Group Blog
 
 
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
10 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
เรื่องมาก มากเรื่อง กับเบรกเกอร์

เรื่องไฟดูด ไฟช็อต แม้ไม่เจอกับตัวก็ป้องกันไว้ดีกว่า เพราะบางครั้งแก้ไม่ได้ ใครเคยถูกไฟดูด คงรู้ว่าน่ากลัวอย่างไร

ที่นี้พอมีจะบ้าน เป็นของตนเอง ก็บอกน้องที่ดูแลไฟ ว่าเราขอเบรคเกอร์ ชุดกันดูดกันรั่ว แต่ไม่เอาแบบ electronic ขอเป็นชุดเบรกเกอร์ โดยระบุก่อนสร้างเลยว่าขอ ABB หรือไม่ก็ squareD โดยขอ earth leak circuit breaker สำหรับเครื่องทำน้ำร้อนน้ำอุ่นทุกตัว

เอาเข้าจริง โครงการติดแผงเบรกเกอร์ให้ 1 ชุด ยี่ห้อที่เราไม่รู้จัก search ใน internet ก็ไม่เจอ เลยไม่แน่ใจ

ไปเดินดูอาคารสำนักงานของโครงการที่เพิ่งสร้างพร้อมๆกับบ้านเรา ปรากฏว่าเขาใช้ SquareD กันทั้งตึก



เราก็เลยไม่ยอม เอาหละ เราขอซื้อเองหมดเลยดีกว่า

ตอนไปเดินงาน Homework ที่ไบเทคเมื่ออาทิตย์ก่อน ก็เลยได้ไปซื้อเบรกเกอร์บางตัวที่ราคาแพงหน่อย ตอนแรกจะเอา ABB ไปดูราคาก่อนหน้านี้ของเขาราคาค่อนข้างแพง เห็นราคาโปรโมชั่นในงานก็เลยกะว่าจะเอาแล้วเชียว แต่เดินผ่าน SquareD เสียก่อน ไปยืนคุยกับคนขายเสียนาน ประกอบกับราคาที่ถูกกว่าอีกเล็กน้อย เลยได้มาหลายตัวเลยหละ
มี main circuit 63 amp ที่กันดูดด้วย 2800 บาท
ตามด้วย surge protection 1900 บาท (ตัวนี้เคยไปเดินหาที่วรจักร ไม่ค่อยมีคนสั่งมาขาย)
ELCB 40 A 1200 บาท
ELCB 30 A 1200 บาท
ELCB 30 A 1200 บาท
ตัวย่อย ในงาน 113บาท เลยกะว่าจะกลับไปซื้อที่หาดใหญ่ แต่ไปเดินเที่ยวแถวคลองถม มีร้านที่เปิดขายอยู่เลยเข้าไปถามดู ปรากฎว่าตัวละ 95 บาท เลซื้มาอีก 17 ตัว
Circuit Breaker (CB) 20 A 9 ตัว
CB 16 A 8 ตัว

เป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว หากใครมีแคตตาล็อกของ SquareD จะพบว่า "ราคาตั้ง" สูงกว่า "ราคาขาย" จริงมาก ก็เพิ่งรู้ว่าเวลาขายจริง เขาจะลดจากราคาตั้งประมาณ 40-50 % เป็นเรื่องปกติ อย่างที่หาดใหญ่ ร้านใหญ่ๆ จะลด 40 % แล้วบวก vat 7%
ถ้าไปเดินใน Homepro ตอนเขาโชว์แค็ตตาล็อก แล้วเราเห็นราคาขาย ก็อดคิดว่า homepro ลดมาเยอะ ที่ไหนได้ homepro ขายแพงกว่าร้านทั่วไปเสียอีก


ลองมาดูว่า เราติดอะไรลงไปบ้าง

ตัวใหญ่สุด คือ main breaker กันไฟรั่วด้วย ตัวนี้ครับ



ตัวนี้มี 2 ขั้วเหมือน main breaker ทั่วไป (คือ 1 ชุดของ เบรคเกอร์ จะมี "พี่ใหญ่" คุมตัวเล็กๆ ทั้งหมดในบ้าน ขึ้นกับเราใช้ไฟฟ้ากระแสรวมทั้งบ้านมากขนาดไหน ก็เลือกใช้ขนาดนั้น ) ขั้วหนึ่งจะต่อสาย L (Line? สายที่มีกระแสไฟจากภายนอกบ้านเข้ามาเลย เอาไขขวงทดสอบไฟทดสอบจะมีไฟขึ้น) อีกขั้วจะไปเชื่อมกับแท่งโลหะที่ต่อจากสาย N (neutral หรือสายศูนย์ เอาไขขวงทดสอบไฟทดสอบจะไม่มีไฟขึ้น) อันนี้สำคัญมากๆ ต่อสลับ ไฟในบ้านจะอันตรายมากๆ เหมือนข่าวที่มีคุณผู้หญิงท่านหนึ่ง ถูกไฟจากเครื่องทำน้ำอุ่นดูด ก็เพราะต่อ 2 สายนี้สลับกัน

