โปรดทราบ กำลังแก้ไขบล็อกอยู่ค่ะ
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
22 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เกริ่นนำ ก่อนจะเข้าเรื่อง Post Graduate Study (UK Distant learning program)

หลังจากที่ได้ไปเข้าฟัง introduction session of University of Liverpool (online program) ที่โรงแรม Le Cigale Doha มาเมื่อกลาง ๆ เดือน กุมภาพันธ์ พอจะสรุปเนื้อหาและอยากจะนำมาแชร์เผื่อมีใครสนใจ จริง ๆ เราเริ่มสนใจการเรียน master degree หลังจากทำงานมาแล้วหลายปี เราเคยคิดว่าจะเรียนเมืองนอก แน่ ๆ แต่ก็แค่คิดเพราะว่า ทำงานมาตลอด จะเอาเวลาที่ไหนไปเรียนวะ เสียดายตังค์ เสียดายเงินเดือน เก็บเงินมาล้านหนึ่ง แล้วให้มันร่อยหรอ หายไปเนี่ยอะนะ รับไม่ด้ายยยยย อิชั้นรับไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้น ก็ทำงานไปใน รูทีนแบบเดิม ๆๆๆ จนบางทีอาจจะรู้สึกเบื่อ รู้สึกว่ามันไม่ท้าทาย ประกอบกัน ญาติๆ หลาน ๆ อายุห่างกว่า 7-8 ปี กำลังตั้งต้นเรียนโทกันหมด คือ วงศาคณาญาติเรา ไม่ได้ร่ำรวยนะ อยากเรียนโท ต้องส่งเสียตัวเอง ทุกคนได้รับอิทธพลความคิดแบบนี้มาโดยอัติโนมัติ พ่อแม่ไม่ได้รวยมีเงินล้านนะ โตแล้วก็หัดรู้ค่าเงินซะบ้าง อะไรอย่างนี้

บางคนมาคุยกันในกระทู้พันทิพ “ต้นทุนการศึกษา” ของคุณเท่าไหร่ โถ ๆๆๆ เดี๋ยวนี้ เรียนอนุบาล ยังค่าเทอมตั้ง 3 หมื่น จะเป็นลม อิชั้น และเครือญาติ ครอบครัว เรียนโรงเรียนประจำจังหวัดธรรมดาค่าเทอมก็ไม่เกิน 3 พันแน่นอน เรียนพิเศษก็ไม่ได้เรียนเหมือนเขา เพราะเปลือง สอบเข้าไม่ได้ให้มันรู้ไป คือ อาจจะโชคดีที่สิ่งแวดล้อมดีอะ ไม่เคยเจอเลยที่ว่า ครูกั๊กข้อสอบจะไปสอนเพิ่มที่เรียนพิเศษเท่านั้น ไม่เคยเจอเลยในชีวิต เอนติดโควตา มหาวิทยาลัย เรียนก็ดีระดับหนึ่ง จริง ๆ ไม่ได้เก่งมาก เพราะเพื่อน ๆ รอบตัวเก่งเยอะมากอะค่ะ แนะนำนะคะใครอยากเรียนสายศิลปศาสตร์ ภาษา แนะนำ มช เลยค่ะ ภูมิใจและไม่เคยคิดว่าน้อยหน้าหรือตัวเองด้อยกว่าใครค่ะ เขาจะว่า ท็อป 1 ท็อป 2 ยังไงก็ไม่กลัวค่ะ “แล้วไง” ชั้นก็จบปริญญาและมั่นใจในความสามารถของชั้นเหมือนกันอะ สังคมที่ มช อบอุ่นมากค่ะ เพื่อนฝูง พี่น้อง ช่วยเหลือกัน คุยกันตลอด (เนื่องจากปีหนึ่งต้องอยู่หอในกันซะเป็นส่วนใหญ่) ห้องเล็กมาก แต่เราก็อยู่มาได้ตั้ง 4 ปี คือ จะบอกว่า ต้นทุนการศึกษาของอิชั้นมันน้อยมาก ๆ เรียน มช ก็ค่าเทอมไม่ถึงเทอมละ 4000 เพราะเป็นสาย ศิลปศาตร์ภาษา ไม่มีแลบ ไม่มีเทสต์ ไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์ แถม อยู่หอใน ตลอด เทอมละ 800 บาท (ตอนนี้น่าจะขึ้นเป็น 1000 ต้น ๆ แล้ว)

