Just the way I am.....Devil's babe must to do.
Group Blog
 
 
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 ผู้มีเงินได้ที่อยู่ในข่ายเสียภาษี มี 4 ประเภท คือ
บุคคลธรรมดา (ม.56,ม.57 และ 57 ทวิ บัญญัติให้ถือเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการ และเสียภาษี (ม.57 ตรี และ 57 เบญจ
ผู้ถึงแก่ความตาย ยื่นในชื่อของผู้ตาย โดย ผู้จัดการมรดก/ทายาท/ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก (ม.57 ทวิ) ในปีแรก
กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ถ้ากองมรดกยังไม่ได้แบ่งในใครในปีถัดไปให้ยื่นในชื่อกองมรดก โดย (เหมือนผู้ถึงแก่ความตาย ) ม.57ทวิ วรรคสอง
คณะบุคคล /หสม. ที่มิใช่นิติบุคคล (เป็นนิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า คณะบุคคลต่างจาก หสม ที่มีวัตถุประสงค์ไม่หวังผลกำไร) ยื่นในชื่อคณะบุคคลหรือหสม. โดย ผู้อำนวยการหรือ ผู้จัดการ (ม.56 วรรคสอง)


4.1 เงินได้พึงประเมินและแหล่งเงินได้

เงินได้พึงประเมิน
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ให้คำนวณประโยชน์เพิ่ม เป็น 20% ของเงินเดือน หรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปีภาษี
4. เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้อื่นจ่ายหรือออกแทน
4.1 เงินได้
4.2 ภาษีทุกทอด
4.3 ภาษีที่ออกให้เงินได้ประเภทใด ถือเป็นเงินได้ประเภทนั้นด้วย
4.4 ภาษีที่ออกให้ปีใด ถือเป็นเงินได้ปีนั้น

5. เครดิตภาษีตามที่ กฎหมายกำหนด

การคำนวณ
อัตรา = อัตราเงินได้ที่นิติบุคคลต้องเสีย / (100- อัตราเงินได้ดังกล่าว)
เครดิตภาษี = อัตรา x จำนวนเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ
เงินได้พึงประเมิน = เครดิตภาษี + เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร

เพราะฉะนั้น ถ้า เงินปันผล = 63000
อัตราเงินได้ที่นิติบุคคลที่ต้องเสีย = 30% ดังนั้น อัตรา = 30 / (100-30) = 3 ส่วน 7 หรือ 3/7
เครดิตภาษีเงินปันผล = 63000 x 3/7 = 27000
เงินได้พึงประเมินประเภทเงินปันผล = 63000 + 27000 = 90000

เงินเครดิตภาษี = 27000 นี้ ต้องนำมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียด้วย
เช่น มีภาษีชำระ = 5000 - 27000 = - 22000

ดังนั้นผู้เสียมีเงินภาษีรับคืน = 22000 บาท นะคะ

แต่ถ้าผู้เสียภาษีมีเงินภาษีชำระ = 29000 - 27000 = 2000
ดังนั้น ผู้เสียภาษีมีเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีก = 2000 บาท ถ้าไม่เข้าใจก็อ่านซ้ำอีกรอบนะคะ

***กองทุนรวม ใดใดก็ตาม ไม่มีสิทธิ์ ได้รับเครดิตภาษี เพราะเงินได้จากขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีฯ**

 แหล่งเงินได้** (ม.41)
1. ในประเทศ
2. นอกประเทศ

ในประเทศ มีเงื่อนไขหลัก คือ มี
1. หน้าที่การงาน
2. กิจการที่ทำ
3. กิจการของนายจ้าง
4. ทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย
ไม่ว่าจะจ่าย ใน/นอก ประเทศ เป็นคนไทยหรือต่างชาติ

นอกประเทศ
1. หน้าที่การงาน
2. กิจการ
3. ทรัพย์สิน
อยู่นอกประเทศ และ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย(รวมทั้งหมด ...ถึง 180 วัน ...ถ้าเหลื่อมปี ถึง 180 วัน ไม่ถือว่าอยู่ในประเทศไทย)และนำเงินได้เข้ามา ...ในปีเดียวกันด้วย

