|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ตอนที่ 11. วิธีการเล่นหุ้น
วิธีการเล่นหุ้นนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ เล่นขาขึ้นกับเล่นขาลง
ในการเล่นขาขึ้นนั้น ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย ๆ คือ
1. เล่นรอบ หรือเล่นในกรอบ หุ้นที่เหมาะจะเล่นในรูปแบบนี้ควรเป็นหุ้นที่อยู่ในช่วง Sideway คือจะซื้อบริเวณแนวรับ และจะไปขายบริเวณแนวต้าน ความยากของการเล่นแบบนี้คือ เราต้องแม่นในเรื่องแนวรับ แนวต้าน มิฉะนั้นจะกลายเป็นซื้อแนวต้าน มาขายแนวรับ (เห็นกันเป็นประจำ) 2. เล่นแบบ Breakout คือเล่นเมื่อหุ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปแล้ว ที่เล่นแบบนี้ เพราะมีหลักว่า หุ้นเมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่ขายหุ้นออกมา เพราะเห็นว่าหุ้นทะลุขึ้นมาแล้วแรงซื้อชนะแรงขายอย่างแน่นอนแล้ว ในช่วงที่เริ่มทะลุขึ้นมาจะเป็นการ Follow Through กระหน่ำซัดแรงขายที่เพลี่ยงพล้ำแล้ว หุ้นจึงขึ้นต่อได้อย่างง่าย และมากด้วย ยิ่งถ้าทะลุแนวต้านสุดท้าย คือทำจุดสูงสุดตั้งแต่เข้าตลาด (All time high) จะยิ่งมีความสำคัญมาก เพราะแรงขายจะน้อย หุ้นจะไปไกลมว๊าก ๆ
ความยากของการเล่นแบบนี้ อยู่ที่นอกจากจะดูแนวต้านเก่งแล้ว ยังจะต้องดูเรื่องการ Breakout ให้เป็นอีกด้วย (อ่านทบทวนย้อนหลังดู) แต่จะสรุปเรื่อง Breakout ให้ฟังสั้น ๆ คือ -- หุ้นจะต้องทะลุผ่านแนวต้าน และ -- ในวันที่หุ้นทะลุแนวต้าน จะต้องมีโวลุ่มในการเทรดมาก (คำว่ามากอาจเทียบจากโวลุ่มการเบรคครั้งก่อนได้ หากยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี และ -- ในวันเบรคจะต้องมีช่วงกว้างราคาที่มากเพียงพอ (ยิ่งมากยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าแรงซื้อชนะแล้ว) ถ้าเข้าเงื่อนไข 3 ข้อนี้ ถือว่า Breakout ตัวอย่างวันนี้เช่น หุ้นที่เราจับมาทำ Demo แล้วรอซื้อ นั่นคือ Hmpro นั่นเอง จะเห็นว่ากว่าจะซื้อได้ต้องอดทนรอ
ส่วนการเล่นขาลง คือ ถ้าเห็นว่าหุ้นจะตกแน่ ๆ เราอาจจะขายหุ้นที่อยู่ในมือออกไปก่อน หรือยืมหุ้นจากโบรกเกอร์มาขายก็ได้ แล้วเมื่อหุ้นตกไปเรื่อย ๆ ก็ไปซื้อคืนที่ราคาที่ต่ำกว่ากลับเข้าพอร์ต หรือคืนโบรกเกอร์ แต่การเล่นแบบนี้ค่อนข้างเสี่ยง และผู้เล่นนอกจากจะต้องแม่นยำในแนวรับ แนวต้านแล้ว ยังต้องเชี่ยวชาญในการดูจุด Swing high - low ด้วย มิฉะนั้นจะเสียหายมากกว่าการ Cut loss
สิ่งที่ควรจำคือ เซียนจะเล่นหุ้นเมื่อ Breakout แล้ว , รายย่อยจะเล่นตามรอบ ส่วนแมงเม่า จะเล่นตามข่าว
ต่อไปคือวิธีการเล่นที่อันตราย คือเล่นแล้วเสียแน่ ๆ ได้แก่
1. เล่นโดยไม่รู้แนวรับ แนวต้าน เช่น เล่นตามข่าว เล่นตามแห่ เล่นตามอารมณ์ ซื้อเพราะราคาต่ำกว่าครั้งก่อน ซื้อเพราะวิเคราะห์ด้วยจินตนาการ จากสิ่งที่จินตนาการ ซ้อนกันเข้าไปอีก เช่น ได้ข่าวลือมาว่าการชุมนุมจะยืดเยื้อ วิเคราะห์ไปอีกว่าเมื่อยืดเยื้อแล้ว น่าจะมีความรุนแรง วิเคราะห์ซ้ำไปอีกว่าเมื่อรุนแรงแล้วหุ้นจะตก ต่างชาติจะทิ้ง เรียกว่าจินตนาการซ้อนจินตนาการ เลยตัดสินใขขายทิ้งซะเลย ผลอาจจะเป็นยืนร้องไห้ส่งรถขายหมู 2. ซื้อเฉลี่ยขาลง เป็นสิ่งที่โคตรอันตรายในการเล่นหุ้น เคยบอกแล้วให้สักไว้ที่หน้าผากเลยว่าห้ามซื้อเฉลี่ยขาลง ยกเว้นหุ้นที่กำลังทำ Correction เพราะมันอาจจะทะลุแนวรับไปเลยก็ได้ (ดู kk ) กลายเป็นดับเบิ้ลเสีย ไม่ใช่ลดการเสีย เช่น ซื้อที่ 40 จำนวน 1000 หุ้น ตกลงมาซื้อที่ 36 อีก 1000 หุ้น เฉลี่ย 38 แต่ก็เสียเท่าเดิมนั่นแหละ คือ 4*100 = 4000 เหมือนเดิม ถ้าลงอีก เสียเพิ่มอีก แทนที่จะเสีย 1000 หุ้น กลายเป็นเสีย 2000 หุ้น 3. พวกวัยรุ่น มือใหม่ กลัวรวยช้า ซื้อทีเดียวตัวเดียวเต็มพอร์ต แบบนี้จะกลับตัวไม่ได้เมื่อหุ้นตก เสียมากทันที 4. ซื้อหุ้นหลายตัวเกินไป บางคนมีเกือบ 20 ตัว จำนวนหุ้นที่ควรมีในพอร์ตไม่ควรเกิน 5 ตัว จะได้ดูแลทั่วถึง 5. ข้อนี้เจอมาบ่อยมาก และสำคัญที่สุด คือหุ้นขึ้นรีบขาย ประเภทเป็นคนกลัวกำไรมาก อยาก Realize กำไร ออกมาเป็นเงินสด แต่เวลาหุ้นตกกลับเก็บไว้ ในที่สุดกำไรนิดเดียว เหลือแต่หุ้นกาก ๆ เต็มพอร์ต พร้อมกับหลอกตัวเองว่า ตราบใดที่ไม่ขาย ไม่ขาดทุน หรือไม่ก็พร่ำบอกคนอื่นว่าขอเป็นนักลงทุนระยะยาว รับปันผลไปเลย
วันนี้ขอแค่นี้ก่อน พรุ่งนี้จะมาตอบคำถามแฟนเพจ (ไม่รู้ไปสืบมาได้อย่างไร มีการส่งมาทาง E-mail และ Line ซะด้วย )
เด็กลาดพร้าว 5 ส.ค. 56 18.20 น.
Create Date : 01 ตุลาคม 2556 |
Last Update : 1 ตุลาคม 2556 7:47:11 น. |
|
0 comments
|
Counter : 547 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
: Users Online
|
|
|
|
|
|
|