สัญญาณเตือนโรคหัวใจ Part I
๑. ใจสั่น หัวใจเต้นแรง โรคหัวใจที่การเต้นผิดจังหวะ มีทั้งประเภทที่เต้นเร็วไป เต้นช้าไป หรือเต้นไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความรู้สึกว่าใจเต้น ใจสั่นได้ โรคหัวใจที่การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพน้อยลง หัวใจต้องเต้นแรงขึ้นและเร็วขึ้นกว่าธรรมดา กรณีนี้ก็ทำให้มีอาการใจเต้นใจสั่นได้เช่นกัน โรคอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจโดยตรง แต่ทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็วก็มี เช่น โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ หรือโรคใดๆก็ตามที่ทำให้มีไข้สูง นอกนั้นก็เป็นเรื่องของความเครียด *ทำไมความเครียดทำให้ใจเต้น ใจสั่น .. ความตื่นเต้น หรือความเครียดใดๆ ย่อมทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้นอยู่แล้ว ทำให้เรารู้สึกใจเต้นอยู่ระยะหนึ่ง จึงมิใช่เรื่องแปลกที่ผู้มีความเครียดบ่อยๆจะมีอาการใจเต้นบ่อยๆจนรำคาญ หรือเป็นปัญหาทำให้กังวลว่าจะเป็นโรคหัวใจ ความกังวลกลายเป็นตัวก่อความเครียดเพิ่มขึ้นอีกอย่าง อาการยิ่งมากขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะรู้สึกใจเต้น ใจสั่น แต่ชีพจรของคนที่ใจเต้นจากความเครียดแม้จะเร็วไปบ้าง แต่จะไม่เร็วมากอย่างคนที่ใจเต้นจากโรคทางกายอื่นๆ เช่น ชีพจรคนทั่วไปอยู่ระหว่าง 60 - 70 ครั้งต่อนาที คนที่ใจเต้นจากโรคหัวใจเต้นอาจเร็วถึง 160 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่านั้น แต่คนที่ใจสั่นจากความเครียดอาจอยู่ที่ 80 - 90 ครั้งต่อนาที เป็นต้น อนึ่งผู้ที่มีอาการใจเต้น ใจสั่นจากความเครียด ส่วนมากมักเป็นผู้ที่มิได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อออกแรงเพียงเล็กน้อยหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นอย่างชัดเจน จึงมีความรู้สึกเรื่องใจเต้นใจสั่นได้ง่าย ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอชีพจรจะช้ากว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย โอกาสที่จะเกิดอาการใจเต้น ใจสั่น จะน้อยลง สาเหตุอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง...เกิดจาก -มีการเปลี่ยนแปลงของจังหวะการเต้นของหัวใจเช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ(ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคหรือความผิดปกตินอกระบบหัวใจเช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ,ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า,โรคฟีโอโครโมไซโตมา,ไข้,ยาบางชนิด,ชากาแฟ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นซึ่งอาจจะเป็นผลจากภาวะดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งภาวะเครียดหรือวิตกกังวล -หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความแรงของการบีบตัวของหัวใจเช่น จากโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติครั่ว วิธีปฏิบัติตนก็คือ - หาสาเหตุที่แก้ไขได้ก่อนดังกล่าวข้างต้น เช่น งดการดื่มชากาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ - ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ในกรณีที่เป็นความผิดปกติของหัวใจ วิธีการรักษามีหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติที่พบ บางชนิดใช้ยารักษาอย่างเดียว บางชนิดต้องทำการสวนหัวใจแล้วทำ การจี้ทำลายด้วยพลังงานความร้อนจากคลื่นวิทยุ เป็นต้น
