Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
ไปไหว้ พระใหญ่ ไดบุตสึ แห่งเมืองคามาคุระุ

พระ ไดบุตสึ แห่งเมืองคามาคุระ
พระพุทธรูปองค์นี้คงจะเป็นที่คุ้นตากันดีโดยเฉพาะตามโปสเตอร์ที่ติดโฆษณาอยู่หน้าบริษัทนำเที่ยวที่มีทัวร์ไปญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตามหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นซึ่งมักจะมีภาพของพระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏอยู่แทบทุกเล่ม จนเกือบจะกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นไปเสียแล้ว

การเดินทาง นั่งรถเมล์จากป้ายหมายเลข 6 หน้าสถานีรถไฟ Kamakura ประมาณ 15 นาทีก็ถึงทางเข้าวัดพระใหญ่แห่งเมืองคามาคุระ ซื้อบัตรเข้าชมแล้วเดินผ่านกลุ่มต้นสนที่ขึ้นเขียวชอุ่มสักพักก็ถึงลานกว้าง จึงเห็นองค์พระใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่กลางแจ้ง
พระใหญ่แห่งเมืองคามาคุระ (Kamakura Daibutsu, Great Buddha) คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในนาม Daibutsu ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า “พระพุทธองค์ใหญ่” แต่น้อยคนที่ทราบว่าชื่อจริงของ Daibutsu ที่ Kamakura องค์นี้คือ พระอมิตตาพุทธ นิโอยุราอิ (Amida Nyoyurai) ตั้งอยู่ภายใน วัดโคโตกุอิน (Kotoku-in Temple) องค์ที่เห็นในปัจจุบันสร้างจากสำริด เสร็จเมื่อปี พ.ศ.1795 ความสูงรวมฐานอยู่ที่ 13.35 เมตร เฉพาะตัวองค์พระนั้นสูง 11 เมตร น้ำหนักราว 122 ตัน ถ้ามองไกลๆ จะเห็นองค์พระที่ไม่สมส่วน ดูจากพระหัตถ์นั้นดูเล็กนิดเดียว หากอยากดูองค์พระนี้ให้สมส่วน ต้องเข้าไปยืนใกล้ๆ ห่างจากองค์พระ 4-5 เมตรแล้วแหงนหน้ามองขึ้นไป จะเห็นองค์พระดูสมส่วนรับกันทั้งองค์สวยงามขึ้น ส่วนองค์พระที่มองเห็นเป็นสีเขียวนั้น เกิดจากการที่สำริดทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับสภาพอากาศทั้งฝนและหิมะมายาวนานจนกลายเป็นสีเขียว หากสังเกตให้ดีจะเห็นรอยเชื่อมต่อโลหะ เชื่อมพระพุทธรูปองค์นี้ให้เป็นรูปร่างซ้อนกันขึ้นไปรวมทั้งหมด 8 ชิ้น
ด้วยภูมิประเทศที่เป็นที่ราบโอบล้อมด้วยขุนเขาทั้งด้านหลังและด้านข้างอีกทั้งมีด้านหน้าที่หันสู่ทะเล ซึ่งเป็นทำเลที่ถูกต้องตามหลักการของฮวงจุ้ยที่รับมาจากจีนทำให้โยริโมโตะ มินาโมโตะ (Yorimoto Minamoto) โชกุนคนแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เลือกเมือง คามาคุระเป็นที่ตั้งกองบัญชาการปกครองประเทศ อันเป็นการเริ่มต้นของสมัยคามาคุระ (ค.ศ.1180-1333)ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาที่พุทธศาสนาได้เผยแผ่มาจากจีนและเกาหลี ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่ยังปรากฏอยู่ในเมือง คามาคุระ อันบ่งบอก ถึงร่องรอยความเจริญของศาสนาพุทธหลายนิกาย วัดวาอารามมากมายถูกสร้างขึ้นตามความศรัทธาของโชกุน หรือผู้มีฐานะในสมัยนั้นตามแต่จะอุปถัมภ์พุทธศาสนานิกายที่ตนนับถือ

