°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°
chapter2::รูปแบบของระบบเครือข่าย::





รูปแบบของระบบเครือข่าย

รูปแบบของระบบเครือข่ายที่เราได้เผชิญอยู่ทุกวันนี้มีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer และระบบเครือข่ายแบบ Client Server



ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer

รูปแบบของเครือข่ายลักษณะนี้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันบนเครือข่ายไม่มีเครื่องใดที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเครือข่าย กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีหน้าที่แบ่งปันการใช้งานแฟ้มข้อมูลให้แก่กันและกันรวมทั้งเครื่องพิมพ์อาจถูกติดตั้งไว้ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งก็ได้ ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อต่อกับเครื่องพิมพ์ และอาศัยเป็นทางผ่านเพื่อการใช้งานเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

รูปแบบ Peer to Peer นี้ไม่ต้องการเซิร์ฟเวอร์ (Server) ไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่บริหารข้อมูลอย่างเจาะจงแต่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถเข้าหากันและแบ่งใช้งานแฟ้มข้อมูลของกันและกันได้ ตัวอย่างของระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer ได้แก่ การเชื่อมต่อแบบเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) ที่เราใช้กันอยู่บน Windows 98/Me หรือ XP เป็นต้น

ส่วนประกอบของเครือข่าย

การเชื่อมต่อแบบ Peer to Peer เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่เรียบง่าย ประกอบด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย อย่างเช่น Hub Repeater หรือ Switches Hub พร้อมด้วยสายประเภท Unshielded Twisted Pair จำนวน 1 เส้นเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เนื่องจากเครือข่ายประเภทนี้ไม่ต้องการเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายจะมีคุณสมบัติการทำงานที่เหมือนกัน



จุดดีจุดด้อยของระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer

ข้อดีของระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer มีดังนี้

· คอมพิวเตอร์หรือโฮสต์ (Host) แต่ละตัวบนเครือข่ายต่างทำหน้าที่เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ (Client) ในตัว

· ไม่ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ต่างหากเป็นการเฉพาะ

· ไม่ต้องมีการวางแผนหรือบริหารจัดการที่ยุ่งยาก เมื่อเทียบกับระบบเครือข่ายที่ใช้เซิร์ฟเวอร์เป็นคอมพิวเตอร์หลัก

· ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์แต่ละคนทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยกันเอง

· ผู้ใช้งานประจำเครื่องทำหน้าที่เป็นผู้ใช้งานและบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เอง

· ทำงานได้ดีและมีความรวดเร็วหากเป็นเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายไม่เกิน 10 เครื่อง

ข้อด้อยของระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer มีดังนี้

· มีข้อจำกัดที่จำนวนของผู้ใช้งาน

· เมื่อจำนวนของผู้ใช้งานมีเพิ่มขึ้นก็จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น

· ปัญหาของการรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้นเมื่อปริมาณของผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น

· การขยายขนาดเครือข่ายทำได้อย่างจำกัด รวมทั้งไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของเครือข่ายได้ดี

ระบบเครือข่ายแบบ Client Server

ระบบเครือข่ายประเภทนี้มีการใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นตัวหลัก ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งจัดแบ่งปันแฟ้มข้อมูลแก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่ตนเป็นลูกข่าย ส่วนคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องหลักจะถูกเรียกว่าไคลเอนต์ ซึ่งทำหน้าที่ร้องขอได้หลาย ๆ อย่างนับตั้งแต่การร้องขออนุญาตให้มีสิทธิ์เข้าสู่การใช้งานเครือข่าย จนถึงการร้องขอสิทธิ์ในการใช้งานทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล แฟ้มข้อมูล หรือเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งบนเครือข่าย เป็นต้น

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวหลักจะต้องได้รับการติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS หรือ Network Operating System) เป็นการเฉพาะเจาะจงเพื่อให้สามารถบริการแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรแก่ไคลเอนต์ทุกเครื่องบนเครือข่าย อีกทั้งยังสามารถดูแลระบบรักษาความปลอดภัยและบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ได้

อย่างไรก็ดีระบบเครือข่ายประเภทนี้จะต้องมีผู้ดูแลคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล รวมทั้งการกำหนดสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้งาน (User) ที่มีต่อคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มข้อมูล อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือเครื่องพิมพ์ว่าเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปหลายชื่อ เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ให้บริการบ่งปันการใช้งานไฟล์เพียงอย่างเดียวเราเรียกว่า File Server ส่วนคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฐานข้อมูลเราเรียกว่า Database Server และเรียกคอมพิวเตอร์หลักที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลของเว็บว่า Web Server เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแบ่งปันแฟ้มข้อมูลหรือข่าวสาร สามารถทำหน้าที่ 2 แบบ ได้แก่ การให้บริการข้อมูลหรือเปิดแฟ้มข้อมูล รวมทั้งควบคุมการให้บริการของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหรือเครื่องพิมพ์ และให้บริการจัดเก็บข้อมูลตามที่ลูกข่ายส่งเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์ ลักษณะนี้รูปแบบของการสัญจรไปมา (Traffic) ของข่าวสารระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับคอมพิวเตอร์ลูกข่ายหรือไคลเอนต์จึงมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้

