มิถุนายน 2562
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
20 มิถุนายน 2562
 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย
 


อุทยานประวัติศาสตร์  นาลันทามหาวิหาร

 

                ทวีปเอเชียนับเป็นดินแดนแห่งแรกที่พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่3ซึ่งพระพุทธศาสนาที่ได้เผยแผ่เข้ามานั้น แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาท และนิกายอาจาริยวาท ต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่นของแต่ละ ประเทศ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการเป็นพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ หลายนิกาย เช่น นิกายเถรวาทเดิม นิกายตันตระ นิกายสุขาวดี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่าง ๆในทวีปเอเชียจึงแตกต่างกันออกไป 


 

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
 

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังลังกาทวีป(ศรีลังกา ปัจจุบัน) ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ( พ.ศ235-275)ผู้ครองเมืองอนุราธปุระ โดยการนำของพระมหินทเถระและคณะสมณทูต ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปได้ทรงส่งมาในคราวทำสังคยานาครั้งที่ 3 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากพระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอย่างดี ได้มีการส่งสมณทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศกมหาราช และได้ทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาสู่ลังกาทวีปด้วย ต้นโพธิ์นี้ปัจจุบันเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากที่สุดในโลก พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะยังทรงสร้างมหาวิหารและถูปาราม อันเป็นเจดีย์องค์แรกของลังกาไว้ ณ เมืองอนุราธปุระด้วย       ในสมัยนั้นลังกาทวีปมีประชาชนอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าสิงหล และเผ่าทมิฬ ชนผ่าสิงหลทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนชนเผ่าทมิฬไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาเมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าเทวานัม ปิยติสสะแล้วลังกาทวีปก็ตกอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ทมิฬ   พระพุทธศาสนาในลังกาบางครั้งก็เจริญรุ่งเรือง บางครั้งก็เสื่อมลงจนถึงสูญสิ้นสมณวงศ์สลับกันไปเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์ของชนผ่าใดในระว่างสิงหลกับทมิฬขึ้นมามีอำนาจ

                ครั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าวิชัยสิริสังฆโพธิ ทรงกอบกู้ราชบัลลังก์จากพวกทมิฬได้ และทรงจัดการทางฝ่ายราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้วก็ได้หันมากอบกู้ฟื้นฟูพระพุทธ ศาสนา และส่งทูตไปขอพระภิกษุสงฆ์จากพม่ามาทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา ทำให้สมณวงศ์ในลังกาได้กลับมีขึ้นอีกครั้ง

                ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และสร้างวัดวาอารมอีกมากมายจนลังกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธ ศาสนา แต่ภายหลังพวกทมิฬก็มารุกรานอีกและมีอำนาจเหนือชาวสิงหล ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอีกครั้ง

ระหว่างที่ลังกาอ่อนแอลงชนชาติโปรตุเกสและ ฮอลันดาก็ได้เข้ามาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจซึ่งชนทั้งสองพยามยาม ประดิษฐานคริสต์ศาสนาแต่ก็ไม่สำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงสู่จิตใจของชาวลังกามาเป็นเวลา ช้านาน

                ใน พ.ศ.2293 พระเจ้ากิตติสิริราชสีห์ ได้ส่งราชทูตไปขอพระสงฆ์จากประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศทรงส่งพระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ 12 รูป เดินทางไปลังกา และได้ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวสิงหล พระสงฆ์ที่บรรพชาอุปสมบทใหม่หนี้เรียกว่า อุบาลีวงศ์หรือสยามวงศ์ หรือสยามนิกาย ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ของลังกามาจนกระทั่งทุกวันนี้

                ในปี พ.ศ.2358 อังกฤษได้เข้ามายึดครองลังกา ทำให้วงศ์กษัตริย์ลังกาสูญสิ้นไป เป็นเวลากว่า 100 ปีที่ชาวลังกาได้ต่อสู้จนได้อิสรภาพจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2490 พระพุทธศาสนาจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น และได้ส่งพระสงฆ์ออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปและอเมริกาด้วย


 

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
 

                เท่าที่ปรากฏหลักฐาน พบว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิมิ่งตี่ แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยพระองค์ส่งสมณทูตไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย และเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

                เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระจักรพรรดิมิ่งตี่ได้ทรงสั่งสร้างวัดให้เป็นที่อยู่ของพระเถระทั้ง 2 และตั้งชื่อว่า วัดแปะเบ้ยี่ ซึ่งแปลว่าเป็นไทยว่า วัดม้าขาว ซึ่งเป็นอนุสรณ์ให้ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากับพระเถระทั้ง 2 รูป

                ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมแต่ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือในหมู่ข้า ราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื้อนัก ปราชญ์ผู้มีความสามารถได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึง ความจริงให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากกว่า ลัทธิศาสนาอื่น ๆ

                จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1450) พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุดและได้มีการส่งพระเถระเดินทางไปสืบพระพุทธใน อินเดียและอัญเชิญพระไตรปิฎก กลับมายังจีน และได้มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนอีกมากมาย

พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าบู๊จง ขึ้น ปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าบู๊จงนับถือลัทธิเต๋า ทรงสั่งทำลายวัด บังคับให้พระภิกษุลาสิกขา ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ จนถึง พ.ศ.1391 เมื่อพระเจ้าชวนจง ขึ้นครองราชย์ ทรงสั่งห้ามทำลายวัด และนำประมุขลัทธิเต๋ากับพวกไปประหารชีวิต พร้อมกันนั้นก็ได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง  พระพุทธศาสนาในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองสลับกับเสื่อมโทรมตามยุคสมัยของราชวงศ์ที่จะทรงนับถือลัทธิหรือศาสนาใด

                ใน พ.ศ.2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนา แต่กลับสนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ จนใน พ.ศ.2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่งชื่อว่า ไท้สู ได้ทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ขึ้นที่ วูชัง เอ้หมึง เสฉวน และหลิ่งนาน และจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ขึ้น ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น

                พ.ศ.2492 สาธารณรัฐจีน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่าง มากรัฐบาลได้ยึดวัดเปนของราชการ ทำลายพระคัมภีร์ต่าง ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ.2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีน คือ เติ้งเสี่ยวผิง คลายความเข้มงวดลงบ้าง และให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น สภาวการณ์ทางพระพุทธศาสนาจึงเริ่มกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนและสภาการศึกษาพระ พุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งด้วย ปัจจุบันชาวจีนนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิ เต๋า


 

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี

                พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ.915 โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือประเทศเกาหลีในปัจจุบัน

                พ.ศ.1935 พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อราชวงศ์โซซอน ขึ้นมามีอำนาจ ราชวงศ์นี้เชิดชูลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติ    พ.ศ.2453 ประเทศเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ราชวงศ์เกาหลีสิ้นสุดลง ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ ทางตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียต มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐเกาหลี พระพุทธศาสนาในเกาหลีเหนือไม่สามารถที่จะรู้สถานการณ์ได้ เพราะเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ได้มีมีการฟื้นฟูขึ้น ได้ยกเลิกข้อบังคับสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลี คือ มหาวิทยาลัยดงกุก

                ในปี พ.ศ.2507 คณะสงฆ์เกาหลีใต้ได้จัดตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีขึ้นเรียกว่า ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยดงกุก ประชาชนในเกาหลีใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายเซนผสมกับความเชื่อในพระอมิตาภพุทธะ และ พระศรีอารยเมตไตรย หรือพระเมตตรัยโพธิสัตว์


 

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

                พระพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี โดย พระเจ้าเซมาโวแห่งเกาหลีส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระจักรพรรดิกิมเมจิพร้อม ด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์ะพุทธธรรมและพระราชสาร์นแสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระจักรพรรดิกิม เมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ซึ่งเจริญเป็นอย่างมาก หลังจากพระจักรพรรดิกิมเมจิสิ้นพระชนม์แล้ว จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนา จนถึงสมัยของพระจักรพรรดินีซุยโกได้ทรงสถาปนาเจ้าชายโชโตกุ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่นและสร้าง สรรค์วัฒนธรรมพร้อมทั้งทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1137พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่นจนได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือ ยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ ดหลัง จากเจ้าชายโชโตกุ สิ้นพระชนม์ ประชาชนรวมใจกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์เจ้าชายโชโตกุขึ้น 1 องค์ ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริวจิ

                หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็แบ่งเป็นหลายนิกาย จนถึงยุคเมอิจิพระ พุทธศาสนาก็เสื่อมลงอย่างหนักลัทธิชินโตขึ้นมาแทนที่ และศาสนาคริสต์ก็เริ่มเผยแผ่พร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาใน ญี่ปุ่นทำให้การศึกษาเจริญขึ้น พระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ

                ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไป กับศาสนาชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่นิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ นิกายเทนได นิกายชินงอน นิกายโจโด (สุขาวดี) นิกายเซน (ธฺยาน หรือฌาน เป็นที่นิยมมากที่สุด) และนิกายนิจิเรน

 

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศทิเบต

                แต่เดิมชาวทิเบตนับถือลัทธิบอนโป ซึ่งเป็นลัทธิที่นับถือผีสางเทวดา ต่อมาพระเจ้าสรองสันคัมโป ทรงขึ้นครองราชย์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเนปาลและเจ้าหญิงจีน ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ทิเบต และแพร่หลายในรัชสมัยของกษัตริย์ทิเบตพระองค์ที่ 5 กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา แทบทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศานาทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการ อุปถัมภ์บำรุงอย่างดี พุทธศตวรรษที่ 16 พระทีปังกรศรีชญาณ(พระอตีศะ)จาก มหาวิทยาชลัยวิกรมศิลา แคว้นพิหาร                 ประเทศอินเดีย ได้รับการอาราธนาเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคง เป็นศาสนาประจำชาติทิเบตในเวลาต่อมา