 การยื่นแบบ
ยื่นชำระทางอินเตอร์เนต ที่เว็บไซต์กรม = //www.rd.go.th โดยโอนเงินผ่านช่องทาง
ตามที่ทำความตกลงกับกรมฯหรือใช้แบบที่พิมพ์จาก เว็บกรมฯ เพื่อใช้ยื่นณ สส.ในท้องที่

 การคำนวณภาษี

ฐานภาษีเงินได้ฯ = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน (ตลอดปีภาษี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
ภาษี = เงินได้สุทธิที่ถึงเกณฑ์ x อัตราภาษี

เงินได้ อัตราภาษี ภาษีที่คำนวณในแต่ละขั้น
1-100,000 0 0.-
100,001 - 500,000 10% 40,000.-
500,001 - 1,000,000 20% 140,000.-
1,000,001 - 4,000,000 30% 1,040,000.-
4,000,001 ขึ้นไป 37%




การคำนวณภาษี คำนวณ จาก 2 วิธี ดังนี้ (ชำระตามวิธีที่มียอดชำระภาษีมากกว่า)
1. คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ
2. คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่มีตั้งแต่ 60000 บาท คูณ ด้วย .005

กรณียื่นแบบฯ เพิ่มเติม ให้คำนวณยอดภาษีใหม่ทั้งหมด หลังจากที่ได้ยื่นไปแล้ว แล้วนำภาษีที่ชำระไว้แล้วตามแบบเดิม มาหักออก

การคำนวณเงินเพิ่ม = 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือน นับเป็น 1 เดือน)



 การหักลดหย่อน /ยกเว้นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
หักลดหย่อนส่วนบุคคล
ผู้มีเงินได้ = 30000
คู่สมรส (ไม่มีเงินได้หรือ /รวมคำนวณ) = 30000
คณะบุคคล <= 60000
บุตร เงื่อนไข คือ
บุตรบุญธรรม/บุตรชอบด้วยกม.?
- ผู้เยาว์/อายุไม่เกิน25/ศึกษาระดับอุดม/ไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถ? มีเงินได้ไม่ถึง 15000 .-? ทั้งหมดที่มีชีวิต ไม่เกิน 3 คนแรก (การบรรลุนิติภาวะ คือ อายุ 20 ปี หรือ โดยการสมรส เมื่อ อายุ 17 ปี)
ศึกษา? ถ้าศึกษา ในต่างประเทศ? = 15000 แยกคำนวณ? = 7500
ในประเทศ? = 17000 แยกคำนวณ? = 8500
ไม่ศึกษา? =15000 แยกคำนวณ? = 7500

บุพการี -บิดา=30000 มารดา=30000 --> ของผู้นำมาหักลดหย่อน บิดา =30000 มารดา =30000 --> คู่สมรส (กรณีไม่มีเงินได้/รวมคำนวณ)
เงื่อนไข คือ
1. อายุ 60 ปี ขึ้นไป และอยู่ในอุปการะ
2. ไม่มีเงินได้พึงประเมิน 30000 บาท ขึ้นไป
3. ผู้นำมาหักลดหย่อน เป็นบุตรชอบด้วย กม.
4. หนังสือรับรอง ล.ย. 03
5. มีบุตรหลายคน ต้องให้สิทธิ์บุตรคนใดคนหนึ่ง ต่อ บิดา/มารดา (ไม่เฉลี่ยเงิน)

เบี้ยประกันสุขภาพ
บิดา<=15000 มารดา <=15000 ของผู้มีเงินได้ บิดา <=15000 มารดา<=15000 คู่สมรส(ที่ไม่มีเงินได้หรือรวมคำนวณ) ถ้าคู่สมรสมีเงินได้ หรือแยกคำนวณ หักได้ตามสิทธิ์

โดยเงื่อนไข --- บิดา/มารดาไม่มีเงินได้พึงประเมิน 30000 บาทขึ้นไป
----------------- ผู้นำมาหักยกเว้นเป็นบุตรชอบด้วย กม.
----------------- จ่ายจากบุตรผู้มีเงินได้หลายคน เฉลี่ยตามส่วน โดยรวมกันต้อง <=15000 บาท
เบี้ยประกันชีวิต เงื่อนไขคือ
-------- กรมธรรม์มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
-------- ผู้รับประกันประกอบกิจการใน ประเทศไทย
---------ผู้มีเงินได้ / คู่สมรสที่มีเงินได้------ลดหย่อนได้ <=10000 และ ยกเว้นฯ ได้ >10000
ไม่เกินเงินได้หลังหัก คชจ. และ <= 40000
-------- คู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้ หักค่าลดหย่อนได้ <= 10000 เท่านั้น
****เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส ไม่นำมาหักได้ เพราะ ความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี****