ย้ำ เทอมละ นะ ไม่ใช่เดือนละ 800 บาท นี่คือค่าหอ อยู่ไปสิ 4-5 เดือนอะ แม่ส่งเงินมาให้เดือนละ 3000 บาทเท่านั้น มีมอเตอร์ไซด์อยู่คันหนึ่ง ขี่ไปเรียนตามตึกตามคณะต่าง ๆ ทั่ว ม ตั้งแต่ ปี 1 ยัน ปี 4 เติมน้ำมันครั้งละ 30 บาทต่อาทิตย์ คือที่เล่าเนี่ย จะบอกว่า แม่รับรู้ว่า การส่งลูกเรียนเนี่ยระดับมหาวิทยาลัยคือแพงที่สุดในชีวิตแล้ว เทอมละ 4 พันบาท เรียนจบไม่ได้อะไรตอบแทนนะ (ไม่คิดว่าจะได้ด้วย เพราะวัฒนธรรมครอบครัวเป็นแบบนี้) ก็ได้ความภาคภูมิใจให้ตัวเองให้พ่อแม่ แต่แบบว่า บางคน จบแล้วยังพ่อแม่ยังมีใส่ซองให้หมื่นหนึ่ง ซื้อรถให้คันหนึ่ง อันนี้เปล๊า อิชั้นครอบครัวชนชั้นกลางธรรมดา

พอ ลูก ๆ หลาน ๆ น้อง ๆ จบ ก็หาลู่ทางเรียนต่อโทกัน น้องมาเกริ่นให้แม่ฟังก่อน น้องบอกว่า อ๋อ ก็ค่าเทอม 2 แสนอะแม่ (หาตังค์เรียนเองนะ ไม่ได้จะขอเงินแม่) แม่อึ้ง เฮ้ยยย ค่าเรียน โทมันแพงขนาดนั้นเลยเหรอ คือ ตอนจบมาใหม่ ๆ ตัวเราก็ไม่คิดจะเรียนหรอกเพราะมันแพง เกิดมายังไม่เคยเห็นเงินสองแสนเล้ยยย พอผ่านไปจะสิบปี เพิ่งมีอยู่วันหนึ่งเลยนึกสนใจขึ้นมา แบบอยากพัฒนาตัวเองบ้างอะ ก็หา ๆ ข้อมูล พออ่าน ๆ พวก study in UK ทั้งหลาย ทั้งทุน ทั้งคณะต่าง ๆ เฮ้ย ๆๆๆ เสียดาย qualification ของน้องเรามาก ๆ เลยอะ มันพลาดตรงที่มันมาได้งาน กฟผ เนี่ยแหละ (สาขาที่สอบ สมัคร 2 หมื่น ผ่านสอบรอบแรก 2000 คน คัดเหลือ 200 คน และก็เหลือ 50 คน และสุดท้าย เอา 8 คน ก็ได้ นั่งรถทัวร์ไปกลับ ไปสอบที่ กทม 3 รอบอะ)

