Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
20 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
กระเจี๊ยบแดง

เมนูเครื่องดื่มสุขภาพ น้ำกระเจี๊ยบแดงและพุทราจีน ที่ช่วยลดไขมันในเลือด หินปูนในหลอดเลือด และบำรุงเยื่อหุ้มหัวใจ เผื่อผู้อ่าน
รักษ์สุขภาพจะได้นำไปลองปรุงดื่มกันดู

สำหรับสรรพคุณของกระเจี๊ยบแดงนั้น ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด ลดความดันเลือด ลดความข้นในกรณีที่เลือดหนืด ป้องกันเส้นเลือดเสื่อมสภาพ ช่วยให้ตับหลั่งน้ำดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ และลดน้ำหนัก ส่วนพุทราจีน มีประโยชน์ช่วยบำรุงเลือด ลดโอกาสเสี่ยงผนังเส้นเลือดแข็งตัว ป้องกันหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบตัน

ขั้นตอนในการทำง่ายแสนง่าย เพียงเตรียมกระเจี๊ยบแดง พุทราจีน ในสัดส่วนที่เท่ากัน จากนั้นนำไปต้มกับน้ำสะอาดในปริมาณที่พอเหมาะ เติมน้ำตาลทรายแดงลงไปเล็กน้อย เมื่อน้ำตาลทรายแดงละลายก็เป็นอันเสร็จ สามารถเติมน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความสดชื่นและดื่มได้ทันที หรือแช่ตู้เย็นเก็บไว้ดื่มได้.




หนึ่งในสมุนไพรที่คนทั่วไปรู้จักกันดีคงหนีไม่พ้น "กระเจี๊ยบแดง" ว่ามีคุณสมบัติช่วย ลดความดันโลหิตสูง แต่สมุนไพรดี ๆ จะมีคุณสมบัติแค่เพียงอย่างเดียวล่ะหรือ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการใช้กระเจี๊ยบแดงได้อีกมาก ลองมาไล่ดูกันทีละส่วนเลยดีกว่า

ใบอ่อนและยอด ใช้แต่งรสเปรี้ยว ใส่ต้มหรือแกง

ผลอ่อน ต้มรับประทานติดต่อกัน 5 - 8 วัน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด

ผลแห้ง ป่นเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ 3 - 4 ครั้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ

เมล็ด บดเพื่อเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และยาบำรุง

กลีบเลี้ยงสีแดง ใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วย ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต

จะเห็นได้ว่าสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเจี๊ยบแดงมีประโยชน์มากมายอย่างที่นึกไม่ถึงมาก่อน อย่างไรเสียโอกาสหน้าก็อย่าลืมคิดถึงสมุนไพรใกล้บ้านรักษาอาการเจ็บป่วย ก่อนที่จะไปเสียตังค์ซื้อยาก็น่าจะดีไม่น้อยเลย


กระเจี๋ยบแดง (กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำ น้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ




ผลประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

การทดลองทางคลินิกใช้ขับปัสสาวะ

เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสกัดกระเจี๊ยบแดง พบว่ามีฤทธิ์ขับปัสสาวะ นายแพทย์วีรสิงห์ เมืองมั่น ได้ทดลอง ใช้กลีบดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งบดเป็นผง 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือ 300 ซี.ซี. ให้ผู้ป่วยดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ถึง 1 ปี โดยทำการทดลองกับคนไข้ 50 คน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดนิ่ว
การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีพบว่าน้ำกระเจี๊ยบแดงไม่ให้ผลในการป้องกันการเกิดนิ่ว เมื่อทดสอบให้อาสาสมัครสุขภาพดีอายุ 27-45 ปี จำนวน 6 คน ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดง (4 ก.%) 1 วัน 4 ครั้งๆละ 250 มล. ตรวจปัสสาวะหลังจากดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดง 24 ชม. พบว่ามีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น และ titratable acidity เพิ่มขึ้น ระดับแคลเซียม และ calcium-citrate ratio เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่กิน potassium citrate ขนาด 15.41 mEq/25 มล. 4 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 25 มล. ดื่มน้ำได้ไม่เกิน 250 มล./ครั้ง พบว่าปัสสาวะมีแนวโน้มเพิ่มความเป็นด่าง และ titratable acidity ลดลง ระดับฟอสฟอรัสลดลง calcium-magnesium ratio เพิ่มขึ้น แสดงว่าน้ำกระเจี๊ยบไม่มีผลป้องกันการเกิดนิ่ว และทดสอบให้อาสาสมัครสุขภาพดี 36 คน ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาดวันละ 16 ก. (แบ่งดื่มวันละ 4 ครั้ง) นาน 7 วัน (ระยะที่ 1) แล้วให้พัก 2 สัปดาห์ จากนั้นดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาดวันละ 24 ก. (แบ่งดื่มวันละ 4 ครั้ง) นาน 7 วัน (ระยะที่ 2) ตรวจปัสสาวะพบว่า มีการขับออกของครีอาตินีน กรดยูริค ซิเตรท ทาร์เตรท แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสเฟต ลดลง ยกเว้นออกซาเลต ค่า CPR (Concentration product ratio) ของแต่ละคนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น และมีค่า PI (Permissible increment) ลดลง ในระยะที่ 2 ค่า CPR ของแต่ละคนส่วนใหญ่ลดลง และ PI เพิ่มขึ้น ดังนั้นการดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาดวันละ 16 ก. จะมีผลต่อการขับออกของสารต่างๆในปัสสาวะลดลงมากกว่าขนาดวันละ 24 ก. และการเปลี่ยนแปลงของปัสสาวะก็คล้ายกับปัสสาวะของชาวชนบทในภาคอีสานที่เป็นนิ่วหรือไม่เป็นนิ่วในไต ซึ่งต่างจากปัสสาวะของชาวเมืองในอีสาน การกินกระเจี๊ยบแดงไม่มีประโยชน์ต่อการป้องกันการเกิดนิ่วในไต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสารในปัสสาวะกลับอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต การกินระยะยาวและขนาดสูงกว่า 24 ก./วัน อาจจะได้ผลต้องทดลองต่อไป