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ผู้มีเงินได้ / คู่สมรส ---หักลดหย่อนได้ <=10000
ยกเว้นเงินได้ ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ก่อนหัก คชจ. ที่ >10000และ <= 290000
RMF --------------ยกเว้นเงินได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องรวมกับ กบข +กองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ ต้องไม่เกิน 300000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้
1. ซื้อไม่น้อยกว่า ปีละครั้ง / ไม่ระงับการซื้อเกิน 1 ปี / ไม่น้อยกว่า 3% หรือ 5000 บาท
2. ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และไถ่ถอนเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี (ยกเว้นทุพพลภาพ/ตาย)
3. ไม่ได้รับเงินปันผล หรือเงินอื่นใดระหว่างลงทุน (รับคืนเมื่อไถ่ถอนเท่านั้น)
4. ไม่กู้เงินหรือเบิกเงินจากกองทุน

ถ้าผิดเงื่อนไข ต้อง
*****ยื่นแบบเพิ่มเติม โดย นำกำไรจากการขายไปยื่นแบบฯ เสียภาษี******

LTF --------------ยกเว้นเงินได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 300000 บาท
มีเงื่อนไขดังนี้
**ต้องถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี **ปฏิทิน** (ยกเว้นกรณีทุพพลภาพ/ตาย)

ถ้าผิดเงื่อนไข ต้อง
***ยื่นแบบเพิ่มเติม และ นำกำไรจากการขายไปยื่นแบบฯ เสียภาษี***

ดอกเบี้ยเงินกู้ ---------หักลดหย่อน ได้ <= 10000 และหักค่าใช้จ่าย ได้ > 10000 <= 40000
1. กู้ยืมจากผู้ประกอบการในประเทศ **เพื่อซื้อ/เช่าซื้อ/ สร้าง ที่อยู่อาศัย
2. จำนองอาคารเป็นประกันการกู้ยืม
3. อาศัยในอาคารในปีที่นำมาหักลดหย่อน
4. นำมาหัดลดหย่อนได้มากกว่า 1 แห่ง

กรณี
รวมคำนวณ <= 50000
แยกคำนวณ <= 25000
กู้ร่วมหลายคน <= เฉลี่ยตามส่วน จาก เกณฑ์ ที่ไม่ <= 50000
เช่น ผู้มีเงินได้ +ภรรยา (ไม่มีเงินได้) + คนอื่น = กู้เงิน 3 คน ดอกเบี้ย 50000
วิธีคิด คือ นำ 50000 มาหาร 3 ก่อน = 16666.66 ดังนั้น หักลดหย่อนได้ = 33333.33 เป็นต้น หรือ
ผู้มีเงินได้ +ภรรยา (ไม่มีเงินได้) + คนอื่น = กู้เงิน 3 คน ดอกเบี้ย 150000
วิธีคิด คือ นำ 150000 มาหาร 3 ก่อน = 50000 ดังนั้น หักลดหย่อนได้ คนละ = 50000 เป็นต้น
กองทุนประกันสังคม ---ผู้มีเงินได้ / คู่สมรส ตามจริงคนละไม่ <= 9000
*****เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น (ยกเว้นก่อนหักค่าใช้จ่าย)*****
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ >10000 <= 290000
เงินสะสมกบข---------- <= 300000
เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครู รร.เอกชน ** <= 300000
เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน** ไม่เกินค่าจ้าง 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300000
ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปี .... ขึ้นไป ********* ต้องอยู่ในประเทศไทยในปีนั้น ได้ <= 190000 เลือกประเภทของเงินได้ที่จะใช้หักได้ตามความประสงค์*****

