GOR 339 (General Operation Requirement No.339) ประกาศความต้องการคุณสมบัติทั่วไปหมายเลข 339 )
ประกาศนี้ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1957 โดยกำหนดคุณลักษณะของบ.ที่กองทัพอากาศอังกฤษต้องการไว้ดังนี้
เป็นบ.ที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียง ปฏิบัติการบินได้ทุกกาลอากาศ และบ.นี้จะต้องมีความสามารถในการบรรทุกและโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีพิสัยการบินไกล ความเร็ว ณ เพดานบินสูง ต้องไม่ต่ำกว่า 2เท่าของความเร็วเสียง และที่ระดับต่ำ ต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 1.2เท่าของความเร็วเสียง อีกทั้งยังต้องปฏิบัติการได้จากทุกสนามบิน แม้แต่สนามบินที่ขรุขระ โดยมีคุณลักษณะในการบินขึ้นและลงโดยใช้ทางวิ่งสั้น(STOL) รวมถึงยังประกาศคุณลักษณะเพิ่มเติมอีกเช่น
-ทำการบรรทุกและต่อตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในระดับต่ำได้ ในทุกกาลอากาศ
-ทำการตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศ ในเพดานปานกลางและต่ำทั้งกลางวันและกลางคืน
-สามารถทำการตรวจการณ์ทางอิเล็กโทรนิคส์ได้
-สามารถนำส่งอาวุธนิวเคลียร์ ณ เพดานบินปานกลางได้ แม้ในสภาพอากาศปิด ทั้งกลางวันและกลางคืนได้
-ทำการโจมตีด้วยระเบิดและจรวดธรรมดาได้
โดยกำหนดว่า ความสามารถในการบินเพดานบินต่ำนั้น จะต้องไม่สูงกว่า 1000ฟุต(300เมตร) และ ต้องบินขึ้นโดยใช้ทางวิ่งยาวไม่เกิน 900เมตร พิสัยบินไม่ต่ำกว่า 1000ไมล์
คุณสมบัติเหล่านี้ เมื่อประกาศออกมา ทำให้บ.ผลิตอากาศยานของอังกฤษถึงกับปวดหัว เนื่องจากเป็นความต้องการ ที่น่าจะเกินความสามารถของเทคโนโลยีในยุคนั้น เรียกว่าเกินกว่าคำว่าล้ำยุคไปมาก
หนึ่งในบ.ที่แข่งขันกันเพื่อตอบสนองต่อGOR339 นั้นคือ Supersonic Buccaneer จาก บ.แบล็กเบิร์น
โดยSupersonic Buccaneer คือบ.แบบบัคคาเนียร์ ปรับปรุงติดเครื่องยนต์SPEY พร้อมระบบAfterburner ( ซึ่งย.Spey ภายหลัง ได้ติดตั้งในบ.แบบ Phantom FG1/2) แต่Supersonic Buccaneer ไม่ประทับใจทอ. อังกฤษ เนื่องจากประสิทธิภาพในย่านความเร็วเหนือเสียงนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงยังต้องรอบ.ต่างๆมายื่นแบบมาประกวดต่อไป
หลังจากประกาศออกไป บ.เครื่องบินในอังกฤษหลายแห่งได้ยื่นแบบมาประกวดกันอย่างคึกคัก บางบ.ออกแบบแนวอวกาศ หรือสตาร์วอร์ไปนู่น แต่บ.ที่ประทับใจทอ.อังกฤษคือ แบบของอิงลิชอิเล็กทริค P-17A และ ซูเปอร์มารีน 571 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ถูกใจคอนเซปท์ของบ.วิคเกอร์สเช่นกันและในที่สุด เมื่อปี 1959 เดือนมกราคม รัฐบาลอังกฤษ ได้ประกาศ บ.แบบใหม่ ในชื่อ Tactical Strike and Reconnaissance 2 หรือ TSR.2 โดยนำดีไซน์ของ วิคเกอร์ส-อาร์มสตรอง มาผสมผสานกับแบบของ บ.อิงลิชอิเล็กทริค โดยจะเป็นโปรเจ็คท์ร่วมกันของทั้ง2บริษัท และพร้อมกันนี้ได้ประกาศความต้องการทางปฏิบัติการแบบ 343 หรือ Operational Requirement 343 (OR 343) ซึ่งนำเอาGOR339 มาดัดแปลง เช่นเพิ่มคุณสมบัติการบินระดับต่ำ โดยสามารถบินด้วยความเร็วใกล้เสียงได้ ที่เพดานบิน 200ฟุตหรือต่ำกว่า และเพดานบินสูงต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า2เท่าของความเร็วเสียง