                พระพุทธศาสนาในทิเบตมีหลายนิกาย นิกายเก่าที่นับถือพระปัทมสัมภวะนั้นต่อมาได้ชื่อว่า นิกายหมวกแดง ต่อมาพระตสองขะปะ ได้ปฎิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงนี้แล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้น ชื่อว่า นิกายเกลุกปะ หรือ นิกายหมวกเหลือง นิกายนี้ได้รับการยกย่องจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตใจ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย

                ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะ ชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์ เกิดความเชื่อว่าพระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียก พระสอดนัมยาโสว่า ดะเล หรือ ดะไล (Dalai ) ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของธิเบตจะพูกเรียกว่า ดะไลลามะ ดะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศธิเบตทั้งหมดทำ ให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงองค์ที่ 7 (พ.ศ.2351-2401) ทิเบตเข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยวเนื่องจากได้รับความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จีนแดงเข้าครอบครองในปี พ.ศ.2494

                ขณะนี้ดะไลลามะประมุขสงฆ์ของทิเบตองค์ปัจจุบัน เป็นองค์ที่ 14 ทรงพำนักลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ทรงเดินทางหลบหนีออกจากทิเบต พ.ศ.2505เป็นต้นมา

 

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล

                พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนปาลทางประเทศ อินเดีย แต่เดิมนั้นประเทศเนปาลเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า คือ สวนลุมพินีวัน อยู่ในเขตประเทศเนปาลปัจจุบัน

                ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้พระราชทานพระราชธิดา พระนามว่า จารุมตี ให้แก่ขุนนางผู้ใหญ่ชาวเนปาล พระเจ้าอโศกมหาราชและเจ้าหญิงจารุมตีได้ทรงสร้างวัดและเจดีย์หลายแห่ง ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่นครกาฐมาณฑุในปัจจุบัน ในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหารและเบงกอล ในประเทศอินเดีย พระภิกษุจากอินเดียต้องหลบหนีภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในเนปาล ซึ่งพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้นำคำภีร์อันมีค่ามากมายไปด้วย และมีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ และเมื่อมหาวิทยาลัยลันทา(ในประเทศอินเดีย) ถูกทำลายซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดียแล้ว ก็ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในเนปาลพลอยเสื่อมลงด้วย คุณลักษณะพิเศษที่เป็นเครื่องประจำพระพุทธศาสนา เช่น ชีวิตพระสงฆ์ในวัดวาอาราม การต่อต้าน การถือวรรณะ การปลดเปลื้องความเชื่อไสยศาสตร์หายไป

                พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล ในยุคแรกเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือแบบเถรวาท ต่อมาเถรวาทเสื่อมสูญไป เนปาลได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระซึ่งใช้คาถาอาคม และพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีนิกายพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ ๆ เกิดขึ้นอีก 4 นิกาย คือ สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ

                ปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทขึ้นในประเทศเนปาลโดยส่งพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปศึกษาในประเทศที่นับถือ พระพุทธศาสนา เช่น ประเทศไทย พม่า ศรีลังกา โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้นพระภิกษุสามเณรชาวเนปาล ซึ่งได้อุปสมบาทและบรรพชาแบบเถรวาทได้มาศึกษาปริยัติธรรมและศึกษาใน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในประเทศเนปาลเองมีสมาคมแห่งหนึ่งชื่อธรรโมทัย สภาได้อุปถัมภ์ให้พระภิกษุสงฆ์จากประเทศศรีลังกาและพระภิกษุสงฆ์ในประเทศ เนปาลที่ได้รับการอบรม มาจากประเทศศรีลังกา ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง พร้อมทั้งมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาท้องถิ่นพิมพ์ออกเผยแพร่เป็น จำนวนมากด้วย

 





 




Create Date : 20 มิถุนายน 2562
Last Update : 20 มิถุนายน 2562 12:58:51 น. 0 comments
Counter : 544 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ปลายฟ้ามีดวงดาว
 
Location :
ร้อยเอ็ด Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





คิดถึงเสมอ ทุกๆก้าวที่เท้าย่ำ
KruAomsin ยินดีต้อนรับคะ
อยากจะบินโบกไปในโลกหล้า

อยากจะบินท่องนภาทั้งไกลใกล้

อยากจะบินสุดฟากฟ้าที่อยากไป

แต่ยังกลัวจะเปลี่ยวใจยามไกลเธอ

บางครั้งความสุข

อาจไม่ได้อยู่ไกล

ความสุขอาจอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบมาไหม

ความสุขอาจเกิดจาก

มิตรภาพของเพื่อน

หรือเพียงแค่

มองทิวทัศน์เบื้องหน้า

ก็อาจสุขสงบได้ที่ใจเรา


ปลายฟ้ามีดวงดาว
New Comments
[Add ปลายฟ้ามีดวงดาว's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com