พฤศจิกายน 2551

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
6 พฤศจิกายน 2551
All Blog
ต้นตะกูไม้โตเร็ว
ไม้ตะกูมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anthocephalus chinensis Rich. Ex Walp. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อสามัญเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
ว่าไม้กระทุ่มหรือกระทุ่มบก (ภาคกลางและภาคเหนือ) ตะโกใหญ่ หรือตะโกส้ม (ภาคตะวันออก) และตุ้มขี้หมู (ภาคใต้) ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้นสามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพแตกหน่อได้ดี มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย เนื้อไม้สามารถนำไปใช้เป็นไม้แปรรูปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำเยื่อกระดาษ ไม้บาง ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ทิเคิลบอร์ด และใช้ในโรงงานทำไม้ขีดไฟได้ดี


ตะกูเป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ขึ้นในป่าดงดิบชื้น ป่าดิบแล้งหรือตามริมน้ำท่ามกลางป่าผลัดใบเรือนยอดมีลักษณะเป็นพุ่มกลม กิ่งตั้งฉากกับลำต้น เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบเนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน ใบเป็นแบบใบเดี่ยวรูปไข่ ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ใบมีขนาดใหญ่ประมาณ 5-12 x 10-24 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลมโคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนาหลังใยมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้านดอกมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ head สีขาวปนเหลืองหรือส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน 2 ช่อ อยู่ตามปลายกิ่ง ผลเป็นแบบผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก ซึ่งเรียกผลแบบนี้ว่า fruiting head มีขนาดความโตวัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.4-6 เซนติเมตร ต้นตะกูที่โตเต็มที่แล้วจะออกในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน หลังจากนั้นผลจะแก่ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ตะกูผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากบรรจุอยู่ภายในเมล็ด ยาวประมาณ 0.66 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 0.44 มิลลิเมตร เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 18 -26 ล้านเมล็ด

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

ตะกูพบในประเทศอินเดีย เนปาล พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ไม้ชนิดนี้เป็นไม้ที่เชื่อว่ามีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี ในประเทศไทยตระกูลมีการกระจายพันธุ์อยู่แทบภาคของประเทศ โดยพบที่เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต โดยมักพบตันตะกูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่น ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

ตะกูจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่ดินลึกและมีความชุ่มชื้นสูง เช่น บนดินตะกอนริมฝั่งแม่น้ำและขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 – 5,000 มิลลิเมตร

การขยายพันธุ์และการเตรียมกล้า

ตะกูสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ (โดยใช้เมล็ด) และไม่อาศัยเพศทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการขยายพันธุ์

1. การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เนื่องจากช่อผล (fruiting head) หนึ่ง ๆ ของตะกูจะให้เมล็ดจำนวนมาก โดยประมาณกันว่าใน 1 ช่อผล (ซึ่งมีประมาณ 110 ผล) จะให้เมล็ดถึง 89,500 เมล็ด ดังนั้นการขยายพันธุ์เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าจึงนิยมใช้เมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์เพราะสามารถเตรียมกล้าไม้ได้เป็นจำนวนมากและง่ายในการดูแลรักษา

การเก็บผลตะกู ผลตะกูเมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม วิธีการเก็บผลกระทำได้โดยการปีนขึ้นไปเก็บบนต้นไม้หรือใช้ไม้สอย ผลที่แก่เต็มที่เมื่อสอยลงมาจากต้นและนำไปเพาะจะมีอัตราการงอกดีกว่าเมล็ดที่ได้จากผลที่หล่นลงมาเอง นื่องจากเมล็ดที่หล่นลงมาเองจะเน่าก้อนนำไปเพาะเป็น
จำนวนมาก สำหรับการแยกเมล็ดออกจากผลนั้นกระทำโดยการผ่านเอาเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณผิวของช่อผลออก แล้วขยี้แยกผลและเมล็ดออกจาก แกนช่อผลก่อนไปผึ่ง
แดดให้แห้ง แล้วนำไปคลุกยาฆ่าเชื้อรา เพื่อนำไปเก็บไว้ในภาชนะหรือขวดที่มีผาปิด