หมายเหตุ กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย

กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบ ขอบใบเรียบ บางครั้งมีหยักเว้า 3 หยักด้วยกัน ดอกสีชมพูตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม เมล็ดเอาไว้ภายใน


กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสงที่สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบน้ำขัง ใช้วิธีปลูกในแปลงปลูก โดยหยอดเมล็ดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อกระเจี๊ยบแดงเป็นต้นอ่อนอาจถอนทิ้งหลุมละ 2-3 ต้น เพื่อให้ไม่แน่นมากนัก ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นจะปล่อยตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ อาจปลูกในพื้นที่แปลง ข้าวโพด เมื่อปลูกข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยข้าวโพด แล้วนำใส่เครื่องหยอดพ่วงกับรถไถเดินตาม หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้วกระเจี๊ยบแดง อยู่ในช่วงออกดอกพอดี

พันธุ์ที่ใช้ปลูกคือพันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร เนื้อหนา มีสีแดงเข้มจนถึงม่วงลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างหนา เนื้อบาง มีสีแดงสด ลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างบาง การเก็บเกี่ยวนั้นควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง

ดอกกระเจี๊ยบที่เก็บเกี่ยวได้ให้นำมากระทุ้งให้กลีบดอกและกระเปาะเมล็ดหลุด ออกจากกันโดยใช้เหล็กกระทุ้ง และนำกลีบดอกที่กระทุ้งได้มาตากในภาชนะที่สะอาด ไม่มีฝุ่น ตากแดดประมาณ 5-6 วัน หรืออบให้แห้งสนิท จึงทยอยเก็บ ส่วนกระเปาะเมล็ดให้แยกตาม เมื่อแห้งสนิทให้ร่อนเมล็ดออก นำไปจำหน่ายได้เช่นกัน

เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า ณ บัดนี้ ทางราชมงคลธัญบุรีเขาประดิษฐ์ เครื่องแกะดอกกระเจี๊ยบ เพื่อช่วยให้เกษตรกรลดขั้นตอนการผลิตกระเจี๊ยบแห้งลง อันนี้เป็นฝีมือนักศึกษาคือ นายพุธวงค์ นาทอง และ นางสาววิไลพร คำงาม เป็นนักศึกษาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่พวกเขาคิดสร้างเครื่องนี้ขึ้น ก็เพื่อลดแรงงานคนในการแกะดอกกระเจี๊ยบ และเพิ่มปริมาณการผลิตในเวลาเดียวกัน เครื่องนี้จะประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนของการลำเลียง และ ส่วนของการเจาะเอาเมล็ดกระเจี๊ยบออกจากกลีบดอก แม้ใน การป้อนดอกกระเจี๊ยบจะยังใช้มืออยู่ แต่ก็สามารถ ทำงานได้เร็ว และไม่ทำให้ผู้แกะต้องเจ็บมืออีก ต่อไป


