Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

ด่วน!! จ่อกรุงแล้ว เจ้าพระยาทะลัก กรุงอ่วม ธูปะเตมีย์ท่วมแล้ว

เจ้าพระยาทะลัก กรุงอ่วม ธูปะเตมีย์ท่วมแล้ว

บางกระบือจม-พนังรั่ว เอ่อล้นเข้ามธ.ศูนย์รังสิต ศปภ.ชี้น้ำเหนือลดลง หลังระบายออกตอ.-ตต.

จ่อกรุง - มวลน้ำจากรังสิตไหลบ่าเข้ามาถึงถนนวิภาวดีรังสิตบรรจบพหลโยธิน บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เข้าท่วมสนาม กีฬาธูปะเตมีย์ ลำลูกกา บางส่วนทะลักถึงหน้าเซียร์แล้ว

จ่อกรุงแล้ว น้ำเหนือถึงธูปะเตมีย์ ท่วมถนนวิภาวดีรังสิตการจราจรวุ่น ด้านพหลโยธินก็ท่วมหนัก ห้างยักษ์ปิดตัว โรงพยาบาลภูมิพลส่งผู้ป่วยหนักขึ้นฮ.ส่งต่างจังหวัด น้ำเข้า'ศิริราช'แล้ว กทม.สั่งเขตริมเจ้าพระยาแจ้งเตือนประชาชนอพยพจากพื้นที่ ทัพเรือเข้าช่วยอุด พนังชุมชนเขียวไข่การั่ว น้ำทะลักบางกระบือ ท่วมโรงเรียนราชินีบนสูง 1 เมตร น้ำคลองประปายังทะลัก ลามท่วมแจ้ง วัฒนะ 'ปู'แจงผ่านสื่อเหตุประกาศใช้ม.31 สั่งเฝ้าระวังทุกเขตสำคัญ ขอคนกทม.เฝ้าระวัง ขนของสูง 1 เมตร แย้มกรุงไม่ท่วมทุกพื้นที่ แต่เป็นส่วนลุ่มต่ำ และรอยผ่านของน้ำ ก่อนลุยตรวจน้ำท่วมจ.นนทบุรี ขอให้ประชาชนอดทน รัฐบาลกำลังเร่งระบายน้ำ กปน.เร่งซ่อมคลองประปาคืบหน้ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว 'รอยล'เผยข่าวดีผันน้ำออกตะวันออก-ตะวันตกได้ดี คาดน้ำเข้ากรุงไม่เกิน 5 พันล้านลบ.ม. เชื่อกรุงท่วมไม่เกิน 50 ซ.ม. สุขุมพันธุ์โต้ขัดคำสั่งนายกฯ เปิดประตูน้ำ เผยนายกฯ สั่งให้เปิดตามความเหมาะสม ไม่กระทบประชาชน ยันร่วมมือเต็มที่ ไม่เคยเล่นการเมือง

ปูแจงเหตุใช้มาตรา 31

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนว่า สถานการณ์น้ำเริ่มใกล้มาถึงกทม.ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจและการบริหารประเทศ ดังนั้นนโยบายการบริหารน้ำต้องร่วมกันวางแผนรักษาพื้นที่สำคัญต่างๆ เช่น สถานที่สำคัญทางประวัติ ศาสตร์ เขตพระราชฐาน โรงพยาบาล สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง สถานีรถไฟฟ้า สถานีขนส่ง ทางด่วน การจราจรต้องไม่เป็นอัมพาต รวมถึงการดูแลโรงงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อสาธารณูปโภค เช่น โรงงานผลิตน้ำประปา การไฟฟ้า และเส้นทางคมนาคมขนส่งเพื่อลำเลียงสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาดและกระจายสินค้าให้ทั่วถึง

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้กระทบทรัพย์สินและชีวิตจึงจะต้องเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนเร็วที่สุด ซึ่งการบริหารจัดการต้องทำงานร่วมกัน และมีประสิทธิภาพ ต้องทำงานสัมพันธ์กันทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องประกาศอำนาจควบคุมตามพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตรา 31 อย่างไรก็ตาม ศปภ.ยังคงเป็นศูนย์กลางการจัดการเหมือนเดิม แต่เพื่อให้การบริหารทั้งระดับประเทศและท้องถิ่นทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์และเพื่อให้การทำงานถึงพี่น้องประชาชนอย่างรวดเร็ว

