Fair Use และ Parody: ข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์
Fair Use คือการใช้งานอย่างเป็นธรรมและParody คือการล้อเลียน ซึ่งParody ถือเป็นFair Use อย่างนึง

Fair Use นั้นเป็นหลักที่ได้รับการรองรับทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศ (เช่นปรากฏในข้อตกลงที่เรียกว่าTrips Agreement ซึ่งประเทศไทยและประเทศอื่นๆอย่างอเมริกา ญี่ปุ่นลงนามจึงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในTrips คือให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ขณะเดียวกันก็มีข้อยกเว้นด้วย)

Fair Use ปรากฏในกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ เช่น Copy Right Act ของอเมริกา หรือในกฎหมายไทย




ตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ไทย ปรากฏในมาตราข้างล่าง

ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8 ) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ




หลักนี้จริงๆแล้วเหมือนจะมีคนเข้าใจผิดอยู่มากนะครับ

จริงๆแล้ว (1)-(8) ในวรรค2 (คือย่อหน้าน่ะแหละครับ) มาตรานี้ เป็นแค่ตัวอย่าง ไม่เข้า (1)-(8) ไม่ได้หมายความว่ามันจะผิด เพราะ (1)-(8) กฎหมายเขียนว่าภายใต้วรรค 1 ดังนั้นหลักจริงๆคือที่ขีดเส้นใต้ ดูหลักวรรค1เป็นใหญ่

กลับกันถ้าเข้า (1)-(8) แต่ขัดหลักในวรรค 1 ก็อาจจะผิดได้ครับ

หมายความว่าถ้าไม่แสวงหากำไร แต่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ก็ผิดได้

แต่แม้ทำกำไร แต่ไม่ขัดหลักดังกล่าว อาจจะไม่ผิดก็ได้




สรุปคือการใช้งานมาแสวงหากำไร ไม่ได้หมายความว่าจะอ้างfair use ไม่ได้ครับ เช่นแปลงเพลงต้นฉบับมาล้อเลียนขบขัน หรือเขียนการ์ตูนล้องานต้นฉบับ(ที่เรียกว่าParody) ถึงจะมีกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นFair Use หลักคือว่าทำแล้วมันกระทบเจ้าของเกินควรหรือเปล่า

ตัวอย่างคดีของอเมริกาคือกรณีเอาเพลงPretty Woman มาแปลงเป็นเพลงRapแล้วทำขาย ศาลสหรัฐบอกว่าการเอามาขายหากำไร ไม่ได้หมายความว่าจะอ้างFair Use ไม่ได้ คดีนี้ครับ: //en.wikipedia.org/wiki/Campbell_v._Acuff-Rose_Music,_Inc.
แต่ว่าก็ต้องมาสู้กันต่อว่าสรุปแล้วกระทบเกินควรรหรือไม่ จะอ้างfair use ได้มั้ย ประเด็นเอาเพลงแปลงPretty Woman มาขาย สุดท้ายศาลก็ไม่ได้ตัดสินว่าอ้างfair use ได้มั้ย เพราะคู่ความตกลงกันได้ แต่หลักที่ว่าแม้ทำกำไรก็อาจจะอ้างfair use ได้ของคดีนี้ก็ถุกอ้างถึงบ่อยๆ


แล้วแค่ไหนเกินสมควรจนอ้างFair Use ไม่ได้ จริงๆในไทยไม่ค่อยมีคดีนะครับ ตรงนี้ถ้ามีคดีขึ้นมาก็คงเป็นดุลยพินิจศาล เรื่องนี้เถียงกันไม่จบง่ายๆแน่



ขอยกตัวอย่างซักเรื่อง

ตัวอย่างเรื่องถ่ายเอกสารหนังสือเรียนมาใช้ในการเรียน อเมริกาพยายามทำGuideLine ว่าไม่เกิน10%ของหนังสือทั้งหมดจึงจะอ้างได้ว่าเอามาใช้งานส่วนตัวเพื่อการศึกษา แต่ไอ้guidelineที่ว่า ก็แค่แนวทางครับ ไม่ใช่กฎหมาย เพราะเกิน10% ศาลก็อาจจะมองว่าไม่เกินสมควรก็ได้ ไม่ได้บังคับศาลให้ถือตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาเป็นรายคดีไป ไอ้10%ที่ว่าก็เป็นแค่แนวทางประกอบ

