ลงทุนสู่อิสรภาพทางการเงิน เพื่อทำสิ่งที่อยากทำได้โดยไม่ต้องพะวงเรื่องเงินทองอีกต่อไป

 
ธันวาคม 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 ธันวาคม 2558
 

COBOL Programmer โอกาส หรือ ทางตัน

COBOL Programmer โอกาส หรือ ทางตัน ?

คุณผู้อ่านรู้จักภาษา COBOL กันบ้างหรือเปล่าครับ? ถ้าคุณไม่เคยได้ยินมาก่อนไม่เป็นไรครับ...บทความนี้จะช่วยให้คุณรู้จักกับภาษานี้และบทบาทของมันที่มีต่อโลกของเราในทุกวันนี้ครับ

แต่ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยมีคำถามในใจเกี่ยวกับอนาคตของภาษา COBOL ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์ของ COBOL Programmer ในปัจจุบันและสามารถตอบคำถามและข้อสงสัยที่คุณมีได้เกี่ยวกับประเด็นนี้ได้

มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

COBOL คืออะไร

ภาษาโคบอล (COBOL) ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานธุรกิจภาษาแรกของโลกถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962

มีจุดเด่นคือเป็นภาษาที่เขียนง่าย ไม่ซับซ้อน มีลักษณะการเขียนโปรแกรมใกล้เคียงภาษามนุษย์มากซึ่งช่วยให้โปรแกรมเมอร์รุ่นถัดไปเข้าใจได้ง่าย

ส่วนจุดด้อยคือเป็นภาษาที่ไม่มีลูกเล่นให้ใช้มากมายเหมือนภาษาอื่นๆ เช่น Java หรือ C# เป็นต้น

COBOL กับการใช้งานในปัจจุบัน



จากรูปด้านบน จะเห็นว่า COBOL นั้นถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย อยู่ในหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร,ประกันสังคม, กองทุนรวม, โรงแรม หรือ แม้แต่โรงพยาบาล โดยจะเน้นใช้งานในระบบหลังบ้าน (Back-end)ป็นหลักซึ่งระบบมักจะทำการประมวลผลบนคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe)หลังตลาดหุ้นและธนาคารปิดโดยระบบหลังบ้านนี้มีไว้เพื่อประมวลผลธุรกรรม

ทางการเงินต่างๆ (Financial Transaction) เพื่ออัพเดทข้อมูลทางการเงินรวมถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า,คำนวณผลตอบแทนต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นเงินปันผลหรือแม้แต่ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมไปถึง

การออกรายงาน (Report) ต่างๆให้ทั้งลูกค้าและทางบริษัทเอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ

สำหรับงานหน้าบ้าน (Front-End) นั้น สมัยนี้ในองค์กรต่างๆ ต่างหันมาใช้ Javaหรือภาษาอื่นๆ เพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (GUI) หรือหน้ากากสำหรับให้ลูกค้าใช้งานได้สะดวกสบายมากขึ้นอย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่รับมาจากหน้าบ้านก็จะถูกส่งไปประมวลผลโดย COBOL Program ที่เป็นระบบหลังบ้า (Back-End) อยู่วันยังค่ำ

COBOL เป็นภาษาที่ตายแล้วจริงหรือ?

ความเชื่อ กับ ความจริง

คนส่วนใหญ่คิดว่า COBOL ตายแล้ว เพราะ 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ ...

