Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
12 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

พัฒนาการในครรภ์เดือนที่6



พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์

เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 24 ทารกจะมีความยาวประมาณ 13 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 2 ปอนด์ และอวัยวะต่างๆได้มีการพัฒนาไปจนเกือบสมบูรณ์แล้ว

ใบหน้าเล็กๆและเรียว ทำให้ดูตาโต และเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 22 - 24 เปลือกตาเริ่มที่จะเปิดออกได้ ทารกจะสามารถลืมตาได้แล้ว และมีขนคิ้วขึ้นบางๆ

หากในเดือนนี้คุณได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ คุณอาจกำลังพยายามนึกถึงคนในครอบครัวว่าทารกจะคล้ายกับใคร แต่อย่าเพิ่งกังวลเพราะหน้าตาจะยังเปลี่ยนไปอีกมากกว่าจะคลอด

ผิวหนังของทารกยังคงบางมาก แต่ตอนนี้ไม่สามารถมองทะลุลงไปเห็นเครือข่ายเส้นเลือดได้แล้ว ผิวหนังของทารกตอนนี้จะเห็นเป็นสีออกแดงระเรื่อ และอาจจะดูเหี่ยวย่นเนื่องจากยังมีไขมันมาสะสมตามร่างกายไม่มากนัก และต่อมเหงื่อได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้ผิวหนัง

นิ้วมือกำลังพัฒนา ทารกของคุณมีลายนิ้วมือแล้วในตอนนี้เช่นเดียวกับนิ้วเท้า

ทารกจะถูกล้อมรอบด้วยน้ำคร่ำ 500 มิลลิลิตร ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและช่วยให้ทารกสามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคล้ายกับการซ้อมเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย หรือบิดขี้เกียจยืดเส้นยืดสายให้หายเมื่อย ทารกสามารถเตะ ดูดนิ้ว หรือ อ้าปาก นอกจากนี้ทารกของคุณสามารถไอหรือสะอึกได้ด้วย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะทารกสามารถช่วยตัวเองได้โดยกลืนน้ำคร่ำอุ่นๆเข้าไป เพราะนี่เป็นกลไกของธรรมชาติ

ทารกยังสามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวหรือเสียงดังจากภายนอกได้ กระดูกในหูของทารกเริ่มแข็งขึ้นและช่วยให้สามารถได้ยินเสียงต่างๆได้ดีขึ้น ทารกสามารถแยกเสียงที่เกิดขึ้นจากภายในมดลูกและจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ดังนั้น หากจะเริ่มพูดคุยกับลูกในตอนนี้ลูกก็จะสามารถจดจำเสียงของคุณได้ ว่าที่คุณพ่อก็ควรเริ่มพูดคุยกับลูกด้วยเช่นกัน มีรายงานการวิจัยว่าเสียงทุ้มต่ำของคุณพ่อจะช่วยให้ลูกได้ยินได้ง่ายกว่าเสียงแหลมสูงของแม่

บางทีการที่คุณมีกิจกรรมมากในแต่ละวันอาจทำให้พลาดโอกาสดีๆไป ควรหาเวลาพักบ้าง คอยสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกว่ากำลังทำอะไรอยู่ภายในนั้น บางทีคุณจะรู้สึกได้ว่าการเคลื่อนไหว หมุนตัว เตะ หรือชก เกิดจากอวัยวะใดของทารก ส่วนที่นูนขึ้นมาตรงหน้าท้องของคุณคือส่วนไหน อาจทำให้คุณสามารถจินตนาการถึงกิจกรรมต่างๆของทารกได้

อัตราการเต้นของหัวใจของทารกในขณะที่จะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 140 – 150 ครั้ง/นาที และตอนนี้อวัยวะทั้งหมดยกเว้นปอดสามารถทำงานได้แล้ว

หากเราได้ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองของทารกเมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์นั้น เราจะพบว่าเซลล์สมองได้มีการพัฒนาส่วนที่รับรู้สติและทารกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกมากขึ้น และได้มีการพัฒนาวงจรของการหลับและการตื่น

