ต้อเนื้อ โรคเกี่ยวกับตาที่ไม่ควรมองข้ามต้อเนื้อ มีสาเหตุมากจากการที่เป็นต้อลม มีลักษณะคล้ายต้อลมแต่ขนาดจะใหญ่กว่ากินพื้นที่ไปถึงข้างในตาดำ โดยแพทย์จะตรวจวินิฉัยอาการเพื่อทำการรักษาให้เหมาะสม ด้วยวัยที่เพิ่มมากขึ้นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับร่างกายก็ตามมา หนึ่งในนั้นคือปัญหาเกี่ยวกับตา บางคนอาจจะกำลังเป็นโรคต้อเนื้อ ซึ่งเป็นกันมากในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะไม่รุนแรงพอที่จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนอาจจะรุนแรงมาก ทำให้มีปัญหาในการมองเห็นที่เปลี่ยนไป
ต้อเนื้อ (Pterygium) คืออะไร?ต้อเนื้อคือ เนื้อเยื่อพังผืดที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมแพร่กระจายกินพื้นที่ของตาขาวเข้าไปในตาดำ ต้อเนื้อส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณหัวตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ต้อเนื้อภาษาอังกฤษ มีชื่อเรีกว่า Pterygium โดยต้อเนื้อเกิดจาก การที่ผู้ป่วยเป็นโรคต้อลม สะสมมาเป็นเวลานาน ทำให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้วเกิดลุกลามเข้าไปในกระจกตาดำ ทำให้เกิดเป็นโรคต้อเนื้อ หากไม่ทำการรักษาตาต้อเนื้อจะทำให้มีปัญหา เนื่องจากต้อเนื้อจะบดบังการมองเห็นทำให้ตาพร่ามัว และอาจจะกินพื้นที่ตาดำเข้าไปเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อาการของต้อเนื้อประกอบด้วยอะไรบ้าง?ผู้ป่วยโรคต้อเนื้อ มักจะแสดงอาการของโรคต้อเนื้ออาการเริ่มต้น ในระยะแรก หากปล่อยไว้อาจจะทำให้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ลองมาดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ - อาการต้อเนื้อ จะเริ่มมาจากการที่ไม่พบความผิดปกติใดๆที่บ่งบอกได้ว่าจะเป็นต้อเนื้อ แต่ให้สังเกตดูว่าในบริเวณตาขาวมีเนื้อเยื่อที่นูนขึ้นมาเป็นสีขาว หรือสีเหลืองขุ่นหรือไม่ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าตาเป็นต้อลม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดต้อเนื้อในอนาคต
- ต้อเนื้อระยะแรก จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะพบว่ามีก้อนเนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดสีขาว หรือสีเหลืองขุ่น ในบริเวณหัวตากระจายและมีขนาดกว้างกินพื้นที่ในตาขาวเพิ่มมากขึ้นเกือบจะถึงตาดำ นั่นเป็นสัญญาณของต้อเนื้อที่เริ่มจะรุนแรงมากขึ้น
- หากผู้ป่วยเป็นต้อเนื้ออาการ จะเป็นลักษณะตาแดง มีการระคายเคือง รู้สึกคันตา เจ็บตา แสบตา บางคนอาจจะมีน้ำตาไหลอยู่บ่อยครั้ง
- หากเจอลมแรง ฝุ่น หรือควัน อาจจะทำให้ต้อเนื้อที่ตาเกิดการอักเสบจะรู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายเล็กๆอยู่ในตาตลอด หากผู้ป่วยขยี้ตา อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของดวงตาและส่งผลให้ติดเชื้อได้
- ต้อเนื้อหากรุนแรงขึ้นจะแพร่กระจายเข้าไปในตาดำ จะดึงกระจกตาให้เกิดการโค้งมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการตาพร่ามัว เห็นภาพทับซ้อน ตาลาย หรือสายตาเอียง เพราะพังผืดเนื้อเยื่อต้อเนื้อไปปิดบังในตาดำ
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อเนื้อในปัจจุบันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อเนื้อมีมากมายหลายอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นระยะเวลานานหลายปี โดยสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ มีดังนี้ - อายุที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่ตาเป็นต้อเนื้อได้ เช่น การเสื่อมสภาพของคอลลาเจนในเยื่อตา ส่วนใหญ่จะพบในวัยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มากกว่าวัยเด็ก เนื่องจากวัยเด็กยังสามารถสร้างคอลลาเจนขึ้นมาทดแทนในการใช้งานได้ ซึ่งต้อเนื้อจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อเยื่อสีขาว หรือเหลืองขุ่นขึ้นมาปกคลุมในตาขาว และอาจจะมีการแพร่กระจายไปยังตาดำได้
- สภาวะต่างๆที่ส่งผลให้เกิดต้อเนื้อ เช่น การดวงตาได้รับสภาวะลมแรง รังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกว่า รังสีUV อีกทั้งยังมีฝุ่น ควัน PM2.5 อากาศที่ร้อนจัด ที่มาทำร้ายดวงตา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ
- ผู้ที่ทำงานกลางแดด หรือชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการเป็นต้อเนื้อ โดยสะสมเป็นเวลานานหลายปี
- การใส่คอนแทคเลนส์มานานหลายปี ส่งผลทำให้ตาแห้ง และเกิดการระคายเคืองตาอยู่บ่อยๆ รวมไปถึงการใช้สารเคมี กับดวงตาบ่อยๆ ก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นต้อเนื้อได้
- ผู้ที่จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน การใช้สายตาเพ่งเป็นเวลานานก็สามารถทำให้ตาแห้งซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคต้อลม
- ประวัติคนในครอบครัวเคยรักษาต้อเนื้อ โดยกรรมพันธุ์ของโรคนี้ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเป็นต้อลมต้อเนื้อ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต้อเนื้อ
การตรวจวินิจฉัยโรคต้อเนื้อการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ เมื่อเริ่มพบหรือสงสัยว่ากำลังจะเป็นโรคต้อเนื้อ ควรจะเดินทางมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ และประเมินการรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือจักษุแพทย์จะทำการซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคต้อเนื้อ โดยอาจจะมีการใช้สายตาท่ามกลางแสงแดดมาเป็นเวลานาน หรือทำงานที่ต้องเผชิญฝุ่น ควัน แม้แต่การใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือประวัติการรักษาโรคต้อเนื้อของคนในครอบครัว แม้แต่ประวัติการรักษาโรคเบาหวานของผู้ป่วย หลังจากทำการซักประวัติแล้วหากอาการไม่รุนแรงมากนักอาจจะใช้ยาในการรักษา แต่ถ้าต้อเนื้ออาการรุนแรงเริ่มมีการลุกลามเข้าไปในตาดำ อาจจะต้องตรวจโดยใช้เครื่องมือเพื่อประเมินการรักษาต้อเนื้อตามความรุนแรง
เป็นต้อเนื้อแล้วต้องรักษาอย่างไร?หลังจากที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ จักษุแพทย์ทำการตรวจและประเมินอาการต้อเนื้อแล้ว จะทำการรักษาต้อเนื้อ โดยวิธีรักษาต้อเนื้อมี 2 แบบคือ - การใช้ยารักษาต้อเนื้อ
- การผ่าตัดต้อเนื้อ
การใช้ยาหยอดรักษาต้อเนื้อในการใช้ยารักษาต้อเนื้อ เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรคเท่านั้น ส่วนใหญ่การรักษาแบบนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับสายตามากนัก โดยแพทย์จะให้ยาหยอดตา เป็นยาบรรเทาการอักเสบเท่านั้น แต่จะไม่สามารถทำให้ต้อเนื้อนั้นหายไปได้ โดยวิธีการรักษานี้จะทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงให้ต้อเนื้อนั้นลุกลามเพิ่ม ผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยามาหยอดเองเพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือทำให้ตาอักเสบได้เพราะตัวยาบางชนิดมีฤทธิ์ที่รุนแรงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคต้อเนื้อ การผ่าตัดรักษาและลอกต้อเนื้อการผ่าตัดต้อเนื้อ โดยแพทย์จะทำประเมินความเสี่ยง และรักษาตามลักษณะการลุกลามของต้อเนื้อผู้ป่วย การผ่าตัดสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษา โดยสิทธิในการรักษาต้อเนื้อฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งการผ่าตัดนั้นจะมีด้วยกัน 2 วิธีคือ - การผ่าตัดลอกต้อเนื้อวิธีรักษา คือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการผ่าตัดเพื่อลอกเนื้อเยื่อของต้อเนื้อออกจากเยื่อบุตาขาว เป็นการผ่าตัดแบบธรรมดา ใช้เวลาในการทำไม่นาน โดยไม่มีการเย็บหลังผ่าตัด เพราะเนื้อเยื่อตาขาวของคนเราสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ แต่การผ่าตัดลอกต้อเนื้อวิธีนี้ ผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นโรคต้อเนื้อได้อีก
- การผ่าตัดลอกต้อเนื้อและปลูกถ่ายเนื้อเยื่อใหม่มาแทนที่ในบริเวณที่ลอกออกไป โดยแพทย์จะใช้รก หรือเนื้อเยื่อตาขาวส่วนอื่นๆ มาเย็บเพื่อทำการปิดแผล เพื่อลดการกลับมาเกิดโรคต้อเนื้อ วิธีนี้จะทำให้มีอาการระคายเคืองตาหลังผ่าตัดแต่แผลผู้ป่วยหายไวมากขึ้น