1) ไม่มีอนาคต - เพราะบริษัทต่างพากันเลิกใช้ไปกันเกือบหมดแล้ว หางานยาก ย้ายงานลำบาก

2) ไม่จรรโลงใจ - เป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่น่าเบื่อ เขียนไปก็ไม่ได้พัฒนาฝีมือทางด้านโปรแกรมมิ่ง

3) ไม่มีสอนแล้ว - เป็นภาษาที่แทบจะไม่มีมหาวิทยาลัยไหนสอนกันแล้ว ต้องเรียนรู้เองใหม่หมด

...แต่ในความเป็นจริงแล้วสถานภาพของ COBOL ในโลกธุรกิจ ณ ปัจจุบัน เป็นแบบนี้ครับ

1)มีบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร,กองทุนรวม,บริษัทประกัน, etc.ทั้งในและต่างประเทศ ต่างยังคงใช้ระบบที่เขียนด้วยภาษา COBOL ซึ่งเป็นระบบที่ใหญ่มากใหญ่เกินกว่าจะมานั่งรื้อ หรือ convertเป็นภาษาอื่นเพราะค่าใช้จ่ายที่บริษัทเหล่านี้ต้องเสียไป มันไม่คุ้มกับผลที่ได้รับและนับวันก็ยิ่งไม่คุ้มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจำนวนโปรแกรมมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและในขณะเดียวกัน COBOL Programmer กลับมีจำนวนลดลงเรื่อยๆซึ่งสวนทางกันกับงานที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ค่าตัวของ COBOL Programmer สูงกว่าโปรแกรมเมอร์ทั่วไปพอสมควร ดังนั้นในมุมมองของผม อนาคตสดใสเชียวละครับ

2) ถึงแม้ว่าโครงสร้างของภาษา COBOL จะดูน่าเบื่อแต่เมื่อเอามาใช้เขียนโปรแกรมสำหรับงานธนาคารและกองทุนรวม

ซึ่งมีระบบงานที่ใหญ่และมีความซับซ้อน จึงทำให้ COBOL Programmer ที่ต้องพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบจะมีโอกาสได้เรียนรู้ Business Logic ของระบบนั้นๆอย่างละเอียด อีกทั้งยังต้องเขียนภาษา SQL ซึ่งเป็นภาษาที่โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกต่างต้องใช้เพื่อสอบถามข้อมูลจากฐานข้อมูล

มาประมวลผลในระบบด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้อาชีพ COBOL Programmer อาจจะสนุกและ ท้าทายกว่าที่หลายๆคนคิดครับ

3)เป็นเรื่องจริงที่ว่าภาษา COBOL นั้นในปัจจุบันแทบไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยไหนแล้ว แต่บริษัทที่รับ COBOL Programmer เอง ต่างก็ตระหนักในเรื่องนี้ครับและต่างก็พยายามรับมือกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสอน COBOL ให้แก่เด็กจบใหม่ เพื่อปูพื้นฐานก่อนเริ่มทำงานรวมทั้งยังมีความพยายามที่จะไปขอความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย

เพื่อส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน COBOL อยู่เรื่อยๆครับ ดังนั้นเรื่องนี้หายห่วงไปได้บ้างครับ

 

ค่าตอบแทนเงินเดือนเฉลี่ย ของ COBOL Programmer ในต่างประเทศ

จากข้อมูลสถิติด้านล่างจะเห็นว่ารายได้ประจำปีของ COBOL Programmer ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 80,000 US Dollars หรือตีเป็นเงินไทยเฉลี่ยเดือนละ 200,000 บาทเลยทีเดียวครับ



ตัวอย่างประกาศรับสมัครงาน และเงินเดือน ของ COBOL Programmerในไทย

จากประกาศรับสมัครด้านล่างจะเห็นได้ว่าบริษัทในประเทศไทยเองมีดีมานด์ ที่พร้อมจะจ้าง COBOL Programmer ซึ่งมีประสบการณ์เพียง 2ปีด้วยเงินเดือนขั้นต่ำถึง 40,000 บาทต่อเดือน และยิ่งมีประสบการณ์สูงระดับอาวุโสสามารถเรียกเงินเดือนได้สูงถึง 80,000 บาทเลยทีเดียวครับ

บริษัทมีชื่อเสียงที่รับ COBOL ในไทย

บริษัทที่มีชื่อเสียงในไทยที่เปิดรับ COBOL Programmer มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น DST Worldwide Services, IBMSD, CIGNA, BRED IT, KBANK, Bank กรุงศรี, SCB เป็นต้น

