรืออาจมีมาแต่เดิมก็ได้ 

     นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาและแบบเคลือบ และยังเคยพบ ประติมากรรมสำริดในบริเวณใกล้เคียง เป็นเทวรูปสำริดพระกรถือรวงข้าว (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ ที่วัดสีหยัง) และบริเวณรอบ ๆ สถูปยังปรากฎคันคูดินโบราณที่บ่งบอกถึงความเป็นชุมชนโบราณอยู่ด้วย 




     ภายในโบสถ์วัดสีหยัง มีรูปเหมือนหลวงพ่อทวดขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นหลวงพ่อทวดที่จัดสร้างโดยนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.ปี 5 เมื่อปี พ.ศ.2550 ด้วยแรง ศรัทธาอย่างแรงกล้า โดยใช้งบประมาณในการสร้าง 300,000 บาท 

     หลวงพ่อทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ มีนามเดิมว่า ปู เป็นบุตรนายหู นางจัน วันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู บ้างว่าเป็นเดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ.2125 บ้างว่าปี พ.ศ.990 ฉลู สัมฤทธิศก บ้างว่า พ.ศ.2131 โดยอนุมาน เข้าใจว่าคงเป็นปลายสมัยมหาธรรมราชา อาจเป็นปี พ.ศ.2125 หรือ 2131 ตอนเด็กชายปูยังเป็นทารก มีเรื่องเล่าเป็นปาฎิหาริย์เอาไว้ ว่า หลังจากนางจันเลิกอยู่ไฟก็ออกเกี่ยวข้าวทันที 

     วันหนึ่งนางไปเก็บข้าวก็ให้บุตรนอนเปลใต้ต้นหว้า งูบองสลาขึ้นมานอนบนเปลนั้น มารดาและบิดาเห็นงูก็ตกใจ งูก็เลื้อยหายไป แต่ได้คายแก้ววิเศษเอาไว้ให้ เมื่อเด็กชายปูอายุได้ 7 ขวบ บิดาได้นำไปฝากกับท่านสมภารจวง ซึ่งเป็นพี่ชายของนางจันผู้เป็นมารดา (หลวงลุง) วัดกุฎิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว 

     ครั้นอายุได้ 10 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณร และบิดาได้มอบแก้ววิเศษให้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับพระชินเสนที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่ เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงมากมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อได้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ต่อมาได้เข้ารับการอุปสมบท มีฉายาว่า "ราโมธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกว่า "เจ้าสามีราม" 

ข้อมูลโดย เทศบาลตำบลบ่อตรุ
ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 90140





Create Date : 30 กรกฎาคม 2556
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 10:06:38 น. 0 comments
Counter : 1102 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

poneak
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




<<สังคมเพื่อการเรียนรู้ และแบ่งปัน>>
หลังเกษียณแล้วมีเวลาว่างมาก เพราะไม่มีงานอื่นทำ พอมีความรู้เรื่องคอมพิ้วเตอร์และอินเตอร์เน็ตอยู่บ้าง อยากจะมีเว็ปเป็นของตัวเอง เพื่อเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น หวังว่าเพื่อนๆสมาชิกคงไม่รังเกียจนะครับ
Blogนี้จะแสดงผลได้ดีใน Browser Google Chrome ท่านที่ใช้ FireFox หรือ IE. อาจจะมีปัญหาในการแสดงภาพ และเสียง
New Comments
Friends' blogs
[Add poneak's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.