space
space
space
<<
ตุลาคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
18 ตุลาคม 2561
space
space
space

Investor Joe กับสายการบิน (1)




Investor Joe กับสายการบิน (1)



(รูปจาก google)


เขียนเมื่อ 8/23/18


ความทรงจำของ Investor Joe เกี่ยวกับเครื่องบินเริ่มต้นที่สนามบินดอนเมือง (DMK) เมื่อคุณพ่อพาไปรับคุณแม่กลับมาจากการดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อยังเด็กมากจำได้ว่าที่ DMK เคยมีที่ให้ดูเครื่องบินที่ชั้นสองคุณพ่อก็พาไปนั่งดู เป็นความรู้สึกที่ตื่นเต้นมากเมื่อได้เห็นเครื่องบินขึ้นลงนึกสงสัยอย่างเด็กว่ามันบินได้อย่างไรตั้งแต่วันนั้นก็ฝันว่าสักวันจะได้นั่งเครื่องบินกับเขาเสียบ้าง


ฝันก็เป็นจริง จากวันนั้นจนวันนี้ InvestorJoe ได้มีโอกาสขึ้นเครื่องบินนับครั้งไม่ถ้วนเนื่องจากต้องใช้ชีวิตไปๆมาๆ ระหว่างเมืองไทยกับอเมริกา ยังรู้สึกตื่นเต้นและสงสัยในคำถามเดิมเสมอเมื่อได้ขึ้นเครื่องบินเมื่ออยู่ที่สนามบินก็มักจะสอดส่องดูว่าสายการบินนี้ใช้เครื่องบินยี่ห้ออะไรรุ่นอะไร เมื่อได้ขึ้นไปนั่งแล้วก็จะอ่านนิตยสารของสายการบิน ตรวจตราดู decoration สอดส่องการบริการของพนักงานต้อนรับ เวลาอยู่ที่บ้านก็จะนั่งดู YouTube เกี่ยวกับเรื่องสายการบิน, Aviation Technology, ธุรกิจสนามบิน, การตั้งราคาตั๋ว, etc. ในช่วงเวลากลางคืนก่อนนอนบ้างเมื่อมีความรู้เรื่องสายการบินมากเข้า ก็แปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของสายการบินขึ้นมา แต่จะให้ไปเริ่มต้นด้วยตัวเองคงจะไม่ไหวสุดท้ายก็เข้าอีหรอบเดิมนี่แหละ หาเอาในตลาดหลักทรัพย์เหมือนเดิม


พอเริ่มศึกษาเรื่องหุ้นสายการบิน InvestorJoe ก็มักจะได้ยินคนพูดซ้ำๆ ว่านักลงทุนควรจะออกห่างจากหุ้นสายการบินเพราะมีแต่จะขาดทุน มีแต่จะกินเงินเรา มีข่าวว่าสายกันบินนั้นสายการบินนี้ล้มละลายและจำเป็นต้องควบรวมกันเพื่อความอยู่รอดเป็นว่าเล่นพอ Investor Joe ไปแกะงบฯ สายการบินในเมืองไทยย้อนหลังไม่ว่าจะเป็น THAI, BA, NOK, AAV ต่างมีช่วงเวลาที่ขาดทุนกันถ้วนหน้าแต่ละครั้งก็มิใช่น้อย เป็นร้อยเป็นพันล้านบาท มันก็จริงอย่างที่เขาว่ากันนะ! โดยเฉพาะไตรมาส 2/61 ที่ผ่านมายิ่งเห็นสีแดงชัดเจนถนัดตาแล้วมันมีสายการบินไหนไหมที่ไม่ขาดทุนเนี่ย?


ในคลังความรู้อันน้อยนิดของ Investor Joe ก็เห็นว่า เอ . . . . มีอยู่สายการบินหนึ่งนะที่เพิ่งประกาศว่าตั้งแต่ดำเนินกิจการมา 45 ปีเขาไม่เคยขาดทุนเลย อีกทั้งยังมีกำไรและจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอทุกปีอีกด้วยโดยเฉพาะ 5 ปีหลังสุดนี่เติบโตแบบก้าวกระโดดเลยสายการบินนั้นก็คือ Southwest Airlines ของประเทศสหรัฐอเมริกานี่เอง Southwest Airlines นี่เป็นสายการบินแบบ LCC หรือ Low-Cost-Carrier ที่เน้นไปในที่เส้นทางบินภายในประเทศ (แต่อย่าลืมว่าอเมริกานี่มัน ‘ใหญ่มาก’ ภายในประเทศของเขาก็ใหญ่กว่า Southeast Asia เราแล้ว) โดยสายการบินแบบ LCC นั้นมีโมเดลธุรกิจในภาพใหญ่ คือ เสนอตั๋วโดยสายในราคาต่ำแบบ “ใครๆ ก็บินได้” และไม่มีบริการอาหาร/เครื่องดื่ม/โหลดกระเป๋าฟรีแบบที่ Full-Service-Carrier มี วันนี้ Investor Joe เพิ่งอ่านข่าวว่า Southwest Airlines มีโปรโมชั่นด้วยราคาเริ่มต้นแค่ $39 (ในเวลาจำกัด) เท่านั้นเอง


ถูกจริงๆ ครับ!


