นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง




นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ควรจะดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้องกันหรือไม่ ?

คำตอบคือ 'ควรเป็นอย่างยิ่งครับ' เพราะไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายการเงินหรือการคลัง ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน คอยแตะเบรกเวลาที่เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป หรือคอยเสริมในเวลา ที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง ดังนั้น ถ้าหากสองนโยบายจากธนา คารกลาง และจากกระทรวงการคลังไม่สอดคล้องกัน เช่น นโยบายการเงินตึงตัว ขณะที่นโยบายการคลังขยายตัว ผลที่ได้ต่อเศรษฐกิจย่อมจะถูกหักล้างกันเอง แล้วอาจจะยังทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และคาดเดาผลที่จะมีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ยาก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการบริโภคและการลงทุน และเป็นผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในที่สุด


การมีความรู้-ความเข้าใจในการดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลัง จะช่วยให้เราประเมินได้ครับ ว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบใด นโยบายการเงินและการคลังควรจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวของเราทั้งในการวางแผนเพื่อการบริโภค และการลงทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงในภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีครับ

สุดท้าย ผมขอสรุปสาระสำคัญของทั้งนโยบายการเงิน นโย บายการคลัง ดังนี้นะครับ นโยบายการเงิน(Monetary Policy) ความหมายคือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้

1.การลด-เพิ่มปริมาณเงินในระบบ

2.การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (หรือเรียกว่า ด/บ นโยบาย หรือ ด/บ มาตรฐาน)

3.การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราระหว่างประเทศ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐ กิจที่เราต้องการ ดังนี้


1.เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต (Economic Growth)

2.เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Economic Stability)

3.เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเสมอภาค (Economic Equity) หรือ การกระจายรายได้อย่างยุติธรรมและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางการเงิน คือ Bank ชาติ หรือ ธนาคารกลางของประเทศเรา คือ ธปท.


นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้

1.การใช้มาตรการเพิ่ม-ลดภาษี

2.การเพิ่ม-ลดการก่อหนี้สาธารณะ

3.รายจ่ายสาธารณะ (รัฐบาลสามารถเพิ่ม-ลดรายจ่ายประ จำปี) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจตามที่ต้องการ

1.เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต (Economic Growth)

2.เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Economic Stability)

3.เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเสมอภาค (Economic Equity) ผู้ดูแลกระทรวงการคลัง คือ รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ผ่านสภา ตราเป็น พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ทำหน้าที่ในการนำนโยบายไปใช้ปฏิบัติครับ ในปัจจุบัน นโยบายการเงิน-นโยบายการคลัง ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน แต่ปัจจุบันยังมีเป้าหมายทางสังคมด้วย คือ ทำให้สังคมอยู่ดี มีสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นด้วยครับ.


ส่งสารพันปัญหาเงินทองมาสอบถามได้ที่ 1850-1852 ซอยไทยโพสต์ ถ.เกษมราษฎร์ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110 หรือทางแฟกซ์ 0-2249-0295, 0-2249-0299

อ่านต่อได้ที่ : //www.ryt9.com/s/tpd/1123119



Create Date : 19 เมษายน 2560
Last Update : 19 เมษายน 2560 12:59:18 น.
Counter : 3963 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Josephine est le Chat
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เมษายน 2560

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30