การเพาะเมล็ดตะกู ควรจะกระทำในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม เพราะระยะเวลาดังกล่าวจะทำสะดวกและได้ผลดี เนื่องจากหมดหน้าฝนและอากาศ
ไม่ร้อนจนเกินไปและอีกอย่างหนึ่งกว่าจะย้ายลงถุงชำได้ก็ต้องหลังจากงอกแล้วประมาณ 3 เดือน กล้าไม้จะต้องอยู่ในถึงชำอีก อย่างน้อย 4 เดือน ซึ่งจะมีความสูง
ประมาณ 25 -30 เซนติเมตร ขนาดดังกล่าวนับว่าเหมาะสมที่จะใช้ปลูกได้พอดีในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม

แปลงเพาะเมล็ดควรจะให้ร่มเงาบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากเมล็ดใหม่จะงอกได้ดีถ้าหากมีร่มเงาประมาณ 50 % แต่เมล็ดเก่าจะงอกได้ดีในที่โล่งแจ้ง
ขนาดแปลงควรจะกว้าง 1 เมตร สำหรับความยาวนั้นแล้วแต่ความเหมาะสม ความกว้างขนาดดังกล่าวทำให้การปฏิบัติงานในแปลงเพาะเป็นไปอย่างสะดวก
และง่ายต่อการคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้หว่านเมล็ดลงไป ขอบแปลงก่อด้วยอิฐมอญหรืออิฐบล็อกซึ่งจะทำให้แข็งแรงและทนทาน สะดวกต่อการเตรียมดินเหมาะสำหรับ
เพาะและการดูแลรักษากล้าไม้ลักษณะของกันแปลงควรจะเป็นแบบเปิดหรือไม่มีกัน ทั้งนี้เพื่อให้น้ำฝนหรือน้ำที่รดที่มีจำนวนมากเกินพอซึมลงไปในดินได้สะดวก แต่ละแปลงควรที่จะมีฝาครอบแปลง ซึ่งด้านบนบุด้วยลวดตาข่ายสำหรับป้องกันสัตว์หรือแมลงที่ชอบกินหรือชอบทำความเสียหายแก่เมล็ดและกล้าไม้ ส่วนมากจะใช้ฝาครอบนี้เฉพาะเวลากลางคืนสำหรับกลางวันจะเปิดให้ได้รับแสงเต็มที่ เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น ดินสำหรับเพาะเมล็ดควรจะเป็นดินร่วนปนทราย
ที่มีระบายน้ำได้ดี สำหรับดินในกรณีอื่นควรจะผสมทรายลงไปด้วยประมาณ 50 % ดินที่จะใช้ควรทุบให้ละเอียดโดยแยกเอาเศษไม้ หินและกรวดออกเสียก่อน แล้วค่อยนำไปใส่ลงในแปลงเพาะโดยใส่ให้เต็มเสมอกับขอบแปลง เสร็จแล้วใช้ไม้เหลี่ยมตบแต่งหน้าดินโดยเกลี่ยให้เสมอกับขอบแปลงทุกด้าน ก่อนหว่านเมล็ดลงไป
ในแปลงเพาะให้รดน้ำดินเสียก่อน แล้วทิ้งไว้สักระยะหนึ่งเพื่อให้ดินเกาะตัวแล้วจึงค่อยหว่านเมล็ดลงไป เนื่องจากเมล็ดตะกูมีขนาดเล็กมาก(เฉลี่ยแล้วเมล็ดหนึ่งจะยาว
ประมาณ 0.66 มม.) และมีกากซึ่งเป็นส่วนของผลปนอยู่ด้วย ซึ่งสามารถจะมองเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่าได้ เพื่อจะกะจำนวนเมล็ดให้ได้พอเหมาะกับขนาดของ
พื้นที่ ที่เราจะทำการหว่าน ควรทดลองหว่านเมล็ดลงในกระดาษกราฟเพื่อเป็นการซ้อมมือในพื้นที่ 1 ตารางเมตรเสียก่อน โดยให้มีระยะถี่ห่างพอสมควร เสร็จแล้วนำ
เมล็ด ที่หว่านลงไปทั้งหมดนั้นมาชั่งดูอีกที ด้วยวิธีดังกล่าวเราก็อาจทราบได้โดยประมาณว่าควรที่จะใช้เมล็ดต่อเนื้อที่สักเท่าใด การหว่านเมล็ดตะกูนี้เพื่อความสะดวก
และรวดเร็วควรใช้วิธีหว่านเมล็ดโดยใช้มือหว่านแบบกระจัดกระจาย (broadcast sowing) โดยให้มีระยะสม่ำเสมอคลุมพื้นที่โดยตลอดและคอยระวังอย่าให้เมล็ด
ซ้อนกัน เมื่อหว่านเมล็ดแล้วใช้ไม้เหลี่ยมที่เกลี่ยดินกดทับเมล็ดให้ฝังลงไปในดิน โดยให้ส่วนบนสุดของเมล็ดเสมอกับผิวดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดซ้อนกัน
หรือรวมกันเป็นกลุ่มในเวลาที่เรารดน้ำ จากนั้นใช้ทรายโรยกลบลงไปบนเมล็ดบาง ๆ อีกทีหนึ่ง เพื่อทรายดังกล่าวจะช่วยให้น้ำที่เรารดซึมลงไปในแปลงได้สะดวก และช่วยไม่ให้น้ำขังบนหน้าแปลงอีกด้วย

