Thë KêarÐ : ชีวิตยิ่งใช้ยิ่งคุ้ม
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
ความยุติธรรม : เราไม่ได้อาศัยอยู่บนโลกที่เท่าเทียมกัน

เพลโต
หลักความยุติธรรมของเพลโตไม่ใช่หมายถึงการที่ทุกคนได้สิทธิเท่าเทียมกัน แต่เป็นความยุติธรรมตามความถนัดตามธรรมชาติมากที่สุด คือ การที่มนุษย์แต่ละคนควรมีความถนัดเพียงอย่างเดียวและใช้ความถนัดนั้นรับใช้ชุมชนให้เต็มที่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง “การให้ทุกคนตามส่วนที่พึงได้รับ” หรือ ผลของการแบ่งแยกชนชั้นและหน้าที่ ซึ่งแต่ละคนได้รับจากการมีคุณสมบัติเหมาะสมตามความถนัด และการศึกษาอบรมที่จะปฏิบัติ ก็คือ ความยุติธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพลโตเชื่อในเรื่องความยุติธรรมตามสัดส่วนของความสามารถ รวมทั้งในเรื่องความยุติธรรมตามสิทธิความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายอย่างไรก็ตาม เพลโตพยายามป้องกันมิให้ชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองเอาเปรียบประชาชน โดยวางมาตรฐานส่งเสริมหลักความยุติธรรมไว้ 2 ประการ
ประการแรก : ให้สิทธิและความเสมอภาคที่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง (การศึกษาอบรม, การปกครอง, หน้าที่ทางการทหาร รวมทั้งบทบาทของประชาชน)
ประการที่สอง : หญิงและชายที่ได้รับเลือกเป็นชนชั้นปกครองจะมีครอบครัวเป็นส่วนตัวไม่ได้ ไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภรรยาเดียว ไม่มีสมบัติส่วนตัว ไม่มุ่งปัจเจกนิยม

อริสโตเติล
ความยุติธรรมของอริสโตเติล ก็คือการทำให้พอดี ซึ่งแต่ละคนก็มีความพอดีไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงต้องทำให้พอดีตามคุณสมบัติของแต่ละคน นั่นเอง
ความยุติธรรมตามสัดส่วนของความสามารถ (ตามธรรมชาติ) : มนุษย์ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ต่างๆ ตามแต่ความสามารถของแต่ละคน, การที่คนมีทรัพย์สมบัติไม่เท่ากัน เป็นเพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นควรจัดสรรกันตามความสามารถในการสะสมรวบรวมทรัพย์สินของแต่ละคน “ใครควรจะได้รับสิ่งใดก็ให้เขาได้รับสิ่งนั้น”
ความยุติธรรมตามความเสมอภาคตามกฎหมาย : กฎหมายมีขึ้นเพื่อใช้บังคับมนุษย์ทุกคนในชุมชนเพื่อประโยชน์ของชุมชนเป็นส่วนรวม ความยุติธรรมแบบนี้จึงเป็นการปกครองด้วยกฎหมายหรือการกระทำใดๆในขอบเขตของกฎหมาย ทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกันในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาทางกฎหมาย ถึงแม้แต่ละคนจะมีสถานะทางสังคมแตกต่างกันแต่เมื่ออยู่ในชุมชนภายใต้กฎหมายแล้ว ทุกคนมีความเสมอภาคเท่ากันหมด กฎหมายจะต้องมีผลบังคับใช้ต่อทุกคนในชุมชน มิใช่เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

ส่วนในทัศนะของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นด้วยกับเพลโตและอริสโตเติลตรงที่ว่าความยุติธรรมเป็นการทำให้พอดีตามคุณสมบัติของแต่ละคน ไม่ใช่หมายถึงการที่ทุกคนได้สิทธิเท่าเทียมกัน แต่เป็น การให้ทุกคนตามส่วนที่พึงได้รับ ความยุติธรรมนั้น ถ้าจะแปลตามตัวก็คือ ยุติ แปลว่า จบ สิ้นสุด ส่วนธรรมก็คือธรรมะ ถ้ารวมกันแล้วยุติธรรมในทัศนะของผู้เขียนก็คือ ธรรมะนำไปสู่การสิ้นสุดของปัญหาหรือความขัดแย้งนั้นเอง สาเหตุของความอยุติธรรมในปัจจุบันที่มีอยู่มากมายนั้นก็เกิดจากที่มนุษย์เราไม่มีธรรมในจิตใจ ไม่รู้จักสิทธิหน้าที่และความพอดี มนุษย์เราจะรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมก็ต่อเมื่อเราเสียผลประโยชน์ แต่ในทางกลับกันถ้าเราไม่เสียผลประโยชน์เราก็จะถือว่าเราได้รับความยุติธรรม
ในเรื่องพื้นฐานของแต่ละคน มนุษย์ต่างเกิดมามีพื้นฐานไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะยากจน บางคนอาจต้องเผชิญกับความรุนแรง โรคร้าย แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้มันด้อยค่าลงไปเลย คนรวยก็ไม่ได้ดีไปกว่าคนจน หรือคนร่างกายครบสมบูรณ์ก็ไม่ได้ดีไปกว่าคนพิการ การที่พื้นฐานของมนุษย์ไม่เท่ากันนั้น ผู้เขียนคิดว่าดีเสียอีกเพราะว่ามันจะเป็นแรงพลักดันให้คนๆหนึ่งก้าวไปถึงจุดมุ่งหมายได้ตามที่ตนต้องการ

แล้วความยุติธรรมของผู้อ่านเป็นอย่างไร?