 

 

สกิลหลักๆที่ COBOL Programmer ต้องมี

ถ้าหากว่าคุณเริ่มสนใจอยากทำอาชีพ COBOL Programmer แล้วล่ะก็ สกิลหลักๆ ด้านล่างนี้ คือสกิลที่คุณจะต้องเรียนรู้และฝึกปรือฝีมือให้เชี่ยวชาญครับ :

- COBOL เป็นภาษาหลักเพื่อใช้เขียนโปรแกรมในระบบหลังบ้าน (Back-End)

- JCL เป็นภาษาที่ใช้สั่งงานชุดโปรแกรม COBOL หลายๆโปรแกรมต่อเนื่องกัน โดยทางเทคนิคเรียกว่า การสั่งรัน Batch Job

- SQL เป็นภาษาสากลที่มักจะใช้ร่วมกันกับภาษา COBOL เพื่อให้โปรแกรมสามารถสอบถามข้อมูลจากฐานข้อมูล DB2 มาประมวลผลในโปรแกรมได้

- CICS เป็นภาษาเพื่อใช้สร้างส่วนติดต่อผู้ใช้หรือ GUI แต่ปัจจุบันนี้บริษัทต่างๆเริ่มเปลี่ยนไปใช้ GUI ที่เขียนโดยภาษาอื่นซึ่งสวยงามน่าใช้งานกว่า และสะดวกกว่า

- ภาษาอังกฤษ เป็นสกิลสำคัญที่คนมักละเลย หรือหลงลืมกันไปซึ่งถ้าบริษัทที่เราทำอยู่เป็นบริษัทข้ามชาติ ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากเพราะเราจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานต่างเชื้อชาติในทุกๆ วัน

โอกาสและความก้าวหน้าในสายงาน COBOL Programmer

จากสถิติด้านบน พบว่า 70% ของธุรกรรมในโลกนี้ทำผ่านระบบเมนเฟรมที่เขียนด้วยภาษา COBOL อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ๆที่เขียนด้วย COBOLเพิ่มเข้าสู่ระบบทั่วโลกในทุกๆปีปีละกว่า 1.5พันล้านบรรทัด และในขณะเดียวกัน จะเห็นได้ว่า COBOL Programmer ในท้องตลาดมีอายุเฉลี่ยมากถึง 55 ปีและคงเกษียณกันในเร็ววัน ในขณะที่ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เลิกสอน COBOL รวมถึงคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เองก็ไม่สนใจจะมาทำงาน COBOL ด้วยเช่นกันซึ่งข้อมูลที่สวนทางกันระหว่างปริมาณงานกับปริมาณโปรแกรมเมอร์นี้เอง ทำให้จำนว COBOL Programmer ในท้องตลาดโดยรวมเริ่มขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยปัจจัยเหล่านี้เองทำให้เกิดสถานการณ์ที่ปริมาณงาน มีมากกว่า จำนวน Programmer หรือพูดง่ายๆก็คือเกิด Demand สูงกว่า Supply ซึ่งเหตุการณ์นี้เองจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้ค่าแรงและโอกาสการเติบโตในสายงาน COBOL Programmer สดใสอย่างมาก

และโอกาสอีกอย่างที่คนทั่วไปมักจะมองข้ามนั่นก็คือบริษัทส่วนใหญ่ซึ่งพึงพา COBOL Programmer มักจะเป็นบริษัทข้ามชาติ (International Company) ซึ่งมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าบริษัทไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

และข้อดีอีกประการของการร่วมงานกับบริษัทต่างชาตินั้นก็คือพนักงานเองจะได้ฝึกภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ และหากคุณเป็นดาวเด่นในสายงานก็มีโอกาสสูงมากที่บริษัทจะส่งคุณไปดูงานต่างประเทศอีกด้วย