๒. เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง ถ้าผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยขึ้นมาทันทีโดยไม่สัมพันธ์กับการออกแรงจะมีสาเหตุจากความผิดปกติ เช่น เส้นเลือดแดงที่ปอดอุดตัน,ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด,อาการเครียดวิตกกังวล แต่ถ้ามีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรงจะนึกถึงความผิดปกติดังต่อไปนี้ -โรคทางปอดเรื้อรัง โดยเฉพาะ โรคถุงลมปอดโป่งพอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเหนื่อยง่ายตลอด ในรายที่เป็นมากจะสังเกตเห็นบริเวณริมฝีปากเขียวคลํ้า สาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่เป็นประจำ ,ประวัติเคยเป็นวัณโรคปอด เป็นต้น -โรคหอบหืด มักพบในเด็กหรือเป็นตั้งแต่วัยเด็กมากกว่า โดยผู้ที่เป็นโรคนี้อาจจะมีอาการอื่นของโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น คันบริเวณตา จมูก จามบ่อย มีนํ้ามูกใสตอนอากาศเย็น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเป็นพักๆเวลามีสิ่งกระตุ้นให้หลอดลมตีบ เช่น เป็นไข้หวัด แพ้ ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ,กล้ามเนื้อหัวใจ,เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ,ลิ้นหัวใจ ก็จะทำ ให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง แพ้ละอองเกสรดอกไม้ ส่วนเวลาที่ไม่มีอาการจะเหมือนคนปกติ -ความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกทรวงอก โดยเฉพาะ กระดูกสันหลังโก่งคดรุนแรง ทำ ให้มีผลต่อการทำงานของปอด เกิดภาวะเหนื่อยง่ายเรื้อรัง -โรคหัวใจทุกชนิด เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ซึ่งในขณะออกกำลัง อวัยวะต่างๆจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนที่ฟอกที่ปอดมากขึ้นโดยผ่านทางระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งมีหัวใจเป็นตัวปั๊มเลือด ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ,กล้ามเนื้อหัวใจ,เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ,ลิ้นหัวใจ ก็จะทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง -ถ้ามีภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลวร่วมด้วยก็จะมีอาการเหนื่อยนอนศีรษะสูง/เหนื่อยง่ายตอนกลางคืน -ถ้ามีภาวะหัวใจข้างขวาล้มเหลวร่วมด้วยก็จะมีขาบวม เส้นเลือดที่คอโป่งพอง เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง -ภาวะโลหิตจาง ผู้ที่มีภาวะนี้มักจะดูซีดขาวกว่าปกติ อาจจะมีสาเหตุชัดเจน เช่น มีถ่ายเป็นเลือดเป็นประจำ จากริดสีดวง อาเจียนเป็นเลือด จากเลือดออกในทางเดินอาหาร หรืออาจเป็นผลจากความผิดปกติของไขกระดูกรวมทั้งโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว -โรคประสาทวิตกกังวล พวกนี้มักจะมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลียตลอดทั้งวัน เบื่ออาหาร บางครั้งมีอาการใจสั่น หายใจไม่อิ่ม กลืนนํ้าลายรู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ อาการเหนื่อยง่าย เป็นเรื่องที่ท้าทายต่อความสามารถของแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยอย่างมาก จากประสบการณ์ของหมอเอง เคยพบความผิดพลาดจากแพทย์ท่านอื่นที่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้เป็นจำนวนมาก แพทย์หลายท่านมักจะทึกทักเอาเองว่าผู้ป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรังแล้วให้ยาขยายหลอดลมกลับไปพ่นต่อทั้งที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ วิธีดูแลตนเองก็คือ หลีกเลี่ยงความเครียดความวิตกกังวล หมั่นออกกำ ลังกายอย่างสมํ่าเสมอเพื่อทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง ถ้าสงสัยว่าตนเองเป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจรวมทั้งภาวะโลหิตจาง ควรรีบปรึกษาแพทย์
