Total Solution for Energy Saving and Electrical Engineering
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2558
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 กรกฏาคม 2558
 
All Blogs
 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน 3

 

ปัจจัยที่รบกวนการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

ปัจจัยที่อาจจะทำให้การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนเกิดการผิดพลาดนั้นนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบและการปรับตั้งพารามิเตอร์ต่างๆภายในตั้งกล้องหรือโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์แล้วยังมีปัจจัยจากภายนอกอื่นๆอีก เช่น ความชื้นในอากาศสูงเกินไปหรือการตรวจสอบระบบไฟฟ้าขณะฝนหยุดตกไม่นาน, ความเร็วของลมบริเวณตรวจสอบ, ระยะห่างระหว่างวัตถุที่ตรวจสอบกับตำแหน่งกล้องถ่ายภาพความร้อนที่ทำการตรวจสอบ และการตรวจสอบระบบไฟฟ้าบริเวณที่มีความเข็มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูง ดังนั้นการปรับตั้งพารามิเตอร์และการตรวจสอบในเวลาที่เหมาะสม, บริเวณและตำแหน่งที่เหมาะสมจึงมีผลอย่างยิ่งต่อความถูกต้องสำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน สำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนในบริเวณที่มีสภาพอากาศที่มีลมพัดแรงกว่าปกตินั้น สามารถใช้ค่าชดเชยดังตารางที่ 1 ดังนี้


ตารางที่ 1 การชดเชยค่าความเร็วลม

ความเร็วลม (เมตร/วินาที)

ค่าชดเชย

1

1

2

1.36

3

1.64

4

1.86

5

2.06

6

2.23

7

2.40

8

2.54

วิธีการคำนวณค่าการชดเชย:

ค่าความร้อนที่วัดได้ x ค่าชดเชยเมื่อค่าความเร็วลมเกินกว่า 1 เมตร/วินาที


เกณฑ์การตัดสินใจเพื่อวางแผนบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

ตามข้อกำหนดของ InterNational Electrical Testing Association (NETA) ได้เสนอแนะให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขจุดร้อนทันทีเมื่ออุณหภูมิที่เกิดจุดร้อนมีค่าแตกต่าง (ΔT) สูงกว่า 
15  กับจุดอื่นๆที่การทำงานในลักษณะเดียวกันและในสภาวะโหลดใกล้เคียงกัน หรือเมื่อ ΔT ระหว่างส่วนประกอบไฟฟ้าต่างๆที่พบเกิดปัญหามีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิสภาวะแวดล้อม (Ambient Air Temperature) มากกว่า 30°C

นอกเหนือข้อแนะนำข้างต้นแล้วการพิจารณาอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทนั้นอาจจะไม่สามารถพิจารณากฎเกณฑ์อุณหภูมิตามข้อกำหนดเบื้องต้นได้เสมอไป เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทในสภาวะการทำงานปกติจะไม่เกิดความร้อนขึ้นภายในตัว อาทิเช่นกับดักป้องกันฟ้าผ่า , สายดิน หรือลูกถ้วยไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งขณะตรวจสอบพบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงกว่าอุปกรณ์ชนิดเดียวกันที่อยู่บริเวณใกล้เคียงหรืออยู่ในเฟสข้างเคียงก็ให้สันณิฐานเบื้องต้นได้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวน่าจะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือเกิดการชำรุดบางประการในอุปกรณ์นั้นๆและควรเรียบดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไขโดยทันที


รูปที่ 23 กับดักฟ้าผ่าชำรุด


รูปที่ 24 สายดินระบบไฟฟ้า 22 kV. เกิดความร้อน

รูปที่ 25 ลูกถ้วยไฟฟ้าระบบไฟฟ้า 22 kV. เกิดความร้อน

สรุป

จากการประยุกต์ใช้กล้องถ่ายความร้อนเพื่อการตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะเห็นได้ว่ากล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือพบสิ่งผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างไรก็ตามในบทความนี้ได้นำเสนอให้เห็นว่าการตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ค่าอุณหภูมิและวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้องนั้น ผู้ตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการตรวจสอบจำเป็นต้องมีประสบการณ์และมีความรู้พื้นฐานด้านต่างๆและควรผ่านการอบรมการถ่ายภาพความร้อนที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อให้มีความรู้ความสามารถทั้งทางภาคทฤษฏีและปฏิบัติอีกทั้งปัจจัยต่างๆที่เข้ามารบกวนจนทำให้ผู้ตรวจสอบวิเคราะห์ผิดพลาด


เอกสารอ้างอิง

  • Training AGEMA INFRARED SYSTEMS, "Thermographic Inspection of Electrical Installations", AGEMA Infrared Systems AB, 1985.
  • Training Document of Level 1 Infrared Thermography Certification Course, Institute of Infrared Thermography.
  • ภาพถ่ายอินฟราเรดประกอบการบรรยายของคุณยุทธนา ยิ้มประเสริฐ กองควบคุมและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง) จ.พระนครศรีอยุธยา v




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2558
0 comments
Last Update : 12 กรกฎาคม 2558 15:08:41 น.
Counter : 2220 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


สมาชิกหมายเลข 2468428
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2468428's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.