ความเสี่ยงของสายงาน COBOL Programmer

หากคุณอ่านมาถึงตรงนี้ คงจะเห็นแล้วว่า Front End หรือส่วนติดต่อผู้ใช้งานเกือบทั้งหมด ได้ถูก convert จาก COBOL (CICS) ไปเป็นภาษาอื่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ก็เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นทางด้านการใช้งานที่ง่ายขึ้น รวมถึงความสวยงามน่าใช้งานด้วยและปัจจุบันนี้ก็มีคนเขียนแอพพลิเคชั่นที่สามารถแปลงโปรแกรมภาษา COBOL ไปเป็นภาษา Java หรือ C# ได้แล้วด้วย

หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยขึ้นในใจว่า แล้วแบบนี้อนาคตระบบหลังบ้าน (Back-End) เองจะถูก convert ไปเป็นภาษาอื่นเหมือนกันมั้ยยิ่งมีตัวช่วยอย่างแอพพลิเคชั่นแปลง COBOL เป็นภาษาอื่นแบบนี้ จะไม่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงกับสายอาชีพ COBOL Programmer เข้าไปใหญ่เหรอ?

ต้องขอตอบอย่างนี้ครับว่า งานหลังบ้านนั้นเน้นความถูกต้องเป็นหลักครับไม่ใช่ความสวยงามน่าใช้ และ Effort ที่ใช้ในการ convert COBOL ไปเป็น Java หรือ C# นั้นแพงมากครับเพราะสิ่งที่สำคัญกว่าการแปลงอัตโนมัติ ก็คือการทำ Parallel Testพื่อตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมหลังจากแปลงแล้วว่าทำงานถูกต้อง 100% ที่ต้องตรวจสอบคุณภาพกันขนาดนี้ก็เพราะโปรแกรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกรรมทางการเงินและ เงินของลูกค้าโดยตรง ซึ่งจะผิดพลาดไม่ได้เพราะถ้าผิด นั่นหมายถึงบริษัทจะต้องเป็นผู้ชดใช้ครับ สถิติในรูปด้านล่างนี้บ่งชี้ว่าต้นทุนของการแปล COBOL เป็นภาษาอื่นนั้นอยู่ที่การทดสอบ หรือ Parallel Test ถึง 75% ครับ

สมมุติว่ามีบริษัทชื่อ A เป็นบริษัทที่มีระบบเมนเฟรมที่ใหญ่และซับซ้อนมากๆในระบบประกอบไปด้วยโปรแกรม COBOL สำหรับประมวลผลหลังบ้านอยู่มากถึงกว่า 20,000 โปรแกรมและนับวันก็มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ คุณลองมองในมุมของบริษัทดูนะครับว่าหากต้องทำการแปลงโปรแกรมจริงๆบริษัทจะต้องลงทุนและใช้เวลามากมายขนาดไหนในการทำ Parallel Test เพื่อพิสูจน์ว่าการแปลงโปรแกรมกว่า 20,000 โปรแกรมนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ หากบริษัทตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะแปลง COBOL เป็น Java แล้วก็ตามสุดท้ายแล้วคนที่จะมาพัฒนาและแก้ไขปัญหาระบบต่อไปก็จำเป็นต้องมีความรู้แตกฉานเกี่ยวกับระบบนั้นๆ ทั้งในแง่เทคนิคและแง่ธุรกิจ (Technical and Business Knowledge) ถ้าให้พูดให้ชัดอีกหน่อยความรู้เหล่านี้ก็เปรียบเสมือนสมบัติอันล้ำค่าของบริษัทที่ต้องรักษาเอาไว้แต่ด้วยความที่สมบัติเหล่านี้อยู่ในตัวของบรรดา COBOL Programmer ที่ดูแลระบบมาตลอดนั่นเองดังนั้นการที่จะทำให้บริษัทสามารถรักษาขุมทรัพย์ของตนไว้ได้หลังการแปลง COBOL เป็นภาษาอื่นนั้น คงมีความเป็นไปได้อยู่เพียงแค่ 2 แนวทางนั่นก็คือ