ลองไปอ่านดู

//www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=18375




หลังจาก "พี่ใหญ่" ก็มาเจอ "ยาม" อันแรกเลยครับ กันไฟกระชากจากฟ้าผ่า

ไม่รู้เป็นไง ที่ช่วงนี้ มีข่าวคนถูกฟ้าผ่า มีให้ได้ยินเรื่อยๆ อากาศเปลี่ยนแปลงไปมากๆ จนคาดไม่ถึง surge protection ก็เป็นเรื่องของการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ที่ถือว่าไม่แพงเลย ปลายปีที่แล้ว หลังฟ้าผ่า ซึ่งไกลจากแถวห้องพักผมแน่ๆ (ฟ้าแล็บ กับฟ้าร้องห่างกันพอควร) ที่วีสี sony 29 นิ้วของผม ตั้งแต่นั้นก็ไม่มีสีเหลืออยู่เลย เป็นทีวีขาวดำไปซะงั้น ต้องส่งซ่อม ผลคือต้องเปลี่ยน แผงอะไรสักอย่าง สองพันกว่าบาท ช่างก็ส่งสัยว่า คงมีไฟกระชากหลังฟ้าผ่า จริงหรือไม่จริงไม่รู้ แต่ผมขอติดตัวนี้ไว้ก่อน ราคา 1900 บาทไม่แพงเลยครับ กับอุปกรณ์อีกหลายตัวที่มีราคาแพงกว่า

(ถ้าสังเกตจากรูปโบชัวร์ข้างบนนี้จะเห็นว่า หนุ่มน้อยที่ดูบอลตอนฝนตกฟ้าคะนอง เขาต่อสัญญาณภาพจาก internet ถ้าเข้าไปอ่านข้อมูลเรื่องกันฟ้าผ่าจะพบว่าตัวที่ติดไปนี่ มันไม่กันฟ้าที่ผ่าลง สายสัญญาณหรือที่เรียกว่าเสาอากาศ เพราะไฟกระชากจะเข้ามาคนละทางกับสายไฟฟ้า ถ้าจะกันฟ้าผ่าลง เสาอากาศด้วย ก็ต้องมีตัวกันที่่ช่องต่อสายสัญญาณเข้า TV ด้วยนะครับ)



ถ้าสนใจอ่าน คำถามตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ลอง dl อันนี้มาอ่านดู

//www.schneider-electric.co.th/pdf/QOSPD225%20FAQ%20SHEETS%20V1.pdf


ถัดจากนี้ไปก็จะเป็นตัวเล็กๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ ไปควบคุม เครื่องใช้ไฟฟ้า ในส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น ปลั๊กไฟฟ้า แสงไฟ เป็นต้น อาจแยกไปเป็นชั้นของบ้าน ห้องของบ้านด้วยก็ได้ ประโยชน์คือ ถ้ามีไฟเกิน ไฟลัดวงจรที่ใด ถ้ายิ่งแยกสะพานไฟเล็กๆ ย่อยๆ พวกนี้มากๆ ก็จะทำให้มีการตัดไฟ เฉพาะที่มากขึ้น ไม่ต้องดับไปทั้งบ้าน เราก็จะไล่จุดที่มีปัญหาได้ง่ายขึ้น

แต่ที่มักจะเน้นเป็นพิเศษคือ ส่วนที่มีโอกาศจะเกิดไฟดูดกับเราง่ายๆ ได้แก่เครื่องทำน้ำร้อน น้ำอุ่น ก็ควรต่อ เบรคเกอร์พิเศษ ที่จะกันดูดได้ด้วย


อย่างที่เราคุ้นๆ ก็คือ ติด safe-T-cut ไปเลยตัวเดียวคุมทั้งบ้าน แต่ลองไปอ่านที่พี่ๆ ในห้องชายคาแนะนำ ผมสรุปเอาว่า แยกเป็นแบบกันดูด earth leak circuit breaker ดีกว่า (ลอง search คำว่า safe t cut หรือ ELCB ดูจากกระทู้ของห้องชายคาดูครับ) แล้วก็เลือกตามกระแสไฟตามกำลังของเครื่องทำความร้อนตัวนั้นๆครับ