ดีไซน์และคุณลักษณะ
TSR.2 ได้รับแรงบันดาลใจ (ซึ่งใช้บ่อยๆในวงการคอมพิวเตอร์ อย่างเช่นไมโครซอฟท์ ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบวินโดวส์วิสต้า มาจาก OSX ของแอปเปิ้ล) มาจากA-5 Vigilante ซึ่งเป็นบ.ในแบบคล้ายๆกัน TSR.2 มีห้องนักบินและนักนำร่อง แบบ2ที่นั่งเรียงกัน ปีกเป็นแบบปีกสูงและลู่หลัง โดยมีปลายงอลง เพื่อประสิทธิภาพในการหมุนตัว ปีกนั้นสามารถงอโค้งได้ เพื่อลดอาการสั่น และยืดอายุโครงสร้างลำตัว การออกแบบปีกนี้ ต่างจากบ.ในยุคใกล้ๆกันอย่างF-111 (หรือขณะนั้นคือ TFX) ซึ่งใช้ปีกแบบ ปรับมุมลู่ปีกได้ หรือ Variable Geometry Wings . อีกทั้งยังออกแบบ ให้ลมที่ดูดจากเครื่องยนต์ มาเป่าที่แฟล็ป เพื่อลดความเร็วร่วงหล่น และเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้TSR.2 บินขึ้นได้โดยใช้ทางวิ่งเพียง 460ม.!
ส่วนหางนั้น เป็นแบบทั่วไป แต่แพนหางดิ่งนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งชิ้น
เครื่องยนต์นั้น ใช้เครื่องยนต์ แบบ บริสทอล&ซิดเดลลี โอลิมปัส 22 อาร์ มาร์ค320 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ตระกูล โอลิมปัส ของเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบแอฟโร วัลแคน มีกำลังขับสูงสุด 33000ปอนด์ต่อเครื่อง
TSR.2 สามารถบรรทุกอาวุธภายในห้องสรรพาวุธได้ 6000ปอนด์ ซึ่งบรรทุกได้ทั้งอาวุธธรรมดาหรืออาวุธนิวเคลียร์ และยังบรรทุกอาวุธ/ถังน้ำมันที่จุดติดอาวุธ4แห่ง ใต้ปีก น้ำหนักรวมกัน 4000ปอนด์
ในภารกิจโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ TSR.2 สามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์แบบRed Beard อานุภาพขนาด 25กิโลตัน ได้1ลูก ในห้องสรรพาวุธในลำตัว หรือ ลูกระเบิดนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีแบบWE.177 ในลำตัวได้2ลูก และใต้ปีก2ลูก (แรงระเบิดเทียบเท่าTNT 0.5กิโลตัน /1ลูก)
หรือในภารกิจโจมตีโดยใช้อาวุธธรรมดา สามารถติดอาวุธปล่อยแบบAJ.168Martel ที่จุดติดอาวุธภายนอกได้ หรือจะติดลูกระเบิดอื่นๆ รวมถึงถังน้ำมันได้อีกด้วย
TSR.2 ติดเก้าอี้ดีดตัวแบบมาร์ติน-เบเคอร์ มาร์ค8 ซึ่งเป็นแบบ 0-0 (Zero-Zero Ejection ซึ่งสามารถดีดตัว ณ ความเร็ว0กม./ชม. และที่เพดานบิน 0 ฟุต ) และยังรับรองว่าสมารถดีดตัวได้ที่ความเร็วมัค2
TSR.2 ผู้บุกเบิกสู่อนาคต