ปอดของทารกตอนนี้ยังเต็มไปด้วยน้ำคร่ำ และยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกหลายสัปดาห์จนกว่าถุงลมปอดเล็กๆนั้นจะสามารถทำการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้

ระบบทางเดินอาหารมีการพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำคร่ำได้และทำงานอย่างเป็นระบบ ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำเข้าไปและขับถ่ายออกมาหมุนเวียนเป็นน้ำคร่ำใหม่


การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่

ร่างกายคุณแม่จะมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดด้วย มดลูกจะมีการซ้อมหดรัดตัว ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกว่า Braxton Hicks contractions ซึ่งกล้ามเนื้อมดลูกจะมีการหดรัดตัวแข็งขึ้นประมาณ 2 -3 วินาที แต่อาจจะเป็นได้บ่อยๆ และคุณแม่สามารถรับรู้ได้ถึงการทำงานของกล้ามเนื้อนั้นด้วย

ตอนนี้ตำแหน่งของยอดมดลูกจะอยู่เหนือสะดือคุณแม่ขึ้นมาเล็กน้อย เมื่อทารกมีการเคลื่อนไหวร่างกายบางครั้งคุณแม่พอจะเดาได้ว่าส่วนที่นูนขึ้นมาที่หน้าท้องนั้นเป็นเท้าหรือขา คุณแม่อาจรู้สึกคัดตึงเต้านมมากขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพื่อเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรภายหลังการคลอดทำให้เต้านมยังขยายโตขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์ที่ 24 นี้คุณแม่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อยกทรงอีกครั้ง ในระยะนี้จะมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว เนื่องจากร่างกายมีการสะสมน้ำไว้มาก และคุณแม่อาจรู้สึกร้อนได้บ่อยๆในช่วงนี้


คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กนั้นจำเป็นสำหรับระบบไหลเวียนเลือดของทารกและของคุณแม่ด้วย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ โดยรับประทานเนื้อแดง เป็ด ไก่ ผักใบเขียวต่างๆ และธัญพืชที่มีธาตุเหล็กสูง นอกจากนี้ควรรับประทานผลไม้ซึ่งมีวิตามิน C สูงด้วย เนื่องจาก Vitamin C นั้นช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก

รอยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผิวหนังมีการขยายออกอย่างรวดเร็วและถูกดึงให้ตึงมากขึ้นโดยขนาดของมดลูกที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณแม่ควรทาครีมบำรุงผิวบ่อยๆจะช่วยลดการแตกของผิวหนังและลดอาการคันได้

รองเท้าของคุณแม่ตอนนี้อาจจะไม่พอดีกับเท้าอีกต่อไป คุณแม่อาจไม่เชื่อว่าคุณต้องใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเบอร์เลยทีเดียว เท้าของคุณแม่จะบวมขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้มีน้ำอยู่ในเซลล์มากขึ้น ดังนั้นควรมองหารองเท้าคู่ใหม่ที่ใส่สบายกว่า และลืมรองเท้าส้นสูงไปเลย หารองเท้าที่คุณแม่เดินได้สะดวก และไม่สะดุดหกล้มได้ง่ายๆก็จะปลอดภัยมากขึ้น




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2552
2 comments
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 16:03:09 น.
Counter : 2437 Pageviews.

 

Take care na ka.

 

โดย: CrackyDong 12 มิถุนายน 2552 19:42:25 น.  

 

Thank you so much ka!

 

โดย: annim 13 มิถุนายน 2552 14:24:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MamyDD
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]









-‘•’- ยินดีต้อนรับทุกท่านจ้า -‘•’-

ณ ที่แห่งนี้..
คุณแม่ลูก2เขียนบันทึกเรื่องราว
ของลูกชายตัวดี..เดนเด้
- - และ - -
ลูกชายตัวน้อยๆ..ไดโอ

รวมถึงสาระต่างๆ
ที่แม่เก็บรวบรวมมาแบ่งปัน
เพื่อนๆทุกคน..
หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะคะ

ღ ..ขอบคุณ.. ღ
ทุก Comment
ที่ฝากคำทักทาย & พูดคุย
ตลอดจนมิตรภาพดีๆที่มีให้แก่กันค่ะ





Friends' blogs
[Add MamyDD's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.