Ploy Journey Journal.........Welcome to my world
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 มีนาคม 2561
 
All Blogs
 

Ellora Caves in Arungabad



ไปกันต่อที่ Ellola CAve


เรามาอ่านรายละเอียดการแบ่งกลุ่มถ้ำของเอลโลร่าตามศาสนาคร่าวๆกันก่อน


ขี้เกียจอ่านก็ข้ามไป...


ถ้ำเอลโลร่า ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก UNESCO ปีเดียวกับ อชันตา ตั้งอยู่ในเทือกเขาจรนันทรี (Charanandri Hills) อยู่ห่างจากอรังคบาต ประมาณ 30 กม. ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ถ้ำรู้จักกันในภาษามราฐี ว่า ถ้ำเวรุล เลนี (Verul Leni) ประกอบด้วยถ้ำ 34 ถ้ำ เรียงตัวเป็นระยะทางประมาณ 2 กม.  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ศาสนา


1. พุทธศาสนา มี 12 ถ้ำ สร้างในพุทธศตวรรษที่ 11 -13 มีชื่อเรียกรวมว่าถ้ำวิศวกรรม (Vishvakarma) ทุกถ้ำจะเป็นวิหาร ยกเว้นหมายเลข 10 จะเป็นพระอุโบสถ


บรรดาถ้ำกลุ่มนี้ ถ้ำหมายเลข 6 ภายในจะมีสถาปัตยกรรมพระโพธิสัตว์ทารา ซึ่งเป็นเทพแห่งการหลุดพ้นและเชื่อกันว่าเปป็นเทพที่บันดาลให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน  และปฏิมากรรมเทพีมหามยุรี (Mahamayuri) ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาและความรู้


ถ้ำที่ 2 จะเป็นถ้ำขนาดใหญ่ค้ำจันด้วยเสาหินใหญ่ 12 ต้น มีปฏิมากรรมพระพุทธรูปนูนสูงของพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆที่เคยอุบัติมาแล้ว เรียงรายบนกำแพง และผนังทั้ง 2 ด้านของช่องทางเดินสู่ห้องพระประธานปประดับด้วยรูปสลักพระโพธิสัตว์อโลกิเตศวร (ปัทมปาณี) และพระศรีอริยเมไตรย์  ถ้ำที่ 11 และ 12 เจาะหน้าผาเป็นวิหาร 3 ชั้น ถ้ำที่ 11 จะเป็นห้องประดิษฐานพระพุทธรูปและเทวรูปพระคเณศ กับพระแม่ทุรคา  บนผนังห้องของถ้ำ 12 จะมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์ 5 พระองค์ ขนาบด้วยรูปพระพุทธเจ้า 7 พระองค์


2. กลุ่มศาสนาฮินดู

มีทั้งหมด 13 ถ้ำ โดยเริ่มจากถ้ำที่ 17-29 สร้างสมัยพุทธศตวรรษที่ 12-15 อยู่ระหว่างถ้ำพุทธและเชน

ถ้ำหมายเลข 16 เป็นถ้ำที่โดดเด่นที่สุด ซึ่งเรียกว่า "ไกรลาส"  สร้างโดยพระเจ้ากฤษณะที่ 1 แห่งราชวงศ์ราษฎระกูฎ  เกิดจากการแกะสลักภูเขาทั้งลูก ทรงคล้ายพระปรางค์ เลียนแบบเขาไกรลาส มีซ้ำประตูทางเข้าสูงสองชั้น ด้านในเป็นนนทิมณฑป ประดิษฐานรูปสลักลอยตัวโคนนทิ ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ  ถัดเข้าไปเป็นวิหาร 2 ชั้น ด้านในสุดปประดิษฐานศิวลึงค์ รอบฐานวิหารล้อมรอบด้วยปฏิมากรรมรูปช้าง  รอบตัวไกรลาสจะเป็นระเบียงคตรูปตัวยู  บนผนังจะบอกเล่าวีรกรรมของพระศิวะและอวตารของพระวิษณุ  ผนังด้านหลังของตัววิหารมีหินแกะเรื่องรามายณะ ตอนทศกัณฑ์ยกและเขย่าไกรลาส เพื่ออวดอำนาจของตน แต่พระศิวะใช้แค่นิ้วเท้าของพระองค์ประคองเขาทั้งลูกไว้