อ้างอิง ไฟล์//www.pol.ubu.ac.th/~singubu/E_Learning_001/Justics3.ppt



Create Date : 09 สิงหาคม 2552
Last Update : 9 สิงหาคม 2552 2:22:14 น. 9 comments
Counter : 3116 Pageviews.

 
สุดท้าย ความยุติธรรม ก็อยู่ที่ความพอใจ ของใครแต่ละคน
เพราะความที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่รู้จักพอด้วยล่ะ
ทำให้ต้องออก มาโวยวาย ร้องเรียก ความเท่าเทียม ของตัวเองกับคนอื่น
เห็นคนอื่นดีกว่า ก็โทษ ว่ามัน ไม่ยุติธรรม
ก็จริงที่ว่า พื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ถ้าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ ก็มีแต่ จะเจอแต่ความอยุติธรรม
แต่จะมีสะกี่คน ที่เห็นคนอื่นอยู่สุขสบาย ส่วนตัวเองยิ้มรับมีความสุขกับความลำบากของตนได้

จริงๆ แล้วทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็เพราะ ผลเวรผลกรรม ที่ทำไว้แหละ

ใครทำอะไรก็ได้สิ่งนั้นตอบแทน

ต่อให้วางรากฐานทางกฏหมาย ทางสังคมขนาดไหน
มันก็หยุดความไม่รู้จักพอของมนุษย์ ไม่ได้อยู่ดี


โดย: เปาเปา IP: 112.142.93.214 วันที่: 9 สิงหาคม 2552 เวลา:6:30:05 น.  

 
การได้รับความยุติธรรม
มันขึ้นอยู่ว่าเราหยุดกิเลสแล้วหรือยัง

การได้รับนั้นขึ้นอยูกับตัวบุคคลอีก
แต่ละคนก็มีความอยากไม่เหมือนกันอีก

แต่ถ้าเราเข้าใจตนเอง รู้ความพอดี ก็คือความยุติธรรมแล้ว
^^
เหมือนที่เบลบอก
ความยุติธรม คือ
ธรรมะนำไปสู่การสิ้นสุดของปัญหา
หรือความขัดแย้งนั้นเอง



โดย: ปลาวาฬสีรุ้ง งุ๊งๆ IP: 202.28.78.171 วันที่: 9 สิงหาคม 2552 เวลา:10:58:09 น.  

 
ความยุติธรรม คือ ความเป็นธรรม
แล้วอะไรล่ะที่จะนำไปสู่ความเป็นธรรมได้
ถ้าคนไม่รู้จักพอดี


โดย: whan_whan IP: 202.28.78.138 วันที่: 9 สิงหาคม 2552 เวลา:11:20:25 น.  

 
เดอะเขียด..ณ บางแสน
เป็นเรื่องเป็นราว มีวิชาการอ้างอิง
แต่ขาดอรรถรสในความเป็นตัวตน ในเรื่องความเห็นส่วนตัวไปนิด
การเป็นผู้นำทางความคิด เหตุผลที่หนักแน่น น่าเชื่อถือเป็นสิ่งจำเป็น ..ยังไงก็ตาม คิดว่าเบลมาถูกทางแล้ว ฝึกฝน พัฒนาอีกนิด...ไปโลด ชัวร์
..เป็นแรงใจ อีกครั้งครา...
อาจารย์แรก


โดย: อาจารย์แรก IP: 124.122.30.107 วันที่: 9 สิงหาคม 2552 เวลา:11:38:06 น.  

 
ความยุติธรรมขึ้นอยู่กะความพอใจ

ของใครก็ของมัน


โดย: เอ็ม IP: 202.28.78.136 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:9:39:24 น.  

 
ชอบว่ะ อ่านสบายตาดี


โดย: bobegins IP: 202.28.78.174 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:19:32:11 น.  

 
สำเร็จซะทีนะ
มัวแต่ซักผ้าหัวปั่น อิอิ

เขียนเป็นทางการเลยนะ ผู้เขียน ผู้อ่าน

ก็เออ จริงนะ
ความยุติธรรมคือความพอใจงั้นหรือ??


โดย: นางสาวเห็บ IP: 124.157.172.135 วันที่: 13 สิงหาคม 2552 เวลา:2:40:52 น.  

 
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับความเห็นข้างต้นครับ


โดย: ธมร IP: 113.53.167.70 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:8:02:19 น.  

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:22:08:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้องกิ้งก๊มกม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้องกิ้งก๊มกม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.