ระบบอวิโอนิคส์ทั้งหลายในเครื่องบินแบบTSR.2 ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยมากในยุคนั้น โดยเฉพาะระบบนำร่องอัตโนมัติที่นำสมัยมากหรืออาจจะมากที่สุดในยุคนั้น โดยระบบนี้ดัดแปลงมาจากระบบออโต้ไพล็อทแบบ Autonetics Verdan ซึ่งใช้ในบ.โจมตี/ทิ้งระเบิดแบบA-5 vigilante ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยนำมาปรับปรุงโดยบ. Elliot Flight Automation ซึ่งดัดแปลงให้เหมาะกับภารกิจที่บินในระดับต่ำ ระบบนี้จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายด้าน ทั้งข้อมูลความสูงจากเรดาร์วัดความสูง , เรดาร์เกาะภูมิประเทศแบบ Fernanti ,ระบบนำทางด้วยแรงเฉื่อย , ระบบเดินอากาศ ,ระบบนำร่องด้วยวิทยุ แล้วประมวลรวมเข้าด้วยกันกับข้อมูลที่ป้อนให้ล่วงหน้า ผ่านระบบกระดาษเจาะรู (Punch Card,สมัยนั้นคงยังไม่มีDVD ) ซึ่งทำให้ TSR.2 สามารถบินได้ด้วยตัวเอง ไปยังเป้าหมาย ได้ในทุกกาลอากาศ โดยข้อมูลการบินทั้งหมดจะปรากฏบนจอHUD ซึ่งตัวเครื่องบินเองสามารถหลบหลีกภูมิประเทศหรือแม้แต่เสาไฟฟ้า เสาโทรศัพท์ ในกรณีที่ระบบล้มเหลว เครื่องบินจะเร่งเครื่องบินไปยังเพดานบินสูง เพื่อให้นักบินมีโอกาสสลับปุ่มจากอัตโนมัติ มาเป็นระบบแมนวล
นอกจากนี้แล้วยังติดตั้งระบบอวิโอนิคส์อันล้ำสมัยอีกหลายอย่าง ทั้งระบบIFF ,ILS และ วิทยุแบบUHF/VHF
TSR.2 ยังเป็นบ.ไม่กี่แบบในสมัยนั้นที่มีระบบAPU ติดตั้งในลำตัว
เมฆหมอกแห่งหายนะ
TSR.2นั้น เหมือนเป็นเครื่องบินที่มีเวรมีกรรมตั้งแต่ยังไม่ขึ้นบิน เริ่มตั้งแต่ คู่แข่งอย่างSupersonic Buccaneer ซึ่งตอนแรกทำท่าว่าจะได้รับชัยชนะ แต่โชคยังเข้าข้างTSR.2 เมื่อประสิทธิภาพไม่น่าพอใจนัก แต่ดีใจได้ไม่ทันไร TSR.2 ต้องประสบเคราะห์กรรมอีกระลอก เมื่อสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศโครงการณ์TFX (F-111)ซึ่งเป็นโครงการ่วมของกองทัพอากาศและกองทัพเรือ ของสหรัฐ ซึ่งมีคุณลักษณะและประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับTSR.2ในทุกแง่มุม อีกทั้งยังน่าจะถูกกว่าหากซื้อมาใช้ แทนที่จะทุ่มเงินลงทุนในโปรเจ็คท์TSR.2 ซึ่งสส.ของพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้อภิปรายถึงเรื่องงบประมาณในการพัฒนาTSR.2อย่างเผ็ดร้อน ทำให้เกิดแรงกดดันไปทางพรรครัฐบาล(พรรคอนุรักษ์นิยม)ซึ่งต้องเข็นTSR.2 ออกมาอย่างเร่งด่วน ยังไม่พอ ยังเกิดอุบัติเหตุกับบ.ทดสอบเครื่องยนต์แบบวัลแคนซึ่งเกิดระเบิดเนื่องจากเครื่องยนต์มีความสลับซับซ้อนและทรงพลัง ทำให้ความผิดพลาดเล็กน้อย กลายเป็นปัญหาใหญ่ และยังไม่พอ ปัญหาจากการใช้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อย ซึ่งบางส่วนทำงานให้กับรัฐบาลเอง ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสาร ชิ้นส่วนบางชิ้นไม่สามารถต่อเข้าด้วยกันได้ ทำให้โครงการต้องล่าช้าไปอีก และโชคร้ายก็ถาโถมอีกครั้ง เมื่อ ออสเตรเลียซึ่งเป็นเป้าหมายการส่งออกของTSR.2 ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อ ภายหลัง ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทแทน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น (Chief