๓. เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก หรือ เจ็บแน่นหน้าอก (Chest pain) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค คือ การเจ็บ/ปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่เจ็บ/ปวดส่วนด้านหลังของทรวงอกอาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการพบบ่อยอีกอาการหนึ่ง พบได้ประมาณ 1-2% ของอาการทั้งหมดที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ โดยพบได้ในทุกอายุ แต่พบบ่อยขึ้นในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ผู้หญิงและผู้ชาย มีโอกาสเกิดอาการนี้ได้ใกล้เคียงกัน *อาการเจ็บหน้าอกเกิดได้จาก 6 สาเหตุหลัก..... ๑.จากโรคหัวใจ ที่พบบ่อย คือ จากโรคหลอดเลือดหัวใจ ๒.จากโรคของปอด เช่น โรคปอดบวม ภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ) และ โรคมะเร็งปอด ๓.จากโรคของอวัยวะในช่องท้อง เช่น โรคกรดไหลย้อน (ไหลกลับ) โรคกระเพาะอาหารอักเสบ มีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย/ธาตุพิการ) ถุงน้ำ ดีอักเสบ และโรคนิ่วในถุงน้ำดี ๔.จากโรคของกระดูกและกล้ามเนื้อลำคอและทรวงอก เช่น โรคกระดูกคอเสื่อม โรคของกล้ามเนื้อหน้าอก หรือโรคกระดูกซี่โครงอักเสบ ๕.จากโรคงูสวัดที่เกิดในส่วนผิวหนังหน้าอก ๖.ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ เช่น เครียด กังวล โกรธ กลัว และ/หรือจากการเรียกร้องความสนใจ **อาการอื่นๆที่อาจเกิดร่วมกับการเจ็บหน้าอก..... ขึ้นกับสาเหตุ ซึ่งอาการร่วมเหล่านี้ แพทย์ใช้เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยหาสาเหตุได้ - สาเหตุจากโรคหัวใจ อาการมักเป็นการเจ็บแน่น บีบ กลางหน้าอก มักปวดร้าวไปยังไหล่ แขน หรือกรามด้านซ้าย (แต่พบปวดร้าวมาด้านขวาของอวัยวะดังกล่าวได้) หัวใจเต้นเร็ว เบา มีเหงื่อออกมาก หน้ามืด เป็นลม - สาเหตุจากโรคของปอด มักร่วมกับอาการ ไอ มีเสมหะ มีไข้ มักเจ็บบริเวณด้านหน้าของหน้าอกด้านที่มีโรคแต่ไม่ใช่ตรงกลางอก และมักไม่มีการปวดร้าวไปยังตำแหน่งอื่นๆ หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก เมื่อมีอาการมาก มือ เท้า ลำตัว อาจเขียวคล้ำจากร่างกายขาดออกซิเจน - สาเหตุจากอวัยวะในช่องท้อง มักเป็นอาการจุกเสียด เมื่อเกิดจากโรคของกระเพาะอาหาร หรือมีอาการแสบร้อนกลางอกเมื่อเกิดจากโรคกรดไหลย้อน อาการเจ็บ มักเคลื่อนตำแหน่งได้เมื่อเปลี่ยนท่าทางหากเกิดจากมีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งอาการจะดีขึ้นเมื่อ เรอ หรือ ผายลม ถ้าเกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี มักเป็นอาการเจ็บใต้ชายโครงขวาซึ่งเป็นตำแหน่งของถุงน้ำดี และอาจมีไข้ต่ำๆ - จากโรคของกระดูก กล้ามเนื้อลำคอ และกล้ามเนื้อทรวงอก มักสัมพันธ์กับการงานอาชีพที่ใช้ คอ ไหล่มาก เช่น งานคอมพิวเตอร์ หรือมีประวัติอุบัติเหตุบริเวณลำคอ หรือบริเวณทรวงอก อาจร่วมกับแขน ด้านนั้นชา และ/หรือ อ่อนแรง - จากโรคงูสวัด มักมีอาการเจ็บเป็นแนวยาวรอบลำตัว ร่วมกับมีผื่นแดง หรือ ตุ่มน้ำเป็นกระจุก หรือ ตามแนวเส้นประสาท (ตามแนวยาวรอบลำตัว) - ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ มักมีประวัติปัญหาชีวิต หรือ ปัญหาครอบครัว อาการแน่นหน้าอกบริเวณตรงกลาง ลักษณะหนักๆเหมือนถูกกดทับ มีร้าวไปแขนซ้ายหรือร้าวขึ้นคอ อาการมักเป็นมากเวลาออกแรงหรือทำ งาน เป็นลักษณะของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถ้าไม่มีประวัติโรคหัวใจมาก่อน ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว แต่ถ้าทราบว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่แล้วให้อมยาขยายเส้นเลือดหัวใจใต้ลิ้นอาการจะดีขึ้น ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกลักษณะจิ๊ดๆ แปล๊บๆ แหลมๆ แทงๆ หรือแสบร้อน สามารถบอกได้ว่าไม่ใช่ลักษณะของโรคหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดจาก การออกแรงทำ งานหรือเล่นกีฬาพวกนี้มักจะกดเจ็บร่วมด้วยหรือเวลาบิดเอี้ยวตัวจะเจ็บมากขึ้น หรือเกิดจากภาวะหลอดอาหารอักเสบจากกรดในกระเพาะอาหารดันย้อนขึ้นมาพวกนี้มักจะมีอาการแสบร้อน อาจจะมีเรอร่วมด้วยและอาจจะมีอาการทางโรคกระเพาะอาหาร เช่น เป็นมากตอนกลางคืนหรือสัมพันธ์กับการทานอาหาร วิธีดูแลตนเอง คือ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่หักโหมเกินไป การทำงานออกแรงที่ใช้แรงมากเกินตัว หรือถ้ามีอาการที่สงสัยว่าเป็นจากระบบทางเดินอาหารดังกล่าวข้างต้นก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด หลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อาการแน่นหน้าอกบริเวณตรงกลาง ลักษณะหนักๆเหมือนถูกกดทับ มีร้าวไปแขนซ้ายหรือร้าวขึ้นคอ อาการมักเป็นมากเวลาออกแรงหรือทำงาน เป็นลักษณะของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
๔. หน้ามืดเป็นลมจากโรคหัวใจ (Syncope) กรณีนี้อาจเกิดจากโรคหรือภาวะหลายอย่างที่ทำ ให้สมองขาดเลือดหรือสารอาหาร ดังต่อไปนี้ -โรคหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้ามากผิดปกติ ลิ้นหัวใจตีบบางชนิด เช่น สิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจำนวนมาก ภาวะนํ้าบีบรัดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ -เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง -ภาวะขาดนํ้า/เลือดรุนแรงจนเกิดภาวะช็อค -ภาวะอื่นๆ เช่น โรคประสาทวิตกกังวล ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า วิธีปฏิบัติตนกรณีมีอาการหน้ามืดเป็นลม.... - ช่วยเหลือพยุงผู้ป่วยไม่ให้ล้มลงจนเกิดกระแทกถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย - จัดให้ผู้ป่วยนอนราบในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก คลายเสื้อผ้าให้หลวม - จัดให้ศีรษะตะแคงเพื่อไม่ให้ลิ้นตกไปอุดหลอดลมและป้องกันการสำลัก การใช้ผ้าเย็นเช็ดบริเวณใบหน้าและคอจะช่วยกระตุ้นการรู้สึกตัวได้ - ถ้าจำเป็นอยู่ในสถานที่คับแคบไม่สามารถนอนราบได้ ให้อยู่ในท่านั่งศีรษะตํ่าอยู่ระหว่างเข่าสองข้างเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองให้มากที่สุด ในกรณีที่เกิดจากอากาศร้อนอบอ้าวหรืออ่อนเพลีย อาการมักจะดีขึ้นภายใน 15 นาที - ถ้ามีประวัติเป็นเบาหวานและได้รับยาอยู่ให้รีบหาลูกอม หรือนํ้าหวาน หรือนํ้าตาลทานทันทีเพราะมักเกิดจากภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า - สุดท้ายถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะหมดสติไม่รู้สึกตัว มีอาการหายใจผิดปกติ เขียว หรือชีพจรเบามาก ต้องรีบนำส่งร.พ.