เงินบริจาค -------------สนับสนุนการศึกษา (พ.ร.ฎ. 420) เกี่ยวกับให้สถานศึกษาหรือ การศึกษา ดังนี้
1. ค่าใช้จ่าย จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดิน หรือ
2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยี
3. เป็นโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ (รายชื่อในเว็บกรม Print ดูกันเองนะ)
4. ต้องไม่นำไปหักซ้ำกับเงินบริจาค ม.47(7) อีก
วิธีการ คือ ยกเว้นให้ 2 เท่าของรายจ่าย ฯ แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมิน
หลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อน ตาม ม.47(1)-(6)

****สนับสนุนการกีฬา (พ.ร.ฎ. 528)
บริจาคให้ "กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ" เพื่อสนับสนุนการกีฬาตามโครงการตาม
ยุทธศาสตร์ 4 ปี สร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548-2551)
โดย 1. จัดหาอุปกรณ์กีฬา สำหรับฝึกซ้อมหรือแข่งขัน
------2. ส่งเสริมสนับสนุการพัฒนานักกีฬาและบุคคลากรด้านกีฬา
----- 3. ไม่นำไปใช้สิทธิตาม พ.ร.ฎ.428 อีก

วิธีการ คือ ยกเว้นเงินได้ 1.5 เท่าของรายจ่าย ที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬา
แต่ต้องไม่เกิน 20% ของเงินได้พึงประเมิน ***หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตาม ม. 47(1)-(6) ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549-2551

****ให้กองทุน (พ.ร.ฎ.428)
บริจาคให้ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
-----------กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
---------- กองทุนคุ้มครองเด็ก
---------- กองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
วิธีการ ยกเว้นเงินได้เท่าจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตาม ม.47(7) แล้ว
ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน ตาม ม.47(1)-(6)
****บริจาคอื่น ๆ (มาตรา 47< 7 >)
บริจาคให้-------1. วัด
-----------------2. สภากาชาดไทย
-----------------3. สถานศึกษาของทางราชการและเอกชน
-----------------4. สถานพยาบาลของทางราชการ
-----------------5. สถานสาธารณกุศล ที่ รมต.ว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศ
วิธีการ เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่าย
และหักค่าลดหย่อนตาม ม.47(1)-(6)

นอกจากนี้ บุคคลที่ได้รับยกเว้น ได้แก่ บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านทูตต่าง ๆ รวมทั้งเงินได้ที่เกี่ยวกับด้านการทูตด้วย

**********************************


 เงินได้ที่ได้รับยกเว้น
ตาม ม. 42 มี ดังนี้
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ที่จ่ายจริง และใช้ไปทั้งหมดในการนั้น ของเอกชน
2. ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ที่ได้จ่ายไปตามอัตราที่รัฐกำหนด
3. ค่าเดินทาง รับงานครั้งแรก และกลับถิ่นเดิมเมื่อสิ้นสุดสัญญา แต่ไม่รวมเงินที่ได้รับเพื่อกลับถิ่นเดิมและเข้ารับงานนายจ้างเดิม ภายใน 365 วัน นับแต่วันที่สัญญาจ้างครั้งก่อนสิ้นสุด
4. เงินปันผลจากกิจการส่งเสริมการลงทุน เฉพาะช่วงที่ได้รับการส่งเสริม
5. เงินเพิ่มพิเศษ ประจำตำแหน่ง ค่าเช่าบ้าน สำหรับบรรดาทูต
6. ส่วนลดจากการขาย หรือ ขายอากรแสตมป์ แสตมป์ไปรษณียากรของรัฐ
7. เบี้ยประชุม ค่าสอน ค่าสอบ ที่ทางราชการจ่ายให้
8. ดอกเบี้ย ได้แก่
- สลากออมสิน, สหกรณ์ ,ธ.พาณิชย์ ในประเทศ (ออมทรัพย์ รวมกัน <=2000 บาท /ปี หรือรายเดือน ทุกเดือน ไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับแต่วันที่ฝาก แต่ละครั้ง <= 25000 / เดือน และรวมทั้งหมด ไม่เกิน 600000 บาท)
9. ***สังหาริมทรัพย์ ***อันเป็นมรดก หรือ ** อสังหาริมทรัพย์ ***ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ ...ไม่รวม เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวาง 6 ต้นขึ้น เรือกลไฟหรือเรือยนต์ ระวาง ห้าตันขึ้นไปหรือแพ
42(10.) **** เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่รับจากการรับมรดก หรือ จากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
11. รางวัล ของรัฐ (สลากกินแบ่ง ,สลากออมสิน )
12. บำนาญ บำเหน็จ (พิเศษ หรือ ตกทอด)
13. ค่าสินไหม ใดใด
14. เงินส่วนแบ่งกำไร จาก หสม. คณะบุคคล มิใช่นิติบุคคล **แต่ไม่รวม /// เงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม////
15. เงินได้จากการขายข้าวของชาวนา
16. เงินได้จากกองมรดก ซึ่งเสียภาษีแล้ว