แรงบันดาลใจหลังจากการไปร่วมงานบูรณะ Daibutsu ที่เมือง Nara ทำให้โชกุนโยริโมโตะ มินาโมโตะ ประสงค์ที่จะสร้าง Daibutsu ในลักษณะเดียวกันที่ Kamakura ตามแบบความเชื่อในลัทธิ Jodo ซึ่งตนให้การอุปถัมภ์อยู่ แต่โชกุนได้เสียชีวิตลงในขณะที่การดำเนินการสร้างเพิ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้นจากนั้น Yoriie Minamoto บุตรชายได้ขึ้นดำรง ตำแหน่งโชกุนแต่กลับถูกครอบงำอำนาจจากตระกูล Hojo จากทางฝ่ายมารดาซึ่งให้การสนับสนุนนิกาย Zen ทำให้การสร้าง Daibutsu ในนิกาย Jodo ต้องมีอันล้มเลิกไป

ต่อมา Inada Notsubone สตรีที่เคยรับใช้โชกุน โยริโมโตะ มินาโมโตะ ต้องการที่จะสานต่อการสร้าง Daibutsu โดยได้รับความช่วยเหลือ จากหลวงพ่อโจโคะ (Joko) ที่ได้ร่วมเดินทางไปทั่วญี่ปุ่น เพื่อรับบริจาคเงินจากพุทธศาสนิกชนสำหรับใช้ในการสร้าง องค์พระใหญ่ในที่สุดงานสร้าง Kamakura Daibutsu พร้อมวิหาร ตามแบบอย่างจาก Nara ก็เสร็จ สมบูรณ์ ในปี ค.ศ. 1243 ซึ่งเดิมที องค์พระใหญ่ นั้นแกะสลักจากไม้มีขนาดความสูงถึง 24 เมตร ประดิษฐานในวิหาร ซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่า Nara Daibutsu (ที่สร้างจากสำริดมีความสูง 14.73 เมตร)น่าเสียดายที่อีก 4 ปี ต่อมาเกิดพายุไต้ฝุ่น พัดผ่านคามาคุระ สร้างความเสียหายให้กับ พระองค์ใหญ่ Daibutsu และวิหาร ซึ่งตกลงมาแตกหักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ ทำให้ Inada Notsubone และหลวงพ่อโจโคะ ต้องออกเดินทางอีกครั้งเพื่อบอกบุญสำหรับการสร้าง Daibutsu องค์ใหม่

เมื่อรวบรวมปัจจัยครบหมดแล้วครั้งนี้จึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่คงทนถาวรอย่างสำริดเหมือน กับองค์ที่ Nara ถึงกระนั้นก็ตามการหล่อ Daibutsu องค์ใหม่นี้ก็ประสบความล้มเหลวหลายครั้ง จนกระทั่งได้ช่างฝีมือดี 2 คนชื่อ ทันจิ ฮิซาโตโมะ (Tanji Hisatomo) และ โกโรอิมง โอโนะ (Goroe-mon Ono) มาช่วยหล่อองค์พระได้สำเร็จในปี พ.ศ. 1795 ประดิษฐานในวิหารของวัดโคโตกุอิน (Kotoku-in Temple)อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ Daibutsu ที่ Kamakura นี้แตกต่างจากที่ Nara อย่างมีนัยสำคัญ คืออมิตตาพุทธองค์นี้เกิดจากจิตศรัทธาของประชาชนญี่ปุ่นทั่วประเทศที่มีส่วนร่วมในการสร้าง Daibutsu ถึง 2 ครั้งด้วยกันโดยปราศจากความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐ

ระยะเวลา 153 ปีของสมัย Kamakura ต้องมีอันสิ้นสุดลงเนื่องจากความอ่อนแอของโชกุน และการแทรกแซงจากตระกูล Joho (ซึ่งอุปถัมภ์นิกาย Zen และเคยขัดขวางการสร้าง Daibutsu ตั้งแต่แรก) จากนั้นในปี ค.ศ. 1335 ก็เกิดพายุไต้ฝุ่นพัดกระหน่ำ Kamakura อีกครั้ง กองกำลังซามูไรกว่า 500 คนของตระกูล Joho ที่กำลังรบอยู่ในสงครามได้หนีเข้าไปหลบพายุในวิหารของวัดโคโตกุอิน (Kotoku-in Temple)