ส่วนการศึกษาในผู้ป่วยโรคนิ่วหรือโรคทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกของต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด ให้ดื่มน้ำดอกกระเจี๊ยบ 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี พบว่า 80% ของผู้ป่วยมีปัสสาวะใสกว่าเดิม และพบว่าทำให้ปัสสาวะเป็นกรด จึงช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย (9) แต่เมื่อทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคนิ่วระยะนาน 6 เดือน จำนวน 10 คน อายุ 36-59 ปี ให้ผลป้องกันการเกิดนิ่วได้ไม่ดีนัก ทดลองให้ผู้ป่วย 6 คน ดื่มชากระเจี๊ยบแดง (1.2 ก.%) วันละ 4 ครั้งๆละ 250 มล. 3 เวลาหลังอาหารและก่อนนอน และอีก 4 คน กิน potassium citrate ขนาด 15.41 mEq/25 มล. วันละ 4 ครั้งๆละ 25 มล. 3 เวลาหลังอาหารและก่อนนอน พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะทั้ง 2 กลุ่ม ปัสสาวะของผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงจะมีออกซาเลตเพิ่มขึ้นมากและมากกว่าก่อนการทดลอง และค่า calcium-citrate ratio และ calcium-magnesium ratio สูงขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยที่กิน potassium citrate จะมีระดับแคลเซียมในปัสสาวะต่ำ โพแทสเซียมในปัสสาวะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มในการเพิ่มระดับซิเตรทที่ต่ำให้เข้าสู่ภาวะปกติ ค่า calcium-citrate ratio และ calcium-magnesium ratio ต่ำลงสู่ปกติ ระดับกรดยูริคและออกซาเลตในปัสสาวะสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่ากระเจี๊ยบแดงมีประสิทธิภาพด้อยกว่า potassium citrate ในการลดปัจจัยการเกิดนิ่ว (7)

4. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
4.1 การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากดอกให้กับกระต่าย (10, 11) และให้กับหนูขาว (12) ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 129.1 ก./กก. (10, 11) และ 5 ก./กก. (12) ตามลำดับ ไม่พบพิษในหนูถีบจักรและหนูขาวที่กินสารสกัดด้วยน้ำจากดอกขนาด 4 มก./กก. (2) เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากดอกเข้าช่องท้องหนูถีบจักรทั้งสองเพศ ค่า LD50 มากกว่า 5,000 มก./กก. (13) และฉีดสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากดอกเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ความเข้มข้น 30% ในขนาด 0.4-0.6 ซี.ซี. ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง (10)

ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดผลกระเจี๊ยบด้วยความเข้มข้น 50 มคก./จานเพาะเลี้ยงเชื้อ (14) และน้ำมันจากเมล็ด (15) ทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 (14, 15) แต่สารสกัดด้วยน้ำจากดอกกระเจี๊ยบ ทำการทดลองในจานเพาะเลี้ยงเชื้อในความเข้มข้น 1-5 มก./จานเพาะเชื้อ (16) และสารสกัดดอกกระเจี๊ยบ (17) พบว่าไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 (16, 17) และเมื่อนำสารสกัดจากดอกกระเจี๊ยบด้วยเอทานอล 80% (100 ก./ล.) ซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็งมาทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (ขนาด 25 มก./จานเพาะเชื้อ) และทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ (ขนาด 12.5 มก./จานเพาะเชื้อ) พบว่ามีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ แต่ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 (18) และชาชงใบกระเจี๊ยบ ความเข้มข้น 100 มคล./แผ่น ทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อกับเชื้อ S. typhimurium TA98, TA 100 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ด้วย ethylmethane sulfonate และ 2-amino-anthracene ตามลำดับ พบว่าสามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 ได้ (19)



4.3 ฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง

เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากดอกเข้าช่องท้องหนูถีบจักรทั้งสองเพศ ขนาด 100 มก./กก. จะกดระบบประสาทส่วนกลาง (13)



พิษต่อตับ
ส่วนสกัดน้ำที่ได้จากสารสกัดอัลกอฮอล์:น้ำจากดอกกระเจี๊ยบ ป้อนให้หนูขาว 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับส่วนสกัด กลุ่มที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ได้รับส่วนสกัดจำนวน 1, 3, 5, 10 และ 15 ครั้ง ครั้งละ 250 มก./กก. ตามลำดับ พบว่าหนูทุกกลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดจะมีค่า aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase สูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อระดับของ alkaline phosphatase และ lactate dehydrogenase หนูที่ได้รับส่วนสกัด 15 ครั้ง จะมีระดับอัลบูมินในเลือดสูงขึ้น ลักษณะเนื้อเยื่อของตับและหัวใจในหนูทุกกลุ่มไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในการกินส่วนสกัดนี้ในขนาดสูงและในระยะเวลานาน อาจทำให้เป็นพิษต่อตับได้




ข้อมูลโดยอินเตอร์เน็ต




Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 1 มิถุนายน 2555 21:27:44 น. 4 comments
Counter : 12370 Pageviews.

