Thë KêarÐ : ชีวิตยิ่งใช้ยิ่งคุ้ม
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
ความจริงกับความฝัน : อุดมรัฐ

“การเริ่มต้น ทำไมมันยากอย่างนี้” แม้ว่าจะเป็นครั้งที่ 2 แล้วของการเขียนบทความ แต่ความรู้สึกของผู้เขียนก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการเขียนครั้งแรก ไม่รู้แม้กระทั่งว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี ผู้เขียนก็ได้แต่ให้กำลังใจตัวเองว่ามันจะเป็นเรื่องง่ายในสักวัน ถ้าเราทำมันบ่อยๆ

แต่สำหรับ “ยูโทเปีย” หรือ “อุดมรัฐ” ของโทมัส มอร์ คงจะต้องใช้คำว่า “การเริ่มต้นเป็นเรื่องยาก แต่การก้าวต่อไป(ในโลกของความเป็นจริง)เป็นเรื่องที่ยากกว่า”

ยูโทเปียเป็นแนวคิดเชิงอุดมคติเกี่ยวกับโลกอันสมบูรณ์ที่ โทมัส มอร์ นักปรัชญามนุษยนิยมชาวอังกฤษ เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1516 ในยุคสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ โดยเขียนขึ้นเป็นภาษาละตินและต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยราล์ฟ โรบินสัน ในปี 1551 มอร์ เป็นนักการศาสนาที่เคร่งครัด จนได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญเมื่อปี 1935 และ มอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 1535 จากการถูกประหารชีวิตด้วยการตัดหัว เนื่องจากความเห็นขัดแย้งทางการเมือง ต่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8

เขาเห็นความลำบากยากแค้นของประชาชน ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างขุนนางกับชาวนา ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นตัวแทนจากรัฐ ไปเจรจาการค้าที่แฟลนเดอร์ หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์แห่งเนเธอร์แลนด์ ขึ้นภาษีนำเข้าขนสัตว์ในอัตราที่สูงลิ่ว ระหว่างการเดินทาง มอร์เกิดแรงบันดาลใจให้นึกถึงหนังสือ Republic ของเพลโตที่ว่าด้วยการปกครองที่ดี และเมื่อย้อนนึกถึงความทุกข์ยากของอังกฤษในเวลานั้น มอร์จึงเขียนถึงสังคมในอุดมคติที่มีชื่อว่า "ยูโทเปีย" ขึ้น โดยตั้งใจเขียนเป็นวรรณกรรมเสียดสีล้อเลียนความโง่เขลาและความเลวร้ายของสังคมในสมัยนั้น สังเกตจากการตั้งชื่อต่างๆ อาทิ ยูโทเปีย มาจากภาษากรีก หมายถึงเมืองที่ดีหรือเมืองที่ไม่มี ณ แห่งหนใด (eu-topia = good place และพ้องเสียงกับความหมายที่ว่า no place เช่นกัน)