แต่ในที่สุดพระวิหารก็ไม่สามารถต้านความแรงของพายุได้และพังลงมาทับกองทัพซามูไร ของตระกูล Joho เสียชีวิตทั้งหมดและเหลือไว้เพียง Daibutsu องค์เดียวหลังพายุสงบ จากนั้นก็เกิดพายุไต้ฝุ่นบ้าง แผ่นดินไหวบ้าง ทำให้วิหารที่สร้างครอบองค์พระได้รับความเสียหายไปหมด แม้จะสร้างขึ้นมาใหม่อีกหลายครั้ง ก็ถูกภัยธรรมชาติเหล่านี้ทำลายไปหมด จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2041 เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ (Tsunami) พัดถล่มชายฝั่งเมืองคามาคุระกวาดเอาวิหารและบ้านเรือนราษฎรลงทะเลไป แต่องค์พระใหญ่นั้นกลับประดิษฐานอยู่กับที่ไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหน ยังคงประทับอยู่กลางแจ้งตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ช่วยปกป้องเมืองคามาคุระให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติตราบจนถึงทุกวันนี้ (กองทัพมองโกล ที่เข้ามารุกรานคามาคุระถึง 2 ครั้ง ต้องถอยทัพกลับไป เพราะเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของพระองค์ใหญ่ทั้ง 2 ครั้ง 2 ครา นี้ด้วยเช่นกัน) จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาจากคนญี่ปุ่นมาก ด้วยสัจธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า “ความดีเท่านั้นที่คงทน”

เห็นได้ชัดว่าแม้แต่ภัยธรรมชาติร้ายแรง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และแม้กระทั่ง Tsunami ที่โหมกระหน่ำเข้ามาหลายต่อหลายครั้งก็ไม่สามารถทำความเสียหายต่อ Kamakura Daibutsu องค์นี้แต่อย่างใด มาร่วมกันทำความดีเถอะครับ เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรเกิดอีก โดยเฉพาะสถานการณ์ ในโลกปัจจุบัน

ภายในบริเวณวัดนอกจากองค์พระใหญ่ที่สามารถเข้าไปชมในตัวองค์พระได้แล้ว ด้านซ้ายมือมีต้นสนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เยือนวัดโคโตกุอิน เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2474

ออกมาด้านหน้าวัดมีร้านขายของที่ระลึก มีรูปจำลองพระองค์โตให้เลือกบูชาหลายขนาด นอกนั้นก็มีพวกไม้ประคบรองเท้าแบบญี่ปุ่นและมีดดาบซามูไร

การเดินทางไปวัดโคโตกุอิน (Kotoku-in Temple)

จากสถานีรถไฟ Kamakura มีวิธีการเดินทางไปวัดพระใหญ่ได้ 2 วิธีคือ

1. นั่งรถไฟสาย Enoden Line ไปลงที่สถานีฮาเสะ (Hase Station) แล้วเดินขึ้นไปทางเหนือประมาณ 10 นาที หรือจะแวะที่วัด Hasedera ก่อนไปวัดพระใหญ่ก็ได้ ค่าโดยสาร 190 เยน

2. นั่งรถเมล์ Keikyu Bus จากป้ายหมายเลข 6 หรือ Enoden Bus จากป้ายหมายเลข 2 ปลายทางที่ป้ายไดบุตสึมาเอะ (Daibutsumae Bus Stop) ค่าโดยสาร 170 เยน จากนั้นค่อยเดินลงมาชมวัด Hasedera ก่อนจะไปขึ้นรถไฟ Enoden Line ที่สถานี Hase ที่อยู่ใกล้ๆ

ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 200 เยน เด็ก 150 เยน

ค่าเข้าชมภายในองค์พระ คนละ 20 เยน

เวลาเปิดให้เข้าชม ทุกวัน

เดือนเมษายน-กันยายน 07.00-18.00 น.