ได้แล้วไง ใคร ๆ ก็อยากให้เอาใช่เปล่า ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้น้องอิชั้น มีเป้าหมายว่าอยากเรียนต่อเมืองนอก เหมือนใคร ๆ นั่นแหละ แต่เข้า กฟผ แล้วเหมือนมันเป็นลิขิตว่า ยูจะต้องเดินสายนี้จนเกษียณ แล้วนะ แต่จริง ๆ ถ้าทำมา 3 ปีแล้ว ถ้าเป็นวิศวกร มีสิทธิ์ขอทุนหรือสมัครทุนจากหน่วยงานไปเรียนต่อเมืองนอกไง ได้อยู่แล้ว เพราะองค์กรใหญ่ขนาดนั้น แต่บังเอิญ มันไม่ได้เป็นวิศวกรนี่สิ
Competency มันก็สูงนะ เป็นนักน้อง เป็นพิธีกร เป็นประธานชมรม ภาษาอังกฤษ เป็นล่าม แปลเอกสาร คือ เป็นตัวแทนขององค์กรรุ่นใหม่ ก็เลยต้องทำทุกอย่าง (เพราะคนรุ่นเก่า ๆ ก่อน อาจจะทำไม่ได้) ที่ระยะหลัง ๆ กฟผ พยายามหา เพื่อให้มาบุกเบิกและปรับเปลียน ค่านิยมหรือวัฒนธรรมองค์กรอะไรให้มันดีขึ้นบ้างงงง นี่ถ้ามันลงสายเอกชนนะ ทำงานต่างประเทศ ชัวร์ว่าเงินเดือนพุ่งไปแตะที่แสนแล้ว จริง ๆ (คือก่อนทำ กฟผ ก็ทำ pricewaterhouse มาก่อนอะ เป็น ออดิเตอร์) แต่ไหน ๆ มันก็อยู่สายนี้ไปแล้ว มันคงต้องอยู่ไปจนแก่ละวะ (เพราะความเสียดายต่าง ๆ นานา ๆ) หรือถ้ายังไม่เจอ บริษํทต่างชาติชั้นนำจริง ๆ มายื นข้อเสนอว่าจะให้เงินเดือน 3000 USD พร้อมสวัสดิการทุกอย่าง และวีซ่าทำงาน มันอาจจะเปลียนใจก็ได้นะ

แหม ถ้าตอนนั้น เรากระตือรือร้นหาข้อมูลซักหน่อย มันน่าจะมีทางเลือกมากกว่านี้ อ้อ น้องสาวอิชั้น จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง ได้ GPA สูงที่สุดในรุ่น (ตอนนี้น่าจะอายุ 28 มั้ง ราว ๆ นี้แหละ) แต่อย่างไรก็ตาม “การเรียนต่อเมืองนอก” มันห่างไกลอะ เพราะว่าเงินจะสอบโทเฟล ยังไม่มีเลย ได้แต่สอบโทอิค (ค่าสอบ 700 ตอนนั้น) แล้วน้องก็ไปได้สอบฟรีตอนไปเข้าค่าย SCG อีก ที่จะคัดเอาเด็กเก่ง ไปเข้าค่ายนั่นอะ มันก็ได้ 890 มั้ง เฮ้อออ คนรวย พ่อแม่แค่ต้องการให้ลูกมี ปสก เรียนต่างแดน มาตั้งกระทู้ถาม ๆ กัน เรียนอะไรดีคะ ประเทศไหนดี ค่าครองชีพเป็นยังไงบ้าง บางคนก็บอก สอบไอเอลมาสามรอบแล้ว คะแนนยังไม่ดีเลย (น่าจะต้องสอบอีกหลายรอบ) เพื่อแค่ให้ได้คะแนน “ผ่าน” เกณฑ์ต่ำสุด แล้วไปสมัครมหาวิทยาลัยได้ เอิ่มม ค่าสอบนี่ ครั้งละเกือบ 7 พันแล้วมั้ง ไม่รู้นะว่าที่เมืองไทยเท่าไหร่ แต่หลานสอบเมื่อปีที่แล้ว ก็ 6 พันกว่า ๆ เหมือนกัน อย่างที่การ์ต้า นี่ค่าสอบประมาณเกือบ 8 พันเลยแหละ (850 เรียล)

