พฤศจิกายน 2553

 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
ย้อนรอยศิลาดล (บันทึกเมื่อ 10/5/2005 2:32:51 PM)

ตั้งชื่อหัวข้อให้เวอร์ซะ...

สืบเนื่องมาจากตอนที่แล้วเล่าถึงเครื่องเคลือบศิลาดล
บังเอิ๊ญบังเอิญ เมื่อเช้าบ้าพลังตื่นขึ้นมาจัดกองกระดาษข้างทีวีในห้องนอนที่สุมๆ ไว้แต่งชาติปางก่อน
และแล้ว...ข่อยก็หาสมบัติพบ มันคือจดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยาฉบับเดือนมีนาคม(ของปีนี้หรือปีที่แล้วก็ไม่รู้)...เอ๊ะๆๆ นั่นมันรูปเครื่องเคลือบนี่ โอ้ยๆๆ กำลังสนใจพอดีเลย ไหนอ่านหน่อยซิ

ว่าแล้วก็อ่านปราดตาหาข้อมูลที่กำลังอยากรู้ ก็วันก่อนที่ดูรายการทีวีแล้วเกิดชอบศิลาดลขึ้นมาน่ะ เขาบอกว่ามันก็ตกทอดมาจากทางเหนือซึ่งก็คงได้รับอิทธิพลมาจากจีน ในจดหมายข่าวก็คงจะมีข้อมูลอะไรอยู่บ้างแหละน่า...

นี่ไงๆ...เขาบอกว่าชนเผ่าเย่ว์นิยมทำเครื่องเคลือบสีเขียว(青瓷 ชิงฉือ)ต่างจากคนทางเหนือที่จะทำเครื่องเคลือบสีขาว(白瓷 ไป๋ฉือ)ใช่เลย เพราะชนเผ่าเยว์อยู่ทางใต้ และคาดว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาติไทยมาก ศิลาดลก็คงเป็นลูกหลานของชิงฉือของจีนแน่เลย แต่ศิลาดลนั้นจะมีการวาดลายด้วยหมึกที่ทำจากขี้เถ้าของเศษไม้กับแร่เหล็ก ทั้งยังลงลายทองทับอีกครั้งด้วย จึงดูวิจิตรพิถีพิถันกว่าชิงฉือธรรมดาๆ

อ้อ จะว่าไป ไม่ว่าจะเป็นชิงฉือ ไป๋ฉือหรือไฉ่ฉือ(彩瓷 เครื่องเคลือบหลากสี วิวัฒนาการขั้นต่อมาจากสองอย่างแรก) ก็ล้วนเป็นต้นกำเนิดของเครื่องสังคโลก ศิลาดล และเบญจรงค์ของเราทั้งนั้นแหละ
เพราะจีนถือเป็นประเทศแห่งเครื่องเคลือบเลย(瓷器之国 ฉือชี่จือกั๋ว) ชาวตะวันตกถึงเรียกประเทศจีนว่า China ไง เพราะ china ที่ตัวซีเป็นตัวเล็ก แปลว่า เครื่องกระเบื้อง โอ้....พระเจ้า...ข้าเจ้าก็เพิ่งรู้ ที่แท้ก็เป็นอย่างนี้นี่เอง

ว่าแต่ ศิลาดล ที่เป็นสีเขียวไข่กาได้นั่นน่ะ ก็เพราะสีของน้ำยาเคลือบทำปฏิกิริยากับความร้อน จริงๆ น้ำยาเคลือบ(จำไม่ได้แล้วว่าผสมอะไรมั่ง จำได้แต่ 25 25 +ดิน 50) มันเป็นสีเหมือนปูนแดงที่ใช้กินหมากอ่ะ แต่พอเอาไปเผามันก็ทำให้เนื้อดินเผากลายเป็นสีเขียวและก็มีความเงาเหมือนถังหูลู่ชุบน้ำเชื่อมเลย ส่วนที่มันแตกลายงา ก็เพราะเกิดการหดขยายตัวของเนื้อดินเผาและสารเคลือบที่แตกต่างกัน มันเลยเกิดการลาน(ร้าว) จริงๆ ก็คงเป็นตำหนิอย่างหนึ่งแหละ แต่รอยร้าวมันก็เป็นเส้นสายที่สวยงามไปอีกแบบนะ