ยูโทเปียเป็นประเทศตั้งบนเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ ส่วนกว้างที่สุดยาวถึงสามร้อยยี่สิบกิโลเมตร มีแม่น้ำล้อมรอบ และมีแผ่นดินล้อมรอบอีกชั้นเพื่อกันพายุและการบุกรุก มีทางเข้าทางเดียวตรงหน้าเกาะที่มีป้อมซึ่งเป็นคุกสูงตั้งอยู่ คนไม่ชำนาญก็เข้าไม่ถูกทางเพราะจะหลงกระแสน้ำ ยูโทเปียมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ประกอบด้วย 54 เมือง โดยแต่ละเมืองมีระยะทางห่างกันด้วยการเดินไม่เกินหนึ่งวัน บ้านเรือนของชาวยูโทเปียด้านหลังของทุกบ้านเป็นสวนปลูกดอกไม้ ผลไม้หรือพืชผัก และมีถนนอยู่ด้านหลังของสวนอีกด้วย ประตูบ้านมีสองทาง เปิดปิดได้โดยง่าย ปราศจากกลอน เพราะไม่จำเป็น เนื่องจากทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม จึงไม่มีอะไรต้องปิดบังหรือไม่ให้คนอื่นใช้ นอกเมืองมีที่ทำการเกษตรจำนวนมาก ชาวยูโทเปียจะคัดเลือกชาวเมืองปีละสามสิบครอบครัวไปอยู่ที่ฟาร์ม หรือสวนเพื่อทำงานสร้างผลผลิตให้เมือง เป็นเวลาสองปี คนที่กลับมาก็จะสอนชาวเมืองอื่นๆ ให้ทำการเกษตรเป็น แล้วพอถึงเวลาก็ไปผลัดเปลี่ยน ทุกสามสิบฟาร์มหรือสวนจะมีผู้ดูแลปกครองหนึ่งคนที่คัดเลือกขึ้นกันเอง เรียกว่า ไซโฟแกรนท์ (เทียบได้กับสมาชิกสภา) อยู่ภายใต้การดูแลของทาร์นิบอร์ (เทียบได้กับรัฐมนตรี) สิบไซโฟรแกรนท์ เจ้าผู้ครองนคร และทาร์นิบอร์ไม่สามารถออกกฎหมายโดยไม่ผ่านพิจารณาของสภา และกฎหมายฉบับหนึ่ง ต้องผ่านการอภิปราย หรือถกเถียงในสภาไม่ต่ำกว่าสามครั้ง การเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ในรัฐจึงทำได้ยาก หากคนส่วนใหญ่ในเมืองไม่เห็นด้วยว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ชาวยูโทเปีย อยู่ดีกินดี มีการแบ่งสันปันส่วนอย่างเป็นระบบ ไม่จำเป็นต้องแก่งแย่งกัน เพราะสิ่งจำเป็นในชีวิตมีพร้อม ชาวเมืองต่างทำงานตามหน้าที่ ไม่ใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ แต่ก็มิได้ทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย ในแต่ละวันทำงาน เพียงสามชั่วโมงตอนเช้า พักรับประทานอาหารกลางวัน แล้วทำงานอีกสามชั่วโมงตอนบ่าย เข้านอนตอนสองทุ่ม โดยนอนไม่ต่ำกว่าวันละแปดชั่วโมง ที่ยูโทเปียไม่มีร้านเหล้า ไม่มีการพนัน หรือสิ่งยั่วยุอื่นๆ พวกเขาจึงแสวงหาแต่ความรู้หรือเพิ่มความชำนาญต่างๆ การอ่านและการถกเถียงกันเพื่อเพิ่มพูนความรู้เป็นเรื่องปกติของชาวยูโทเปียพวกเขาสนใจในหลากหลายวิชา แต่ที่นิยมเป็นพิเศษ คือฟิสิกส์ ส่วนเกมการละเล่นที่ถนัดคือเกมคณิตศาสตร์ซึ่งต่อสู้กันด้วยตัวเลข เกมต่อสู้ระหว่างธรรมะกับอธรรม หรือการฟังดนตรี และไม่ให้ความสำคัญกับวัตถุ โดยเห็นว่าเงินและทองเป็นสิ่งหยาบช้า ไม่มีค่า มีไว้สำหรับทำโซ่สำหรับทาส หรือจ้างคนชั่วไปทำสงครามแทน (เป็นการกำจัดสิ่งชั่วร้ายไปในตัว) ยูโทเปียไม่มีกฎหมายออกมาบังคับประชาชนมากมาย พวกเขาอยู่ร่วมกันด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ใส่เสื้อผ้าเรียบง่ายคล้ายคลึงกัน เสื้อผ้าแต่ละชุด ใช้ทนทานนานถึงเจ็ดปีและผู้คนในระดับผู้ปกครองก็ไม่มีสิ่งบ่งบอกด้วยวัตถุใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าอาภรณ์ หรือสิ่งประดับที่ชี้ให้เห็นว่าแตกต่างจากประชาชนอื่นๆ