1) ก่อนที่จะโละ COBOL Programmer ออกแล้วรับสมัครงาน Programmer ที่เชี่ยวชาญในภาษาใหม่เข้ามาแทนบริษัทต้องเริ่มทำ Knowledge Management เพื่อให้เหล่า COBOL Programmer แชร์ความรู้ที่ตนมีออกมาเก็บในรูปฐานข้อมูลกลางของบริษัทซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างมากเพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากโปรแกรมเมอร์ทุกคนอีกทั้งการที่จะไล่พนักงานออกนั้น บริษัทยังต้องเสียค่าจ้างออกเป็นปริมาณมหาศาลโดยสรุปก็คือ หากบริษัทเลือกวิธีนี้ บริษัทจะต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแปลง,ทำ Parallel Test,ต้นทุนในการทำ Knowledge Management และ ค่าจ้างพนักงานออกยกชุด

2)ฝึก COBOL Programmer เพื่อให้สามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาระบบด้วยภาษาอื่นได้แล้วเมื่อระบบหลังการแปลงเริ่มนิ่งหลังจากนั้นค่อยรับโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มซึ่งทางเลือกนี้ดูเป็นไปได้มากกว่าเพราะสามารถเก็บรักษาขุมทรัพย์ทางความรู้เกี่ยวกับระบบไว้ได้และทางบริษัทเองจะเสียเพียงค่าใช้จ่ายในการแปลง,ทำ Parallel Test และ ต้นทุนในการฝึกสอนพนักงานให้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใหม่

บทสรุป

จากมุมมองของผม COBOL Programmer นั้นมีจำนวนลดลงไปมากจริงๆครับเมื่อเทียบกับความต้องการในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น นับจากนี้ไป หาก COBOL Programmer หายากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือถึงขั้นขาดแคลนมากๆก็มีความเป็นไปได้สองอย่างที่ทุกบริษัทต้องทำก็คือ

1)บริษัทจำเป็นต้องขึ้นค่าแรงให้กับ COBOL Programmer ให้มากพอที่จะสามารถดึงดูดคนทำงานให้พร้อมที่จะเรียนรู้ COBOL ภาษาดึกดำบรรพ์ แทนที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์เขียนภาษา Java, C# หรือ Mobile App ที่กำลังฮอตฮิตกันในปัจจุบัน

2)บริษัทจำเป็นต้องแปลง COBOL ไปเป็นภาษาอื่นแทนเพื่อให้ง่ายต่อการว่าจ้างโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่มาทำการพัฒนา และแก้ไขปัญหาระบบต่อจากรุ่นพี่ COBOL Programmer ได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับธุรกิจ แต่วิธีนี้นั้นก็จำเป็นอย่างยิ่งที่เหล่ารุ่นพี่ COBOL Programmer จะต้องร่วมมือด้วยไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาใหม่รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบ ให้แก่บริษัทและโปรแกรมเมอร์รุ่นน้อง

ระบบเมนเฟรมนั้นใช้ในธุรกิจการเงิน และการธนาคารอย่างมากมายซึ่งเป็นระบบที่มี Business Logic ที่ซับซ้อนความรู้เกี่ยวกับระบบนั้น เปรียบได้กับขุมทรัพย์ของบริษัท หากไม่มีความรู้เหล่านี้ธุรกิจของบริษัทก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ดังนั้นยิ่งคุณเรียนรู้ระบบจนแตกฉานมากเท่าไหร่ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคุณก็คือขุมทรัพย์อันมีค่าสำหรับบริษัท

ครับ...ความเข้าใจแตกฉานในระบบ คือ ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดที่เราสามารถสร้างได้ครับ

สุดท้ายนี้ผมอยากจะฝากให้คุณผู้อ่านที่ยังลังเลว่าจะเป็น หรือเลิกเป็น COBOL Programmer ดีมั้ย ได้ลองเก็บไปคิดกันดูครับว่าเห็นด้วยกับผมมั้ย



 


Create Date : 10 ธันวาคม 2558
Last Update : 30 ธันวาคม 2565 21:09:00 น. 2 comments
Counter : 24531 Pageviews.  
 