********************************

การยกเว้นเงินได้ โดย กฎกระทรวง ฉ.126
-. กิจการโรงเรียนเอกชน เฉพาะที่รายได้จากผู้เป็นนักเรียน
-. ค่าจ้างการทำงาน ระหว่างปิดภาค ของคนต่างด้าว
-. ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ 1. ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือ ผู้สืบสันดาน อยู่ในความอุปการะ ของลูกจ้าง เฉพาะที่ทำให้ประเทศไทย
2. ลูกจ้างทำงานในต่างประเทศ เป็นครั้งคราว ทั้งหมดที่จ่ายไปในการนั้น)
- ช่วยการศึกษาบุตร ช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ
-. ดอกเบี้ยสะสมที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ
-. เงินได้ที่รัฐจ่าย เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง
-. ขายอสังหาฯ อันเป็นมรดก หรือ ได้รับโดยเสน่หา ตั้งอยู่นอกเขต เฉพาะเงินได้ไม่เกิน 200000 บาท ในปีนั้น
-. โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาฯ ให้บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่รวมบุตรบุญธรรม
-. ขายสินค้ายาสูบ
-. ที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยพันธบัตร หรือดอกเบี้ยหุ้นกู้
-. ดอกเบี้ย ธ.เพื่อการเกษตรฯ
-. จากการขายหลักทรัพย์ ในตลาดฯ ไม่รวมถึง หลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
-. ค่าทดแทน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
-. เงินได้พึงประเมิน จาก:-
ก. ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาซื้อตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัท
ข. โอนตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิ์ในหนี้ใด ๆ ที่นิติบุคคลเป็นผู้ออก เฉพาะหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย
ค.ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิ์ในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือ นิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก มีการหัก ณ ที่จ่าย ไว้แล้ว
-. ขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ที่จัดตั้งขึ้น ตาม กม. ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ *****ไม่รวม การขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกม.หลักทรัพย์ฯ
-. เครื่องแบบ จากนายจ้าง *****ไม่เกิน 2 ชุด / ปี เสื้อนอก ไม่เกิน **1 ตัว/ปี ไม่รวมรองเท้า ชุดชั้นใน เครื่องประดับมีค่า
เสื้อนอก หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทาน
-. โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาฯ ให้ วัด วัดบาดหลวงโรมันคาทอลิค หรือ มัสยิด เฉพาะส่วนที่ทำให้วัด ดังกล่าว มีที่ดิน ****ไม่เกิน 50 ไร่
-. ค่าชดเชยฯ เฉพาะส่วนทีไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือน 300 วัดสุดท้าย แต่ไม่เกิน สามแสนบาท




Create Date : 14 มีนาคม 2550
Last Update : 14 มีนาคม 2550 8:58:42 น. 43 comments
Counter : 1491 Pageviews.

 
ขอบคุณนะคะ มีประโยชน์กะช่วงนี้มากเลยอ่ะ


โดย: แก้ว (หนูอยากกลับบ้าน ) วันที่: 14 มีนาคม 2550 เวลา:9:04:43 น.  

 
ลายตาจังเลยอ่ะ


โดย: sak (psak28 ) วันที่: 14 มีนาคม 2550 เวลา:11:24:51 น.  

 
ขอโทษทีค่ะ อัพเดทภาพพื้นหลังใหม่แล้วค่ะ



โดย: K-modjung วันที่: 15 มีนาคม 2550 เวลา:9:55:43 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: น้ำตาลทรายขาว IP: 124.157.185.96 วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:20:49:00 น.  

 
ขอบคุณมากคับ


โดย: PaunK IP: 124.120.209.240 วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:22:43:24 น.  