ในขณะที่เมล็ดยังไม่งอกควรรดน้ำทั้งเช้าและเย็น เพื่อให้ดินในแปลงชื้นอยู่เสมอโดยใช้บัวรดน้ำชนิดที่หัวเป็นฝอยละเอียดเพื่อลดแรงกระแทกของน้ำ น้ำที่ใช้รดกล้าจะให้ดีควรผสมยาฆ่าเชื้อราลงไปด้วย โดยทั่วไปเมล็ดจะงอกหลังจากการเพาะไปแล้วประมาณ 10 – 14 วัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ด
และสภาพของดินฟ้าอากาศ จากการทดลองพบว่าหากเก็บเมล็ดในสภาพชื้นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส นาน 1 - 2 สัปดาห์ จะทำให้เมล็ดตะกูมีอัตราการงอกดีขึ้น
และหลังจากเมล็ดงอกแล้วควรจะลดการให้น้ำลง จนเห็นว่าดินในแปลงนั้นแห้งจริง ๆ จึงค่อยรดน้ำเท่าที่จำเป็นซึ่งอาจเป็นวันละครั้งในตอนเย็นหรือวันเว้นวัน เพื่อป้องกันมิให้กล้าไม้เกิดโรคเน่าคอดินได้

การย้ายชำกล้าไม้ตะกู ควรใช้ถุงพลาสติกขนาด 4 ” x 6 ” หนา 0.10 มม. ถุงพลาสติกก่อนนำไปบรรจุดินต้องใช้ที่เจาะปะเก็นเจาะรูเสียก่อน เพื่อช่วยระบายน้ำ
เมื่อเวลารดน้ำ หรือฝนตกมาเกินไป เพราะถ้าหากให้น้ำขังในถุงชำแล้วอาจทำให้เกิดโรคเน่าคอดินให้แก่กล้าไม้ได้ ดินที่ใช้บรรจุถุงพลาสติกเพื่อชำกล้าไม้เป็นหน้าดิน
จากป่าธรรมชาติ ซึ่งควรจะเป็นดินร่วนปนทรายซึ่งมีการระบายน้ำได้ดีเช่นเดียวกับดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ด จากนั้นนำดินมาผสมกับทรายและขี้เถ้าแกลบในอัตราส่วน
1 : 1 : 1 โดยใช้พลั่วผสมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วบรรจุดินใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูเตรียมไว้ กระแทรกกันถุงให้แน่นและใช้มือขยุ้มพับกันถุงแต่งให้แบนราบ
เพื่อสะดวกต่อการจัดเรียงเป็นแปลง ๆ
กล้าไม้ตะกูหลังจากงอกแล้วจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ามาก จากการทดลองย้ายชำที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร พบว่ากล้าไม้ที่มีอายุ
ประมาณ 3 เดือน ซึ่งมีขนาดความสูงราว 2 – 2.5 ซม. จะมีอัตราการรอดตายประมาณ 80 % สำหรับการให้ร่มกล้าไม้นั้นจะให้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้า
อากาศ เพราะถ้าหากให้ร่มมากเกินไปจะทำให้กล้าไม้ที่ไม่แข็งแรง เพราะจะเจริญเติบโตทางด้านความสูงเร็วเกินไป ทำให้ต้นคดงอ ยอดอ่อน และยังอาจเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายถ้าให้ร่มน้อยไปอาจทำให้กล้าไม้ที่เราชำลงไปรอดตายน้อยเนื่องจากถูกแดดแรงมากเกินไป การถอนหรือขุดกล้าในแปลงเพาะชำเพื่อนำ กล้ามาชำในถุงดิน
นี้ควรต้องรดน้ำในแปลงเพาะให้ชุ่มเสียก่อนเพื่อจะได้ถอนกล้าไม้ได้สะดวก กล้าไม้ที่ถอนขึ้นจากแปลงเพาะควรจะพักหรือเก็บไว้ในถังหรือขันพลาสติกซึ่งมีน้ำบรรจุ
อยู่เพื่อมิให้กล้าเหี่ยว การถอนกล้าไม้เพื่อชำครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรถอนเป็นจำนวนมาก ควรกะให้ชำแล้วเสร็จพอดีภายใน 2 – 3 ชั่วโมง ก่อนชำกล้าไม้ลงถุงควรใช้
ไม้แท่งกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวพอประมาณ เสี้ยมปลายแหลมด้านหนึ่งคล้ายแท่งดินสอ แทงนำลงไปในถุงชำที่ได้รดน้ำเปียกโชกแล้ว โดยกะให้รูนั้นอยู่ตรงกึ่งกลางถุงพอดี แล้วจึงค่อยชำกล้าไม้ลงทีหลัง เวลาชำให้นำส่วนรากของกล้าไม้ใส่เข้าไปในรูดังกล่าว แล้วกดดินโคนต้นกล้าให้แน่น เพื่อป้องกันมิให้รากพับหรือบิดงอ และอย่าให้เกิดช่องว่างภายในรูนั้น หลังจากนั้นรดน้ำทันที่โดยใช้บัวรดน้ำชนิดเดียวกับที่ใช้รดน้ำกล้าไม้ในแปลงเพาะ