 




โดย: โลกของหนึ่งคน วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:35:55 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่โลกฯ


~นัยกาลซึ้งพระธรรม~(โคลงสองสุภาพ)

ในกาลไหวประจักษ์แจ้ง..........ฤทัยสบดังจักแย้ง
แจ่มน้อมวิปัสสนา

สะอาดสงบ ฤ สว่างรู้..............กิเลสยบอวลอสัญสู้
ผ่านพ้นสุขสบาย

สงบเงียบนฤมิตห้วง..............ตรึกหมั่นจักคิดท้วง
ย่อมได้ปล่อยวาง

สรรรินรสเรขไว้....................ส่งเจตประโลมจักได้
หลุดพ้นหม่นหมอง

ไตรลักษณ์ประสบแห่งร้อน....พ้นทุกข์สบายจักย้อน
นึกรู้ตรองนัย


โดย: ญามี่ วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:09:51 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่โลกฯ วันนี้ร้อนไหมคะ?



ณ มุมห้องมุมเก่านั่งเล่าบท
ความสวยสดผ่องผุดเฝ้าสุดสาย
โปรยสีสรรหนาวลมอันพรมพราย
แต้มหัวใจรับแต่งจากแท่งเทียน

ยินเสียงใบลู่ลมแผ่วพรมห้วง
ไหวเอนร่วงรับด่ำจากค่ำเปลี่ยน
คลอเสียงนกครื้นเครงบรรเลงเนียน
รู้ซึ้งเวียนงามงดหมดจดปราย

โลกวาดไหวในงามนิยามสวย
รอยระรวยเร้าแผ่กระแสสาย
รินหลั่งธารดื่มด่ำเฝ้าพร่ำพราย
แต้มในหมายหวานหวิวให้พลิ้วบิน

จากรอยจารรู้สึกอันลึกเร้น
ไม่มีเว้นวรรคตรึงให้ถึงถิ่น
กลิ่นคล้ายปลอบโรยตรึงหอมซึ้งจินต์
ใจคลายสิ้นร้อนเร่าปลิวเบาบาง

โดยมนต์กลซ่านสิ่งคอยอิงออก
คือลำนำในนอกคอยหยอกข้าง
ทอดอดีตผ่านไปไกลสุดในทาง
กอดวามหลังแล้วย่างปล่อยวางตน


โดย: ญามี่ วันที่: 2 เมษายน 2555 เวลา:20:58:28 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่โลกฯ
สุข สมหวังในสงกรานต์ปีนี้นะคะ




สุขจรรโลงไป่เว้น................แววหวาน
โอนฤทธิ์จรัสเบิกบาน...........แบ่งแต้ม
ชะลอสลักรูปลงสาน............เสริมแต่ง
มานยิ่งพริ้งแยกแย้ม............หยดล้นชื่นเวหา

ปรารถนากลิ่นแก้ว................กำจาย
ให้ม่านค่อยเคลื่อนคลาย........คู่ฟ้า
หอมล้อมฉ่ำฟุ้งสาย...............สรวลสู่
โชติรุ่งบ่มีล้า........................แหล่งสิ้นกระแสสูญ

พูนเพิ่มผลทรัพย์เอื้อ..............อาบอวย
จิตมาดหมายมุ่งระรวย.............เรียบคล้อง
ชรรินแผ่เสริมสวย..................สู่สวัสดิ์
เย็นศิระอุระตรึงต้อง................ตอบรู้เกษมสมาน

นานเพิ่มแดดื่มด้น...................ดนุพจี
ฉมรื่นร้อยถ้อยวลี....................ละเมียดน้อม
ปิยะประจุแช่มสดศรี.................ศุภนิมิต
ใจจักหอมห่อห้อม...................ห่อนสิ้นพิลาสเสนอ

สม่ำเสมอจำจรัสห้อง.................เหินนภา
มธุรสคำพักตรา.........................แต่งแพร้ว
เหิมหอมวสะปรารถนา.................นึกวิโรจน์
กมลวิจิตรดังกล่อมแก้ว...............เกิดพริ้งประนอมหวัง


โดย: ญามี่ วันที่: 14 เมษายน 2555 เวลา:16:47:03 น.  

โลกของหนึ่งคน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




free counters
Friends' blogs
[Add โลกของหนึ่งคน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.