สิ่งที่สำคัญของตัวกันดูดพวกนี้คือปริมาณไฟที่มันจะตัด หรือความไวนั้นเอง ส่วนใหญ่ของตัวลูกก็คือ 15 mA ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกไหม ว่า ELCB พวกนี้ก็จะค่อยเปรียบเทียบไฟที่ส่งไปเครื่องใช้ไฟฟ้า กับไฟที่กลับมา (ไฟฟ้าวิ่งเป็นวงจรคงวิ่งไปวิ่งกลับตามวงจร) ทีนี้ถ้าไฟกลับ กลับมาไม่เท่ากับไฟไป เช่นไปรั่ว หรือที่เข้าตัวเราที่เรียกว่าดูด มันก็จะตัด ยิ่งตัวเลขต่ำๆ มันก็จะมีความไวสูง กลับมาแม้ลดไปนิด ก็ตัดไว ของ safe T cut ไวสุดๆ เพราะมีวงจรพิเศษควบคุม แต่ผมเห็นบางคนไปบ่นว่า ไม่เห็นมีอะไรมันก็ตัด

ตัวเล็กตัดที่ 15 mA ตัวใหญ่ตัดที่ 30 mA ดังนั้นถ้าไฟดูดที่เครื่องทำน้ำอุ่น มันก็จะตัดเฉพาะตัวที่คุมเครื่องทำน้ำอุ่นก่อน โดยที่ระบบอื่นๆยังใช้งานได้ ส่วนถ้าไฟดูดจากปลั๊กไฟหรือ แสงส่องสว่าง ก็จะตัดที่ 30 mA อันนั้นดับทั้งบ้าน

จบละ

อันนี้คือรวม link ต่างๆที่มีประโยชน์
//topicstock.pantip.com/home/topicstock/2007/05/R5463099/R5463099.html

//www.htg2.net/index.php?topic=9891.0;prev_next=prev

//en.wikipedia.org/wiki/Circuit_breaker


เขียนตอนหุ้นตก 10 ตุลาคม 51 มีเรื่อง circuit breaker ในตลาดหุ้นเหมือนกันแหะ


Create Date : 10 ตุลาคม 2551
Last Update : 11 ตุลาคม 2551 6:52:11 น. 9 comments
Counter : 6543 Pageviews.

 
เมื่อก่อนไม่เคยสนใจเรื่องนี้เลย ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ


โดย: T&P IP: 115.67.7.26 วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:17:14:23 น.  

 


โดย: nuclearmedicine วันที่: 15 ตุลาคม 2551 เวลา:0:07:16 น.  

 
เรากลัวเรื่องไฟมากเหมือนกันค่ะ


โดย: นภชล วันที่: 16 ตุลาคม 2551 เวลา:16:47:31 น.  

 
บ้านคุณนภชลใหญ่ขนาดนั้น ต้องวางแผนเรื่อง เบรกเกอร์ดีๆ เลยนะครับ


โดย: nuclearmedicine วันที่: 16 ตุลาคม 2551 เวลา:23:45:05 น.  

 
เยี่ยมดี มีประโยชน์มาก...ขิบคุณ


โดย: คุณนาย..สนุ่น IP: 117.121.208.2 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:18:56 น.  

 
เอ๊ะ แต่ว่าเท่าที่รู้มากันดูด SquareD เค้าเป็นระบบ electronic ทั้งหมดเลยใช่มั้ยครับ รู้สึกว่าเพื่อนเคยบอกมาว่างั้นนะครับ


โดย: PV IP: 203.146.16.141 วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:15:03:02 น.  

 
ผมขอถามวิธีการต่อสายของ ลูกย่อยกันไฟดูดของ SquareD ว่า สายไฟสีฟ้าที่ขดม้วนมากับตัวนั้น ให้เราต่อกับอะไร และ ที่ว่า Nout ต่อกับอะไรครับ
ตอนนี้ผมไม่แน่ใจ คิดว่าจะต่อรวมทั้งสายสีฟ้า กับNout เข้ากับสายดินแท่งทองแดง ก็กลัวว่าเบรคเกอร์จะไม่ตัดตอนโดนไฟดูด ขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับความเผื่อแผ่แก้ผู้ไม่รู้ ขอบคุณมากครับ


โดย: ชัยสิริวัฒน์_อุบลฯ IP: 125.26.124.205 วันที่: 14 มีนาคม 2553 เวลา:22:27:54 น.  

 
ขอโทษไม่ได้เข้ามาดูนาน

คุณชัยสิริวัฒน์ ไม่รู้เข้ามาอ่านอีกไหม

ผมให้ช่างต่อให้ครับ ไม่ได้เฝ้าดูด้วยสิ

ขอตอบว่า ผมไม่รู้จริงครับ ไม่แนะนำดีกว่า



โดย: nuclearmedicine วันที่: 8 เมษายน 2553 เวลา:3:12:03 น.  

 
ขออธิบายเป็นความรู้เพิ่มเติมนะครับสาย1เส้นที่ติดมากลับตัวelcbให้เอาปลายสายไปต่อกับขั้วต่อของนิวทอลครับ

จากช่างเอ อาคารเดอะบรีซ


โดย: ช่างเอ IP: 1.46.106.245 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา:5:07:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เบลอมัวเลือน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เบลอมัวเลือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.