การดูแลรักษากล้าไม้ ในระยะหลังจากย้ายชำกล้าไม้ใหม่ ๆ ควรจะรดน้ำในถุงชำทั้งเช้าและเย็นเพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็ว เมื่อกล้าไม้ตั้งตัวได้และได้โรยทรายหยาบ
หน้าถุงชำแล้ว รดน้ำเพียงวันละครั้งในตอนเช้าก็เพียงพอ เพราะถ้าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้กล้าไม้เติบโตทางความสูงเร็วเกินไปซึ่งจะทำให้ต้นอ่อน คดงอ และหักล้มได้ง่าย

การถอนวัชพืช เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชขึ้นเบียดเสียดแย่งอาหารในถุงชำกล้าไม้ตะกูควรทำการถอนวัชพืชอย่างน้อยเดือนละครั้ง ปกติจะถอนวัชพืชภายหลังจากการรดน้ำ
กล้าไม้เสร็จแล้วใหม่ ๆ เพราะดินในถุงชำยังอ่อนอยู่ ซึ่งจะทำให้การถอนวัชพืชดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อถอนวัชพืชแล้วก็แต่งดินหรือทรายหน้าถุงชำ
นั้นให้เรียบร้อย

การตัดราก เนื่องจากหากปล่อยให้รากหยั่งลึกลงไปในดินนอกถุงชำแล้ว เวลาจะขนกล้าไม้ไปปลูกจะทำให้ระบบรากได้รับความกระทบกระเทือนมาก และอาจทำให้ต้น
ไม้ตายได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการตัดรากด้วยวิธีลากถุงหรือเลื่อนถุงชำกล้าไม้โดยใช้มือจับกึ่งกลางถุง กดให้ถุงแนบติดกับพื้นดินในขณะที่เราทำการ
เลื่อนหรือลากถุงก็จะทำให้ราก ดังกล่าวนั้นขาดได้การตัดรากควรจะกระทำอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง

การจัดแยกชั้นความสูง เป็นการเรียงต้นไม้ตามลำดับตั้งแต่สูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้กล้าไม้ทุกต้นได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตเร็วและมีความแข็งแรงกับทั้งยังมีความสะดวกในการคัดเลือกนำกล้าไม้ไปปลูกอีกด้วย

2. การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศนั้น เป็นการขยายพันธุ์แบบที่ไม่ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ ได้แก่ การตัดชำ การติดตา ต่อกิ่ง
เป็นต้น การตัดชำกิ่งไม้ตะกูนั้นได้ทดลองกระทำที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร แต่ก็เป็นเพียงการสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น การปฏิบัติใช้วิธีคล้าย
กับการตัดชำกิ่งสนประดิพัทธ์ โดยตัดกิ่งอ่อนจากต้นที่ปลูกไว้อายุประมาณ 2-3 ปี แล้วชำลงในดินร่วนปนทรายในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยไม่มีการใช้ฮอร์โมน
ช่วยกระตุ้นรากแต่ประการใด ผลการทดลองกระทำในเรือนเพาะชำประสบผลสำเร็จประมาณ 20 % เท่านั้นซึ่งยังจะต้องมีการปรับปรุงการทดลองต่อไป

