space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
21 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

ข้อเข่าเสื่อม อาการปวดที่สามารถรักษาได้ หากเข้าใจมัน

ข้อเข่าเสื่อม อาการปวดที่สามารถรักษาได้ หากเข้าใจมัน

 

สามารถกล่าวได้ว่าปัจจุบันทุกคนมีโอกาสสูงมากที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเพราะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภค และการดำเนินชีวิตในทุก ๆ วันนั่นเอง ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก

ดังนั้นเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม หรือเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมช้าลง เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาการ สาเหตุ วิธีรักษาโดยละเอียด เพื่อที่จะได้เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

ข้อเข่าเสื่อม

มาทำความรู้จักเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมกันดีกว่า

ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกายเรา เช่น ข้อเข่า ที่มีหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น การยืน การเดิน และการวิ่ง เป็นต้น เกิดเป็นอาการสึกหรอและเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณเข่าทำให้มีความยืดหยุ่นและซับแรงกระแทกได้น้อยลง เนื่องมาจากการใช้งานไม่เหมาะสมหรือหนักเกินไป

นอกเหนือจากการใช้งานหนักแล้ว สำหรับอาการของโรคนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะที่ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยจากหลากหลายสาเหตุดังที่จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อของคนที่มีแนวโน้มเสี่ยงสูง 


โรคข้อเข่าเสื่อม สาเหตุมาจากอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเป็นไปได้ทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ดังต่อไปนี้

  • เป็นโรคที่ส่งต่อกันทางพันธุกรรม

  • การเล่นกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้ข้อเข่ามาก เช่น ฟุตบอล แข่งเดินระยะไกล เป็นต้น

  • อาชีพที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น ยกของหนัก ยืนนาน ๆ

  • เคยมีอุบัติเหตุบาดเจ็บที่หัวเข่า เช่น กระดูกแตกบริเวณข้อเข่า

  • กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง ทำให้ข้อเข่าต้องรับแรงกระแทกมากกว่าปกติ

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศลดลงในช่วงวัยทองของเพศหญิง

  • มีน้ำหนักร่างกายมากเกินไป (BMI>23) เพราะถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นครึ่งกิโลกรัม จะทำให้มีน้ำหนักลงไปเพิ่มที่ข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัมในขณะที่ยืน,เดิน,วิ่ง เป็นต้น

  • ความไม่สมดุลของสรีระร่างกาย เช่น อวัยวะขา 2 ข้างยาวไม่เท่ากัน ทำให้ลงน้ำหนักได้ไม่เท่ากันเวลาเคลื่อนไหวเดิน จึงส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้

  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม


ระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม

วิธีรักษาเข่าเสื่อมมีอยู่หลาย ๆ วิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการข้อเข่าเสื่อมว่าเป็นมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับใดดังที่จะได้กล่าวในลำดับต่อไป ขณะเดียวกันเราสามารถจับสัญญาณเตือนได้ด้วยตัวเองว่ามีแนวโน้มของการเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ เช่น บวมแดงและร้อนบริเวณเข่า, เจ็บปวดบริเวณข้อเข่าเมื่อเปลี่ยนท่า, มีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเคลื่อนไหว ฯลฯ

ระยะแรก

ระยะนี้ยังเป็นอาการที่เล็กน้อย ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ด้วยตนเองเพียงแค่ควบคุมน้ำหนักไม่ให้หนักเกินไป, กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ สารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนและวิตามิน E, พร้อมออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อรอบหัวเข่าแข็งแรง และหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ

ระยะปานกลาง

ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อที่จะเป็นผู้พิจารณาเกี่ยวกับวิธีรักษาเข่าเสื่อมที่เหมาะสมกับอาการข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น กินยา หรือ ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นต้น

ระยะรุนแรง

ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงเรื้อรังมานานมากจนต้องใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติ อาจมีอาการเข่าผิดรูป ดังนั้นโดยมากแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ใช้วัสดุโลหะและพลาสติกมาทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะมีอายุมากกว่า 65 ปี


คนที่มีแนวโน้มเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป

ข้อเข่าเสื่อมเป็นอาการที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย เพียงแต่บุคคลต่อไปนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าบุคคลทั่ว ๆ ไป ดังนี้

  • พันธุกรรม หรือ คนที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป เป็นต้น

  • คนที่มีอายุมากขึ้น (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ร่างกายเริ่มถดถอย เสื่อมสภาพจนความสามารถในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนของตัวเองลดน้อยลง จนเกิดเป็นข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าผู้ชายในวัยเดียวกันจะมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการข้อเข่าเสื่อม

  • คนที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ เช่น โรคข้อต่อรูมาตอยด์ โรคฮีโมฟีเลีย เก๊าท์ ที่ไปทำลายกระดูกอ่อนจนหมดไป

  • คนที่มีน้ำหนักมากเกินมาตรฐานจนทำให้ข้อเข่าต้องรับภาระในการแบกน้ำหนักมากเกินไป จนเกิดการเสียดสีและสึกกร่อน

  • คนที่เคยมีประวัติได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ข้อเข่า จนทำให้โครงสร้างเข่าเสื่อมไม่แข็งแรงเหมือนเดิม