การหลีกเลี่ยงสาเหตุ และตัวกระตุ้นอาการต้อเนื้ออื่น ๆ เมื่อทำการตรวจรักษาแล้ว แพทย์จะแนะนำถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดต้อเนื้อ โดยมีวิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้เกิดต้อเนื้อขึ้นอีก เช่น การอยู่ห่างจากรังสีUV เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดดให้สวมแว่นตากันแดด เพื่อลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการขี่รถจักรยานยนต์ ลดการใช้สายตาปะทะแสงแดด ลม หรือควัน พักจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ
วิธีปฏิบัติตัวหากเป็นโรคต้อเนื้อผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อ มีวิธีการลดความเสี่ยงที่จะทำให้ต้อเนื้อเกิดการลุกลามได้ โดยมีวิธีปฏิบัติได้ดังนี้ - เมื่อมีอาการตาแห้ง ให้หยอดน้ำตาเทียม ไม่ควรขยี้ตาเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ
- ไม่อยู่ในที่กลางแดดจ้า เพราะรังสีUV จะทำร้ายดวงตาของคุณและอาจจะส่งผลให้เกิดการลุกลามของต้อเนื้อขยายเพิ่มมากขึ้นในบริเวณตาขาว
- ถ้าจำเป็นที่จะต้องเจอแดด หรือต้องปะทะลม ฝุ่น ควัน ควรสวมแว่นตากันเพื่อป้องกันมลภาวะที่จะมาทำร้ายดวงตาได้โดยตรง
- ควรพักสายตาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ หากรู้สึกระเคืองตาจากการเพ่งมองนานๆ ควรที่จะกะพริบตาบ่อยๆ
- หากรู้สึกระคายเคืองเป็นเวลานาน หรือมีการอักเสบของดวงตา ควรไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยาหรือใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้านมาหยอดเอง เพราะตัวยาบางประเภทไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อเนื้อ
- หมั่นสังเกตลักษณะของต้อเนื้อว่ามีการลุกลามเข้าไปสู่เนื้อเยื่อตาดำหรือไม่ หากเริ่มมีการลุกลามควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
ไม่อยากเป็นต้อเนื้อ ต้องทำอย่างไร?การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และป้องกันการเกิดเป็นโรคต้อเนื้อ สามารถทำได้โดยวิธีง่ายๆ เช่น ไม่อยู่ในที่แสงแดดจ้า ลดกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาปะทะกับรังสี UV ฝุ่น ควัน สวมแว่นตากันแดดเพื่อป้องกันการเกิดต้อเนื้อ หลีกเลี่ยงการใช้คอนแทคเลนส์ หากมีความจำเป็นควรหยอดน้ำตาเทียมอยู่เสมอ เท่านี้ก็สามารถลดอัตราการเกิดเนื้อลงได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับต้อเนื้อต้อเนื้อหายเองได้ไหม?โรคต้อเนื้อ ไม่สามารถหายขาดเองได้ ไม่มีวิธีการรักษาแบบธรรมชาติ หรือแม้แต่ทางวิทยาศาสตร์ใดที่รับรองว่าจะหายขาดจากการเป็นต้อเนื้อ วิธีการการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ที่ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ยังมีโอกาสที่สามารถกลับมาเป็นโรคต้อเนื้อได้ การรักษานั้นควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง ไม่ควรหาวิธีการรักษาหรือหายารักษาต้อเนื้อ pantip มารับประทานหรือหยอดเอง เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง เป็นต้อเนื้อแล้ว มีสิทธ์ตาบอดไหม?โรคต้อเนื้อถึงแม้จะไม่สามารถหายขาดได้อย่าง 100% แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ทำการรักษาก็สามารถลุกลามเข้าไปในตาดำ ส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาตามมาเช่น ตาพร่ามัว สายตาเอียง หรืออาจจะส่งผลให้อันตรายถึงตาบอดได้ โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับแพทย์จะประเมินความเสี่ยงในการรักษาต้อเนื้อ
สรุปเรื่องต้อเนื้อโรคต้อเนื้อ (Pterygium) เป็นการเสื่อมสภาพของเยื่อบุในตาขาว ที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมลุกลามเข้าไปเรื่อยๆ ในบริเวณใกล้ตาดำ หรือผู้ป่วยบางคนอาจจะกินพื้นที่เข้าไปในตาดำ ส่งผลทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เช่น เกิดอาการตาพร่ามัว การเห็นภาพทับซ้อน มีอาการเวียนหัว ตาลาย สายตาเอียง หากไม่รีบทำการรักษาอาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ วิธีการรักษาต้องให้แพทย์เฉพาะทาง หรือจักษุแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเพื่อทำการรักษาตามอาการของผู้ป่วย
Create Date : 13 พฤษภาคม 2567 |
Last Update : 13 พฤษภาคม 2567 22:48:49 น. |
|
0 comments
|
Counter : 189 Pageviews. |
|
|