มิถุนายน 2562
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
20 มิถุนายน 2562
 

การเผยแผ่พระพุทธศานาในทวีปยุโรป

 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป

 การเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรป

          พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าไปในทวีปยุโรป  โดยผ่านทางประเทศกรีซก่อนในช่วงพุทธสตวรรษต้น ๆ  แต่ทว่ายังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนักจนกระทั่งหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา  เมื่อชาวยุโรปได้ประเทศต่าง ๆ  ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า เขมร ลาว และบางส่วนของจีนเป็นอาณานิคมแล้ว ก็พบว่าชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีหลักธรรมคำสั่งสอนอันลึกซึ้ง  มีเหตุมีผลถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ จึงบังเกิดความสนใจและเมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ  เพิ่มเติม  ก็ประจักษ์ว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง

                 จึงมีการนำหลักธรรมดังกล่าวออกเผยแพร่ในหมู่ชาวยุโรปด้วยกัน เหตุผลที่ทำให้ชาวยุโรปเริ่มสนใจพระพุทธศาสนาก็เพราะประทับใจ  หลักการของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้บุคคลอย่าเชื่อถือคำสอนของพระองค์โดยทันที จนกว่าจะได้ใคร่ครวญพิจารณาหรือทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อเห็นผลแล้วจึงค่อยเชื่อ นอกจากนี้ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็เน้นถึงความมีเมตตากรุณา ความรัก การไม่เบียดเบียนต่อกัน ส่งเสริมเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาค จึงส่งผลให้มีชาวยุโรปประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถแบ่งรายละเอียดเป็นประเทศๆ ได้ดังนี้

    
 การเผยแผ่ศาสนาในประเทศอังกฤษ

                การเผยแผ่ในประเทศอังกฤษเริ่มต้นขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2393  โดยนายสเปนเซอร์  อาร์ดี ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ”  ออกเผยแผ่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก จนกระทั่งเมื่อ เซอร์ เอ็ดวิน  อาร์ดนลด์เขียนหนังสือเรื่อง “ประทีปแห่งเอเชีย” ออกสู่สายตามหาชนใน พ.ศ.2422  นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ชาวอังกฤษก็เริ่มตื่นตัวหันมาสนใจในพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ  โยชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับชาวพุทธในประเทศต่าง ๆ    ก่อตั้งสมาคมเพื่อดำเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษขึ้นหลายสมาคมที่สำคัญได้แก่สมาคมบาลีปกรณ์  จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ  พุทธสมาคมระหว่างชาติ (สาขาลอนดอน)  ของพม่า  ตีพิมพ์หนังสือชื่อ  “พระพุทธศาสนา” พุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ออกวารสารชื่อ “พุทธศาสตร์ปริทัศน์”  สมาคมมหาโพธิ์ (สาขาลอนดอน)  ของศรีลังกาออกวารสารชื่อ “ชาวพุทธอังกฤษ” และ “ธรรมจักร” เป็นต้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษนี้ถึงแม้พุทธสมาคมต่าง ๆ  จะนับถืนิกายแตกต่างกัน  เช่น  นิกายเถรวาท นิกายมหายาน  นิกายเซน  นิกายสุขาวดี ฯลฯ  แต่ทุกสมาคมก็สมัครสมานสามัคคีกันดี  โดยมีการจัดกิจกรรมและประชุมกันบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพื่อทำให้พระพุทธศาสนาสามารถเผยแผ่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง  

อนึ่งได้มีการจัดตั้งวิหารทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่งในประเทศอังกฤษ เป็นต้นว่าพุทธวิหารลอนดอนของประเทศศรีลังกา  วัดของมูลนิธิสงฆ์อังกฤษที่ถนน      แฮมสเตท และมีวัดของชาวพุทธศรีลังกา  ที่ตำบลซิลิค กรุงลอนดอน วัดทิเบตที่บิดดอล์ฟ ประเทศสกอตแลนด์  วัดไทยพุทธประทีปที่กรุงลอนดอนเกิดขึ้น  ต่อมาก็มีวัดอื่น ๆ  เช่น วัดป่าจิตตวิเวก เมืองแฮมไชร์ วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค วัดอมราวดี และวัดสังฆทาน เมืองเบอร์มิงแฮม