ในจินตนาการของผู้เขียน “ยูโทเปีย” หรือ “อุดมรัฐ” ของโทมัส มอร์ น่าจะมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม มองไปที่ไหนก็จะเห็นแต่พื้นที่สีเขียว อาจจะเป็นเพราะว่าในสมัยนั้นยังไม่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชาชนในยูโทเปียอยู่กันอย่างมีความสุข เพราะต่างมีคุณธรรมและศีลธรรม หรืออาจจะมีกิเลสอยู่บ้างเป็นส่วนน้อยมากซึ่งกิเลสนั้นก็เป็นกิเลสที่เบาบางไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนของส่วนรวมมาก ระบบการปกครองมองโดยรวมแล้วน่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างสังคมนิยมและเสรีนิยม กล่าวคือประตูบ้านที่ปราศจากกลอน เนื่องจากทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม น่าจะเป็นระบบสังคมนิยม และการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ในรัฐทำได้ยาก หากคนส่วนใหญ่ในเมืองไม่เห็นด้วยน่าจะเป็นเสรีนิยม ในยูโทเปียดูเหมือนวิทยาการจะสวนทางกับจิตใจคือถึงแม้เทคโนโลยีอาจจะไม่สูงเท่ากับปัจจุบันแต่ว่าจิตใจของผู้คนสูงส่ง ซึ่งถ้าหากมองกลับมาในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าต่างกันมาก อาจจะว่าเป็นคนละขั้วกันเลยก็ได้คือเทคโนโลยีสูงแต่จิตใจคนกลับตกต่ำลง ความก้าวหน้าและการแข่งขันทำให้มนุษย์ถูกกีดกันจากความเป็นมนุษย์ในเชิงคุณภาพ เกิดความขัดแย้งโดยอ้างแต่สิทธิและเสรีภาพทั้งที่ไม่รู้ว่าแก่นของมันคืออะไร หน้าหนังสือพิมพ์ของแต่ละวัน มีข่าวอาชญากรรม ฆาตกรรม เกิดขึ้นทุกวันจนเหมือนเป็นเรื่องปกติ ทรัพยากรต่างๆและสิ่งแวดล้อมกำลังสูญเสียไปอย่างรวดเร็ว มลภาวะมากมายเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เกิดโรคและความเจ็บป่วยอื่นๆอีกมากมาย ช่องว่างระหว่างคนรวยจำนวนน้อย และคนจนจำนวนมากเห็นอย่างได้ชัด โลกตอนนี้กำลังอยู่ในภาวะของความทุกข์ยากลำบาก

ส่วนรัฐในอุดมคติของผู้เขียนนั้นผู้เขียนไม่สนใจว่ารัฐจะมีอาณาเขตมากน้อยเพียงใด แต่ผู้คนภายในรัฐยึดถือคุณธรรม คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่ตกเป็นทาสของระบบทุนนิยม เทคโนโลยีและธรรมชาติสามารถเดินไปด้วยกันอย่างลงตัว ระบบในการปกครองนั้นเป็นการผสมและลองผิดลองถูกของระบบต่างๆที่เคยมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แล้วรัฐในอุดมคติของผู้อ่านหละเป็นอย่างไร??


อ้างอิง : ชำนาญ จันทร์เรือง กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551



Create Date : 31 กรกฎาคม 2552
Last Update : 31 กรกฎาคม 2552 23:11:58 น. 30 comments
Counter : 1023 Pageviews.

 
สู้ๆ ขยันเขียนบ่อยๆนะจ๊ะ จะได้เก่งๆ




^O^


โดย: นายอึเหม็น IP: 58.8.109.132 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:14:03 น.  

 
เป็นวิชาการมาก
แน่นปึ้กเลยค่า


โดย: เห็บ IP: 202.28.78.70 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:35:23 น.  

 
ยูโธเปียก็คือรับในอุดมคติ

อุดมคติ คือ อุดมคติ

ความจริง คือ ความจริง


โดย: เด็กป๊อต IP: 202.28.78.138 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:0:41:34 น.  