of the Defence Staff)เข้าร่วมประชุมเรื่องการจัดซื้อTSR.2 กับตัวแทน ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นที่รุ้กันในขณะนั้นว่า ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทแทน ไม่ชอบโครงการTSR.2เอาเสียเลย ถึงกับเปรียบเทียบว่า TSR.2ลำเดียว สามารถซื้อบัคคาเนียร์ได้ถึง10ลำ ไม่มีใครทราบว่าลอร์ดเมาแบทแทนพูดอะไรกับตัวแทนออสเตรเลีย แต่ที่แน่ๆคงไม่ได้พูดสนับสนุนTSR.2เป็นแน่แท้ ภายหลังออสเตรเลียได้จัดหา F-111มาใช้ ซึ่งมีมูลค่าเกินงบประมาณในการจัดหาที่ประเมินไว้ครั้งแรกไปถึง10เท่า และรอกว่า10ปี กว่าจะได้รับบ.เข้าประจำการ
แต่เมื่อผ่านพ้นปัญหาเหล่านั้นมาได้ ในที่สุดTSR.2 ก็ได้บินครั้งแรกเมื่อ 27กันยายนปีค.ศ.1964 แต่ปัญหาก็ถาโถมเข้าใส่อีกครั้ง เมื่อเกิดปัญหากับต้นแบบ ทั้งเรื่องอาการปีกสั่น ฐานล้อมไม่พับเก็บ เครื่องยนต์ที่มีปัญหาควันดำ และไม่สามารถเร่งได้เกิน 97%
แต่ปัญหาทั้งหลายก็ถูกแก้ไปทีละเปลาะๆ บินไปแก้ไป จนได้บินแบบความเร็วเหนือเสียงครั้งแรกในการบินทดสอบครั้งที่14 ซึ่งสามารถบินได้ด้วยความเร็วเหนือเสียงแม้ไม่ได้เปิดสันดาปท้าย และยังสามารถเร่งความเร็วได้เร็วมาก เมื่อเปิดสันดาปท้าย โดยสามารถบินหนีเครื่องบินติดตามแบบไลทนิ่งที.5 ซึ่งเปิดสันดาปท้ายทั้ง2เครื่องยนต์ได้ ด้วยการเปิดสันดาปท้ายที่เครื่องยนต์เครื่องเดียว(เพราะสันดาปท้ายของอีกเครื่องมีปัญหา) ซึ่งมีความเร็วขณะเปิดสันดาปท้ายข้างเดียวที่1.5มัค แต่จนแล้วจนรอด เคราะห์กรรมยังไม่หมด เมื่อพรรคแรงงานซึ่งเป็นคู่ปรับกับโครงการนี้มาตลอด ได้รับการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่
|
ยกเลิกโครงการณ์ จุดจบอันน่าเศร้าของTSR.2 และรอยแผลของอุตสาหกรรมการบินแห่งอังกฤษ
ภายหลังได้จัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคแรงงาน ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานโครงการTFX(F-111) ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลอาจหันไปหาทางเลือกที่(อาจจะ)ถูกกว่า และ ยกเลิกโครงการที่สิ้นเปลืองอย่างTSR.2 ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวายเมื่อพนักงานของบ.BAC (British Aircraft Corperation ซึ่งเกิดจาการควบรวมกิจการของ English Electric Aviation Ltd., Vickers-Armstrong ,the Bristol Aeroplane Company และ Hunting Aircraft เมื่อปี1960 )จำนวน1หมื่นคนประท้วงและออกเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อให้โครงการของชาวอังกฤษแท้ๆยังคงอยู่ ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาประกาศว่าจะไม่มีการยกเลิกโครงการTSR.2 แต่อย่างใด
