การเกิดสิ่งรบกวนในระบบไฟฟ้านั้นมีหลากหลายรูปแบบและผลกระทบที่มีต่อภาระทางไฟฟ้าหรือโหลดไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรมนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของภาระทางไฟฟ้านั้นๆด้วยว่าสามารถทนต่อการรบกวนในแต่ละรูปแบบได้มากน้อยเพียงอย่างใด แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการเกิดสิ่งรบกวนประเภทใด นักอุตสาหกรรมทั้งหลายคงไม่อยากให้เกิดกับอุตสาหกรรรมหรือธุรกิจของตนเป็นแน่ บทความนี้จะแนะนำคุณให้รู้จักการเกิดสิ่งรบกวนจากระบบไฟฟ้าแต่ละประเภทให้ดียิ่งขึ้น และแต่ละประเภทนั้นมีผลต่อภาระทางไฟฟ้าประเภทใด โดยเมื่อคุณทราบประพฤติกรรมของเจ้าสิ่งรบกวนจากระบบไฟฟ้าก็พอจะหามาตรการป้องกันภาระทางไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรมของคุณได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่เครื่องมือหรือเครื่องจักรมีราคาแสนแพงของคุณจะมีอายุการใช้สั้นกว่าที่ควรจะเป็น รู้จักการเปลี่ยนแปลงระดับแรงดันไฟฟ้ากันก่อน โดยปกติแล้วผู้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าและธุรกิจอุตสาหกรรต่างๆนั้นจะมีมาตรฐานในการรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องมีค่าที่ยอมรับได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้วตัวอย่างเช่นในตารางที่ 1 แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนแปลงของระดับแรงดันไฟฟ้านั้นจะมีหลายประเภท โดยบางประเภทผู้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าไม่อาจสามารถควบคุมและคาดการณ์ได้ ดังนั้นวิศวกรหรือช่างจะต้องมีความรู้เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งไม่พึงประสงค์นั้น ระดับแรงดัน | กรณีจ่ายไฟปกติ | กรณีจ่ายไฟฉุกเฉิน | ค่าต่ำสุด | ค่าสูงสุด | ค่าต่ำสุด | ค่าสูงสุด | 115 kV.* | 106.4 kV. | 117.6 kV. | 96.0 kV. | 123.0 kV. | 69 kV.* | 63.6 kV. | 70.4 kV. | 57.3 kV. | 72.5 kV. | 24 kV. | 21.8 kV. | 23.6 kV. | 21.6 kV. | 24.0 kV. | 12 kV. | 10.9 kV. | 11.8 kV. | 10.8 kV. | 12.0 kV. | 230/400 V. 4 สาย | 214/371 V. 4 สาย | 237/410 V. 4 สาย | 209/362 V. 4 สาย | 240/416 V. 4 สาย | 220 V. 2 สาย | 214 V. 2 สาย | 237 V. 2 สาย | 209 V. 2 สาย | 240 V. 2 สาย | *บางครั้งอาจสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานเนื่องจากการควบคุมของการไฟฟ้านครหลวง แต่ในการควบคุมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | ตารางที่ 1 มาตรฐานแรงดันไฟฟ้าที่จุดจ่ายไฟ(จุดที่ซื้อ-ขาย) ของการไฟฟ้านครหลวง การเปลี่ยนแปลงของระดับแรงดันไฟฟ้านั้น สามารถพิจารณาได้จากระยะเวลาของการเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับแรงดัน ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันและวิธีการป้องกันหรือมาตรการแก้ไขที่จะทำให้ระบบไฟฟ้ากลับเข้าสู่สภาวะแรงดันไฟฟ้าปกติได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด อาทิเช่นการติดอุปกรณ์ป้องกันต่างๆที่เหมาะสม,การบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบเชิงป้องกันและอื่นๆ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันนั้นบางครั้งเราไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และการเกิดอาจจะเป็นเพียงการเกิดแรงดันกระพริบหรือทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องและทำให้ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลานานก็อาจเป็นได้ โดยประเภทของการเกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้านั้น เราก็สามารถมีวิธีป้องกันที่แตกต่างกันออกไป ดังตารางที่ 2  ตารางที่ 2 ประเภทสิ่งรบกวนในระบบไฟฟ้าและวิธีการป้องกัน
|