 
ยูโทเปีย ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยโดยส่วนรวมแน่ ๆ

(แต่กุคิดว่าที่บ้านกุสามารถเป็นแบบยูโทเปียได้ ฮ่า ๆ ๆ )

ประเทศชาติไทยสยาม มันเดินมาถึงจุดตันแบบสุด ๆ

คุณธรรมอะไรก็ไม่สามารถเยียวยาได้ทั้งนั้น

คิดเล่น ๆ ... ถ้าเกิดย้อนไปเมื่อ 75 ปีก่อนที่เราเรียกร้องให้เป็นประชาธิปไตย ในเมื่อประชาธิปไตยมันไม่ดี

อีกไม่นานเราก็คงมีการปกครองแบบใหม่

แต่มันคงไม่ง่าย ที่เราจะไปเปลี่ยนอะไรเร็วขนาดนั้นได้

เราก็คงต้องอยู่กับสังคมทุนนิยมแบบนี้ต่อไป...









โดย: เด็กชายพยุง IP: 202.28.78.81 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:12:35:12 น.  

 
ยูโทเปียน่าอยู่จังเนอะ

เค้าคงมีบาปน้อยก่าคนไทยแยะอ่าาา


โดย: SIis" IP: 114.128.56.83 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:13:44:15 น.  

 
คุณธรรมเป็นเครื่องมือนำพาชีวิต..

ถ้าคนในสังคมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน รัฐที่เป็นยิ่งกว่ารัฐในอุดมคติ ก็อาจจะเกิดขึ้นมาได้


(^_____^X)


โดย: oOoARToOo IP: 203.156.32.17, 203.130.159.3 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:15:33:39 น.  

 
ชอบสังคมเกษตรกรรมจัง

แต่ต้องมีคุณธรรมนะ



โดย: JEwz IP: 114.128.56.83 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:16:01:58 น.  

 
แม้จะเป็นครั้งที่2 แล้วแต่ก็ยังรู้สึกว่ามันยากอยู่ดี เห็นด้วย

ไม่ตกเป็นทาสของระบบทุนนิยม ยึดถือในหลักคุณธรรม

ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ก็คงจะดี

แต่ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้หามีไม่

เห้อ......


โดย: m IP: 202.28.78.136 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:16:48:12 น.  

 
เอ่อ ..คือ

เวลาเขียน มันจนลืมเพื่อนมั๊ย
ทำไมมันยาวอย่างนี้ ยาวหยังเขียด


โดย: โซ้ยตี๋ IP: 125.24.157.126 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:18:44:48 น.  

 
“ยูโทเปีย” ถือว่าเป็นสังคมที่มีจริยธรรมสูงมาก
และการดำเนินชีวิตที่ราบเรียบ

ตรงกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและการทำความดีที่ในหลวงของพวกเราทรงมุ่งเน้นให้ประชากรคนไทยได้ทำกัน

สังคมแบบนี้น่าจะคล้ายๆกับสังคมไทยสมัยก่อนแต่สมัยนี้คงจะเทียบเคียงไม่ได้แน่

หากสังคมและคนไทยในปัจจุบันเป็นแบบ “ยูโทเปีย” ก็คงดีมาก


โดย: ก้อย เอกจิตฯ IP: 202.28.78.179 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:18:47:28 น.  

 
อ่ะนะ


เรื่อง "อุดมรัฐ" เนี่ย

เค้าเคยเรียนนะวิชาโทรู้สึกว่ามันยากสืมากอ่ะ


แต่บทความเบลล์ยาวได้ใจจริงๆจัง และรู้สึกว่าอีตาโทมัส มอร์เนี่ย ใช้ได้เลยยย


อิอิ


โดย: เอ็มเลิฟ IP: 202.28.78.180 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:19:01:38 น.  

