Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
*-_นักจิตวิทยา_-*

จิตวิทยาบำบัด



นิยามอาชีพ
วิจัยและศึกษากระบวนการทางจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ วินิจฉัยและให้การบำบัดรักษาหรือป้องกันความผิดปกติ/ความแปรปรวนทางจิต : ทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจวินิจฉัย เป็นที่ปรึกษาทางจิตวิทยา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ เชาว์ปัญญา ความฉลาด ความสามารถ ทัศนคติ สภาพทางสมอง วุฒิภาวะทางจิตใจ ประเมินผล ให้ คำปรึกษาแนะนำ บำบัดรักษาทางจิตวิทยา โดยจิตบำบัดรายบุคคล รายกลุ่ม ครอบครัวบำบัด พฤติกรรมบำบัด ผลิตเอกสาร สื่อต่าง ๆ เผยแพร่ความรู้ เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ป้องกัน ควบคุมและรักษาการติดยาและสารเสพติด ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กรรมพันธุ์ สังคม อาชีพและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมของบุคคล ให้คำปรึกษาแนะนำและบำบัดรักษาอาการป่วยทางจิตของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มบุคคลด้วยการสนทนาพร้อมทั้งติดตามผล ในกรณีที่ยากแก่การบำบัดรักษาจำเป็นต้องขอความร่วมมือกับสมาชิกในครอบครัว เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาร่วมแก้ปัญหาในการบำบัดรักษาหรือปัญหาต่าง ๆ ศึกษาองค์ประกอบทางด้านจิตวิทยา เพื่อการบำบัดรักษาและป้องกันอาการป่วยทางจิตและอารมณ์หรือการแปรปรวนทางพฤติกรรมรวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานและเอกสารทางวิชาการ ปฏิบัติหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องและควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ

ลักษณะของงานที่ทำ
1. ตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา โดยการใช้เครื่องมือทดสอบจิตวิทยาที่เป็นมาตรฐาน ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ และแปลผลการทดสอบ
2. บำบัดรักษาทางจิตวิทยา เป็นวิธีการบำบัดรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา ซึ่งแตกต่างจากจิตแพทย์อาจบำบัดรักษา โดยการใช้ยาได้
3. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางจิตวิทยาในสาขาที่ปฏิบัติงาน
4. ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน และป้องกันโรคเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ความรู้ทางจิตวิทยาในรูปแบบการสอน การฝึกอบรม เป็นต้นเพื่อให้ประชาชนมีแรงจูงใจ และสนใจจะเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา เพื่อพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น หรือพ้นจากภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต

ปัจจุบัน นักจิตวิทยาแบ่งตามประเภทของสาขาการศึกษาดังนี้
- สาขาจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ในการสำรวจปัญหาทางการศึกษา ตลอดจนสร้างหลักการทางจิตวิทยาที่มีระบบระเบียบวิธีการของตนเอง ถือเป็นศาสตร์หนึ่งทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
- สาขาวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาความสามารถทางพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายอย่างเป็นลำดับขั้นตอนว่า มีกระบวนการพัฒนา แต่ละวัยอย่างไร รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ต่างๆ ของการพัฒนาโดยเฉพาะทางจิตใจ
- สาขาจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมอย่างเป็นระบบ เนื้อหาวิชารวมการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด เช่น ศึกษาการรับรู้ การตอบสนอง ระหว่างบุคคล อิทธิพลของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ฯลฯ
- สาขาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยให้คนรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งทุกด้าน ช่วยให้คนรู้จักโลกและสิ่งแวดล้อมของตนช่วยให้คนรู้จักการพัฒนาและสามารถนำศักยภาพหรือความสามารถที่ตนมีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักเลือกและตัดสินใจอย่างฉลาดเพื่อแก้ปัญหาและปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมี ความสุข
- สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ นำความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคล พัฒนา การบริหาร การจูงใจลูกจ้าง วิจัยตลาด วิจัยด้านมนุษยสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองธุรกิจและอุตสาหกรรม
- สาขาจิตวิทยาคลินิค (Clinical Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการปรับตัวของมนุษย์โดยพยายามค้นหาสาเหตุว่าคนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือมีความผิดปกติทางจิตใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร นักจิตวิทยาคลินิคใช้หลักการและความรู้ทางจิตวิทยามาวิเคราะห์ และบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ปัญหาทาง สุขภาพจิต โรคประสาท การติดยาเสพติด ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ตลอดจนปัญหาการปรับตัวอื่นๆ เพื่อค้นหาวิธีการปรับตัวและการแสดงออกที่ดีและเหมาะสมกว่า

