Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 

น้ำกระด้าง หนึ่งในสาเหตุปัญหาผิวที่อยู่ใกล้ตัว

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม



คุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาผิวเพราะน้ำหรือเปล่า ? ..หลาย ๆ คนมีปัญหาเกี่ยวกับผิวที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ไม่ว่าจะเป็นผิวแห้งแดง เป็นผื่น ลอก และคัน แม้จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิวมาหลายยี่ห้อ หรือลองใช้ยารักษาดูแล้ว แต่สุดท้ายปัญหาเดิม ๆ ก็ยังคงกลับมา บางทีผิวของคุณอาจไม่ได้มีปัญหาเพราะตัวของมันเอง หรือเพราะแพ้สารประกอบใด ๆ ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิวหนังก็เป็นได้ แต่ตัวการที่อยู่เบื้องหลังอาการเหล่านี้กลายเป็นสิ่งใกล้ตัวอย่างคาดไม่ถึง นั่นก็คือ "น้ำ" เพราะแม้จะมีผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาผิวสวยที่ดีเพียงใด แต่หากน้ำที่คุณใช้อยู่ทุกวันไม่เป็นมิตรกับผิวพรรณ ก็ทำให้เกิดปัญหาผิวขึ้นมาได้ และน้ำที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาผิวนี้ ก็คือ "น้ำกระด้าง" นั่นเอง

"น้ำกระด้าง" คือน้ำที่มีการเจือปนของแร่ธาตุสูง และมีค่า pH เป็นด่าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือน้ำกระด้างชั่วคราว และน้ำกระด้างถาวร โดยน้ำกระด้างชั่วคราวจะมีสาร แคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ผสมอยู่ ส่วนน้ำกระด้างถาวรจะมีเกลือคลอไรด์ และเกลือซัลเฟต ของแคลเซียมและแมกนีเซียม (แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมคลอไรด์ และ แมกนีเซียมซัลเฟต) ปะปนอยู่ในน้ำ โดยน้ำที่สูบขึ้นมาใช้จากใต้ดินหรือน้ำบาดาล ก็นับว่าเป็นน้ำกระด้างเช่นเดียวกัน และในบางครั้ง น้ำประปาในบางพื้นที่ก็มีค่าความเป็นด่างหรือค่าความกระด้างอยู่สูงได้ด้วย

ปัญหาผิวที่เกิดจากน้ำกระด้างนี้ เหตุเพราะแร่ธาตุในน้ำทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์สำหรับผิว หรือสบู่ที่เราใช้ ทำให้ไม่เกิดฟองหรือมีฟองน้อย และเกิดสิ่งที่เรียกว่า "ไคลสบู่" ขึ้น ซึ่งตัวไคลสบู่นี้เองที่กลายเป็นคราบเกาะอยู่ที่ผิว ทำให้รู้สึกสาก ไม่สบายตัว และสามารถเข้าอุดตันรูขุมขน ก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังตามมาได้ ทั้งสิว ผิวเกิดอาการแพ้ แดง คัน จนกระทั่งผิวแห้ง และลอก รวมทั้งยังกระตุ้นให้คนที่มีอาการผิวหนังแดงผิดปกติด้วยภาวะ "โรซาเซีย" (Rosacea) ยิ่งมีผิวแดงและแพ้ง่ายมากขึ้น

นอกจากนี้น้ำกระด้างยังมีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนกับโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) ซึ่งปรากฏเป็นอาหารผื่นแดง มีตุ่มน้ำ และอาจพบว่ามีน้ำเหลืองเยิ้มร่วมด้วย โดยอาการผิวหนังอักเสบนี้เกิดจากแร่ธาตุในน้ำทำให้ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นไป ทั้งสารประกอบแคลเซียม และแมกนีเซียม ยังทำปฏิกิริยากับน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว ทำให้น้ำมันหล่อเลี้ยงผิวมีความหนาแน่นมากขึ้น และเปลี่ยนรูปจากของเหลวไปเป็นสถานะที่แข็งและหนืดขึ้น กลายเป็นแว็กซ์หรือขี้ผึ้ง ซึ่งจะเข้าอุดตันรูขุมขน อันทำให้เกิดสิวหรือตุ่มแดงตามมา และแม้จะใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ระบุว่า "ไม่อุดตันรูขุมขน" ก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาจากน้ำกระด้างที่เกิดกับผิวได้ ถึงจะล้างหน้าและซับหน้าจนแห้งสะอาดแล้ว แร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำก็ยังคงเกาะติดอยู่กับผิวหน้า และยังคงทำปฏิกิริยากับน้ำมันตามธรรมชาติบนผิวหน้า ทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขนได้เช่นเดิม นอกเหนือจากปัญหาที่ทำให้ผิวเกิดสิวหรืออาการอักเสบระคายเคืองแล้ว แร่ธาตุที่เจือปนในน้ำดังกล่าว ยังเป็นตัวต้นเหตุอย่างหนึ่งในการทำลายคอลลาเจนในผิวหนัง ทำให้ผิวเกิดรอยเหี่ยวย่นตามมาอีกด้วย

ส่วนการหลีกเลี่ยงปัญหาผิวพรรณที่เกิดจากน้ำกระด้าง ทำได้โดยการปรับสภาพน้ำให้เป็นกลาง โดยน้ำกระด้างชั่วคราวนั้นสามารถปรับสภาพได้โดยการต้ม ซึ่งนอกจากจะทำให้แคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต แยกตัวออกจากน้ำ ตกตะกอนกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่าตะกรันแล้ว ยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่มีอยู่ในน้ำด้วย แต่วิธีการนี้เหมาะกับการบำบัดน้ำในปริมาณน้อย หรือเพื่อใช้ในการบริโภคเท่านั้น แต่หากเป็นน้ำปริมาณมากที่ใช้เพื่อการอุปโภคอย่างการ อาบน้ำ ล้างหน้า สระผมแล้ว การใช้เครื่องกรองน้ำที่มีไส้กรองเรซิ่น และการเติมสารซีโอไลต์ ซึ่งสามารถปรับสภาพน้ำกระด้างถาวรได้ น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

เพื่อไม่ให้ผิวสวย ๆ ของสาว ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวกายหรือผิวหน้า ต้องเผชิญกับปัญหากวนใจจากนํ้ากระด้าง ใส่ใจเรื่องคุณภาพน้ำ และลงทุนสักนิดเพื่อผิวสวยในระยะยาวของเรากันดีกว่าค่ะ


เรื่องราวผู้หญิง ความสวยงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2554
0 comments
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 18:03:14 น.
Counter : 1175 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


JitJai
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add JitJai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.