 
อีกครั้งหลังอ่าน


good place กับ no place หรอ
ก็จริงนะ ถ้า ยูโธเปีย เป็นงั้นจริง
ก็คงจะตรงกับความหมายเลยหล่ะ
สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ คงหา เมืองยูโธเปีย ได้ยาก หรืออาจหาไม่ได้เลย

ยูโธเปียคงไม่เหมาะกับคนที่ขยันทำมาหากินมากกว่าคนอื่นแน่ๆ
แต่ไม่ได้หมายความว่าคนๆนั้นเป็นคนเห็นแก่เงิน เอาแต่ทำงานเพื่อให้ได้เงินเยอะๆหรอกนะ
คือบางคนก็อาจจะไม่ชอบ ถ้าไปอยู่ในที่ที่ทุกๆอย่างเป็นของส่วนรวมอย่างรัฐสังคมนิยม
สมมติว่า รัฐกำหนดให้ทำ 10
คนบางคนขยัน ทำ 11
คนบางคนทำ 10
คนบางคนทำแค่ 8
แต่ของที่ได้มาเป็นคนทุกคน คนที่ทำ 11 คงบอกว่าไม่แฟร์
แต่เมื่อคุณยอมที่จะอยู่ในสังคมแบบนี้ ก็คงต้องยอมที่จะเสียส่วนที่ทำมากกว่านั้นเสี๊ยะ
คงไม่มีใครยอมขาดทุนเป็นแน่ เขาคงหารัฐที่ดูจะแฟร์สำหรับเขามากกว่านี้
ส่วนไอ่คนที่อยู่กับความพอเพียงแบบนี้ได้ ก็อยู่กันไป
มองกลับมาดูคนที่เห็นแก่ตัว ทำน้อยกว่า แต่รับเท่าคนอื่น สังคม ก็คงต้องหาบทลงโทษกับคนแบบนี้ไว้
ไม่เช่นนั้นคงจะมีคนเอาเยี่ยงอย่าง

ส่วนยูโธเปียของเรา ไม่รู้ว่าเราได้รับอิทธิพลจากความสำคัญของเงินหรือเปล่า
เราก็ได้ไม่ต้องการเงินมากมายนัก แต่ก็อย่างที่บอก ทำมากแต่ได้เท่ากับคนทำน้อยกว่า มันก็เหนื่อยเปล่าๆ
เราไม่ขออยู่ในรัฐสังคมนิยม
รัฐที่มีกฎที่เคร่งครัด ตั้งอยู่บนความยุติธรรมแก่ทุกคนในรัฐ
ไม่แยกปฏิบัติโดยดูจากฐานะทางสังคมและการเงิน
มีความสงบสันติ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คงเป็น " อุดมรัฐ " สำหรับเรากระมัง ^^
มันอาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบสำหรับบางคน
เพราะความต้องการของคนเราก็ต่างกันไปอยู่แล้ว
ถ้าไม่อย่างนั้น มันคงเรียกว่า " (เอก) สมบูรณ์รัฐ "
มากกว่าจะเป็น "อุดมรัฐ" หรือที่เรียกกันว่า "ยูโธเปีย" นั่นหล่ะ


โดย: โซ้ยตี๋ IP: 125.24.157.126 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:19:25:06 น.  

 
รัฐในความฝันของผมหรือครับ ทุกคนต้องเท่ากัน ไม่มีตำรวจไม่มีทหาร ไม่มีข้าราชการ การวัดว่าใครจะเป็นผู้นำวัดจากตัวเลขของเงินและทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้นใครจะทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินและทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดศีลผิดธรรมก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด เงินที่ใช้ต้องใม่ใช่เป็นแผ่นหรือเป็นเหรียญ แต่เป็นในรูปแบบอีเลคโทรนิคส์ เพราะฉะนั้นมันจะโอนย้ายไปใหนก็ได้ในโลกใบนี้ ดังนั้นมือใครยาวก็สาวได้สาวเอา การฆ่าแกงเพื่อความรวยเป็นเรื่องธรรมดา บุคคลไร้ซึ่งศีลธรรม ไร้ซึ่งความละอาย การคิดเรื่องบุญเรื่องบาปไม่มี วัฒนธรรมไม่มี เงินอย่างเดียวเท่านั้น


โดย: หสหส IP: 113.53.162.75 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:21:08:04 น.  

 
อ่านแล้วอยากให้ประเทศไทยเป็นแบบยูโธเปียอ่ะ

แต่คงจะยาก - -"

เพราะยูโธเปียเป็นเมืองในอุดมคติ(เท่านั้น)


โดย: น.ส.เพล้งงง IP: 125.24.5.131 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:21:29:20 น.  