โดยเร็วที่สุด ****คราวนี้เราจะมาเจาะลึกถึงภาวะหน้ามืดเป็นลม หรือหมดสติในช่วงเวลาสั้นๆ กันดูนะคะ เพราะว่ามีความสำคัญมากจริงๆ -ภาวะหน้ามืดเป็นลมหรือหมดสติไปในช่วงเวลาสั้นๆ บางครั้งดูแล้วอาจคิดว่าไม่เป็นอะไรประเดี๋ยวก็หายเอง บางครั้งอาจเกิดอันตราย เกิดอุบัติเหตุขึ้นในขณะที่เป็นลมหน้ามืด และหลายครั้งเป็นการเตือนถึงโรคหัวใจที่ร้ายแรงบางชนิดที่ซ่อนเร้นอยู่อันอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยทั่วไปเมื่อพบคนเป็นลมหมดสติ อย่าพยายามจับลุกขึ้นนั่งหรือยืน เพราะจะยิ่งทำให้เลือดไปสมองน้อยลง ยิ่งแย่ลงหมดสติต่อไปอีกครั้ง ควรให้คนหมดสตินอนราบ ยกขา สูงขึ้น (ถ้าได้) และนอนหันไปข้างใดข้างหนึ่ง กันอาเจียน, สำลัก ไม่จำเป็นต้องหนุนหมอน สังเกตอาการหน้าซีด ดูการหายใจเร็วหรือช้า ดูว่ามีอะไรขวางอยู่ในช่องปากหรือทางเดินหายใจหรือไม่ ถ้ามีให้เอาออกให้โล่งขึ้นเพื่อหายใจได้สะดวก ระวังการสำลักอาหารเข้าไปในปอด ถ้ามีความสามารถทำได้ให้จับชีพจรที่ข้อมือ ดูการเต้นของชีพจรหัวใจว่าช้าหรือเร็วเท่าใด การเป็นลมหมดสติของผู้ป่วยแต่ละรายมีสาเหตุ และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกันวัยและเพศที่แตกต่างกัน ก็จะชี้นำสาเหตุในการเป็นลมหมดสติได้ไม่เท่ากัน การรักษา การพยากรณ์โรคก็แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะแบ่งการตรวจวินิจฉัยคนเป็นลมหมดสติ ได้เป็น 3 กลุ่ม 1. โรคทางสมอง โรคลมชักมีจำนวนประมาณ1/3 ของผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ 2. โรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดปกติ ช้าไปเร็วไปประมาณ 1/3 ของทั้งหมด 3. ภาวะอื่นๆ และหาสาเหตุไม่ได้แน่นอน ประมาณ 1/3 เช่นกัน หลังจากตรวจหาอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังหาสาเหตุไม่พบ โรคทางหัวใจ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. โครงสร้างทางหัวใจ (anatomical cause) 2. การทำงานไฟฟ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias) 3. ปฏิกิริยาความดันโลหิตผิดปกติ (Reflex mediated syncope) ก. โรคหัวใจที่พบบ่อย (anatomical cause) 1) ลิ้นหัวใจผิดปกติ โดยเฉพาะลิ้น Aortic ตีบ ซึ่งพบมากในผู้ป่วยสูงอายุ มีอาการหน้ามืดเป็นลม หอบเหนื่อย หรือแน่นหน้าอก 2) กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยเฉพาะข้างขวาและด้านล่าง (Inferior Wall MI) พบภาวะหัวใจเต้นผิดปกติร่วมด้วย ทำให้เป็นลมหมดสติ 3) อื่นๆ เช่น หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด (Aorticdissection), น้ำรอบหัวใจบีบรัด (Tamponade),หัวใจโตหนา อุดกั้นทางเดินของเลือดที่จะออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย (Hypertrophic obstructive cardiomyopathy),ลิ่มเลือดอุดตันในปอดจากหัวใจ (Pulmonaryembolism) - (Orthostatic hypotension) ความดันโลหิตลดลงเมื่อเปลี่ยนอิริยาบทลุกขึ้น เป็นเหตุของการเป็นลม หมดสติบ่อยสุดอย่างหนึ่ง เช่น ขณะนอนหรือนั่งพักความดันโลหิตวัดได้ 160/80 เมื่อลุกขึ้นยืนความดันโลหิตลดลงเหลือ 100/60 แรงดันโลหิตขึ้นสมอง หายไป ลดไป ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง จึงเป็นลมหมดสติ - พบในคนสูงอายุ, เป็นเบาหวาน, นอนไม่พอ,ทานยาบางอย่าง โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดภาวะนี้ได้บ่อยมากขึ้น - ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ,ยาอัลฟาบล็อกเกอร์ (Alfa