Comments by my friends
หนูนิ้มแพนด้าน้อย (มั้ง)- 10/5/2005 3:04:13 PM
โอ้วววว อย่าพูดถึง"ถังหูลู่" ได้โปรดดดดดด มันอยากกกกกกกกกกินขึ้นมาในบัดดล..ซื๊ดดดดดดด "china ที่ตัวซีเป็นตัวเล็ก แปลว่า เครื่องกระเบื้อง" อ้อออ ที่แท้ก้อย่างนี้นี่เอง ขอบคุณฮะที่แบ่งปันฟามรู้

หนูเหวิน - 10/5/2005 7:32:38 PM
โอ้...ความรู้เพียบเรยเฟร่ย...สเปซนี้ ไม่เหมือนของตรู...กรั่กๆ

(ใครหนอจำบ่ได้) - 10/6/2005 9:49:38 AM
นี่ ของชั้นมันสั้นตรงไหนยะ...นี่ ไม่ได้อ่านพาร์ทสองหล่ะซี้... ถ้าอ่านพาร์ทสองรวมกะพาร์ทสามนะ ก้อจะรู้สึกว่าความยาวมันเท่ากับพาร์ทหนึ่งอ่ะแหล่ะ

อาจารย์วัฒน์ (ชัวร์) - 10/6/2005 12:54:27 PM
มีข้อสันนิษฐานหนึ่งอยากเสนอนะ จริงแล้วคำว่า china ที่แปลว่าเครื่องเครือบ มันอาจจะไม่ใช้ความหมายที่หนึ่งก็ได้นะ เราว่าฝรั่งคงไม่ได้รู้จักเครื่องเคลือบก่อน ที่จะรู้จักประเทศจีนเป็นแน่ ไม่ใช่เพราะฝรั่งรู้จัก china ที่แปลว่าเครื่องเคลือบ แล้วจึงเรียกประเทศจีนว่า China เราว่าอาจจะเป็นเพราะว่า คำว่า China น่าจะเป็นการเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า Chin (จิ๋น หรือ ฉิน) ที่เป็นราชวงศ์ นั่นแหละ ความจริงแล้ว "ปิง มหา หย่ง" ก็เป็นเครื่องปั้นดินเผาใช่มั้ยล่ะ นั่นแสดงว่า การติดต่อกับฝรั่ง ในช่วงนั้น ฝรั่งรู้จักประเทศจีนในนามรัฐ ฉิน ไม่รู้จัก จงกั๋ว ซึ่งนอกจากจะรู้จักรัฐฉินแล้วก็ยังรู้จักเครื่องเคลือบของรัฐฉินอีกด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกสิ่งของจากสถานที่ผลิต คือ ความหมายที่หนึ่งคือ รัฐฉิน ความหมายที่สองคือสิ่งของที่ผรั่งมันรู้จักไม่เคยเห็นมาก่อนของรัฐฉิน (เครื่องเคลือบ) จึงทำให้คำว่า China หมายถึง รัฐฉิน(หรือประเทศจีน) และ หมายถึงสิ่งประดิษฐ์ของจีนที่เรียกว่า "เครื่องเคลือบ" ไปด้วยอีกการหนึ่ง

หนูนอฟ (เอง) - 10/6/2005 1:02:48 PM
จริงด้วยๆ 555 สนุกจัง ชักเริ่มคิดถึงป้าปุ้ยกับหนูจูแล้ว ถ้าเป็นเมื่อก่อน เราคงนั่งถกปัญหากันอย่างนี้ที่ข้างสนามบอล เมื่อไหร่ป้าปุ้ยจะเขียนสเปซซะทีนะ หนูจูจ๋า คิดถึงนะ อยากเจอๆ



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2553 9:13:22 น.
Counter : 916 Pageviews.

1 comments
  
โดย: MaFiaVza วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:37:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

piyanof
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]