 
 
 
เห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคงในงานอาชีพการงาน และต้องการอย่างมากมายของบริษัทการเงินชั้นนำที่เก่าแก่ โดยแทบจะบอกว่าหากทำงานสาย COBOL คุณจะแทบไม่มีทางตกงานเลย

แต่เรื่องจริง ในการที่จะหา COBOL programmer ใหม่ๆ นั้นเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ถึงจะหาได้ก็อยู่ได้ไม่นาน แม้จะจ่ายเงินเดือนเพื่อสอนก็ตาม เพราะอะไรเหรอครับ

เพราะว่า จริงๆแล้ว คนสมัยใหม่ หรือเด็กจบใหม่ อาจจะไม่ได้มองหา การงานที่มั่นคงหรือ เงินเดือนสูงๆอย่างเดียวทุกคน แต่การได้ทำอะไรที่สนุกๆ ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ทันสมัย ได้ทำในสิ่งที่เขารู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในการสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมันได้นำไปใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกในยุคปัจจุบัน นั้นน่าสนใจมากกว่า และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ Startup ในยุคปัจจุบันได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

คงไม่สนุกหากต้องย้อนกลับไปเรียนรู้ภาษเก่าแก่อย่าง COBOL ทั้งๆที่มหาลัยได้สอนการพัฒนา application สมัยใหม่ oop, functional programming, mobile, website development แต่สามารถเอาไปใช้ใน COBOL ได้บางส่วน แม้กระทั่ง หน้าจอในการพัฒนา COBOL ที่จำกัด characters ต่อหน้า และข้อจำกัดอื่นๆ รวมถึงขึ้นตอนในการทำงานอื่นๆ

ดังนั้นเด็กจบใหม่ อาจจะเลือกไปยัง บริษัทที่ให้ technology ที่ค่อนข้างทันสมัย มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แปลกๆ โดยเฉพาะ Startups

Startup ถึงแม้จะไม่ได้มั่นคง และไม่สามารถการันตีได้ว่าจะสามารถอยู่รอดได้กี่ปี หรือสามารถที่จะมีเงินจ้างคนได้ในราคาสูงๆ มีสวัสดิการดีๆ ให้ได้เหมือนกับบริษัท enterprise อย่างข้างต้น แต่นั่นคือสิ่งที่ท้าทายและเป็นเสน่ห์ของมัน

การได้จับ Technology ที่ทันสมัย การได้เรียนรู้แทบจะทุกๆอย่าง หรือการเป็น full-stack developer (เพราะบริษัทไม่มีเงินจ้างพนักงาน frontend backend tester อย่างละตำแหน่ง) การที่ต้องปรับเปลี่ยนแผนการและส่งผลงานอย่างเร็วที่สุดเพื่อให้ได้ feedback เร็วที่สุดจากลูกค้า (เพราะจะได้ปรับเปลี่ยนได้ทันไม่อย่างนั้นก็ไปไม่รอด) นั่นคือสิ่งที่ท้าทาย และสนุก และที่สำคัญที่สุด มันคือประสบการณ์ชีวิตสำหรับคนที่ต้องการ สร้างธุรกิจของตัวเอง ต้องการเก่งรอบด้าน และสร้าง connection