                พระภิกษุไทยได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา  สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวพุทธในประเทศอังกฤษ  โดยเฉพาะป่า จิตตวิเวก  วัดอมราวดี และวัดป่าสันติธรรม ได้มีชาวอังกฤษมาบวชศึกษาปฏิบัติจากหลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียง  แล้วกลับไปเผยแผ่ยังประเทศของตน งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงกระจายไปได้อย่างรวดเร็ว    นอกจากนี้พระเขมธัมโม  ได้เข้าไปสอนนักโทษตาม        ทัณฑสถานต่าง ๆ  โดยความร่วมมือของรัฐ  ผลักดันให้คุกเป็น สถานปฏิบัติธรรมของนักโทษ  และโครงการองคุลีมารเพื่อช่วย เหลือนักโทษ  โดยมิได้แบ่งว่านับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น  ๆ

                กล่าวโดยสรุป  ปัจจุบันมีชาวอังกฤษประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นเรื่อย ๆ  และจากรายงานในวารสาร  “ทางสายกลาง”   ของ   พุทธสมาคมลอนดอนระบุว่า มีสมาคมและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษแล้วประมาณ 32 แห่ง

 การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเยอรมนี

                ชาวเยอรมันได้ยอมรับพระพุทธศาสนาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว แต่เป็นเพียงชนส่วนน้อยเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อลัทธินาซีเรืองอำนาจ พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมไปจากประเทศเยอรมนี

                หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2  เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2  ประเทศ พระพุทธศาสนาค่อย ๆ  ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมันตะวันตก) โดย ดร.คาร์ล ไซเกนสิตคเกอร์ และ ดร.ยอร์จ  กริมม์   ได้ร่วมมือตั้งพุทธสมาคมเยอรมันขึ้นที่เมืองไลป์ซิก  เมื่อ พ.ศ. 2464  เพื่อทำการเผยแผ่หลักธรรมและดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา 

                การเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศเยอรมันตะวันตก ดำเนินการโดยเอกชนร่วมมือกับภิกษุสงฆ์จาก ญี่ปุ่น ไทย ศรีลังกา ไทย ทิเบต จัดพิมพ์วารสารแลจุลสารออกเผยแผ่ เช่นกลุ่มชาวพุทธเก่าตีพิมพ์วารสารชื่อ  “ยาน” สมาคมพระธรรมทูตศรีลังกาและชาวพุทธในเมืองฮัมบูร์ก ออกวารสารพระพุทธศาสนาฉบับภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ก็มีการจัดแสดงปาฐกถาอภิปราย และสนทนาธรรมที่กรุงเบอร์ลินตะวันตกประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อเดือน รวมทั้งยังมีศาสตราจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องราวทางด้านพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดีอยู่ในกรุงเบอร์ลินตะวันตก เมืองมิวนิกและฮัมบูร์ก เป็นประจำอีกด้วย

                เมื่อเยอรมนีตะวันตกได้รวมเข้ากับเยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศเดียว  ก็พอที่จะคาดการณได้ว่าคงจะมีชาวเยอรมันประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองฮัมบูร์ก  เบอร์ลิน  สตุตการ์ต  มิวนิก  โคโลญ และ แฟรงค์เฟิร์ต  ส่วนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ มักจะกระทำกันที่  “ศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน”

                  ปัจจุบันนี้ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีวัดไทย 3 วัด  คือ   วัดพุทธวิหาร  ที่เมืองเบอร์ลิน  วิตเตนัว วัดไทยมิวนิค ที่เมือง มิวนิค และวัด พุทธารามเบอร์ลิน  ซึ่งเป็นศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี

การเผยแผ่ศาสนาในประเทศฝรั่งเศส

                การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2471  โดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศส ซึ่งมี นางสาวคอนสแตนต์  ลอนสเบอรี เป็นผู้นำ ได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคม ชื่อ “เล ซามี ดู บุดดิสเม” ขึ้นที่กรุงปารีส พุทธสมาคมแห่งนี้นอกจากจะทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนิกายเถรวาทแล้ว ก็ยังได้จัดให้มีการแสดงธรรมอภิปรายเรื่องราวของธรรมะ ออกวารสารพระพุทธศาสนารายเดือน ฝึกอบรมการนั่งสมาธิและวิปัสสนาให้แก่ผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์จากประเทศไทย พม่า ลาว เดินทางไปแสดงพระธรรมเทศนาที่กรุงปารีส และนางสาวคอนสแตนต์ ก็ยังเป็นผู้ริเริ่มการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย

                ปัจจุบันสถานะของพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสยังไม่รุ่งเรืองนัก  การเผยแผ่และการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาดำเนินการโดยพระภิกษุจากไทย ญี่ปุ่น ศรีลังกา  กลุ่มพุทธศาสนิกชน  จากประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ  และเมื่อถึงวันวิสาขบูชา ของทุก ๆ ปี ชาวพุทธในกรุงปารีสจะประกอบพิธีเวียนเทียนกัน ที่วิหารของพุทธสมาคม โยมีวัดไทยตั้งอยู่ 2 แห่ง