· Traffic ที่มาจากเซิร์ฟเวอร์เป็นส่วนใหญ่ : หมายถึงการร้องขอข้อมูลของไคลเอนต์ที่มีต่อเซิร์ฟเวอร์โดยมีลักษณะเช่นนี้ Traffic ที่ประกอบด้วยคำขอบริการจากเซิร์ฟเวอร์จึงมีเพียงนิดเดียว แต่ได้ข้อมูลลับมาจากเซิร์ฟเวอร์ในปริมาณมากกว่า ลักษณะแบบนี้ฝรั่งเรียกว่า Server to Client Traffic

· Traffic ที่มาจากไคลเอนต์เป็นส่วนใหญ่ : หมายถึงการป้อนข้อมูลจากไคลเอนต์มายังเซิร์ฟเวอร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายจุด ดังนั้น Traffic ส่วนใหญ่จะมาจากไคลเอนต์เป็นหลัก



ส่วนประกอบของเครือข่าย

การเชื่อมต่อแบบ Client Server มีการใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่เหมือนกัน จะต่างกันตรงที่ระบบเครือข่ายนี้มีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มขึ้นหลายรายการ ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์ซึ่งอาจมีหลายประเภท นอกจากนี้ยังอาจต้องมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเป็นพิเศษ เช่น RAID เป็นต้น



ประเภทของเซิร์ฟเวอร์

บนระบบเครือข่ายในรูปแบบ Client Server สามารถมีเซิร์ฟเวอร์ได้หลายประเภท ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

· File Server หรือ Department Server

· Enterprise Server

· Super Server

· Network Server

· Web Server หรือ Internet Server



ความแตกต่างระหว่างเครือข่ายแบบ Peer to Peer กับระบบเครือข่ายแบบ Client Server ไม่ได้อยู่ที่ว่าระบบ Peer to Peer ไม่มีการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอีกประการหนึ่งคือการไหลของข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกัน

รูปที่ 1-1 จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer มีการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารไปมาระหว่างกันโดยวิ่งเข้าหากัน จุดประสงค์เพื่อขอแบ่งปันแฟ้มข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในขณะที่รูปที่ 1-2 จะเห็นได้ว่าการไหลของข้อมูลข่าวสารต่างก็ออกมาจากไคลเอนต์และมุ่งตรงไปที่เซิร์ฟเวอร์เพียงจุดเดียว



รูปที่ 1-1 ลักษณะการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารบนระบบเครือข่าย Peer to Peer



รูปที่ 1-2 ลักษณะการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารบนระบบเครือข่าย Client Server



จุดดีจุดด้อยสำหรับเครือข่าย Client Server

ข้อดีของการใช้ Client Server มีดังนี้

· ให้ประสิทธิภาพในการแบ่งปันการใช้งานทรัพยากรแก่ไคลเอนต์ได้ดีกว่า เนื่องจากว่าคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์นั้นมักเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง มีหน่วยความจำมาเป็นพิเศษ (512 MB ขึ้นไป) มีชิปที่เป็นหน่วยประมวลกลางหรือซีพียู (CPU) ที่ทรงประสิทธิภาพ อีกทั้งมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ จึงสามารถรองรับการขอรับบริการจากไคลเอนต์ได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ คน

· การรักษาความปลอดภัยสามารถทำได้ดีกว่า เนื่องจากการดูแลความปลอดภัยเป็นไปในรูปแบบรวมศูนย์ (Centralized) หมายความว่าเป็นการดูแลจัดการจากส่วนกลาง แทนที่จะกระจัดกระจายไปตามเครื่องต่าง ๆ ซึ่งยากแก่การควบคุม ผู้ใช้งานที่จะเข้ามาสู่เครือข่ายเพื่อใช้งานเซิร์ฟเวอร์จะต้องได้รับการอนุญาตเสียก่อน ด้วยเหตุนี้การรักษาความปลอดภัยจึงทำได้ดีกว่า

· ง่ายต่อการบริหารจัดการหากเครือข่ายถูกขยายขนาด รวมทั้งมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น

· สามารถติดตั้งแอพพลิเคชัน (Application) ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เพียงชุดเดียว และแบ่งใช้งานแก่ผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องซอฟต์แวร์ได้ดี