สำหรับการทดลองขยายพันธุ์ โดยไม่อาศัยเพศวีอื่นที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชรนั้น พบว่าไม้ตะกูสามารถติดตาได้ดีในเดือนมกราคม โดยใช้วิธี
T-budding และสามารถต่อกิ่งได้ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเหล่านี้ เป็นเพียงการทดลองทางวิชาการเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ตะกู เพื่อสร้างสวนผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกสร้างสวนป่าต่อไปเท่านั้น

การเตรียมพื้นที่ปลูก

พื้นที่ที่จะใช้ทำการปลูกสร้างสวนป่าจะต้องจัดเตรียมไว้ให้เรียบร้อยก่อนถึงฤดูการปลูก คือ จะต้องเตรียมพื้นที่ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายนเป็นอย่างช้า การถางป่าควรถางไม้ชั้นล่างตากไว้ให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงโค่นไม้ใหญ่ทับกองในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในหารเก็บสุมเผา ทำให้งานเก็บริมเผาริบน้อยลงเป็นการ
ประหยัดค่าใช้จ่าย การเตรียมพื้นที่ปลูกที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตของต้นไม้เป็นไปได้อย่างดี เป็นการเปิดโอกาสให้กล้าไม้ที่ปลูกได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่ และการเก็บริมสุมเผาเศษไม้เก่ายังเป็นการกำจัดโรคแมลงอีกทางหนึ่งด้วย และหากเป็นไปได้ก็ควรทำการไถพรวนพื้นที่ด้วยรถแทรกเตอร์ เพราะนอกจากจะเป็นการ
พลิกดินให้ร่วนซุยแล้วยังเป็นการกำจัดวัชพืชอีกทางหนึ่ง อันจะส่งผลดีทำให้กล้าไม้ตั้งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น สำหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถจะนำเครื่องจักรกล
หรือรถแทรกเตอร์เข้าไปปฏิบัติงานได้ เช่น พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เป็นภูเขาสูง การเตรียมหลุมปลูกให้กว้างใหญ่จะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน

การปลูกและระยะปลูก

ก่อนที่จะมีการปลูกต้นไม้จะต้องมีการกำหนดระยะปลูกเสียก่อน เพื่อให้สวนป่าเป็นแถวเป็นแนวมีระเบียบ มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน การกำหนดระยะปลูกปกติใช้หลักไม้ไผ่ หรือไม้อื่นใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันทำการปักหลักหมายจุดที่จะปลูกลงบนพื้นที่ ทั้งนี้การกำหนดระยะปลูกจะถี่หรือห่างขึ้น
อยู่กับ วัตถุประสงค์เป็นสำคัญ สำหรับไม้ตระกู ดร. สมศักดิ์ สุขวงศ์ (2522) ได้แนะนำว่า ควรเริ่มต้นระยะปลูกด้วย 2-3 เมตร เพื่อหวังผลในการปกคลุมวัชพืช
ในเวลาต่อมา แต่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าไม้ตะกูเป็นไม้ที่โตเร็วมากและระยะปลูกดังกล่าว
ก็เหมาะที่จะนำเครื่องจักรกลเข้าไปใช้งาน

การปลูกไม้ตะกูก็เช่นเดียวกับการปลูกพรรณไม้ชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะปลูกกันในตอนต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมิถุนายนไปถึงเดือนสิงหาคม เพราะการปลูกตั้งแต่เริ่มฤดูฝนจะช่วยให้ต้นไม้ตั้งตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตได้นานกว่าจะถึงฤดูแล้งต่อไปวิธีการปลูกนั้นก่อนอื่นจะต้องเตรียมหลุม
ปลูกตามตำแหน่ง ที่ปักหลักหมายไว้โดยการขุดหลุมให้มี ขนาดใหญ่ว่ากว่าขนาดของถุงกล้าไม้ประมาณ 2 เท่า ลึกเท่าคอรากของกล้าเมื่อเตรียมหลุมเสร็จแล้วก็
ขนย้ายกล้าไม้ ไปปลูก โดยพยายามให้กล้าไม้ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด ก่อนปลูกต้องกรีดถุงแล้วดึงพลาสติกที่บรรจุกล้าไม้ออก จากนั้นวางกล้าไม้ลงใน
หลุมพยามยาม ให้คอรากของกล้าไม้เสมอกับผิวดิน กลบหลุมปลูกด้วยหน้ากินที่ขุดขึ้นมาอัดดินให้แน่นพอสมควร มัดลำต้นกล้าไม้ให้ติดกับไม้หลักเพื่อช่วยให้ลำต้นตั้งตรง และป้องกันการพัดโยกจากลม