3. ศาสนาเชน

ได้แก่ถ้ำที่ 30-34 เป็นถ้ำที่สร้างหลังสุด ในช่วงสตวรรษที่ 15-16 โดยศาสนิกชนเชนนิกายทิฆัมพร (ทิฆัมพร เป็นนิกายที่นักบวชต้องเปลือยกาย เพราะไม่ยึดถือสิ่งใดๆเลย และนิกายเศวตัมพร นักบวชจะนุ่งหม่ขาว)  ขนาดไม่ใหญ่แต่ด้านในวิจิตรงดงามมาก มีภาพเขียนเฟรสโก้ในถ้ำ


บรรดาถ้ำทั้ง 5 ของศาสนาเชน มีที่เด่นก็คือถ้ำ 32 เรียกว่า อิทรสภา (Indra Sabha) ซึ่งเป็นวิหาร 2 ชั้น ด้านบนมีภาพแกะสลักสวยงาม ชั้นล่างประดิษฐานศาสดามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน โดยมีรูปสลักนูนสูงนางยักษีมตังคะ (Matanga) ซึ่งแสดงถึงความมั่งคั่งและสิทธยิกะ(ความกรุณา) ยืนเฝ้าหน้าประตู  ตามผนังทางเดินมีรูปสลักศาสดาทั้ง 24 องค์



มาเริ่มของจริงกันเลย...


ซื้อตั๋วค่าเข้าชม




และไปจ่ายค่าบัส บังคับซื้อ roundtrip คนนึงประมาณ 16 หรือ 20Rps ประมาณนี้ค่ะ นั่งบัสเข้าไปในสุดถึงถ้ำแรกของศาสนาเชน




ที่ด้านล่างฝั่งซ้าย





ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่นักบวชจะไม่ถือครองสิ่งใด แม้แต่กระทั่งเสื้อผ้า






ที่ใต้ถุนของชั้นล่าง เค๊าว่าลูบท้องท่านแล้วจะร่ำรวย สังเกตจากร่องรอยว่าผ่านการลูบมามากมายค่ะ



ถึงแม้ว่าจะไม่ยึดติด ไม่สวมใส่อาภรณ์ใดๆ แต่ของของเค๊าก็วิจิตรยิ่ง  เอิ่ม..ไหนว่าสมถะ...





ขึ้นไปที่ด้านบนชั้น 2  ที่ด้านหน้า

แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์  ความมั่งคั่ง




ด้านบนเพดานเป็นสีเฟรสโก้เขียน ด้านในเป็นท่ามหาวีระ





ภาพเขียนชำรุดไปมากๆ 




ท่ามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน




ด้านหน้าประตูจะเป็นศาสดาองค์ก่อน องค์ที่ 1-17 




ที่รอบๆมีภาพแกะสลักศาสดาองค์ต่างๆ











บางส่วนก็เจาะเป็นห้องๆ เพื่อสำหรับนักบวช







เราเดินต่อไปที่ถ้ำของศาสนาฮินดู






Main stupa  ประดิษฐานศิวลึงค์ด้านในค่ะ




ด้านข้างมีภาพนูนต่ำ พระศิวะตอนแต่งงานกับพระแม่อุมา




ฝั่งตรงข้ามกัน





ด้านทางเข้า




ตรงกลางเป็นทางเดิน



ที่ทางเข้า 2 ด้าน




Nasty Shiva น่ารักจังค่ะท่าน แอบจับหน้าอกพระแม่ 555



Ganasha


 ผนังถ้ำด้านข้าง




เมื่อก่อนที่นี่มีการบูชาไฟ จัดเครื่องบูชาแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว คราบของการใช้งานยังคงปรากฏอยู่ทั่วไป