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ช่วงวันที่ 28-30 ต.ค. เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง จึงสั่งการให้กรมชลประทานเตรียมแผนรับมือ ทั้งเรื่องการระบายน้ำ ควบคุมประตูระบายน้ำ ปิดเขื่อนที่เป็นทางผ่านของน้ำเพื่อให้น้ำชะลอลง ซึ่งจะควบคุมในส่วนที่เป็นทางผ่านของน้ำได้ และอยากให้ประชาชนเตรียมรับมือ ต้องไม่ตระหนกแต่ก็อย่าประมาท

ขอทุกฝ่ายร่วมมือกัน

เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ถึงการประกาศใช้มาตรา 31 พ.ร.บ.ป้องกันสาธารณภัยว่า ต้องรอฟังผลจากคณะทำงานที่คอยติดตามในแต่ละจุดที่สั่งการไป ว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ส่วนกทม.เปิดประตูเต็มที่ตามคำสั่งหรือไม่ ต้องรอฟังรายงาน เพราะจากที่ดูเห็นว่าบางจุดเปิดไม่เต็มที่ จึงต้องใช้มาตรา 31 ให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วนปฏิบัติตาม เพราะการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ไม่สามารถเปิดแช่ได้ ช่วงไหนน้ำลงเราถึงเปิด ช่วงไหนปริมาณน้ำมาก ต้องชะลอน้ำไว้ ซึ่งเราคาดหวังว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือ เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพเต็มที่

เมื่อถามว่ากรณีที่ยังไม่ได้รับความร่วมมืออีกจะนำมาตรา 157 เรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาใช้บังคับหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องดูรายละเอียดเป็นขั้นตอน ยังไม่อยากไปนั่งจับผิดกัน ถ้าทุกคนทำตามหน้าที่เต็มที่ก็จะได้รับความร่วมมือ การแก้ปัญหาจะได้เป็นไปตามแผน ส่วนที่ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ระบุหากน้ำท่วมกทม.อยู่เหนือความรับผิดชอบ เพราะไม่มีอำนาจในมือแล้ว ต้องชี้แจงว่าแม้จะใช้มาตรา 31 แต่อำนาจบริหารยังมีอยู่เหมือนเดิม ขอให้ช่วยกัน อย่ามัวไปมองว่าพื้นที่ใคร ควรมองว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน อะไรที่เราช่วยกันได้ก็น่าจะทำ

ขอโทษบอกล่วงหน้าลำบาก

เมื่อถามว่าขณะนี้พูดได้หรือยังว่าคนกทม.ต้องเตรียมรับมือกับสภาพน้ำท่วม น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขอให้เราอยู่ในความไม่ประมาท อยากให้คนกทม.เตรียมตัว แต่อย่าตกใจเกินไปจนรีบตุนสินค้า เพราะจะทำให้ขาดแคลน ตามหลักปกติของการระบายน้ำ มวลน้ำที่สูงก็อาจจะมีโอกาสทะลักบ้างในบางพื้นที่ แต่ถ้าแนวคันกั้นน้ำบางแห่งพังหรือทรุดลง ก็อาจมีการท่วมขังสูงขึ้นได้ ทั้งนี้ขอให้สังเกตตามแนวคันกั้นน้ำ แนวท่อระบายน้ำว่าไหลล้นหรือไม่ แต่เราก็สู้และป้องกันอยู่

"ต้องขออภัยประชาชน บางทีมันยากที่จะบอกได้ล่วงหน้า บางครั้งมีปัจจัยที่เกินความคาดหมาย ถ้าบอกเร็วเกินไปก็จะทำให้ประชาชนตกใจ และเกิดความผิดพลาด จึงขอใช้คำว่าเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดดีกว่า ส่วนพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษก็เป็นไปตามที่ได้ประกาศไปแล้ว ยังไม่มีพื้นที่ไหนเพิ่มเติม" นายกฯ กล่าว