 
สาระเยอะๆจัง.....

จะมาอ่านบ่อยๆๆ

ออิ


โดย: นางฟ้า IP: 125.26.44.52 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:21:31:29 น.  

 
หากความรู้สูงเยี่ยมถึงเทียมเมฆ
แต่คุณธรรมต่ำเฉกยอดหญ้านั่น
อาจเสกสร้างมิจฉาสารพัน
ด้วยจิตอันไร้อายในโลกา

หากคุณธรรมสูงเยี่ยมถึงเทียมเมฆ
แต่ความรู้ต่ำเฉกเพียงยอดหญ้า
ย่อมเป็นเหยื่อทรชนจนอุรา
ด้วยปัญญาอ่อนด้อยน่าน้อยใจ

หากความรู้สูงล้ำคุณธรรมเลิศ
แสนประเสริฐกอปรกิจวินิจฉัย
จะพัฒนาประชาราษฎร์ทั้งชาติไทย
ต้องฝึกให้ความรู้คู่คุณธรรม


โดย: Bonus IP: 125.27.9.81 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:22:48:58 น.  

 
เมื่อก่อนสังคมไทยก็มีส่วนคล้ายยูโทเปีย

การเอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน

แต่เดี๋ยวนี้ทุนนิยมเข้ามามากคนให้ความสำคัญกับเงิน

หากคนปัจจุบันมองย้อนไปหาอดีตที่แสนหวานบ้างก็คงจะดีไม่น้อย


โดย: ทวีรัก IP: 119.31.90.96 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:3:41:23 น.  

 
ยูโทเปีย

ช่างต่างจากประเทศไทยลิบลับ


ดีค่ะชอบๆๆๆๆๆ


สู้ๆๆๆนะคะ


พี่สาว


โดย: นางฟ้านะคะ IP: 202.28.78.131 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:11:56:49 น.  

 
ผมมีความคิดว่านะครับ ยูดทเปียเป็นจริงได้ครับ
ไม่ง่าย แต่ ไม่ยากเกิน
ไม่ต้องทำลายของเก่า และ ไม่ต้องสร้าอะไรใหม่
ขอเพียงมี "ธรรม" จริงๆ ที่ไม่ใช่ลมปากครับ
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในโลกของ "ทุนนิยม" ก็ตามที แต่ถ้าทุกคนมีธรรม ไม่ทำร้ายทำรายกัน ทุกคนมีชีวิตตั้งโดยธรรม แม้แตกต่างก็ไม่แตกแยก ทั้ง ประวัติศาสตร์ ศาสนา เชื้อชาติ เพศ อายุ หรือรวยจนก็ตามครับ
โอ้วจอร์จมันยอดมาก

ป.ล.ช่วยมาเมนต์ด้วยครับ
//thanaphat00.blogspot.com


โดย: MON IP: 202.28.78.14 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:12:19:21 น.  

 
ถึง...เดอะเขียด ณ บางแสน
เบลอธิบาย "ยูโธเปีย" ได้เข้าใจดี
เบล ไล่เรียงลำดับเรื่องได้สมเหตุสมผล
แต่..หัวใจของเรื่องคือ "ประเทศของเรา...สยามประเทศ"
ยังขาดน้ำหนัก ขาดความหนักแน่น และความเห็นคล้อยตามไปนิด..นิดเดียวไม่มาก
ยังไงก็ตาม...นับเป็นพัฒนาการที่ "ดียิ่ง" สำหรับผู้เริ่มต้น
ฝึกฝนต่อไป พยายามต่อไป
...เอาใจช่วย...
อาจารย์แรก


โดย: อาจารย์แรก IP: 124.122.29.57 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:13:06:03 น.  

 
กลับมาคราวนี้ประเด็นหนักอึ้งเลยทีเดียว แต่ก็ยังอ่านเข้าใจได้ง่ายเป็นลำดับเช่นเคยนะคะ ถ้าเพิ่มความยืดหยุ่นลงไปผ่อนคลายเนื้อหาบ้างนิดๆ ก็จะดีนะคะ ยังไงก็จะเป็นกำลังใจให้นะคะ เขียนเรื่อยๆ นะ


โดย: Jaiko IP: 118.173.238.242 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:14:20:27 น.  