การบำรุงรักษาสวนป่า

การบำรุงสวนป่านี้นับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปลุกสร้างสวนป่าเท่า ๆ กับการปลูกป่าทั้งนี้เพราะหลังจากการปลูกสร้างสวนป่าเต็มพื้นที่แล้ว หากไม่ได้รับการบำรุงรักษาดีแล้วการปลูกป่าก็จะไม่ได้ผล การบำรุงรักษามีขั้นตอนดังนี้

1. การปลูกซ่อม ภายหลังการปลูกประมาณ 30 -60 วัน ควรจะได้ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การอดตายของกล้าไม้ตะกู และทำการปลูกซ่อมต้นไม้ที่ตายทันที ทั้งนี้อยู่ในระยะปลายฤดูฝนหรือยังมีฝนตกอยู่

2. การปราบวัชพืช ควรทำเมื่อวัชพืชนั้น ๆ จะปกคลุมต้นไม้จนเป็นเหตุให้การเจริญเติบโตไม่ดี ควรทำตั้งแรกให้แล้วเสร็จในปลายฤดูฝนหรือหมดฝนแล้ว ปกติจะทำในราวเดือนพฤศจิกายนสำหรับต่อไปควรจะถางวัชพืชในตอนต้นฤดูฝนเพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เต็มที่ และควรทำอีกครั้งในตอนปลายฤดูฝน เพื่อป้องกันไฟมิให้ลุกไหม้สวนป่าเสียหาย

3. การทำแนวกันไฟ ควรดำเนินการให้เสร็จก่อนเดือนกุมภาพันธ์ หากเป็นไปได้ควรใช้รถแทรกเตอร์ไถให้เตียนเป็นแนวรอบสวนป่า กว้าง 10 – 12 เมตร ซึ่งแนวกันไฟที่จัดทำไว้จะใช้เป็นทางตรวจการได้ด้วย

4. การชิงเผา สวนป่าที่มีวัชพืชหนาแน่นควรจะได้ถางแล้วเกลี่ยจากให้กระจายทั่วสวนแล้วชิงเผาในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดเชื้อเพลิงและป้องกันไฟไหม้สวนป่า

5. การตัดสางขยายระยะ สวนป่าแต่ละแห่งเมื่อมีอายุมากขึ้นต้นไม้จะขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น ทำให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง จึงต้องทำการตัดสางต้นไม้ออกเสียบางส่วนเพื่อขยายระยะห่างระหว่างต้นไม้ให้กว้างขึ้น ผลพลอยได้จากการตัดสางขยายระยะก็คือการขายไม้ที่ตัดออก ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนในการลงทุนทางหนึ่งก่อนจะถึงวัยตัดฟัน

การป้องกันโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ
ตะกูเป็นพรรณไม้เบิกนำซึ่งตามธรรมชาติจะขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ฉะนั้นศัตรูธรรมชาติ เช่น โรคและแมลงจึงมีน้อยกว่าพรรณไม้ดั้งเดิมที่ชอบขึ้นเดี่ยว ๆ แต่อย่างไรก็ตามที่ในซึ่งไม้ตะกูขึ้นอย่างหนาแน่นอาจพบหนอนผีเสื้อ Arthroschita hilaralis (pyralidae) เจาะทำลายบ้าง นอกจากนี้อาจพบพวกนีมาโทดจำพวก Meloidogyne sp. เกาะทำลายเรือนรากทำให้ต้นไม้ตายได้ ในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ จากการทดลองกับต้นตะกูอายุ 6 เดือน พบว่าตะกูส่วนใหญ่จะติดเชื้อด้วยโรค
จากนีมาโทดชนิดนี้และจากการใช้ยาดีดีทีในอัตรา 40 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นให้ต้นไม้เจริญเติบโตดีขึ้น

สำหรับโรคราในแปลงเพาะกล้าไม้ตะกูนั้น เท่าที่พบโรคเน่าคอดิน ( dumping off ) จะเป็นอันตรายที่สุดในระยะเริ่มแรก Bholachai , p. (1976) พบว่าหากหว่านเมล็ดตะกูลงในพื้นที่ขนาด 30 x45 ซม. 2 โดยใช้เมล็ดหนักมากกว่า 3 กรัม แล้วจะทำให้เกิดโรคคอดินอย่างรุนแรงเนื่องจากกล้าไม้มีความหนา
แน่นมากเกินไปและขนาดความหนาแน่นที่เหมาะสมที่สุดคือใช้เมล็ดหนักประมาณ 0.5 – 3 กรัม ต่อพื้นที่ขนาดดังกล่าว