  • คนที่ใช้ข้อเข่ามาก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น คุกเข่า หรือนั่งยอง ๆ เป็นประจำ ทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติ

  • คนที่เล่นกีฬาผาดโผน เช่น วิ่ง กระโดด ฯลฯ

ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นข้อเข่าเสื่อม


การรักษาข้อเข่าเสื่อมเป็นการรักษาตามอาการที่มีหลาย ๆ วิธี

เมื่อใดที่จับสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธีเพราะข้อเข่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ไม่สามารถขาดได้ในบุคคลปกติทั่วไปที่มีอวัยวะครบ 32 อย่าง และการรักษานั้นจะช่วยลดอาการปวดข้อเข่าที่ไปขัดขวางการดำเนินชีวิตประจำตามปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อม วิธีรักษาจะเป็นไปตามระดับความปวดของเข่าเสื่อม ดังนี้

  1. ถ้าอยู่ในระยะเริ่มต้น สามารถป้องกันและดูแลด้วยตนเองเพื่อชะลออาการข้อเข่าเสื่อมให้เข้าสู่อาการต่อไปช้าลง เช่น ควบคุมน้ำหนัก, ออกกำลังกาย, ประคบร้อน และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นต้น

  2. ถ้าอยู่ในระยะปานกลาง ควรเข้ารับการรักษาและทำตามคำแนะนำจากแพทย์เพื่อลดอาการเจ็บข้อเข่า เช่น

  • ฉีดสารน้ำเลี้ยงไขข้อที่ข้อเข่าด้วย กรดไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic acid) ที่จะช่วยหล่อลื่น ลดการเสียดสี ลดแรงกระแทกขณะใช้งาน

  • รักษาทางกายภาพบำบัดด้วยการใช้เครื่องมือเพื่อซ่อมแซมและลดปวด อักเสบที่ข้อเข่า

  • กินยาแก้อักเสบของข้อเข่า

  1. ถ้าคนป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก และใช้วิธีดังกล่าวเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจจะต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแทน

 การรักษาข้อเข่าเสื่อม


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าตนเองอาจเข้าข่ายที่อาจจะเป็นหรือเป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว บุคคลเหล่านี้พึงระมัดระวังด้านพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายในการดำเนินชีวิตประจำวัน และคำถามที่พบเจอบ่อย ๆ ทั้งที่เป็น ข้อห้ามโรคข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าเสื่อม วิธีรักษาเข่าเสื่อม ฯลฯ โดยที่ทางเราจะมากล่าวถึงเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ๆ คือ

ข้อเข่าเสื่อมห้ามทานอาหารอะไรไหม?

สำหรับอาการข้อเข่าเสื่อม แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่จะมากระตุ้นการอักเสบของข้อต่อกระดูก ทำให้อาการของข้อเข่าเสื่อมดูแย่ลง เช่น

  • อาหารจำพวกแป้งขัดขาว เช่น พาสต้า ซีเรียล ธัญพืชขัดขาว ขนมปังข้าว ฯลฯ จะกระตุ้นอาการอักเสบเพราะเป็นการเพิ่มน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้น

  • อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน อาหารกระป๋อง ฯลฯ

  • อาหารทอด เช่น หมูทอด ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด กล้วยแขก เฟรนช์ฟรายส์ ฯลฯ จะเพิ่มน้ำหนัก และการอักเสบ

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก เช่น เค้ก ไอศกรีม ฯลฯ เพิ่มน้ำหนักและการอักเสบให้กับข้อมากขึ้น ทำให้อาการแย่ลง

  • อาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้น้ำหนักมากขึ้น ร่างกายจะบวมน้ำ

  • อาหารที่มีรสหวานมาก ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มจนอาจก่อให้เกิดการอักเสบได้

  • ผักที่ผ่านกระบวนการหมักดอง เช่น ผักกาดดอง เพราะกระตุ้นการอักเสบบริเวณเข่า

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้อาการกำเริบ

  • เครื่องดื่มคาเฟอีน ทำให้มวลกระดูกลดลง เพราะขับแคลเซียมออกมา

ข้อเข่าเสื่อมสามารถหายเองได้หรือไม่ ?

ข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถหายเองได้ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ช่วยลดอาการปวดข้อเข่าให้น้อยลงได้ และต้องเป็นการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์โดยเฉพาะเท่านั้น วิธีรักษาเข่าเสื่อมได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม

การที่ข้อเข่าเสื่อมมีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุเช่นไร มีโอกาสเท่าไรที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม มีวิธีรักษาเข่าเสื่อมอะไรบ้างนั้น จากบทความข้างต้น เราควรให้ความสำคัญกับร่างกายให้มากขึ้นเมื่อพบสัญญาณข้อเข่าเสื่อม เช่น เข่าบวม หรือหัวเข่ามีเสียง ด้วยการเริ่มดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันควรเข้าพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด 




Create Date : 21 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 10 พฤษภาคม 2567 23:32:04 น. 0 comments
Counter : 303 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7660567
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7660567's blog to your web]
space
space
space
space
space