 
อ่านไปนึกถึงประเทศตัวเองไป
ถ้าประเทศไทยได้ครึ่งยูโทเปียก็ยังดี
อยากเห็นคนไทยมีความสุข


โดย: whan_whan IP: 202.28.78.138 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:15:00:35 น.  

 
ไม่ว่าจะเป็นการปกครองแบบไหน

ก็มีแต่พวกเห็นแก่ตัวทั้งนั้น

น่าเศร้าที่ไม่มีคนดีดีแล้ว


โดย: kanyarat IP: 202.28.78.172 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:22:51:11 น.  

 
สังคมเกษตรกรรม มองไปที่ไหนก็จะเห็นแต่พื้นที่สีเขียว

อ่านแล้วรู้สึกอยากไปอยู่ยูโทเปีย

คงจะมีแต่ความสุข


โดย: ปลาวาฬสีรุ้ง งุ๊งๆ IP: 202.28.78.171 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:23:07:37 น.  

 
จะไปทำนา คับพี่น้อง
เพื่อทุกนาสีเขียวขจี แล้วจับเดอะเขียด มาผัดเผ็ด
^^

ยิ่งทำบทความไปเรื่อยๆ ยิ่งรู้สึก หดหู่ กับสยามประเทศยังไงชอบกล
เรื่องของเรื่องคือ กุ ขี้เกียจ แระแงะ

ส่วนตัวแล้วชอบอ่านแบบ
เนื้อหา และมี ทรรศนะ ของผู้เขียน ควบคู่ไปด้วยกัน
ทำให้อ่านง่าย ดี ไม่หนักกับวิชาการมากไป

สู้ๆ นะ ค้าฟ


โดย: เปาเปา IP: 222.123.111.198 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:0:36:55 น.  

 
สวัสดีครับ
เว็บของผมชื่อ ยูโทเพียไทย คำยูโทเพียนี่ผมสะกดตามดิก.ของนายสอน่ะครับ คงเป็นคำออกเสียงของคนอังกฤษ ซึ่งคงผิดไปจากภาษากรีกหรือละติน

อุดมรัฐหรือสังคมที่พึงปรารถนาของผมคือ สังคมที่เป็นธรรมและอยู่ดีมีสุข หางานทำง่าย ค่าแรงกายแรงสมองสูงโดยไม่ต้องใช้กฎค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะ:

ไม่เก็บภาษีจากการผลิตการค้า ส่วนที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติถือเป็นสิทธิร่วมกัน รับรู้สิทธิเท่าเทียมกันของผู้อื่น โดยการจ่ายค่าถือครองที่ดิน ค่าเอกสิทธิ์สัมปทาน ค่าใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ค่าถ่ายเทของเสียออกสู่โลก
ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การนำกลับมาใช้ใหม่ และระบบกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพ
อันจะทำให้โลกเป็นที่อยู่ที่ทำกินได้ยั่งยืนต่อไป.

เหตุผลของผม:
“เมื่อเราเก็บภาษีจากบ้าน พืชผล เงิน เครื่องเรือน ทุน หรือทรัพย์สมบัติในรูปแบบใด ๆ
นั่นคือเราเอามาจากปัจเจกบุคคลซึ่งสิ่งอันเป็นของเขาโดยชอบ
เราละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน และทำการชิงทรัพย์ในนามของรัฐ
แต่เมื่อเราเก็บภาษีมูลค่าที่ดิน เราเอามาจากปัจเจกบุคคลซึ่งสิ่งอันมิใช่ของเขา แต่เป็นของประชาคม
และซึ่งมิสามารถปล่อยให้เป็นของปัจเจกบุคคล โดยไม่เป็นการชิงทรัพย์ของปัจเจกบุคคลอื่น ๆ”
- เฮนรี จอร์จ, The Single Tax: What It Is and Why We Urge It
//www.schalkenbach.org/library/george.henry/SingleTax.htm

