Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

บ้านไผ่สวยอย่างมีดีไซน์

ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่เราใช้สร้างบ้านกันมาช้านาน  ลองมาดูการออกแบบตกแต่งบ้านไผ่กันว่ามีแบบใดกันบ้าง 

 

 

//www.tropolism.com/greatbamboo.jpg

 

 

ไม้ไผ่ เป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในชีวิต ประจำวัน ในขณะที่โลกปัจจุบันเป็นเรื่องของพลาสติกและเหล็ก แต่ก็ยังมีโครงการร่วมมือค้นคว้า เรื่องไม้ไผ่ระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการในการใช้ไม้ไผ่ซึ่งกันและกันในประเทศลาตินอ เมริกัน 6 ประเทศ ในขณะนี้ได้มีโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อจะหาชนิดของไม้ไผ่ที่ดีที่สุดจากภาค ต่าง ๆ ทั่วโลก

 

 

//inhabitat.com/images/BambooHouse.jpg

 

 

ไม้ไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์ Gramineae เช่นเดียวกับหญ้าแต่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก และเป็นพืชเมืองร้อน ไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการก่อสร้างไม้นั่งร้านทาสีฉาบปูน ใช้จักสานภาชนะต่าง ๆ ใช้ทำเครื่องดนตรี ใช้เป็นเยื่อกระดาษในอุตสาหกรรมทำกระดาษ ทำเครื่องกีฬา ใช้เป็นอาวุธ เช่น คันธนู หอก หลาว ใช้เป็นเครื่องอุปกรณ์การประมง เช่น ทำเสาโป๊ะ ทำเครื่องมือในการเกษตร นอกจากนั้นใบยังใช้ห่อขนม หน่อไผ่ใช้เป็นอาหารอย่างวิเศษ และกอไผ่ยังใช้ประดับสวนได้งดงาม ไม่ไผ่ทั่วโลกที่รู้จักกันมีประมาณ 75 สกุล ที่ได้สำรวจพบในเมืองไทยมีประมาณ 12 สกุล แยกเป็นชนิดประมาณ 44 ชนิด

 

 

gau-modular-bamboo-house1.jpg

 

 

ชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ควรทราบ ไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้าง



1. ไผ่ตง (D.asper) เป็นไผ่ในสกุล Dendrocalamus นิยมปลูกกันในภาคกลางโดยเฉพาะที่จังหวัดปราจีนบุรีปลูกกันมาก เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร ไม่มีหนามปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคนต้นมีลายขาวสลับเทา มีขนเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปของลำ มีหลายพันธุ์ เช่นไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหนู เป็นต้น หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรงดี ไผ่ตงมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2450 ปลูกครั้งแรกที่ตำบลพระราม จังหวัดปราจีนบุรี

 

2. ไผ่สีสุก (B.flaxuosa) อยู่ในสกุล Bambusa ไผ่ชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปและมีมากในภาคกลางและภาคใต้ลำต้น เขียวสดเป็นไผ่ขนาดสูงใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร บริเวณข้อมีกิ่งเหมือนหนาม ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดี ใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง เช่น นั่งร้านทาสี นั่งร้านฉาบปูน

 

 

gau-modular-bamboo-house12.jpg

 

 

3. ไผ่ลำมะลอก (D.longispathus) อยู่ในสกุล Dendrocalamus มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นใช้ทำนั่งร้านในงานก่อสร้างได้ดี

        

4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arumdinacea) อยู่ในสกุล Bambusa มีทั่วทุกภาคของประเทศต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร ใช้ทำโครงบ้าน ใช้ทำนั่งร้าน

        

5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ (B.sp.) อยู่ในสกุล Bambusa มีในป่าทึบแถบจังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตรปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง จักสาน

        

6. ไผ่เฮียะ (C.Virgatum) อยู่ในสกุล Cephalastachyum มีทางภาคเหนือ ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน



        

//jogjatec.com/wp-content/uploads/2009/10/natural-and-sustainable-bamboo-house-model.jpg

 

 

7. ไผ่รวก (T. siamensis) อยู่ในสกุล Thyrsostachys มีมากทางจังหวัดกาญจนบุรี ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะเป็นกอ ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ ไม้รวกที่ส่งออกขายต่างประเทศ เมื่อทำให้แห้งดีแล้ว จะนำไปจุ่มลงในน้ำมันโซลาเพื่อกันแมลง น้ำมันโซลา 20 ลิตร จะอาบไม้รวกได้ประมาณ 40,000 ลำ

 