เฝ้าระวังจุดเสี่ยงทั้งหมด

เมื่อถามว่าคันกั้นน้ำที่ป้องกันพื้นที่กทม.ชั้นในยังปลอดภัยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จุดที่ต้องเฝ้าดูคือประตูน้ำจุฬา ลงกรณ์ ที่ต้องรับน้ำสูงมาก แต่เบื้องต้นให้วิศวกรไปดูความแข็งแรงของเขื่อนไม่มีปัญหา คงไม่พัง แต่ถ้าน้ำมามากหรือแนวคันกั้นน้ำส่วนบนทะลักมาก็ทำให้น้ำล้นได้ จึงต้องเฝ้าระวัง เมื่อถามว่าวันนี้ศปภ.ระบุควบคุมน้ำที่คลองประปาได้แล้ว แต่ทำไมยังเกิดปัญหาน้ำเข้าท่วมเขตดอนเมืองและหลักสี่มากขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เป็นส่วนที่ทะลักอยู่ก่อน เมื่อซ่อมแซมประตูเรียบร้อยแล้วจะต้องสูบน้ำออก

หากท่วมก็ไม่ทุกเขต

นายกฯ กล่าวยืนยันว่า หากกทม.น้ำท่วมจะไม่ท่วมเต็มพื้นที่ทุกเขต จะท่วมเฉพาะรอยต่อหรือทางผ่านของแนวเขื่อนหรือแนวระบายน้ำ ซึ่งต้องคอยติดตามจุดที่เราเฝ้าระวังภัยเอาไว้ เช่น คลองหกวา ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเราพยายามให้น้ำออกไปทางคลองระพีพัฒน์ และคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เมื่อถามว่าระดับน้ำที่เข้าท่วมบางพื้นที่ของกทม.จะสูงแค่ไหน น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า บอกยาก เพราะแต่ละพื้นที่สูงต่ำไม่เหมือนกัน กทม.ด้านล่างจะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ บางพื้นที่อาจจะท่วมไม่ถึงเมตร หรือ 50 ซ.ม. บางพื้นที่อาจเมตรกว่า

ส่วนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว. วิทยาศาสตร์ฯ เตือนว่ากทม.จะท่วมเต็มพื้นที่และน้ำสูง 1 เมตรกว่านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เป็นการประเมินในกรณีที่แย่สุดที่เราควบคุมอะไรไม่ได้เลย หมายถึงเขื่อนต่างๆ หลุดหมด แต่วันนี้เราพยายามฝืนสู้กับตรงนี้อยู่เพื่อชะลอ ไม่ให้น้ำท่วมสูงมากจนเกิดความเสียหาย

เชื่อยังรับมือได้

เมื่อถามว่าโอกาสที่เราจะควบคุมอะไรไม่ได้เลยมีมากขนาดไหน นายกฯ กล่าวว่า ยังเชื่อว่าถ้าร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่น่าจะควบคุมได้ระดับหนึ่ง แต่ปัจจัยที่ลำบากคือการระบายน้ำไปทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกทำได้ยาก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันออกที่เป็นแอ่งและต้องช้อนขึ้น ซึ่งเราเร่งสูบน้ำออก ส่วนทางตะวันตกก็เป็นพื้นที่สูง น้ำจึงมากองตรงกลางแถวคลองเปรมประชากร ถ้าเราหยุดไม่อยู่น้ำจะไหลมายังพื้นที่ กทม.ได้ ส่วนที่ระบุว่าประชาชนต้องผจญกับน้ำท่วมเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ เป็นการประมาณการถึงพื้นที่ทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะกทม. เพราะน้ำจะค่อยๆ ระบายลงมา แต่เราจะเร่งระบายให้เร็วกว่านั้นเท่าที่จะทำได้ ขึ้นอยู่ที่ขั้นตอนและมาตรการต่างๆ ที่ประกาศและเตรียมไว้ ถ้าทำได้ก็จะทุเลา




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2554
0 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2554 14:16:56 น.
Counter : 583 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


NEWSU_CHADA
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add NEWSU_CHADA's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.