กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
ธรรมะปฏิบัติ และ นิยามของ การทำวัตร สวดมนต์ ....ตามแบบของวัดป่า..

การทำวัตร สวดมนต์แบบชาวพุทธ

      พระพุทธศาสนา เป็นศาสนา ที่พระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ จุดมุ่งหมายคือ การสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงด้วยวิธีการสร้าง "ปัญญา" ซึ่งเป็นสิ่งที่พัฒนาจิตใจมนุษย์ให้พ้นจากความหลงหรืออวิชชาให้อยู่กับความทุกข์ อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริงหรือการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้นเอง

     พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการกระทำ ไม่ใช่ศาสน์แห่งการบวงสรวงอ้อนวอน บนบานศาลกล่าว หากแต่เป็นศาสน์แห่งปัญญา อันเป็นปัญญาที่ เกิดขึ้นจากการกระทำ ตามคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ซึ่งปัญญานี้เองจะเป็นสิ่งที่พัฒนาจิดตใจมนุษย์ ให้พ้นจากความหลงหรืออวิชชา

     เราเป็นพุทธสาสนิก นับถือพระพุทธเจ้า อย่าให้สักแต่ว่า นับถือเพียงที่ปาก ต้องนับถือให้ถึงใจนั้น ต้องหมายความว่า ปฏิบัติอย่างไร ต้องตั้งใจทำตามให้เต็มสตปัญญาความสามารถ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอน ให้สวดมนต์เพื่อขอร้องวิงวอนให้ทรงบันดาลให้เกิดความสุขสวัสดีโดยเจ้าตัวเองไม่ปฏิบัติดี

    ความหมายในบทสวดมีอยู่บริบูรณ์ ที่ผู้สวดจะได้รับผลเป็นความสุข ความเจริญรุ่งเรืองสวัสดีถ้าปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามความหมายของบทสวดมนต์ หรือเช่นไม่ปฏิบัติตามที่สวดว่า ข้าพเจ้าเข้าถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆงค์ เป็นที่พึ่งคือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอน และปฏิบัติตามพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้เถิด

     ทำวัตร ในที่นี้หมายถึง การกระทำโดยต่อเนื่องเป็นกิจวัตร ซึ่งเป็นการฝึกหัด อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจริตนิสัยและเป็นหนทางให้เกิดคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ความขยัน ความอดทน ความสำรวมระวัง  ความตั้งมั่นแห่งจิต และความรู้แจ้งในสัจธรรม เป็นต้น

     สวดมนต์  หมายถึง"การศึกษาเล่าเรียน" คำว่า "ศึกษา" ในทางพุทธศาสนาครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติด้วย คือ เมื่อยังไม่รู้ ก็เรียนให้รู้ ฟังให้มาก ท่องจำ พิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียน ลงความเห็นว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดดีงาม แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตามนั้นไป การทำวัตรสวดมนต์ที่จะต้องให้ผลดีแก่ผู้กระทำนั้น ต้องระลึกให้ถูกต้องว่า ไม่ใช่เป็นการบวงสรวงอ้อนวอน หรือ ไปคิดแต่งตั้งให้พระพุทธองค์ตลอดจนพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้รับรู้และเป็นผู้ที่จะบันดาลสิ่งที่ตนปรารถนา ซึ่งจะกลายเป็นการกระทำที่ใกล้ต่อความงมงายไร้เหตุผล อันมิใช่วิสัยที่แท้จริงของชาวพุทธ

     การทำวัตรสวดมนต์ ควรทำในลักษณะของการภาวนา คือ ทำกุศลธรรมหรือสิ่งที่ถูกต้องดีงามให้เจริญขึ้น และ ทำในลักษณะของการศึกษาเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา

     การทำวัตรสวดมนต์ เมื่อทำด้วยความเคารพสำรวมระวัง บังคับกายกิริยามารยาทให้เรียบร้อยเป็นปกติ วาจากล่าวในสิ่งที่ถูกต้องดีงามส่วนนี้ จัดเป็นศีล