 
รักในหลวงยิ่งกว่าชีวิต ขอให้ชาวใต้สงบสุขเสียที


โดย: หมาเล็ก IP: 202.91.18.192 วันที่: 23 มิถุนายน 2550 เวลา:12:02:28 น.  

 


โดย: น่ารักจัง IP: 124.157.136.149 วันที่: 30 มิถุนายน 2550 เวลา:10:40:01 น.  

 


โดย: แมงวันเขียว IP: 124.157.146.40 วันที่: 1 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:30:42 น.  

 


โดย: เด IP: 210.213.17.211 วันที่: 12 กรกฎาคม 2550 เวลา:14:55:32 น.  

 
ดีจังค่ะ มีงานส่งอาจารย์แล้ว


โดย: หมีน้อย IP: 210.213.17.211 วันที่: 12 กรกฎาคม 2550 เวลา:15:00:18 น.  

 
ขอบคุณมากๆๆค่ะ หนูได้ความรู้เยอะมากเลย


โดย: ใหม่ IP: 203.113.38.13 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:24:18 น.  

 
เย่ มีงานส่งครูเเว้ว ไม่ถูกครูตี


โดย: มิก IP: 203.113.38.13 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:26:11 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะ ช่วยในการทำรายงานเราได้มากเลย


โดย: Doller IP: 58.9.62.236 วันที่: 15 กรกฎาคม 2550 เวลา:14:39:48 น.  

 
ขอบคุณมากคับ


โดย: คห.ที่14 IP: 125.27.106.169 วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:9:05:07 น.  

 
ขอบคุณมากม๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: สุดสวย IP: 222.123.139.73 วันที่: 28 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:09:07 น.  

 
ขอบคุณมากม๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: สุดสวย IP: 222.123.139.73 วันที่: 28 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:10:15 น.  

 
จัยมาก ถ้าไม่ได้อาจานด่าตายเยย


โดย: ดีจาย IP: 222.123.5.227 วันที่: 7 กันยายน 2550 เวลา:13:05:52 น.  

 
^_^ขอบคุณมากครับ


โดย: pun IP: 203.155.2.133 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:9:19:42 น.  

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: pee IP: 203.155.2.133 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:9:20:20 น.  

 
โคตรงง งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง เลยงะ ไม่อยากเรียนแล้วละ


โดย: วัยเกลียน IP: 124.157.177.118 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:39:40 น.  

 
อยากทราบว่าเงินเดือนของผู้เป็นหุ้นส่วน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ)ส่วนไม่เกินสมควรมันควรเป็นเท่าไหร่หรือมีวิธีคำนวนไหมคะ


โดย: sax IP: 58.147.64.211 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:12:35 น.  

 
พื้นหลังน่ารักดีค่ะ


โดย: รส IP: 202.143.172.59 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2550 เวลา:8:36:07 น.  

 
อยากทราบว่าตอนนี้การเก็บภาษีได้ดำเนินการอย่างไรบ้างช่วยทำการประชาสัมพันธ์ให้ทราบหน่อยค่ะเพราะงงมากเลยไม่รู้จะยึดระบบไหนดีค่ะ


โดย: เปิ้ล IP: 125.27.124.103 วันที่: 18 ธันวาคม 2550 เวลา:23:06:01 น.  

 


โดย: หมาน้อย IP: 124.121.106.211 วันที่: 1 มกราคม 2551 เวลา:21:15:41 น.  

 
ขอบคุณนะคะมีงานส่งอาจารย์แล้วค่ะทำพื้นหลังได้น่ารักมากๆๆ


โดย: เจ้าเหมี๋ยวน้อย IP: 117.47.26.197 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:29:50 น.  

 


ขอบคุณนะค่ะที่ทำหั้ยงานหนูเสร็จถ้าไม่ได้พี่ก็คงมายเสร็จหวังว่าจะเจอกันใหม่


โดย: วัดดีค่ะ โมจิค่ะ IP: 58.10.99.19 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:38:51 น.  

 
หนูทำพืิ้้้้้นหลังน่ารักดี แต่ขอให้พืิ้้้นสีดำของตัวแกะให้จางก็จะอ่านง่ายกว่านี้มากจ๊ะ(ทำให้มองไม่เห็นตรงพื้นที่สีดำจ๊ะ)


โดย: ผู้ใหญ่จัง IP: 202.29.42.38 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:12:20:20 น.  