การเจริญเติบโตและผลผลิต

อัตราการเจริญเติบโตของต้นตะกูในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังย้ายปลูกแล้ว 1 ปี อาจสูงถึง 3 เมตร อัตราการเจริญเติบโตทาง
ความสูง โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 ถึง 3 เมตรต่อปีติดต่อกันไปนาน 6-8 ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3 – 7.6 เซนติเมตร/ปี เมื่ออายุเลย 20 ปี
แล้วอัตราการเจริญเติบโตจะลดลง Whitmore (1975) ได้รายงานว่าหากใช่รอบหมุนเวียน 30 ปี ต้นอาจโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 65 เซนติเมตร และสูง 38 เมตร ให้ผลผลิตประมาณ 56 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ในประเทศฟิลิปปินส์ Manzo et al. (1971) ได้บันทึกไว้ว่าตะกูสามารถเจริญเติบโตถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 45 เซนติเมตร และสูง 12.6 เมตรในเวลา 12 ปี ทีปอเตอริโกสวนป่าตะกูที่นำพันธุ์ไปจากอาเซียบางต้นหลังจากปลูกแล้ว 5 ปี มีความโตเต็มที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตประมาณ 280 เซนติเมตร สูงประมาณ 27 เมตร และที่สวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทราเมื่ออายุ 14 ปี มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 18.82 เมตร มีความโตทางเส้นรอบวง 75.93
เซนติเมตร โดยให้ปริมาตร 29.35 ลูกบาศก์เมตร /ไร่ หรือ 183.44 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์

การใช้ประโยชน์

ไม้ตะกูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมไหลายประเภท เช่น การทำไม้อัด ไม้บาง ก้านไม้ขัดไฟ ไฟเบอร์บอร์ด พาทิเคิลบอร์ด พาทิเคิลบอร์ด
แปรงลบกระดาน และรองเท้าได้เป็นอย่างดี

การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในอุตสาหกรรมทำเยื่อและกระดาษ ที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปใช้ทำกระดาษเขียนหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง

นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก
ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษโดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5 – 10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคต สามารถปลูกเป็น
สวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากี่สุดชนิดหนึ่ง

จากหนังสือ เอกสารส่งเสริมการปลูกป่า กองบำรุง กรมป่าไม้




Create Date : 06 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2551 18:26:58 น.
Counter : 9613 Pageviews.

11 comments
  
ขอบคุณมากค่ะ

เมื่อเดือนที่แล้วนั่งรถผ่านแถวฉะเชิงเทรา

แล้วเห็นป้ายประกาศขายกล้าต้นตะกู

เยอะมาก ได้แต่สงสัยว่าต้นอะไร

ไม่เคยได้ยินชื่ิอ เห็นท่าช่วงนี้จะมาแรง

เมื่อก่อนเห็นนิยมขายยูคาฯ

ตอนนี้คงต้องตะกูเท่านั้น

โดย: มังกรเขียวหัวยุ่ง (cruduslife ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:27:32 น.
  
นู สกิน
โดย: นู สกิน (mlmboy ) วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:42:59 น.
  
ตะกูไม้เศรษฐกิจตัวใหม่กำลังนิยมกันมากต้นกล้าตกต้น29บาท ซึ่งโตเร็วมากๆคับ น่าปลูก ทางใต้เรียกว่าต้น ท่อมขี้หมู
โดย: binlaman IP: 117.47.177.88 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:8:19:02 น.
  
สวัสดีค่ะ
ขอ add เป็นบล๊อกนะคะ
สนใจเรื่องการขยายพันธุ์เฟิร์นจากสปอร์ค่ะ
ตอนนี้เพิ่งจะเริ่มหัดขยายพันธุ์เฟิร์นข้าหลวงค่ะ
ในนี้ความรู้เยอะแยะเลย
ขอปรึกษาในคราวต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ
โดย: maru วันที่: 12 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:12:00 น.
  
เพิ่งลองหว่านสปอร์ลงขุยมะพร้าวในกล่องพลาสติกไปค่ะ

กำลังรอพีทมอสที่สั่งไว้ แล้วจะหว่านเพิ่ม
แต่ไม่มั่นใจเลย ว่าสปอร์ที่หว่านพอมั้ย เป็นยังไง

คงต้องรอลุ้นอย่างเดียวใช่มั้ยคะ
โดย: maru วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:13:21 น.
  
