Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

<<
มีนาคม 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
9 มีนาคม 2555
 

วิธีละอกุศล Removal of Evil Unwholesome Thoughts

เมื่อเวลาเกิดอกุศลในจิต เราจะละอย่างไร?

วิธีละมีอยู่ แต่ว่า คนที่จะรู้ว่า ตัวเองมีอกุศลเกิดแล้ว (เช่นมีนิวรณ์เกิดขึ้น) จะต้องมี “สติ” เสียก่อน

มี “สติ”​ รู้ว่า เรามีอกุศลในจิตแล้ว จึงจะสามารถใช้ 1 ใน 5 วิธีต่อไปนี้ เพื่อละอกุศลได้

1 ถ้าคิด (ทำในใจ) ซึ่งเรื่องใดอยู่แล้วเกิด อกุศลขึ้น ก็ให้ “เลิก” หรือ “เปลี่ยน” เรื่องที่คิด (ทำในใจ) นั่นซะ (เช่นถ้าคิดถึงเสื่อ/หมอน แล้วง่วง ก็ให้เลิกคิดถึงเสื่อหมอนซ่ะ) คิดอย่างอื่น

ภิกษุ ท ! เมื่อภิกษุในกรณีนี้ อาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่งนิมิต ใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น, ภิกษุนั้น พึงละนิมิตนั้นเสียกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบอยู่ด้วยกุศล. เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจถึงนิมิตอื่นนอกไปจากนิมิตนั้น อันประกอบอยู่ด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้างประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นจิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนช่างทำแผ่นไม้กระดาน หรือลูกมือของ เขา ผู้ฉลาด ตอก โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกเสียได้ ด้วยลิ่มอันเล็ก นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ภิกษุนั้นอาศัยนิมิตแห่งกุศล เพื่อละเสียซึ่งนิมิตแห่งอกุศล ทำจิตให้เป็นสมาธิได้).

“Here, bhikkhus, when a bhikkhu is giving attetion to some sign, and owing to that sign there arise in him evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion, then he should give attention to some other sign connected with what is wholesome. When he gives attention to some other sign connected with what is wholesome, then any evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion are abandoned in him and subside. With the abandoning of them his mind becomes steadied internal1y, quieted, brought to singleness, and concentrated.

Just as a skilled carpenter or his apprentice might knock out, remove, and extract a coarse peg by means of a fine one, so too … when a bhikkhu gives attention to some other sign connected with what is wholesome … his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated

2 ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ให้เห็นโทษ​ของอกุศลนั้น

ภิกษุ ท ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ละนิมิตนั้นแล้ว กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้ ภิกษุนั้น พึง เข้าไปใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้น ว่า “วิตกเหล่านี้เป็นอกุศล” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ประกอบไปด้วยโทษ” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ มีทุกข์เป็นวิบาก” ดังนี้บ้าง. เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะการละเสียซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ชอบการประดับ ตกแต่ง เมื่อถูกเขาเอาซากงู ซากสุนัข หรือ ซากคน มาแขวนเข้าที่คอ ก็จะรู้สึกอึดอัด ระอา ขยะแขยง นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน(ที่ภิกษุนั้นอึดอัด ระอา ขยะแขยง ต่อโทษของอกุศลวิตกอยู่).

“If, while he is giving attention to some other sign connected with what is wholesome, there still arise in him evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion, then he should examine the danger in those thoughts thus: ‘These thoughts are unwholesome, they are reprehensible, they result in suffering.’ When he examine the danger in those thoughts, then any evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion are abandoned in him and subside. With the abandoning of them his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness,and concentrated.

Just as a man or a woman, young, youthful, and fond of ornaments, would be horrified, humiliated, and disgusted if the carcass of a snake or a dog or a human being were hung around his or her neck, so too … when a bhikkhu examines the danger in those thoughts … his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated

3 ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ให้เลิกทำส่ิงที่เป็นอกุศลนั้นซ่ะ ไปคิดเรื่องกุศลก็ได้

ภิกษุ ท ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษ แห่งอกุศลวิตก เหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้างก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นอย่าพึงระลึกถึง อย่าพึงกระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น อยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปเหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการละเสียซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนบุรุษมีตา แต่ไม่ต้องการจะเห็นรูปอันมา สู่คลองแห่งจักษุ เขาก็จะหลับตาเสีย หรือจะเหลียวมองไปทางอื่นเสีย นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นจะไม่ทำการระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น).