blocker), ยากล่อมประสาท(Transquilizer), ยา ACEI ต้านเอ็นไซม์ ACE พบบ่อย เป็นสาเหตุของการลดความดันโลหิตในขณะลุกขึ้นยืน แล้วเกิดหน้ามืด หมดสติ - ภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย, ทานอาหารไม่ได้, ท้องเสีย, เลือดออก ทำให้ปริมาณสารน้ำในร่างกายน้อย การสูบฉีดโลหิตจะลดลงเมื่อเปลี่ยนท่าทางลุกขึ้น การนอนมานานๆโดยเฉพาะผู้สูงอายุ หลังผ่าตัดความดันโลหิตจะลดไปมากถ้ารีบลุกขึ้นจะปรับตัวไม่ทัน และการเต้นหัวใจจะช้าลงตามอายุ ไม่พอให้เลือดไปเลี้ยงสมอง - ภาวะระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ (ANS Neuropathy) โดยปกติแล้วเมื่อเราลุกขึ้นนั่งหรือยืน จะมีระบบประสาทอัตโนมัติไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดหดตัว เพื่อเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้น ส่งเลือดไปสมองในโรคของระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมไป เช่น เบาหวาน, Parkinson, จะมีภาวะความดันโลหิตต่ำลง เมื่อยืนขึ้น ข. หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) ปกติแล้วการเต้นของหัวใจจากห้องบนซึ่งคุมโดยSA node ส่งการทำงานไปหัวใจห้องล่าง โดยผ่านตัวคุมการเต้นของหัวใจตัวที่ 2 AV node ในอัตรา 60-100 ครั้ง/นาที ถ้ามีภาวะหัวใจเต้นช้าลงกว่า 40 ครั้งต่อนาที หรือหยุดเต้น 2.5 วินาที อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้เป็นลมหมดสติได้ ในผู้สูงอายุ หัวใจจะเต้นช้าลงตามอัตรา (220 อายุ)/2 เช่น อายุ 80ปี อัตราการเต้นหัวใจ = (220 80)/2 = 70 ครั้ง/นาที ซึ่งเมื่อเทียบกับเด็กอายุ 10 ปี หัวใจเต้น (220 10)/2 = 105 ครั้ง/นาที ตัวควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจห้องบนมักจะเสื่อมลงไปทีละน้อยเป็นครั้งคราว (Sick sinussyndrome) ทำให้การเต้นของหัวใจในผู้สูงอายุ บางครั้งช้าลงหรือหยุดไปเป็นช่วงๆ 1-2 ครั้ง/ปี เป็นเหตุให้หมดสติ ล้มศีรษะกระแทกพื้นได้ ต้องใช้วิธี ตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitor) หรือเครื่องตรวจวัดการทำงานของหัวใจ (SA node) ห้องบน โดยการทำ EP study : Sinus node recovery time การตรวจไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งบอกถึงภาวะเสื่อมของตัวควบคุมการเต้นของหัวใจได้ เมื่อทราบแล้วจะได้ให้การรักษาและป้องกันไม่ให้หัวใจเต้นช้าลงหรือหยุดเต้นเป็นช่วงๆ (Sinus bradycardia OR sinus pause) ซึ่งอาจให้หน้ามืด หมดสติ เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เลือดออกในสมอง กระดูกหัก หรือถึงกับเสียชีวิตจากอุบัติเหตุนั้นๆได้ อีกจุดหนึ่งคือตัวควบคุมการเต้นของหัวใจล่าง ซึ่งอยู่ที่จุดต่อของหัวใจห้องบนและล่าง (AV node) ซึ่งก็อาจหยุดการทำงานไปจากภาวะเสื่อม (degeneration), หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Inferior Wall MI) เป็นต้น ซึ่งทำให้หัวใจห้องบนและล่าง ไม่ทำงานด้วยกัน เป็นเหตุให้หัวใจเต้นช้าลง และถึงกับเสียชีวิตได้ (3o AV block) การแก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าคือ ตรวจหาสาเหตุให้ได้ แก้ไขสาเหตุอาจต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อให้หัวใจทำงานได้อย่างปกติ ภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินไปก็ทำให้หมดสติได้ ภาวะนี้ร้ายแรงกว่าหัวใจเต้นช้าเพราะมักสัมพันธ์กับ สภาพหัวใจที่อ่อนแรง (Poor LV function) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Acute