 
ขอบคุณนะครับที่ให้ความรู้เพิ่มเติม จากไม่ค่อยรู้ก็เริ่มรู้เพิ่มมากขึ้น
ขอบคุณจริง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ


โดย: Pae_1984 IP: 202.57.129.50 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:15:32:13 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ


โดย: ไหม IP: 202.151.41.3 วันที่: 13 เมษายน 2551 เวลา:1:05:02 น.  

 
อยากทราบว่าต้องมีรายได้เท่าไหร่ถึงจะต้องเสียภาษี


โดย: กาญ IP: 125.27.161.78 วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:15:52:13 น.  

 
ข้อมูลเป็นประโยชน์มากค่ะ ขอขอบคุณจากใจจริง


โดย: น้อง ปาย IP: 118.172.131.176 วันที่: 8 สิงหาคม 2551 เวลา:9:43:42 น.  

 
สวัสดีครับเนื้อหาเป็นประโยชน์มากเลยครับ เพราะนำไปประกอบการเรียนได้ครับ ขอบคุณ


โดย: นายมงคล ศรีสมพร IP: 58.147.33.64 วันที่: 29 สิงหาคม 2551 เวลา:19:20:11 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ


โดย: 001คะ IP: 118.175.181.36 วันที่: 26 ตุลาคม 2551 เวลา:18:50:07 น.  

 
หาอะรัยก็ไม่เจอ ตาลายหมดแล้ว


โดย: แกม IP: 118.173.52.60 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:02:51 น.  

 
ขอบคุณอีกคนน่ะ
ที่ให้ข้อมูลดีๆแก่เรา


โดย: ปุ๋ย IP: 202.29.83.65 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:10:44:08 น.  

 
พะพ


โดย: พะ IP: 118.175.88.187 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:32:24 น.  

 
0843453194 โทรกลับด้วย


โดย: นัท IP: 118.175.88.187 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:34:44 น.  

 
น่ารักจัง
ขอบคุณนะคับ


โดย: คิม IP: 115.67.114.10 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:11:56:27 น.  

 
แล้วกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งล่ะค่ะ
เสียภาษีอย่างไร
สมมติว่า ผู้ตาย มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ทายาท(ภรรยา และบุตร)ได้จัดการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเรียบร้อยแล้ว ต่อมาขายที่ดินแปลงนี้ได้ ในราคา สมมติ 3 ล้านบาท
ทายาทจะต้องจัดการเสียภาษีอย่างไรบ้างค่ะ


โดย: ศลิษา IP: 58.136.224.166 วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:21:36:52 น.  

 
จะหักลดหย่อนตนเอง คือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งได้ 30000 บาท หักลดหย่อนนี่หักตามปีถือครองหรือไงอะค่ะ แล้วปีถือครองนี่ นับแต่ผู้มีเงินได้เสียชีวิต หรือนับตั้งแต่ทายาทไปโอนที่ดินให้เป็นชื่อผู้จัดการมรดก


โดย: ศลิษา IP: 58.136.224.166 วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:21:40:51 น.  

 
ตอบ คห.30
1.ผู้เป็นโสด (โสดคือไม่จดทะเบียนสมรส) มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30000 บาท (เงินได้พึงประเมินตาม 40(1)-40(8) ก่อนหักค่าใช้จ่ายหักลดหย่อน เสียไม่เสียต้องยื่นแบบ)
2.ผู้มีคู่สมรส มีเงินได้ฯ ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือ 2 ฝ่ายรวมกันเกิน 60000 บาท
3.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้ฯ เกิน 30000 บาท
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลที่มิใช่คณะบุคคล มีเงินได้ฯ 30000 บาท
5. แล้วก็วิสาหกิจชุมชน ซึ่งห่างไกลจากกรณีเรา (และเราก็ไม่ค่อยเข้าใจด้วย)

สามีภรรยา อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ถือว่าเงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี
ถ้าภรรยามีเงินได้ตาม 40(1) อยากจะแยกยื่นแบบให้ใช้ ภ.ง.ด.91


โดย: ศลิษา IP: 58.136.224.166 วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:21:56:47 น.  

 


โดย: peter125 (steven1064 ) วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:3:09:05 น.  

 


โดย: peter125 (steven1064 ) วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:8:40:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

K-modjung
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add K-modjung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.