“If, while he is examining the danger in those thoughts, there still arise in him evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion, then he should try to forget those thoughts and should not give attention to them. When he tries to forget those thoughts and does not give attention to them, then any evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion are abandoned in him and subside. With the abandoning of them his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated.

Just as a man with good eyes who did not want to see forms that had come within range of sight would either shut his eyes or look away, so too … when a bhikkhu tries to forget those thoughts and does not give attention to them … his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated.

4 ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ให้มองแง่อื่น คือปรุงแต่งให้เป็นอย่างอื่น Reframe ซ่ะ

ภิกษุ ท ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศล วิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้,ภิกษุนั้น พึง กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบด้วยอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นจิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนบุรุษเดินเร็วๆ แล้วฉุกคิดว่าเราเดินเร็วๆ ไปทำไม เดินค่อยๆดีกว่า เขาก็เดินค่อยๆ แล้วฉุกคิดว่า จะเดินค่อยๆไปทำไม ยืนเสียดีกว่า เขาก็ยืน แล้วฉุกคิดว่าจะยืนไปทำไม นั่งลงเสียดีกว่า เขาก็นั่งลง แล้วก็ฉุกคิดว่า จะนั่งอยู่ทำไม นอนเสียดีกว่า เขาก็นอน : ภิกษุ ท ! อย่างนี้แหละที่บุรุษนั้นเปลี่ยนอิริยาบถหยาบๆ มาเป็นอิริยาบถละเอียดๆ นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น พิจารณารูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตกไปตามลำดับๆ).

“If, while he is trying to forget those thoughts and is not giving attention to them, there still arise in him evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion, then he should give attention to stilling the thought-formation of those thoughts. When he gives attention to stilling the thought-formation of those thoughts, then any evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion are abandoned in him and subside. With the abandoning of them his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated.

Just as a man walking fast might consider: ‘Why am I walking fast? What if I walk slowly?’ and he would walk slowly; then he might consider: ‘Why am I walking slowly? What if I stand?’ and he would stand; then he might consider: ‘Why am I standing? What if I sit?’ and he would sit; then he might consider: ‘Why am I sitting? What if I lie down?’ and he would lie down. By doing so he would substitute for each grosser posture one that was subtler. So too … when a bhikkhu gives attention to stilling the thought-formation of those thoughts … his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated.

5 ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ให้หักดิบที่จิตเลย

ภิกษุ ท ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่ง การปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง โวยโมหะบ้างก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นพึงขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง.เมื่อภิกษุนั้นกระทำอยู่ดังนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้.เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท ! เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง จับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะที่คอ หรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่ บีบคั้น ทำให้เราร้อนเป็นอย่างยิ่ง นี้ ฉันใด ; ภิกษุ ท ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน(ที่ภิกษุนั้น ข่มจิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิตเผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง)

If, while he is giving attention to stilling the thought-formation of those thoughts, there still arise in him evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion, then with his teeth clenched and his tongue pressed against the roof of his mouth, he should beat down, constrain, and crush mind with mind, then any evil unwholesome thoughts connected with desire, with hate, and with delusion are abandoned in him and subside. With the abandoning of them his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated.

Just as a strong man might seize a weaker man by the head or shoulders and beat him down, constrain him, and crush him, so too … when with his teeth clenched and his tongue pressed against the roof of his mouth, a bhikkhu beats down, constrains and crushes mind with mind … his mind becomes steadied internally, quieted, brought to singleness, and concentrated.

เมื่อทำดังนี้แล้ว จะทำให้ “มีอำนาจเหนือจิต” ได้

ภิกษุ ท ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้มีอำนาจในคลองแห่งชนิด ต่างๆของวิตก : เธอประสงค์จะตรึกถึงวิตกใดก็ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ประสงคค์จะตรึงถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ เธอนั้น ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ แล

This bhikkhu is then called a master of the courses of thought. He will think whatever thought he wishes to think and he will no think any thought that he does not wish to think He has severed craving, flung off the fetters, and with the complete penetration of conceit he has made an end of suffering.

ที่มา
//puredhamma.com/2011/03/25/let-go-unwholesome/




 

Create Date : 09 มีนาคม 2555
0 comments
Last Update : 9 มีนาคม 2555 17:32:39 น.
Counter : 2121 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com