วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่าวัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
และเป็นมิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย
สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน
นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุเป็นวัดใหญ่
ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่2 งาน
มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ
ประวัติการสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด นอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ
ซึ่งเป็น เอกสารที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก

พระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว ที่ได้พบเห็น
เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด 149 องค์

องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้สืบต่อกัน มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
โดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิดในศาสนาของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า
นอกจากความหัศจรรย์ของพระธาตุไร้เงาแล้ว เจดีย์บริวารที่ เรียงราย ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกัน

พระบรมธาตุเจดีย์
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด
ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบ ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น 1 ใน unseen Thailand ของเมืองไทย ซึ่งขณะนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว

ตามวิหารต่าง ๆ ก็จะมีพระูพูทธรูปให้ได้สักการะบูชาอยู่ทั่วทุกวิหาร

ความสงบ ร่มเย็นภายใต้พุทธศาสนา ช่วยให้จิตใจผ่องใสขึ้นได้

ภาพนี้ประทับใจเป็นการส่วนตัว ท่านดูมีเมตตาและเปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา

ทำบุญตามกำลังศรัทธา มีอยู่เปี่ยมล้น แต่เมื่อต้องทำบุญ ก็จะเลือกทำบุญตามกำลังทรัพย์มากกว่า ทำแล้วสุขใจตามกำลังทรัพย์ไม่เดือดร้อน

จากตำนาน พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสผู้อัญเชิญพระทันตธาตุ จริง ๆ ภายในเมื่อเข้าไปภายใน ยังจะได้เห็นสิ่งงดงามต่าง ๆ อีกมากมาย

แถมท้ายด้วยของกินถูกใจที่ขายอยู่ที่หน้าวัด ระกำทรงเครื่อง

มังคุดคัด หวาน กรอบ เย็นชื่นใจ ขายอยู่หน้าวัดพระธาตุ ไม้ละ 20 บาท
"คัด" ก็คือการปอกเปลือกมังคุดออกจนเหลือแต่เนื้อใน
ระหว่างปอกก็ต้องคอยล้างไม่ให้ยางเปื้อนเนื้อขาวๆ ของมังคุด
จากนั้นก็นำไปแช่ในน้ำเกลือ เสียบไม้แล้ววางผึ่งลมให้แห้ง

หลังจากสักการะบูชาพระธาตุแล้ว เราก็ข้ามฝั่งมาจิบกาแฟและทานอาหารกันที่นี่ค่ะ

ร้านกาแฟ ไทชิ Coffee ตั้งอยู่ในบริเวณรั้วบ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์

บรรยากาศภายในร้าน ก็เรียบง่าย โปร่งสบาย นอกจากกาแฟแล้ว ก็ยังมีอาหารให้เลือกทานไ้ด้หลายอย่าง เพราะด้านข้าง ๆ คือร้านอาหารครัวท่าน
ขุน

ภายใต้รั้วเดียวกัน ก็ยังสามารถเข้าชมบ้านท่านขุนได้ด้วย บ้านท่านขุนเปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน
นายเขียน มาลยานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็น ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ นายอำเภอเมืองกลาย ถือศักดินา ๘๐๐ ไร่ เมื่อ วันที่ ๑๕
เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ นายเขียน มาลยานท์ เป็นลูกของนายมาไลย และนางส้มจีน มาลยานนท์ แต่งงานกับนางปั้น จักรมานนท์เป็นลูกของนายกุ้ง และนางศรีกิ้น จักรมานนท์ นางปั้นและขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ ไม่มีบุตร จึงยกที่ดินและบ้านหลังนี้ให้แก่นายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ซึ่งเป็นหลาน
ชายคนโตเป็นลูกของนางจันทร์ พี่สาวของนางปั้น ต่อมาคุณโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ ได้ใช้บ้านและที่ดินเปิดเป็นโรงเรียนชื่อโรงเรียนรัฐวุฒิวิทยา
ต่อมาได้เปลียนชื่อเป็น โรงเรียนนครวิทยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ และปิดตัวลงเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๙

ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ นายสำราญ ตรีสัตยพันธุ์ หลานชายคนโตของนายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ และนางณัฐฏสุด ตรีสัตยพันธุ์
ภรรยานายสำราญ ตรีสัตยพันธุ์ ได้ดำเนินการบูรณะปรับปรุงอนุรักษ์และซ่อมแซมบ้านให้มีสภาพสวยงาม เป็นโบราณสถานเพื่อชนรุ่นหลังของชาวนครและนักท่องเที่ยวได้ชมความงามของเรือนปั้นหยาอายุ ๑o๘ ปี หลังนี้

ปัจจุบันบ้านและที่ดินแปลงนี้ครอบครัวนายสำราญ ตรีสัตยพันธุ์ เป็นเจ้าของและดำเนินการดูแลรักษา่ต่อไป

การเดินทาง
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยู่กรุงเทพ มาไฟล์เช้า กลับไฟล์บ่าย ก็ไหว้พระธาตุได้สบาย ๆ ไม่ต้องรีบเร่งอะไร เช้ามาถึงลงเครื่องแล้วก็ไปที่จุดขายตั๋วรถ ยื่นเงินไป 100 บาท บอกว่า เข้าเมือง มันจะไม่มีป้ายราคารถเข้าเมือง แต่จะมีป้ายราคารถเหมา เข้าเมือง 300 บาท เราไปคนเดียวก็ยื่นไป 100 บาท เข้าเมือง จากนั้นรถจะไปจอดให้ที่ท่าวัง เราก็ต่อรถสองแถวสีฟ้า ( สนามกีฬา-หัวถนน ) ไปลงหน้าพระธาตุอีกคนละ 10 บาท ขากลับ ก็นั่งรถสองแถวสีฟ้าหน้าวัดรพระูธาตุ ไปลงท่าวัง แล้วเดินต่อไปอีกนิด จะเห็น บริษัทขายตั๋วเครื่องบิน นครดีซี ก็ไปซื้อตั๋วรถเข้าสนามบินที่นี่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องโทรนัดเวลาก่อนเพราะรถจะออกไปสนามบินก่อนเครื่องออกประมาณ 1 ชั่วโมง
เบอร์โทรรถที่สนามบิน 075-320456 , 075-321424 ,086-9537617.081-0873793 ( วันนี้ 19/02/56 โทรไปถาม ยังมีขายตั๋วเข้าเมืองคนละ 100 บาทอยู่ แต่ไม่มีป้ายติดให้ผู้คนรับรู้แล้วนะคะ ป้ายราคาจะมีแต่ป้ายราคารถเหมา )
บริษัทนครดีซี ( รถตุ้เข้าสนามบิน ) 075-311158 ค่ารถเข้าสนามบินคนละ 100 บาท
หมายเหตุ **** ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2556 จะมีรถแท็กซี่มิเตอร์ให้บริการ ราคาเริ่มต้นที่ 35 บาท เท่ากับกรุงเทพ การเดินทางออกจากสนามบินมาพระธาตุก็จะสะดวกสบายมายิ่งขึ้น *****