บ้างก็มาตั้งกระทู้ อยากเรียนเมืองนอกค่ะ แต่ภาษาอังกฤษห่วยมากเลยค่ะ เอ่อ อันนี้น้องก็ควรไปฝึกเลยนะคะ ถ้าน้องตั้งใจจริง (อยากเรียนจริงๆ ไม่ได้อยากมาทำงานร้านอาหาร) ก็ต้องตระหนักสิคะว่า เมืองนอกเขาไม่ได้สอนภาษาไทย เขาสอนภาษาอังกฤษ และจะสมัครเรียนก็ต้องใช้ผลสอบภาษาอังกฤษ ไม่ใช่กรอกใบสมัครจ่ายตังค์ ส่ง ถ้ายิ่งอยากเรียน มหาวิทยาลัยชั้นนำ มีตังค์เฉย ๆ เขาไม่รับนะ ต้องแบบมี passion มีแรงจูงใจ มีความกระตือรือร้นอยากเรียนจริง ๆ ถ้ารู้ตัวว่า ภาษาอังกฤษไม่กระดิก ก็ไปเริ่มพัฒนาตัวเองเลยค่ะ และคิดเสมอว่า เราต้องสอบไอเอล (สมมุติว่า พูดถึง มหาวิทยาลัยในอังกฤษละกัน) ไอเอล เป็นข้อสอบภาษาอังฤษ ถ้าไม่มีผลสอบ (มากกว่า 6.5) มหาวิทยาลัยก็ไม่รับ ที่จริง ๆ หลาย ๆ คณะ 5.5 เขาก็รับแหละ แต่ต้องไปเรียน pre-session ก่อน คือเรียนปรับพื้นฐานภาษาก่อนอะ ถ้ารวยก็ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้า ไม่รวย พ่อแม่ต้องขายที่ขายควาย ส่งลูกไปเรียนนอก (แต่พ่อแม่เต็มใจ) ก็ควรตั้งใจเรียนให้มากที่สุดค่ะ ให้มันได้ไอเอล สูง ๆ ไปเลย

อ้อ เรื่องทุน มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มีทุนเยอะค่ะ แต่จะเป็นทุนแบบส่วนลดนะคะ หรือทุนเฉพาะค่าเล่าเรียน ทุนลดค่าเรียนปีละ 500- 1000 ปอนด์ อะไรเป็นต้น ถ้าเข้าเวบมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั่วไป จะมีให้รายการ Bursary, Funds, Scholarship เสมอ ตั้งอยู่ในหน้าโฮมเพจ ของมหาวิทยาลัยเลย เพราะเขา สนับสนุนให้ “คนที่ควรค่าแก่ทุน” ได้มีโอกาสมาเรียนค่ะ ในที่นี้เราขอพูดเกี่ยวกับ ยูในอังกฤษยกเว้น Oxford & Cambridge นะ เพราะมันสูงส่งเกิน คนธรรมดาเช่นเราคงไม่มีจุดสนใจมากพอที่เขาจะรับ

คนที่ควรค่าแกการได้ทุน ก็แบบว่า ผลการเรียน ป ตรีดี (ควรได้ 3 ขึ้น) เขียน personal statement ชัดเจน แสดงเป้าหมาย อ่านแล้วมองเห็นศักยภาพของผู้เขียนเลย คือ การเขียนเนี่ย มันบ่งบอกอะไรได้เยอะนะ ทั้งวิธีคิด การเรียบเรียงความคิด ทัศนคติ วิธีทำเสนอ การจัดระเบียบในตัวเอง วิสัยทัศน์ (Personal statement มักจะกำหนดที่ 700 – 1000 คำ ก็ประมาณ 1.5 หน้ากระดาษ เอ 4) สามารถดูตัวอย่าง กูเกิ้ลได้เลย ใช้คีย์เวอร์ดว่า Personal Statement for Scholarship ตัวอย่างเยอะค่ะ ก็จะพอเป็นแนวทางได้บ้าง แล้วหันมาตัวเองซิ ว่าถ้าจะต้องเขียน personal statement แบบนั้นจะทำได้ไหม