แต่แนวทาง10% คงไม่เหมาะจะเอามาfix ใช้ในประเทศไทย ถ้าสมมุติไปมองว่าคุณถ่ายหนังสือเรียนเกิน 10%เมื่อไหร่ อ้างfair use ไม่ได้ และละเมิดลิขสิทธิ์ คงมีนักเรียนกะอาจารย์ติดคุกกันเป็นแถบ

จริงเคยมีคดีในไทยแล้วครับ เรื่องร้านถ่ายเอกสารที่ABAC โดนฟ้องเพราะทำcopyหนังสือต่างประเทศไว้ขายให้นักเรียน แบบถ่ายกันเรียกว่า25%ของหนังสือเลย เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาในไทยอ้างguidelineของอเมริกามาประกอบด้วยว่าถ้าจำกัดแค่10% จะจำกัดโอกาสเข้าถึงหนังสือ(โดยเฉพาะหนังสือต่างประเทศที่แพงมากๆ)และเป็นผลเสียต่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยสรุปศาลคงมองว่าจะเกิน10%ก็ยังโอเค เพราะบริบทสังคมไทยกับสังคมอเมริกาต่างกัน ร้านถ่ายเอกสารชนะคดีในศาลชั้นต้น เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ยื่นอุทธรณ์ต่อมา

พอคดีนี้ขึ้นศาลสูง ศาลตัดสินให้ร้านถ่ายเอกสารแพ้เพราะว่าร้านไปถ่ายหนังสือและเย็บเล่มเก็บไว้รอขายหลายๆชุด ไม่ใช่ว่านักศึกษามาสั่งเป็นรายๆไปแล้วค่อยทำ การไปcopyหนังสือเขา25-30%แล้วมาเย็บวางขายในร้านตน แสดงว่าหากำไรและกระทบเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร สรุปคือในศาลสูงร้านแพ้ไปเพราะดันไปถ่ายหนังสือเขาและเย็บเตรียมไว้ขายเลย คือร้านถ่ายเอกสารแพ้เพราะประเด้นนี้ ไม่ได้แพ้ว่าถ่ายเกิน10%หรือไม่ ประเด็นว่าถ่ายกี่%ศาลสูงไม่ได้พูดถึงเลย

หวังว่าจะมีปย.บ้างนะครับ




Create Date : 07 มีนาคม 2555
Last Update : 7 มีนาคม 2555 17:04:50 น.
Counter : 9343 Pageviews.

2 comments
  
เพิ่มเติมนิดนะครับ

ลิขสิทธิ์นี่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยไม่ต้องจดทะเบียนนะครับ แค่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาก้ได้ลิขสิทธิ์แล้วครับ แต่จดทะเบียนก็จะพิสูจน์ได้ง่ายขึ้นว่าเราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริงๆ

งานลิขสิทธิ์ในประเทศอื่นๆเช่นอเมริกา ญี่ปุน ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยครับ ประเทศทั้งหลายต่างเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศที่มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองขั้นต่ำต่องานอันมีลิขสิทธิ์จากประเทศภาคี

และกฎหมายไทยก็ให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์จากประเทศอื่นด้วย แม้งานนั้นจะไม่มีตัวแทนในไทย ไม่มี่บริษัทไทยซื้อลิขสิทธิ์มา

ดังนั้นความเข้าใจที่ว่าละเมิดงานลิขสิทธิ์ของอเมริกาหรือญี่ปุ่นไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยจึงเป็นความเข้าใจที่ผิด

แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศอื่นเขาจะดำเนินการกับผู้ละเมิดในประเทศไทย ตามกฎหมายไทยหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง
โดย: อยากเป็นแรมโบ้^-^ วันที่: 5 เมษายน 2555 เวลา:21:41:46 น.
  
มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณครับ
โดย: เอพ IP: 115.87.14.214 วันที่: 8 กรกฎาคม 2558 เวลา:0:27:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อยากเป็นแรมโบ้^-^
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31