แต่ข่าวร้ายได้บังเกิดขึ้น เมื่อวันที่6 เมษายน ค.ศ.1965 ในวันแถลงงบประมาณประจำปี เมื่อรัฐบาลประกาศยุติโครงการTSR.2 โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแก่พนักงานบริษัทBAC แต่อย่างใด (แต่ได้บอกกล่าวกับริษัทไว้ล่วงหน้าแล้ว และบังคับไม่ให้บอกพนักงานก่อนวันแถลงงบประมาณประจำปี) โดยตัดสินใจจัดหาเครื่องบินจากโครงการTFXจากสหรัฐอเมริกาแทน โดยให้เหตุผลว่าTFXถูกกว่า แต่ได้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมถึงยกเลิก และมันถูกกว่ากันสักเท่าไหร่กัน เมื่อเทียบกับการจ้างงานจำนวนเกือบ2หมื่นตำแหน่ง และประสิทธิภาพที่ที่TSR.2อาจจะเหนือกว่า ปัญหานี้ ได้ถูกซักถามในอีก7วันต่อมาในวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่กลับไม่มีใครตอบได้ ซึ่งทำให้เกิดความสงสัยในการยกเลิกโครงการนี้ว่ามีเบื้องหน้า เบื้องหลัง เช่น ต้องการเสียงหนุนจากสหรัฐในการกู้เงินจากIMF หรือ เกิดจากการล๊อบบี้ภายในโดยคนของทางฝั่งสหรัฐอเมริกาเอง ด้วยความกลัวที่ว่าTSR.2อาจจะเหนือกว่าF-111ของตนและจะกระทบต่อการส่งออกของตน
หลังจากการประกาศ เอกสาร ข้อมูล กระดาษทุกแผ่นที่ใช้ในโครงการTSR.2 ถูกทำลาย โครงสร้าง และอุปกรณ์ต้นแบบทั้งหมดถูกทำลาย รวมถึง ต้นแบบที่บินทดสอบได้ถูกนำไปเป็นเป้าซ้อมยิง แต่ก็มีบางส่วนที่เหลืออยู่และถูกเก็บจัดตั้งแสดง โดยไม่มีอะไรภายใน นอกจากโครงและอุปกรณ์ภายในไม่กี่ชิ้น แม้กระทั่งโมเดลจำลองที่ทำด้วยไม้ยังถูกเผาทำลาย เอกสารทุกชิ้น แม้แต่ภาพถ่ายยังถูกทำลายอย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเครื่องจักรตัดทำลำตัวเครื่องบิน ยังถูกลากออกมาเผา เป็นโศกนาฏกรรมครั้งหนึ่งในวงการการบินของอังกฤษ ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการบินของอังกฤษไม่สามารถยืนหยัด และ รื้อฟื้น โดยการเป็นผู้นำด้านการบินของโลกด้วยการสร้างเครื่องบินของตนเองมาได้อีกจนปัจจุบัน
บทสรุป ภายหลังจากที่อังกฤษยกเลิกโครงการTSR.2อังกฤษได้สั่งซื้อบ.F-111K แต่เนื่องจากปัญหาความล่าช้า ทำให้ยกเลิกการสั่งซื้อ และอังกฤษต้องจ่ายค่าปรับในการยกเลิกเป็นจำนวนมหาศาล(ถ้าTSR.2พูดได้ คงสะใจ แล้วบอกว่าสมน้ำหน้า) และภายหลังก็ได้สั่งซื้อPhantom FG.1/2 จากอเมริกา แต่ก็ยังไม่สามารทำภารกิจในส่วนที่TSR.2ทำได้ และยังต้องทนทู่ซี้ใช้แคนเบอร์ร่าต่อไป และที่น่าเจ็บใจกว่าคือ แฟนทอมนั้นอัตราการไต่ หรือ ความเร็วนั้น ยังสู้บ.ที่เก่ากว่าอย่างBAC Lightning ไม่ได้ด้วยซ้ำ อังกฤษต้องรอถึงกว่า15ปี กว่าจะได้รับบ.ที่มีคุณสมบัติพอจะเทียบได้กับTSR.2เข้าประจำการ นั่นคือ Tornado GR.1 (ซึ่งมีชื่อเรียกว่าโครงการMRCA------ Multi Role Combat Aircraft หรือเรียกกันฮาๆว่า, Must Replace Canberra AGAIN!)ซึ่งสามารถทำภารกิจได้ครอบคลุมสิ่งที่TSR.2ทำได้ แต่ก็ไม่ได้มาก หรือน้อยไปกว่ากันแต่อย่างใด และโครงการนี้ยังเป็นโครงการร่วมกันของ3ประเทศ แสดงให้เห็นความน่าทึ่งของอุตสาหกรรมการบินของประเทศอังกฤษว่า ไม่ได้น้อยหน้าใคร สามารถสร้างบ.ที่ล้ำยุคมากๆได้เหมือนกัน Pictures & Data Credits
//www.thunder-and-lightnings.co.uk/
//en.wikipedia.org
//www.vectorsite.net
| |
|
|
|