บ้านไม้ไผ่ที่เราพบเห็นมักจะมีรูปแบบที่ เหมือนๆกัน ด้วยวิธีการและรูปแบบในการก่อสร้าง ซึ่งทำตามๆกันมา นี่เป็นจุดอ่อนของบ้านไม้ไผ่ ที่ไม่มีการพัฒนาในเรื่องตัววัสดุ รูปแบบ วิธีการก่อสร้าง และเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ทำให้ความนิยมอยู่ในวงจำกัด การใช้งานก็จำกัดไปด้วย แต่ถ้าเราสามารถสร้างบ้านไม้ไผ่ด้วยวิธีใหม่ ด้วยวัสดุผสม และรูปแบบที่ได้ออกแบบให้ใช้งานได้มากขึ้น ภาพพจน์ของบ้านไม้ไผ่ก็จะเปลี่ยนไป และได้รับความนิยมจากคนมีฐานะมากขึ้น แต่ก็ยังคงคุณสมบัติที่ดีไว้คือ ราคาถูกกว่าวัสดุก่อสร้างอย่างอื่น

 

//img.agoda.net/hotels/10514/OTHERS/OTHERS_10514_1.jpg

 


จุดอ่อนอย่างแรก คือคุณสมบัติที่ถึงแม้ไม้ไผ่จะแข็งกว่าไม้ เหนียว ยืดหยุ่นได้ดีทนทาน แต่มักเป็นเหยื่ออันโอชะของแมลงเจาะไช ทำให้ผุพังได้รวดเร็ว ไม่ทนทาน ซึ่งก็สามารถแก้ได้ด้วยวิธีการอบน้ำยากันแมลง ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงหน่อย ถ้าทำจำนวนน้อย แต่ถ้าสามารถทำเป็นจำนวนมากได้ ก็จะลดต้นทุนลงไป


การก่อสร้างด้วยรูปแบบเดิมๆก็เป็นจุดอ่อน ข้อถัดมา ที่เห็นกันอยู่คือ บ้านไม้ไผ่ของไทยเรานั้น จะมีวิธีการก่อสร้างที่เรียกว่า เรือนเครื่องผูก ข้อต่อต่างๆจะมาทาบกันแล้วผูกด้วยวัสดุที่เหนียวเช่นหวายและก็ทำให้บ้านไม้ ไผ่ไม่ทนทานจากวัสดุผูกนี่แหละ ที่พังก่อน เลยทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องรูปแบบและความคงทน เราจึงเห็นบ้านไม้ไผ่แบบเพิงหรือจั่วแบบไทยๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปทรง มาเป็นเวลานาน ดังนั้นในวิธีการ หรือเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ถ้าใช้การบากหรือวัสดุอื่นที่ทนทานกว่ามาใช้ร่วมในการยึด ต่อ ติด ไม้ไผ่ เข้าด้วยกันแล้ว การก่อสร้างและรูปแบบ ก็จะเปลี่ยนไปทันที ไม่ใช่เพิงหมาแหงนอย่างที่เราคุ้นตากันอีกต่อไป


เทคโนโลยี่สมัยใหม่ จะเข้ามาพัฒนาวิธีการก่อสร้างและรูปแบบ ให้บ้านไม้ไผ่ ได้รับความนิยมในอนาคตได้ เนื่องจากไม้เนื้อแข็งเริ่มหมดไป ไม้โตไม่ทันการใช้งานของพลเมืองโลกที่ขยายตัวขึ้นรวดเร็วมาก แต่ไม้ยืนต้นสักต้นกว่าจะโตจนเหมาะที่จะใช้งานนั้น ใช้เวลาหลายสิบปีทีเดียว การใช้ไม้ไผ่ก็จะเป็นการช่วยรักษาป่าด้วยในทางอ้อม เพราะไม้ไผ่เป็นพืชโตเร็วไม่ถึงปีก็ตัดมาใช้ได้แล้วและป่าไผ่ก็สามารถฟื้น ตัวได้เร็วอีกด้วย ใน 1 ปี ป่าไผ่จะฟื้นตัวได้ถึง 30 % ทีเดียว เทียบกับป่าไม้เนื้อแข็งที่จะสามารถฟื้นตัวได้ เพียงแค่ 3-5 % ต่อปีเท่านั้น นี่จึงเป็นการทดแทนที่น่าจะเป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติไปในตัว




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
2 comments
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2553 12:56:17 น.
Counter : 809 Pageviews.

 

 

โดย: ฟ้าสางที่ปางสวรรค์ 11 พฤศจิกายน 2553 14:57:07 น.  

 

สวยนะ

 

โดย: kwan_3023 11 พฤศจิกายน 2553 16:15:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


phugamon
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add phugamon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.