ซึ่งการได้มาซึ่งราคาตั๋วที่ต่ำนั้น ก็ทำให้ Southwest Airlines และ LCC เจ้าอื่นเช่น RyanAir, EasyJet, WestJet, IndiGo, etc. ต้องมีวิธีการดำเนินธุรกิจที่พิเศษหน่อยเท่าที่ Investor Joe ได้สังเกตดู มีดังนี้


1) ใช้เครื่องบินยี่ห้อเดียว รุ่นเดียว จะได้ซื้อมาแบบ whole sale ลดราคาได้ อีกทั้งทำให้มีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่าการมีเครื่องบินหลายแบบ Southwest Airlines นี่ใช้ Boeing 737 family


2) ใช้สนามบินรองเป็นฐาน จะมีค่าเช่าใช้บริการที่ต่ำกว่าสนามบินหลักที่บางสนามบินก็เลือกไม่ใช้ jet bridgeให้ลูกค้าเดินไปขึ้นเครื่องเอาเอง แบบว่าประหยัด


3) ให้เครื่องบินจอดอยู่บนพื้นดินสั้นที่สุดเพื่อเพิ่ม utilization rate ยิ่งเครื่องบิน take-off เร็วเท่าไร ก็สามารถขนส่งผู้โดยสารได้หลายเที่ยวต่อลำ/ต่อวันได้มากขึ้นเท่านั้น เท่ากับรายได้ที่มากขึ้น


4) ค่าตั๋วโดยสารที่มีราคาต่ำทำให้มี load factor ที่สูงเพราะเป็นราคาที่ลูกค้าซื้อได้ เมื่อบนเครื่องมีที่ว่างเหลือไม่มากความเสี่ยงที่เที่ยวบินนั้นจะขาดทุนก็ลดน้อยลงเพราะเก้าอี้ว่างแต่ละตัวมีต้นทุนที่สูง


5) มีตั๋วแบบเดียว คือ economy class ทำให้สามารถใส่ที่นั่งในเครื่องบินได้มากขึ้น ไม่ต้องไปเสียที่เปล่าๆ ไปกับ business หรือ first class ที่นั่งก็เป็นแบบธรรมดาที่สุดเอนไม่ได้ แบบว่าเอาแค่ให้นั่งไปถึงที่หมาย เมื่อขนผู้โดยสารต่อลำได้จำนวนมากขึ้นก็เท่ากับรายได้ที่มากขึ้น


6) นอกจากค่าตั๋วโดยสารแล้วคิดเงินแม่งทุกอย่าง ตั้งแต่ ภาษีน้ำมัน, ภาษีสนามบิน, TAX, ค่าโหลดกระเป๋าค่าเลือกที่นั่งก่อน, ค่าพิมพ์ boarding pass, ค่าอาหารเครื่องดื่ม, ขายบริการเสริมต่างๆ เช่นประกันการเดินทาง, cargo, tour package, etc. ผลักภาระมาที่ผู้บริโภคทั้งหมด


7) เมื่อไม่ต้องบริการอะไรมากมายบนเครื่องบินจำนวนพนักงานบนเครื่องบินก็น้อยลง ประหยัดอีกต่อ


8) ลงทุนกับระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการเรื่องบนพื้นให้ลูกค้าจัดการชีวิตตัวเองให้มากที่สุด จำนวนพนักงาน ground ก็จะน้อยลง ประหยัดได้อีกเหมือนกัน


สรุป - อะไรประหยัดได้ก็ประหยัดให้แม่งสุดเหวี่ยงอะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดออกให้หมด นิสัยขี้งกแบบนี้ เข้าทาง Investor Joe คนงกเลยครับ การลดต้นทุนที่ควบคุมได้ นี่แหละ คือ “หัวใจ” ของสายการบิน LCC และ “ชีวิต”ของ Investor Joe กับภรรยาเลย ส่วนต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้หลักของธุรกิจสายการบินคือ jet fuel ซึ่งคิดเป็น 30-35% ของรายจ่ายทั้งหมดก็ต้องทำ hedging ตามสมควรแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก จะไปทำอะไรกับระบบตลาดได้ หากราคาน้ำมันขึ้นสูงก็ต้องไปกินกำไรอยู่ดี อย่างไรก็ตามถ้าสายการบินสามารถสร้างรายได้ที่มากขึ้นจากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและจำนวนเครื่องบินพร้อมทั้งดำเนินการลดต้นทุนและควบคุมรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ สร้าง cashflow ที่เป็นบวก อย่างไรเสียก็ยังมีกำไรในวันที่ฟ้าหม่นคงเหมือนกับคนที่มีน้อยใช้ให้น้อยกว่า ยังไงก็มีเงินเหลือเก็บครับ


ระหว่างที่รอบทความ “Investor Joe กับสายการบิน” ตอน 2 เพื่อนๆ ก็ลองใช้หลักการของ LCC นี้มองไปที่สายการบินที่มีอยู่ในบ้านเรานะครับเผื่อจะเจอสายการบินที่พอจะมีความสามารถในการทำกำไรได้บ้าง เมื่ออ่านให้เข้าใจหลักการอย่างถี่ถ้วนเผลอๆ จะเอาไปปรับใช้ในชีวิตของเพื่อนๆ เองได้ด้วยครับ


รออ่านตอน
2 กันนะครับวันนี้ขอลาก่อย




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2561
0 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2561 22:58:42 น.
Counter : 410 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

drparinyamusic
Location :
Ann Arbor, Michigan United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am a classical musician who conducts, arranges, composes, performs, and administers musical events. Besides classical music, I am an avid cook who specializes in Thai comfort food, as well as an amateur stock-market investor. I live in Ann Arbor, Michigan but spend summer months in Bangkok, Thailand.

Please visit https://www.joeparinya.com to learn more about me.

space
space
[Add drparinyamusic's blog to your web]
space
space
space
space
space