ด้านโน้นเป็นถ้ำศาสนาพุทธ เมื่อมองไปจากถ้ำของศาสนาฮินดู  ปัจจุบันปิดถ้ำค่ะ






อันนี้สิของจริง "Kailash" 

ที่คนพูดว่าไกรลาสมันอลัง.... คืมันอลังการอย่างนี้นี่เอง สุดติ่งอะ 






ด้านหน้าของไกรลาส





ด้านใน 










วิหารหลัก ตรงกลางด้านบน


ด้านในตัวอาคารหลักตรงกลาง 



ที่ในสุดเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์





ล๊อคถัดต่อมาเป็นนนทิ





และต่อมาเป็นหน้าบรร ระเบียงที่สามารถชมทิวทัศน์ภายนอกได้




สุดสวิงริงโก้มากค่ะ  อลังการแค่ไหนถามใจเธอดู



รูปแกะสลักทุกอนู เป็นภาพวีรกรรมของท่าศิวะ





ตลอดทั้งระเบียง และเกือบทุกที่






หินแกะเรื่องรามายณะ ตอนทศกัณฑ์ยกและเขย่าไกรลาส 



งามจนบรรยายไม่ได้ค่ะ  งานละเอียดมากๆด้วยค่ะ














จากไกรลาส เราเดินออกไปทางซ้ายก่อนถึงถ้ำศาสนาพุทธ จะมีถ้ำเบอร์ 12 เรียงยาวไป ถ้ำเหล่านี้สมัยก่อนเป็นมหาวิทยาลัย สถานศึกษาของพระ







ถ้ำศาสนาพุทธ 


ด้านในประดิษฐานพระพุทธ คล้ายที่อจันตา




ที่หน้าถ้ำ




เอลโลล่า ผ่านองศาการมองของฉัน   

มองผ่านรูปยังรู้สึกอลังเพียงนี้ เมื่อมองด้วยเนื้อตาจริงมันอลังกว่านี้มาก วิจิตรและ Le Lert มากจริงๆ  


ทำได้ไงเนี๊ยะ คนโบราณ 👏🏽👏🏽.. แต่เหนือสิ่งอื่นใด อิฉันขอขอบพระคุณท่านๆที่ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสิ่งเหล่านี้จนสำเร็จ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมความเทพของท่านๆค่ะ 🙇🏻



"Ploy Journey Journal"





 

Create Date : 17 มีนาคม 2561
0 comments
Last Update : 17 มีนาคม 2561 11:16:09 น.
Counter : 1053 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 3271775
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Hi guys, I'm "Ploy" who always have full of bucket list. It is because the world is gigantic, so step out 'n explore its. I write, i-dive, i-trek, i-run, i-yoga, i-blog, and I love good food. Let's follow the dream. สวัสดีค่ะ ชื่อ"พลอย"ค่ะ เป็นพวกชีวิตมีแต่บวก ไม่มีลบ Bucket list เต็มตลอดเวย์ อะไรๆก็เป็นลิสต์ที่ต้องทำก่อนตายสำหรับยัยพลอยทั้งนั้น (ก็โลกนี้มันกว้างใหญ่จะตายไป!) ไหนๆก็ได้เกิดมาบนโลกสวยงามใบนี้แล้วหนิ คิดแล้วจะรออะไร...เก็บกระเป๋า ก้าวเท้าออกมา โลกรอเราอยู่ (หรือความอยากรอเราอยู่) พลอยชอบขีดๆเขียนๆ, วิ่ง, โยคะ, ดำน้ำ, เทรค, และทุกทริปจะขาดไม่ได้เลยคือ อาหารอร่อย. มาออกเดินทางตามความฝันกับ "พลอย เจอนี่ เจอนั่น" ด้วยกันนะคะ... : )
New Comments
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3271775's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.