ตลอดเวลามานานแล้ว ระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรมของแทบทุกรัฐในโลกกำลังเบียดเบียนผู้ลงทุนลงแรง ที่สาหัสคือคนจน ผู้ได้ประโยชน์คือเจ้าของที่ดิน และทำให้มีการเก็งกำไรสะสมที่ดิน ซึ่งซ้ำเติมให้การเบียดเบียนรุนแรงทับทวี ราคา-ค่าเช่าที่ดินแพงเกินจริง ทำให้ผลตอบแทนต่อแรงงานและทุนต่ำเกินจริง เมื่อรวมกับการสะสมที่ดินไว้โดยไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ ก็ทำให้แรงงานและทุนพลอยไม่ค่อยมีงานทำไปด้วย ผลผลิตของชาติต่ำกว่าที่ควร คนว่างงานมากขึ้น ค่าแรงยิ่งต่ำ

ภาษีเงินได้และภาษีกำไรยิ่งไปลดรายได้ และภาษีการผลิตการค้าทำให้ของแพง คนจนยิ่งเดือดร้อน อ่อนแอ กลายเป็นเหยื่อนายทุนผู้จ้าง นายทุนเงินกู้ และผู้หลอกลวงโดยง่าย

อีกทั้งการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ผสมกับสาเหตุทางการเงิน ยังก่อวัฏจักรเศรษฐกิจที่เหวี่ยงตัวรุนแรง เกิดความเสียหายใหญ่หลวงดังเช่นปี 2552 นี้ในสหรัฐฯ และลามไปทั่วโลก

(ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ก็ไม่มีการกู้เงินอย่างกว้างขวาง
ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ก็ไม่มีวัฏจักรราคาที่ดินที่เหวี่ยงตัวรุนแรง
วิกฤตการเงินที่รุนแรงลามไปทั่วโลกก็ไม่เกิด เก็งกำไรที่ดินมีในที่ดินนิยม มิใช่ทุนนิยม)

เชิญอ่าน ผลดีและความเป็นธรรมของการมุ่งเก็บภาษีที่ดิน และ เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน
//bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=242&c=1
และ ผสมสองทฤษฎีสกัดเศรษฐกิจฟองสบู่
//bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=46&c=1

ขอบคุณครับ
สุธน หิญ //utopiathai.webs.com


โดย: สุธน หิญ วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:9:22:23 น.  

 
More, Sir Thomas (1478-1535) ประธานศาลสูงสุด
และประธานสภาขุนนางอังกฤษ ผู้เขียนเรื่อง Utopia และศาสนูปถัมภกในนิกายโรมันคาทอลิก (defender of the Roman Catholic faith) ถูกประหารเพราะไม่ยอมปฏิเสธอำนาจทางศาสนาและไม่ยอมสนับสนุนให้พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ทรงหย่ากับพระนางแคธรีน ภายหลังได้รับยกย่องขึ้นเป็นนักบุญ (จากอภิธานหนังสือความก้าวหน้ากับความยากจน //utopiathai.webs.com/PP-p567-584glossary.doc )


โดย: สุธน หิญ วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:9:53:53 น.  

 
เขียนได้ดี เราอ่านแล้ว เราชอบมาก


โดย: กาจู๋ IP: 115.67.26.179 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:10:17:37 น.  

 
เขาเชื่อกันว่าคนเรายิ่งได้ลองทำมากๆแล้วจะเกิดความชำนาญ ถึงแม้จะเป็นแค่เพียงเริ่มต้นก็ตาม และปัจจุบันยูโธเปียก็ไม่มีมีแต่ในอุดมคติ


โดย: ลิลลี่ IP: 202.28.78.138 วันที่: 6 สิงหาคม 2552 เวลา:12:12:56 น.  

 
เป็นรัฐที่อยู่กันอย่างพอเพียง ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน
มีความซื่อสัตย์..
เขียนดีอ่ะอ่านแล้วเข้าใจดี


โดย: poo IP: 124.122.250.160 วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:13:39:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้องกิ้งก๊มกม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้องกิ้งก๊มกม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.