หว่านสปอร์บนขุยมะพร้าวไม่ค่อยงอกคับ ถ้างอกก้งอกช้าคับ ใช้พีชมอสดีก่าคับงอกดีกว่ากันเยอะ
โดย: binlaman IP: 117.47.178.93 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:44:10 น.
  
สนใจต้นตะกูติดต่อบริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด
โดย: บรษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด IP: 222.123.49.207 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:13:19:08 น.
  
สนใจปลูกตะกู(พันธุ์ก้านแดงเท่านั้น)ติดต่อเรา บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด 044283987
หรือคุณณา 0806134196
โดย: บ. ไม้สักหลวงไทย จำกัด IP: 222.123.222.179 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:12:32 น.
  
www.grand-biz.com , //www.agroforests.com
เมล็ดพันธุ์ต้นกล้าต้นตะกูพันธุ์ก้านแดง "บิ๊กเรด” ตราดาวทอง (GOLD STAR Brand) คุณภาพมาตรฐานส่งออก Anthocephalus Chinensis Seeds - Tagoo Seeds (GOLD STAR Brand)


* เมล็ดตะกูก้านแดง "บิ๊กเรด" ตรา ดาวทอง (GOLD STAR) คัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นพ่อพันธุ์ที่แข็งแรง สมบูรณ์ โตเร็ว

* มีกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน เมล็ดพันธุ์พืชควบคุม (Seeds Control)

* บรรจุซองฟอลย์ (Foil) ปิดผนึก ประมาณ 300 เมล็ด

* ความงอก (Germination) 80 % ขึ้นไป

* ความบริสุทธิ์ (Purity) 98%

* ราคาซองละ 350 บาท

(โดยธรรมชาติเมล็ดพันธุ์ จะมีอัตราความงอกลดลงเรื่อยๆ ดังนั้น จึงควรที่จะทำการอบ คัดเลือกเมล็ดเสีย เมล็ดลีบ ทำความสะอาด ฯลฯ มีกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้อง ตามมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช และบรรจุซองฟอลย์ เพื่อรักษาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน)
Anthocephalus Chinensis Seeds - Tagoo Seeds (GOLD STAR Brand)
* Selected seeds from strongest and fast growing Tagoo's parent
* Foil Packing 300 seeds/pack
* Germination 80%
* Purity 98 %
* Price 350 baht/pack
www.grand-biz.com , //www.agroforests.com
โดย: agroforests IP: 58.9.93.214 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:13:34:03 น.
  
เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองงตัดดอกลูกผสม ภูพานเพชร เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองกระถางลูกผสม ภูพานทอง
Marigold Seeds F1 PhuPhanPhet – PhuPhanThong
hạt giống hoa cúc vạn thọ (PhuPhanPhet) - PhuPhanThong

เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองลูกผสม ภูพานเพชร
ความสูงต้น 70-100 ซม. ขนาดดอก 8-10 ซม. อายุออกดอก 58 วัน หลังเพาะเมล็ด
Marigold Seed F1 PhuPhanPhet
Plant Height 70-100 cm. Flower size 8-10 cm. first flower 58 days after seedling.
hạt giống hoa cúc vạn thọ (PhuPhanPhet)
Cây cao từ 70-100 cm cho hoa kích thước 8-10cm. Cây sẽ ra hoa sau 58 ngày gieo hạt


เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองลูกผสม ภูพานทอง
ความสูงต้น 30-45 ซม. ขนาดดอก 7-9 ซม. อายุออกดอก 45 วัน หลังเพาะเมล็ด
Marigold Seed F1 PhuPhanThong
Plant Height 30-45 cm. Flower Size 7-9 cm. first flowering 45 days after seedling
hạt giống hoa cúc vạn thọ (PhuPhanThong)
Cây cao từ 30-45cm cho hoa kích thước 7-9cm. Cây sẽ ra hoa sau 45 ngày gieo hạt

ดูรายละเอียด เพิ่มเตืม
www.agroforests.com

www.phuphanphet.com

www.greenbullseed.com

Email: greenbullseed@gmail.com
โดย: เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองงตัดดอกลูกผสม ภูพานเพชร เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองกระถางลูกผสม ภูพานทอง IP: 112.143.48.115 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:9:32:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

binlaman
Location :
พัทลุง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]



Fern love the life.