สภาพการจ้างงาน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ส่วนใหญ่รับราชการในโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลจิตเวชโดยจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ในอัตรา 7,260 บาท สำหรับภาคเอกชน หรือองค์การระหว่างประเทศ อาจจะได้รับเงินเดือนประมาณ 7,500-8,000 บาท หรืออาจจะถึง 15,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กร และสถานที่ทำงานในแต่ละพื้นที่ ปฏิบัติงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง มีการปฏิบัติงานพิเศษนอกเหนือเวลาราชการในกรณีมีโครงการหรือกิจกรรมเฉพาะอย่าง ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้จะได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนตามระเบียบของทางราชการ หรือของภาคเอกชน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายและแนวทางปฏิบัติของแต่ละสถานประกอบการ

สภาพการทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ โดยทั่วไปปฏิบัติงานในห้องทำการรักษาเหมือนกับแพทย์ ทั่วไปและมีการออกไปเยี่ยมคนไข้หรือชุมชน การปฏิบัติหน้าที่อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกทำร้ายจากคนไข้ ซึ่งมีอารมณ์ไม่ปกติได้ง่าย ดังนั้น ห้องทำงานจึงควรจัดให้มีความปลอดภัยและมีผู้ช่วยดูแลในเรื่องความปลอดภัยของนักจิตวิทยาด้วยนักจิตวิทยาจะต้องปฏิบัติงานร่วมกับทีมจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช และพยาบาลจิตเวช

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์ในประเภทสาขาการศึกษาจิตวิทยา
2. มีความเมตตา โอบอ้อมอารี มีใจรักในอาชีพการบำบัดและรักษา และชอบบริการช่วยเหลือผู้อื่นและผู้ป่วย
3. มีคุณธรรม จริยธรรม มีความอดทนสูงและใจเย็น
4. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีความร่าเริงอาจจะต้องมีการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ในอนาคตแต่ปัจจุบันยังไม่ต้องมี

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ควรเตรียมพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่าหรือสายศิลป์ เพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในคณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้น

โอกาสในการมีงานทำ
เนื่องจากในประเทศไทยเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และมีผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ สังคมเกิดสภาพบีบคั้นทางด้านการมีงานทำ คือการลดลงของรายได้ การเลิก จ้างงานจนถึงส่งผลกระทบไปถึงสมาชิกในครอบครัว ทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เกิดความเครียด มีปัญหาทางด้านจิตใจไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ ประชาชนจำนวนหนึ่งจึงหันไปพึ่งยาเสพติดประเภทกล่อมประสาทที่มีการซื้อขายกันอย่างสะดวกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยคิดว่าจะช่วยผ่อนคลายความเครียดและหนีปัญหาได้แต่เมื่อติดยาเสพติดแล้ว บางรายอาจทำร้ายบุคคลในครอบครัว อีกทั้งสถิติการฆ่าตัวตาย ในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลได้ตระหนักถึงเหตุการณ์นี้และได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รักษาดูแล ป้องกันและบำบัดรักษา คือ นักจิตวิทยา นักจิตแพทย์ เพื่อช่วยเหลือบริการบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทางด้าน จิตใจขึ้นที่โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลจิตเวชทั่วประเทศ รวมทั้งการติดตั้งโทรศัพท์สายด่วนสุขภาพจิต ตลอดจนจัดตั้งเว็บไซต์ เพื่อบริการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ในการดำเนินชีวิต ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้แนวทาง แก้ปัญหา สุขภาพจิตที่ถูกต้อง ดังนั้น อาชีพนักจิตวิทยาจึงเป็นที่ต้องการของสังคมอย่างมากในยุคปัจจุบันนอกจากนี้ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถานศึกษาทุกแห่ง รวมทั้งในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่หวังผลกำไรอย่าง เช่น มูลนิธิต่างๆที่ดูแลเด็กที่ด้อยโอกาส หรือหญิงที่ถูกทำร้าย ตลอดจนคลินิกรักษาผู้เสพยาเสพติด ก็ต้องการนักจิตวิทยาเช่นกัน แต่ขณะนี้ยังมีการจ้างงานจำนวนน้อย

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
สำหรับผู้ประกอบอาชีพนี้ ในโรงพยาบาลของรัฐบาล จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งตามสายงานจนถึงระดับสูงสุด ที่ระดับ 8 สำหรับในภาคเอกชนจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงสุดตามโครงสร้างขององค์กร

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ครู - อาจารย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในมูลนิธิต่างๆ องค์การระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลในองค์กรธุรกิจเอกชน เจ้าหน้าที่องค์กรและพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมนักจิตวิทยาคลีนิค
ศูนย์สุขวิทยาจิต (Child Mental Health Center)
การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)
สหทัยมูลนิธิ โทร. 381 8834-7 e-mail : sahathai@asiaaccess.net.th







Create Date : 13 กรกฎาคม 2556
Last Update : 21 กรกฎาคม 2556 9:17:56 น. 0 comments
Counter : 262 Pageviews.

meku
Location :
ประจวบคีรีขันธ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add meku's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.