     ขณะสวดมนต์ ตั้งจิตจดจ่องอยู่ในเนื้อหาและความหมายของบทธรรม ทำให้จิตทิ้งอารมณ์ต่าง ๆ มาสู่อารมณ์เดียวที่แน่วแน่ ขณะเช่นนั้นจัดเป็นสมาธิ การมีความรู้ศึกตัวทั่วพร้อม มีสติสัมปชัญญะซาบซึ้งในบทพระธรรม และเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งส่วนนี้ เรียกคือ ปัญญา

     ขณะทำวัตรสวดมนต์ เมื่อตั้งใจศึกษา แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนความคิดความเห็นให้เป็นไปตามธรรมะที่ท่องบ่นอยู่ จนในขณะนั้นจิตใจเกิดความผ่องใส สงบ เยือกเย็น เป็นสภาวะธรรมปรากฏขึ้นในใจของเรา ปรากฎการณ์ เช่นนี้ ก็จะคล้ายกับว่า เราได้พบกับพระพุทธองค์ เพราะธรรมะคือพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง คือ ธรรมะ ดังที่ท่านตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา  

     ดังนั้น การศึกษาธรรมะในขณะทำวัตรสวดมนต์ หากไม่ทำด้วยใจที่เลื่อนลอยหรือจำใจทำแล้ว หากแต่กระทำด้วยสติปัญญา ตั้งใจเรียนรู้ไตร่ตรองตามเหตุผล แล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ จากใจที่สกปรกไปสู่ใจที่สะอาด จากใจที่มืดมัวไปสู่ใจที่สว่างและจากใจที่เร่าร้อนไปสู่ใจที่สะอาด จากใจที่มืดมัวไปสู่ในที่สว่าง และจากใจที่เร่าร้อนไปสู่ใจที่สงบในที่สุด อันเป็นสภาวะจิตใจที่พ้นทุกข์ ดังเช่น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงกระทำให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว

      

ธรรมะปฏิบัติ ....หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม

"....อย่าไปลืมธรรมะ อย่าหลงใหลในสิ่งภายนอกที่ไร้สาระไม่แน่นอน ให้เอาชนะอารมณ์ กลับมาพักผ่อนกับความสงบ ความเยือกเย็น ความไม่วุ่นวาย ความไม่ปรุ่งแต่ง ขอให้เห็นโทษของสิ่งภายนอกอย่างชัดเจน  ที่จะทำให้เราหลงอยู่ในวัฏฏะสงสารอันยาวนาน อย่าปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามอำนาจสิ่งแวดล้อม ให้ฝึกจิตใจ จิตใจเป็นสิ่งสำคัญมาก คนเรามันต้องเป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกอยู่ในอำนาจกิเลส ถ้าเราไม่ฝึกใจ กินข้าวก้อเสียข้าว ไม่สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

     ถ้าเราวิ่งตามสิ่งภายนอกไป ก็เหมือนกับสุนัขขี้เรื้อนวิ่งหาความสบายแต่อย่าหวังเลยว่า สุนัขนั้นจะหาที่สบายได้ รูป เสียง กลิ่น รส ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นสิ่งที่น่ากลัว เราอย่าตามไป เราโง่มามากแล้ว เราจะโง่ไปถึงไหน

     ถ้าเราไม่ตามไป เราก็จะพบบ้านที่แท้จริง คือความสงบ ความเยือกเย็นพระอริยเจ้าก็จะเกิดที่ใจของเรา พระ แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสารนั่นแหละเป็นผู้ประเสริฐ "

บทความคัดลอกมาจากหนังสือสวดมนต์ วัดป่าทรัพทวีธรรมธาราม อ.วังน้ำเขียว




Create Date : 09 กรกฎาคม 2555
Last Update : 10 กรกฎาคม 2555 10:14:25 น.
Counter : 1541 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MaKiNoh
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]