|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
การอกหัก, สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ในเชิงวิทยาศาสตร์หรือการวิวัฒนการทำไมต้องทำให้รู้สึกปวดทรมานใจ
ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิล สิ่งมีชีวิตมีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการขยายพันธ์และสืบทอดยีนส์ของตนสู่รุ่นต่อๆไป ความรู้สึกรัก กับความรู้สึกผูกพันธ์เป็นสองความรู้สึกที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการขยายพันธ์ุครับ เริ่มจากความรักก่อน มนุษย์เป็นสัตว์ที่ใช้เวลาในการตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกจนสามารถพึ่งตัวเองได้นานกว่าสัตว์ประเภทอื่น มนุษย์เพศเมียใช้เวลาตั้งครรภ์ 9 เดือน ในช่วงนี้แทบจะไม่สามารถพึ่งพาเอาตัวรอดได้เอง ต้องอาศัยคู่ช่วยหาอาหารและป้องกันอันตรายให้ ดังนั้นมนุษย์เพศเมียต้องแน่ใจว่าคู่ของตนนอกจากจะน่าพึงประสงค์ในแง่ของการเป็นพ่อพันธ์ที่ดีแล้ว (เช่นแข็งแรง ฉลาด). ต้องพึ่งพาได้ด้วย ไม่ใช่พอท้องแล้วชิ่งหนี จึงเห็นได้ว่าผู้หญิงใช้เวลานานในการตัดสินใจเลือกคู่ครอง เนื่องจากผู้หญิงมีต้นทุนในการสร้างทายาท (parental investment) สูงกว่าผู้ชาย ทั้งนี้และทั้งนั้นความรักเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ชายและผู้หญิงอยู่ด้วยกันอย่างน้อยในช่วงที่ฝ่ายหญิงท้อง อย่างที่เราทราบกันดีว่าความรักจริงๆแล้วก็คือปฎิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นในสมองของเรา เมื่อคนมีความรัก สมองจะขับสารเคมี(จำชื่อไม่ได้แล้ว). ให้คนๆนั้นมีความสุข. จากการวิจัย สารตัวนี้จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆตามระยะเวลาที่คู่รักอยู่ด้วยกัน ถ้าคู่รักแยกทางกันในช่วงนี้ อาการอกหักก็เหมือนกับอาการลงแดงของคนที่อดยาเสพติดนั่นเอง ที่นี้พูดถึงความผูกพันธ์บ้าง เด็กทารกมนุษย์ใช้เวลายาวนานากกว่าจะดูแลตัวเองได้ ยกตัวอย่างลูกม้าสามารถเดินได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอดออกมา ลูกเป็ดก็ว่ายน้ำได้ในเวลาอันรวดเร็วหลังคลอด. ลูกมนุษย์ใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินได้ พูดได้. หาอาหารได้เอง ดังนั้นมนุษย์ต้องอาศัยทั้งพ่อและแม่มาดูแลทารกในเวลาที่นานกว่าสัตว์ประเภทอื่น ในอดีตสมัยเรายังอยู่ในถ้ำ ถ้าไม่มีทั้งพ่อแม่ช่วยเลี้ยง เด็กทารกมีโอกาสรอดยากมาก ธรรมชาติจึงสร้างความผูกพันธ์ขึ้นมาในรูปของสารเคมีในสมอง ในขณะเดียวกับที่ความรักเริ่มลดน้อยลง เพื่อให้พ่อและแม่อยู่ด้วยกันจนลูกสามารถดูแลตัวเองได้ ถ้าคู่สามีภรรยาเลิกกันในช่วงนี้ อาการอาจไม่หนักเท่ากรณีแรก แต่ก็ทำให้ซึมอยู่ดี
Create Date : 13 พฤษภาคม 2556 |
Last Update : 13 พฤษภาคม 2556 10:18:50 น. |
|
2 comments
|
Counter : 5910 Pageviews. |
|
|
|
โดย: nuch IP: 119.76.34.82 วันที่: 22 มีนาคม 2560 เวลา:6:13:26 น. |
|
|
|
โดย: BernHeize IP: 212.47.252.101 วันที่: 19 พฤษภาคม 2562 เวลา:11:37:06 น. |
|
|
|
|
|
|
|
8 พฤษภาคม เวลา 20:25 น. [IP: 124.244.45.84]