ก็บอกแล้วอะ ถ้าไม่เก่งภาษา ก็ต้องมุ่งมั่น ต้องตั้งใจ ไม่จำเป็นต้องภาษาเริ่ด เราเคยเห็น PS ของคนเกาหลีคนหนึ่ง ที่ได้เรียนสาขา Geography แผ่นดินไหว อะไรพวกนี้ เขาก็เขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ยาก เลิศเลอ ไฮโซเล่นคำ เหมือนพวกคนอินเดียเขียน แค่เขาก็ได้นะ (พอดีว่ามันเป็นเวบตัวอย่างของ PS ที่ได้รับ award for scholarship) อย่างที่บอก การเขียนมัน represent ตัวคุณอะไรหลาย ๆ อย่าง บางคนที่อ่านเยอะ ๆ ก็จะดูออกเลยว่ามัน standard format มาก ๆ (แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดานะ อันนี้เคยเห็นของคนที่สมัคร สาขาวิศวะ ป โท อะ) แต่คนอินเดียเขียนนี่ การใช้คำ fluent มาก

การเขียนที่ดี ก็ใช้หลักเหมือนภาษาไทยนั่นแหละ หมายถึง โครงสร้างนะ ไม่ได้หมายถึง แปลตรงตัว ไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งสกิลการเขียนต้องมาจากตัวเองเลย ต้องเขียนบ่อย ๆ ไปนั่งเรียนในคลาส ตราบใดที่ยังไม่เขียน ก็จะไม่รู้ว่าตัวเองเขียนเป็นยังไง และก็ไม่เขียนประโยค run on คือ ก็ต้องมีใจความสำคัญในแต่ละ ย่อหน้าแล้วก็บริบทของย่อหน้านั้น ๆ ประโยคสมเหตุสมผลต่อ 1 full stop คือ ปย ภาษาอังกฤษยอ่างที่เข้าใจ ประธาน กริยา กรรม จบเนื้อหา หนึ่ง ๆ แล้วก็ต้องจุด full stop ไม่ใช่เขียน เวิ่นเว้อไปเรื่อย ใส่คำเยอะ ๆ คือ ถ้าไม่มีพื้นฐานจริง ๆ ก็ควรเทคคอร์สไปเลยค่ะ เพราะยังไงเรียนเมืองนอก มันคือ “ใช้ภาษาอังกฤษ” อะค่ะ

บางคนก็อะนะ “อยากเรียนเมืองนอกค่ะ แต่เรียนไม่เก่ง ภาษาอังกฤษไม่ดี ไม่ค่อยทำกิจกรรม” ......และยังไม่รู้เลยค่ะว่าจะเรียนอะไรดี รู้แค่ว่า “อยากเรียนเมืองนอก” โอ๊ย อันนี้ก้ไม่รู้จะช่วยได้ยังไงนะ รู้แค่ว่า ถ้าเป็นเคสแบบนี้ ขอแค่มีตังค์ค่ะ ไปเรียนภาษาอะ ได้อยู่นะคะ

สำหรับ Online Program ของ University of Liverpool น่าเชื่อถืออย่างไร เดี๋ยวมาเขียนต่อบล็อกหน้านะคะ




Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 19:08:46 น. 1 comments
Counter : 2253 Pageviews.

 
กำลังสนใจและหาข้อมูล เรียน MBA ออนไลน์ของ U of Liverpool อยู่เลยค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะค่ะ


โดย: ปรียานุช IP: 49.48.44.195 วันที่: 15 สิงหาคม 2555 เวลา:22:25:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Freedom of Life
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์เรื่องราวและภาพถ่ายที่ปรากฏทั้งหมดในบล็อกนี้ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล็อก โปรดให้เครดิตกับเจ้าของบล็อกหากต้องการให้เพื่อน ๆ ของท่านรับทราบเรื่องราวหรือรูปภาพทั้งหมดที่ปรากฏในบล็อคนี้
free counters table {background-color: transparent;border-style: none;border-spacing: none;}TD {border: none;border-color: none;background: none;}
Friends' blogs
[Add Freedom of Life's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.