กับดัก กับ สภาพคล่อง


กับดัก กับ สภาพคล่อง

 

ในขณะที่รัฐบาลกำลังปวดหัวกับทั้งปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจถดถอยจากสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า พิษแฮมเบอร์เกอร์ หรือ ซับไพร์ม แต่สิ่งที่มาตรการของรัฐที่ได้ประกาศใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจจะพบกับปัญหากับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap) ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวในวงการเศรษฐศาสตร์ วันนี้เราจะมาคุยกันครับว่ากับดักสภาพคล่องคืออะไรครับ


          คำว่ากับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap) เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวในทางเศรษฐศาสตร์เนื่องจากเป็นปัญหาที่แก้ยากมาก โดยมีประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงหลายครั้งในหลายประเทศ รวมทั้งในประเทศไทยหลังวิกฤติการณ์เศรษฐกิจปี 2540 คำว่า “กับดักสภาพคล่อง” ได้มีการพูดถึงตั้งแต่สมัยของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) เมื่อ 75 ปีก่อน และได้เริ่มมีการพูดกันมากขึ้น ในวงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐเร็วๆ นี้


          กับดักสภาพคล่อง แยกออกเป็นสองคำนะครับคือคำว่า “กับดัก (Trap)” และคำว่า “สภาพคล่อง (Liquidity)” คำว่ากับดักนี่เราไม่ต้องอธิบายนะครับว่าคืออะไร เพราะว่าเราคงทราบอยู่แล้ว แต่คำว่าสภาพคล่อง แปลง่ายๆ ก็คือเรามีสภาพคล่องในทางการเงินแค่ไหน ถ้าเรามีเงินสดเยอะก็แปลว่าเรามีสภาพคล่องเยอะ จะใช้อะไรก็ไม่ต้องกลัว คำว่าสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจแปลว่าในระบบเศรษฐกิจมีเงินสดอยู่เยอะ โดยส่วนใหญ่จะฝากไว้ที่ธนาคาร หรือไม่ก็เก็บไว้ที่บ้าน เช่น ฝังตุ่มเป็นต้น แต่พอสองคำมารวมกันแปลว่าเราติดกับดักที่เรามีเงินสดในระบบเศรษฐกิจเยอะ ฟังแล้วงงใช่มั๊ยครับ มาดูตัวอย่างจริงกันดีกว่าครับ

เศรษฐกิจถดถอย กับกับดักสภาพคล่อง

 


 

สภาวะเมื่อเกิดกับดักสภาพคล่อง

 

จากข้างต้น ปัญหา 1) และ 2) เป็นปัญหาวนลูป วนไปวนมาๆๆๆ จนเวียนหัว (ลองคิดตามไปสิครับ แล้วจะเวียนหัว) ไม่ว่าจะลดดอกเบี้ยต่ำแค่ไหน เรื่องจริงเกิดขึ้นมาแล้วนะครับ ในประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะกับดักสภาพคล่อง ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2533 แล้วคิดว่าฟื้นตัวในปี 2538 แล้วฟุบลงไปอีกหลังจากนั้น (ขนาดที่ว่าดอกเบี้ยเท่ากับศูนย์แล้ว คนยังเอาเงินไปฝังตุ่มที่บ้านดีกว่า) แล้วก็เหมือนกับประเทศไทย ซึ่งเศรษฐกิจได้หดตัวอย่างรุนแรง ในปี 2541 หลังจากนั้น การลดดอกเบี้ยก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเศรษฐกิจไม่สนองตอบต่อการลดอัตราดอกเบี้ยเสียแล้ว สถาบันการเงิน มีเงินฝากไหลเข้ามากกว่าการกู้ออก ปริมาณเงินกู้ลดลง แต่ปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้น เมื่อถึงจุดนี้ ธนาคารกลางจึงไม่มีเครื่องมืออะไรอีกแล้ว ที่จะนำมาใช้เพื่อที่จะหยุดยั้ง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศ



        การใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณ และนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซ้ำยังเกิดปัญหากับดักสภาพคล่อง เนื่องจากประชาชน และภาคธุรกิจเห็นแล้วว่าการที่ภาครัฐใช้นโยบายดังกล่าว แปลว่าสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ยังไงก็ไม่เสี่ยงดีกว่า ซึ่งแตกต่างจากสมัยโบราณ เนื่องจากในสมัยนั้นข้อมูลข่าวสารไม่ได้กระจายเร็วขนาดนี้ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นปัญหาด้านจิตวิทยาครับ


ปัญหาข้างต้นกำลังจะเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยในปี 2552 ครับ เนื่องจากผู้บริโภค และภาคธุรกิจขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจอนาคต อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยอย่างรุนแรง หรือที่เราเรียกว่าพิษแฮมเบอร์เกอร์ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาตรการมาช่วยเรื่องความเชื่อมั่นแล้วก็ตาม ล่าสุดหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยกำลังจะเข็นนโยบายการรับประกันเงินฝาก 100% ออกมา เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน และไม่ไปรุมถอนเงินออกจากธนาคาร หรือเอาเงินไปฝากธนาคารแล้วกลัวธนาคารเจ๊ง


 

จิตวิทยากับกับดักสภาพคล่อง

 

การลดดอกเบี้ยดังกล่าว จะมีผลกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไฮเทคทั้งสินค้าเพื่อการลงทุนและสินค้าเพื่อการบริโภค เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้หรือการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเหล่านี้ของผู้บริโภค ถือว่าเป็น "ค่าใช้จ่ายประเภทที่ต้องวินิจฉัย" (Discretionary Expenditure) ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ หรือจะซื้อก็ได้ไม่ซื้อก็ได้ เพราะเป็นประเภทสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิตหรือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และซื้อครั้งหนึ่งก็ไม่ต้องซื้ออีกนาน ทำให้การหมุนของกระแสเงินสดไปได้ไม่มากอย่างที่คิด (หมายถึงจำนวนรอบของการที่เงินหมุนผ่านมือประชาชน) ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์มากนักในการแก้ปัญหากับดักสภาพคล่อง


จากข้างต้นจะเห็นว่าการแก้ปัญหากับดักสภาพคล่องนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นทางจิตวิทยา และต้องใช้เวลานานในการออกจากสภาวะแบบนี้ได้ ยิ่งเรามาเจอกับปัญหาการเมืองซ้ำเติมด้วย เราก็คงต้องเตรียมตัวกับภาวะกับดักสภาพคล่องนี้ครับ



ที่มา: กับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap) ภัยร้ายจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์


========
เกี่ยวกับผู้เขียน

ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อาจารย์
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจระหว่างประเทศ (CEO Hroyy Inc.) ดร. วรัญญู จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (ทศ. 106)ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วศ. 34) ปริญญาเอกสาขาComputational Mechanics จาก Imperial College มหาวิทยาลัยลอนดอน ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษในหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เช่น หลักสูตร MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และหลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น




Create Date : 19 เมษายน 2560
Last Update : 19 เมษายน 2560 12:31:15 น.
Counter : 593 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Josephine est le Chat
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เมษายน 2560

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30