เอกชนเท3หมื่นล. อุตฯการบิน โคราชฮับซ่อมเครื่องบินเอเชีย

ภาคเอกชนเตรียมทุ่มกว่า 3 หมื่นล้าน สร้างศูนย์ซ่อมเครื่องบินและศูนย์ฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยานในสนามหนองเต็งคาดภายใน 2 ปีจะแล้วเสร็จ ด้าน ผอ.สนามบินโคราชเตรียมพื้นที่กว่า 1,300 ไร่ รองรับการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานของเอเชีย เผย สนข.กำลังศึกษาความเหมาะสม

นายประวัติ ดวงกันยา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ล่าสุดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) พร้อมด้วยบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 2 ราย คือ บริษัท สแกนดิเนเวียน แฮร์คลาฟท์ แมนทาแนนซ์ จำกัด และบริษัท แอร์บอร์น เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ได้ลงพื้นที่และหารือความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง ให้เป็นโครงการนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน และศูนย์ซ่อมอากาศยาน



2 บริษัทเช่าพื้นที่ - ปลายปีนี้ บจ.สแกนดิเนเวียน แฮร์คลาฟท์ แมนทาแนนซ์ เตรียมก่อสร้างโรงซ่อมเครื่องบินภายในท่าอากาศยานนครราชสีมา ส่วน บจ.แอร์บอร์น เอวิเอชั่น กรุ๊ป เร่งจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยานที่โคราชเช่นกัน

ความคืบหน้าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้น เมื่อผลการศึกษาของ สนข.แล้วเสร็จ จะสามารถกำหนดกรอบของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบิน และศูนย์ซ่อมอากาศยานของประเทศไทยที่ชัดเจนต่อไป โดย กนอ.เป็นผู้พัฒนาโครงการ และภาครัฐสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุน

สำหรับประเภทอุตสาหกรรมการบิน ประกอบด้วย 1.ศูนย์ซ่อมอากาศยาน ได้แก่ การซ่อมบำรุงอากาศยาน เครื่องยนต์ การบริการซ่อมอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยาน การตกแต่งภายในอากาศยาน การซ่อมบำรุงเครื่องบินทางราชการ

และ 2.กิจกรรมสนับสนุนและสอดคล้องกับศูนย์ซ่อมอากาศยาน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ผลิตและติดตั้งอะไหล่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ รวมถึงเก้าอี้ พรม ศูนย์รวมการกระจายอะไหล่ให้แก่ศูนย์ต่างๆ ในภูมิภาค การจัดตั้งเขตปลอดภาษีในการนำเข้าอะไหล่เพื่อซ่อมอากาศยาน การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน และการจัดตั้งศูนย์อบรม พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมอากาศยาน

ส่วนบริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่ง ได้เตรียมขอเช่าพื้นที่ เพื่อก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน โดยกรมการบินพลเรือนจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ในเบื้องต้น กนอ.ได้ขอใช้พื้นที่ของสนามบินนครราชสีมาในเฟสแรกไว้แล้ว 1,300 ไร่ เพื่อรองรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน และศูนย์ซ่อมอากาศยาน ฝั่งขวา 605 ไร่ และฝั่งซ้ายอีก 728 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่โซนด้านหน้าของท่าอากาศยานให้บริษัทเอกชนเช่าดำเนินการพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานในอนาคต ซึ่งจะเป็นฮับด้านอุตสาหกรรมการบินของเอเชียขนาดใหญ่

นายเพทาย บรรเทาวงษ์ ผู้ช่วยรองประธาน บริษัท สแกนดิเนเวียน แฮร์คลาฟท์ แมนทาแนนซ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานภายในท่าอากาศยานนครราชสีมา เนื้อที่จำนวน 300 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโครงสร้างอาคาร หรือโรงซ่อม รองรับเครื่องบินจากทั่วโลก 105 ลำต่อปี อีกทั้งจะมีการสร้างสถาบันสอนการบิน ครอบคลุมไปถึงผลิตช่างเทคนิคในการซ่อมเครื่องบินที่ยังขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้อย่างมาก คาดว่าปลายปี 2557 จะดำเนินการก่อสร้างและจะแล้วเสร็จในปี 2559 ด้วยงบประมาณลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท

ด้านนายอารยะ เฮดดิการ์ด ประธานกรรมการ บริษัท แอร์บอร์น เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจการถอดแยกชิ้นส่วนเครื่องบินที่ปลดระวางการบิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมขอใช้พื้นที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อรองรับเครื่องบินปลดระวางจากทั่วโลกมาเก็บไว้เพื่อให้บริษัททำหน้าที่ถอดแยกชิ้นส่วน รวมถึงเป็นสถาบันผลิตช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน คาดว่าจะต้องใช้เนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ งบฯลงทุน 50 ล้านบาท



Create Date : 23 ตุลาคม 2557
Last Update : 23 ตุลาคม 2557 12:34:04 น. 0 comments
Counter : 1729 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1157200
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
23 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1157200's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.