มันเป็นสิ่งที่ยากมากหากคนที่ทำงานในสาย COBOL หรือบริษัท enterprise ที่ใช้ software และ hardware ที่เก่าแก่ จะออกมาเพื่อเริ่มทำธุรกิจสาย IT เอง เพราะแค่การที่ต้องลงทุนหาคนสายนี้ software และ hardware อย่าง mainframe server ก็คงจะหลายสิบล้าน ถึงทำได้จริงก็ไม่น่าเชื่อถือเทียบกับบริษัทที่ทำมานาน นี่เป็นข้อจำกัดอย่างมาก หากเทียบกับ technology และ skills ที่บริษัท startup หรือบริษัทสมัยใหม่ใช้ นั่นคือเหตุที่คนที่ทำสาย COBOL ส่วนใหญ่ก็จะอยู่กับบริษัทไปจนเกษียญ เปลี่ยนไปบริษัทที่ใกล้เคียง หรือผันตัวเองไปเป็นเทรนเนอร์ อาจารย์ เพื่อป้อนคนรุ่นใหม่ๆ เพื่อสานต่องาน

ไม่ว่าจะ COBOL หรือภาษาใดๆ มันมีเรื่องให้ท้าทาย และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเรื่อง programming, business, work flow มันควรขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน และความอยากรู้มากกว่า โดยที่คุณมองว่าอนาคตอีก 5 - 10 ปีข้างหน้าเป็นแบบไหน เป็นพนักงานประจำ เป็น freelance เป็นเจ้าของธุรกิจ

ปัจจุบัน demand ของ นักพัฒนาระบบ หรือ programmer นั้น มากกว่า supply ทั่วโลก จนแทบจะบอกว่าหากคุณไม่ได้แย่ ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอะไร มีบริษัทที่พร้อมจะรับคุณแน่นอน เขาพร้อมจะสอน technology ที่เขาใช้ (หากคุณไม่ปิดกั้น) แทบจะบอกว่าคุณไม่มีทางตกงานแน่นอน ดังนั้นคุณควรจะมีเป้าหมายและมีความสุขกับสิ่งที่ทำมากกว่า โดยอย่าวิตกเรื่องของไม่มีงานมากเกินไป

การอยู่สาย IT โดยเฉพาะ programmer เป็นสายที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากคุณไม่ใช่คนหนึ่งที่ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ต้องคอย update ความรู้บ่อยๆ การทำสาย COBOL อาจจะตอบโจทย์ข้อนี้ให้กับคุณได้ แต่หากคุณสนใจ technology ใหม่ๆ และชอบสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ และอยากจะลองทำงานอย่าง full software development cycle จริงๆ เพื่อวันนึงจะก้าวออกมาทำงานของตัวเองได้ตั้งแต่เริ่ม 0 จนจบมอบงานให้ลูกค้า ลองหา บริษัทเล็กๆ น่าสนใจๆ มี vision ดีๆ น่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

สุดท้าย ไม่ใช่เสมอไปนะครับ ที่ บริษัทชั้นนำที่เก่าแก่ จะให้เงินเดือนได้สูงกว่า สวัสดิการดีกว่า หรือการโปรโมตที่เร็วกว่า หากเทียบกับบริษัทเล็กๆ ยกตัวอย่าง startup หลายบริษัทของต่างชาติสามารถมีรายได้และมั่นคงมากกว่าบริษัทที่เก่าแก่ร่วม 100 ปีด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามอย่าให้เงินมาเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งในการเลือกงานเลยครับ (หากไม่จำเป็นจริงๆ) ควรเลือกในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ตัวเองตั้งเป้าไว้ สิ่งที่ทำให้อยากตื่นมาและไปทำงาน นั่นแหละครับแล้วคุณจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการแน่นอน
 
 

โดย: Mawin IP: 49.229.108.218 วันที่: 21 สิงหาคม 2559 เวลา:3:47:05 น.  

 
 
 
buy antivert //meclizinex.com/# buy antivert 25 mg
 
 

โดย: meclizine warnings IP: 37.139.53.22 วันที่: 27 กรกฎาคม 2566 เวลา:21:48:04 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Hopezz
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




[Add Hopezz's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com