เดือนตุลาคม-มีนาคม 07.00-17.30 น.

ป.ล. อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซด์ //www.palungdham.com



ในส่วนนางเอกของเรื่อง ก็เดินทางตามเส้นทางที่อธิบายนั่นแหละ แต่ไปทางรถไฟ จากชินจุกุ ถึง คามาคุระ ก็ใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง ถือว่าเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวหลากหลายชาติ ก็เจอคนไทยนะ กลัวไปทักแล้วหน้าแตกอะ (แต่มีแอบดีใจได้ยินพูดไทยกัน)


หาคนถ่ายรูปให้จนได้


หลังจากที่ไปไหว้พระ เสร็จเราสองคนก็ซื้อของฝากไปฝากคนที่บ้านกัน เห็นสินค้ามาจากเชียงใหม่ด้วยนะ ดีนะเนี่ยเป็นคนเชียงใหม่งั้นเผลอซื้อไป ได้ด่าตัวเองทีหลังแน่เลย


ที่นี่สวนต้นไม้ ดอกไม้ สวยมาก นำรูปมาฝากกัน ค่าเข้าชมก็คนละ 300 yen ถ้าจำไม่ผิดนะ ไม่ได้เป็นคนจ่ายเองนะ




ก็เดินทางกลับประมาณเกือบห้าโมงครึ่ง ตอนขากลับหลับทั้งคู่ ตื่นอีกครั้งโตชิปลุก จะถึงชินจุกุแล้วนะ ไว้ไปเที่ยวไหน จะมาเล่าสู่กันฟัง คราวหน้าก็คงเป็นเรื่อง เริ่มไปเรียนภาษาที่โรงเรียนสอนภาษานะ




Create Date : 15 เมษายน 2552
Last Update : 15 เมษายน 2552 9:25:19 น. 6 comments
Counter : 1970 Pageviews.

 
อยากไปไหว้พระอีกจัง


โดย: albert_s วันที่: 15 เมษายน 2552 เวลา:16:17:43 น.  

 
ไปเที่ยวกับแฟนสองคนหนุงหนิง น่าอิจฉาจริง จริ๊งเลย


โดย: Koneko-chan (GutChy ) วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:18:38:45 น.  

 
แวะมาทักทายบ้างจ้า
ชอบคามาคุระเหมือนกันค่ะ เคยไปปีที่แล้ว เมืองสวยงาม ได้บรรยากาศโบราณ ๆ ชอบค่ะ
องค์ไดบุทสึ เอมมี่ก็ศรัทธาค่ะ ปีที่แล้วเคยขอพรกับท่านนะว่าอยากมีโอกาสมาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นค่ะ
มีความสุขมาก ๆ นะค๊า ไว้มาเยี่ยมใหม่จ้า


โดย: amienaruke วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:15:10 น.  

 
รบกวนถามค่ะ ถ้าพักแถวดรวแรมซิตี้ปรินท์ ในดตเกียว นั่งรถไฟไปไหว้พระโตยังไงคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: ปังคุง IP: 203.153.187.33 วันที่: 6 ตุลาคม 2552 เวลา:11:33:40 น.  

 
ตาเริ่มร้อน..อิจฉามัก มาก ๆ


โดย: plaisan IP: 125.26.44.149 วันที่: 9 มีนาคม 2553 เวลา:11:57:19 น.  

 
ขอบอกว่ารักที่นี่มากๆค่ะ เคยไปอยู่สองสามที เมื่อตอนเรียนที่ญี่ปุ่น ชอบไปแบบนั่งโชนันชินจุกุไปลงที่ฟุจิซาว่าแล้วมาต่อเอะโนะเดน ขอบอกว่าคุ้มมากๆเลย


โดย: คนอ่อนไหวที่แกล้งใจแข็ง (Tukta21 ) วันที่: 12 มีนาคม 2553 เวลา:3:24:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nooni_Jung
Location :
Tokyo Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Visit InfoServe for backgrounds.
Friends' blogs
[Add Nooni_Jung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.