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต

                สหภาพโซเวียตจัดเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก  โดยมีดินแดนครอบคลุมถึง 2 ทวีป คือ  ยุโรปและเอเชีย  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่สหภาพโซเวียตซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า  “รุสเซีย”  เมื่อครั้งที่พวกมองโกลภายใต้การนำของพระจักพรรดิเจงกิสข่าน  ยกทัพมารุกราน ยุโรปเมื่อ พ.ศ. 1766  และสามารถปกครองรุสเซีย อยู่เป็นเวลานานประมาณ 250 ปี แต่ทว่ามีชาวรุสเซียเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยอมรับพระพุทธศาสนา

                 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1  ได้มีผู้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในรุสเซียอีก เช่น มาดามเชอร์บาตรสกี และ มร. บี.เอ็น.  โตโปรอฟ  แปลหนังสือธรรมบทจากภาษาบาลีเป็นภาษารุสเซีย  นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในรุสเซียด้วย  มีชื่อว่า  “บิบลิโอเธคา พุทธิคา”  แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากสหภาพโซเวียตมีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์  จึงสั่งห้ามมิให้บุคคล  องค์การ  สมาคม  ทำการโฆษณาเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อน การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ที่จัดทำขึ้นในสหภาพโซเวียต ก็คืองานเฉลิมฉลอง 25     พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. 2500 ที่กรุงมอสโก

                ปัจจุบันเมื่อมีการแยกตัวเป็นรัฐเอกราชต่าง ๆ  ก็ทำให้ชาวพุทธกระจายกันออกไปแต่ละรัฐ เช่น สหพันธรัฐเซีย  สาธารณรัฐลิทัวเนีย  สาธารณรัฐคาซัคสถาน  เป็นต้น  ซึ่งโดยมากมักจะนับถือนิกายตันตระ  ส่วนวัดมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งโดยวัดส่วนใหญ่จะถูกดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา  และบางแห่งก็ถูกดัดแปลงทำเป็นสถานที่ราชการ  วัดสำคัญ ๆ  ได้แก่ วัดไอโวกินสกีมหายานและวัดอีโวลกาในสหพันธ์รัสเซีย เป็นต้น

 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยผ่านมาทางพ่อค้าชาวดัตช์และชาวพื้นเมืองจากประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกา  ซึ่งเดินทางเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม แต่ทว่าก็มีผู้นับถืออยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ชาวพุทธในกรุงเฮก ได้ฟื้นฟูชมรมชาวพุทธขึ้นมาใหม่เมื่อ  พ.ศ. 2498  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์กันของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชมรมนี้จะเปิดประชุมทุกวันอังคาร สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ซึ่งในการประชุมทุกครั้งจะเริ่มต้นด้วยการบรรยายหลักธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วอ่านพระสูตรพร้อมกับอธิบายความหรือขยายความเพิ่มเติม และก่อนเปิดประชุมจะมีการฝึกสมาธิก่อน

                ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์  ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย  ศรีลังกา  และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่  และมีวัดไทยเกิดขึ้น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ   วัดพุทธราม และวัดพุทธวิหารอัมสเตอร์ดัม โดยพระ   ธรรมทูตที่ผ่านการอบรมจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปอยู่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นที่คาดกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้คงจะมีชาวดัตช์หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมากเรื่อย

 




Create Date : 20 มิถุนายน 2562
Last Update : 20 มิถุนายน 2562 12:58:39 น. 0 comments
Counter : 24168 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ปลายฟ้ามีดวงดาว
 
Location :
ร้อยเอ็ด Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





คิดถึงเสมอ ทุกๆก้าวที่เท้าย่ำ
KruAomsin ยินดีต้อนรับคะ
อยากจะบินโบกไปในโลกหล้า

อยากจะบินท่องนภาทั้งไกลใกล้

อยากจะบินสุดฟากฟ้าที่อยากไป

แต่ยังกลัวจะเปลี่ยวใจยามไกลเธอ

บางครั้งความสุข

อาจไม่ได้อยู่ไกล

ความสุขอาจอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบมาไหม

ความสุขอาจเกิดจาก

มิตรภาพของเพื่อน

หรือเพียงแค่

มองทิวทัศน์เบื้องหน้า

ก็อาจสุขสงบได้ที่ใจเรา


ปลายฟ้ามีดวงดาว
New Comments
[Add ปลายฟ้ามีดวงดาว's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com