myocardial infarction) ภาวะหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องล่าง (Ventricular tachycardia) จนหมดสติไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตหรือไม่ก็เป็นอัมพาตถาวรจากภาวะสมองขาดออกซิเจนนานไป anoxic encephalopathy ต้องรักษารีบด่วน เช่น แก้ไขสาเหตุของหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease), ใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เช่น Amiodarone หรือใส่เครื่องช็อคหัวใจ (ICD) เมื่อมีภาวะหัวใจเต้นเร็วจนเกินไป ค. ปฏิกิริยาทำให้ความดันโลหิตต่ำ (Reflex mediated syncope) เป็นภาวะพบบ่อยในยุคปัจจุบัน มักพบในคนอายุน้อยประมาณ 15-35 ปี ทำงานหนัก เครียด ทานน้อย นอนหลับพักผ่อนไม่พอ ตื่นบ่อยๆ ตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะบ่อยๆ ตรวจพบความดันโลหิตต่ำ 110/80 เมื่อเดินเปลี่ยนอิริยาบถ ก้มๆเงย จะรู้สึกร้อนวูบวาบ บางทีมีเหงื่อออก หวิวๆหน้ามืด ต้องเกาะยึดข้างฝา แล้วอาจมีหน้ามืดเป็นลมหมดสติ 2-3 นาที ต่อมาพบว่าตัวเองนอนอยู่บนพื้น พวกนี้ทานไม่พอ พักผ่อนไม่พอ ออกกำลังกายไม่พอ มีผลให้เกิดปฏิกิริยาที่หัวใจบีบตัวแรงมากไปกระตุ้นระบบประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้มีผลมายังหลอดเลือดขยายตัว (Vasodilate) ความดันต่ำ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และหัวใจเต้นช้า (Cardiac inhibitory reflex) แล้วความดันโลหิตต่ำ หมดสติไป การตรวจภาวะนี้ทำโดยให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงในแนวราบ แล้วยกหัวเตียงให้ค่อยๆเอียงขึ้น 60 องศา นาน 15 นาที แล้วใช้ยากระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้นอีก 15 นาที (Tilt table test) ถ้าผู้ป่วยมีปฏิกิริยานี้ไวกว่าปกติ จะมีผลให้ความดันโลหิตต่ำลงแล้วเป็นลมหน้ามืด การรักษาคือ ให้นอนพักผ่อนให้ดีขึ้น ทาน น้ำและเกลือมากขึ้น ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ให้ยาป้องกันไม่ให้หัวใจบีบตัวแรงเกินไป จึงจะช่วยให้อาการเหล่านี้ทุเลาได้ ในภาวะไอแรงๆ จามแรงๆ เบ่งถ่ายปัสสาวะอุจจาระ กลืนอาหารติดคอแล้วเป็นลม ตกใจเห็นเลือดแล้วหัวใจเต้นแรงขึ้นแล้วเป็นลม ก็เกิดจากกลไกดังกล่าวมาแล้วนี่เอง สรุปว่า การเกิดภาวะเป็นลมหมดสตินั้น อาจมีวิธี ตรวจพบและแก้ไขสาเหตุนั้นๆได้ ก่อนที่จะปล่อยให้เป็นลมหมดสติไปอีก ซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุจนทำให้เราได้ รับบาดเจ็บแก่ร่างกายรุนแรงได้ครับ ดังนั้น การตรวจเช็คทางหัวใจ มีความจำเป็นระดับหนึ่งทีเดียวในคนเป็นลมหมดสติ
ที่มา //www.ayurvedicthai.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1456984
Create Date : 23 มกราคม 2558 |
|
6 comments |
Last Update : 23 มกราคม 2558 18:04:40 น. |
Counter : 17769 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: fifa 15 coin IP: 192.99.14.36 24 มกราคม 2558 15:28:50 น. |
|
|
|
| |
โดย: ดารุณี เหมศิริ IP: 1.47.193.69 9 กันยายน 2558 23:25:12 น. |
|
|
|
| |
โดย: Nllpflick IP: 188.40.113.83 10 มกราคม 2564 5:11:09 น. |
|
|
|
| |
โดย: Grvteeva IP: 188.40.113.83 26 มีนาคม 2564 19:38:36 น. |
|
|
|
| |
โดย: BrfgFunc IP: 188.40.113.83 29 มีนาคม 2564 22:19:16 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
fifa 15 coin //tortillawiki.org/index.php?title=Usuario:PKMMathias