· สามารถทำสำรองหรือทำสำเนาข้อมูลที่ศูนย์กลาง หมายความว่าไม่ต้องทำสำรองหรือสำเนาข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง แต่ทำที่เซิร์ฟเวอร์เพียงที่เดียวเท่านั้น ทำให้สะดวกรวดเร็ว

ข้อด้อยของระบบเครือข่าย Client Server มีดังนี้

· ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัวสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป อีกทั้งผู้ดูแลจะต้องมีความรู้พอสมควร

· จะต้องมีผู้ดูแลและจัดการเซิร์ฟเวอร์เป็นการเฉพาะ



รูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (Network Topology)


เราสามารถนิยามคำว่า Network Topology ว่าคือรูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพและทางตรรกะของเครือข่าย

การเชื่อมต่อทางกายภาพ (Physical Topology) หมายถึง การเชื่อมต่อที่มีรูปลักษณะที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องกับฮับ (Hub) จะทำให้เรามองเห็นลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพเป็นแบบ Star

ส่วนการเชื่อมต่อทางตรรกะ (Logical Topology) หมายถึง การเชื่อมต่อที่มีรูปลักษณะภายนอก (ทางกายภาพ) เป็นแบบหนึ่ง แต่ข้างใน (อุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น ฮับ) กลับมีรูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนกับลักษณะการเชื่อมต่อที่เห็นภายนอก ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Ethernet 10Base-T ที่มีรูปลักษณะภายนอกเป็นแบบ Star แต่ภายในฮับมีการเชื่อมต่อแบบ Bus และมีการรับส่งข้อมูลในรูปแบบ Bus เช่นกัน หรือระบบเครือข่าย Token Ring ที่มีรูปแบบภายนอกเป็นแบบ Star ขณะที่ภายในฮับมีการเชื่อมต่อกับแบบวงแหวน สัญญาณที่วิ่งภายในฮับจะวิ่งวนเป็นวงแหวน โดยที่ภายในฮับมีการเชื่อมต่อพอร์ตต่าง ๆ เข้าด้วยกันแบบวงแหวน สำหรับ Token Ring นั้นเมื่อใดที่มีการเชื่อมต่อฮับเข้าด้วยกันมากกว่า 1 ฮับขึ้นไป ก็จะเห็นเป็นรูปร่างแบบวงแหวนได้อย่างชัดเจน



Create Date : 11 ตุลาคม 2550
Last Update : 11 ตุลาคม 2550 12:28:40 น. 5 comments
Counter : 4513 Pageviews.

 
เธญเธขเธฒเธเธšเธญเธเธงเนˆเธฒเธฃเธฑเธเธ„เธ™เธชเธฃเน‰เธฒเธ‡เน€เธงเน‡เธšเธ™เธตเน‰


โดย: เธเธตเน‰ IP: 222.123.21.158 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:30:49 น.  

 
15476


โดย: tag IP: 203.144.165.130 วันที่: 6 ธันวาคม 2550 เวลา:15:00:31 น.  

 
-อบคุณครับ


โดย: ประจักษ์ IP: 203.113.17.165 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:21:59 น.  

 
น่ารักจังเลย


โดย: ลุงเท่ง IP: 58.147.107.20 วันที่: 9 ตุลาคม 2551 เวลา:18:07:41 น.  

 
เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธ„เนˆเธฐ


โดย: pook IP: 115.67.231.174 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:07:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว




เราจักภูมิใจ...ในชีวิต

ถ้าโกรธกับเพื่อน.....มองคนไม่มีใครรัก
ถ้าเรียนหนักๆ.....มองคนอดเรียนหนังสือ
ถ้างานลำบาก.....มองคนอดแสดงฝีมือ
ถ้าเหนื่อยงั้นหรือ.....มองคนที่ตายหมดลม
ถ้าขี้เกียจนัก.....มองคนไม่มีโอกาส
ถ้างานผิดพลาด.....มองคนไม่เคยฝึกฝน
ถ้ากายพิการ.....มองคนไม่เคยอดทน
ถ้างานรีบรน.....มองคนไม่มีเวลา
ถ้าตังค์ไม่มี.....มองคนขอทานข้างถนน
ถ้าหนี้สินล้น.....มองคนแย่งกินกับหมา
ถ้าข้าวไม่ดี.....มองคนไม่มีที่นา
ถ้าใจอ่อนล้า.....มองคนไม่รู้จักรัก
ถ้าชีวิตแย่.....จงมองคนแย่ยิ่งกว่า
อย่ามองแต่ฟ้า.....ที่สูงเกินตาประจักษ์
ความสุขข้างล่าง.....มีได้ไม่ยากเย็นนัก
เมื่อรู้แล้วจัก.....ภาคภูมิชีวิตแห่งตน

Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





When I miss you,I just close my eyes::ยามใดที่ฉันคิดถึงเธอ ฉันจะเจอเธอได้เพียงหลับตา

°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°




Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
11 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.