|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ชำมะนาด

ชำมะนาด (chammanat)Vallaris glabra (L.) Kuntze วงศ์ : APOCYNACEAE ลักษณะทางวิทยาศาสตร์ ชำมะนาดเป็นต้นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลม สีเขียวมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๔-๘ เซนติเมตรยาว ๗-๑๕เซนติเมตรปลายใบแหลม โคนใบมนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ มีใบสีเขียวและมัน ก้านใบยาว ๒-๓ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาวมีกลีบดอกโคนติดกันปลายดอกแยกกลีบดอกเป็น๕กลีบ ปลายดอกแหลมมีเกสรตัวผู้ ๕ อันมีสีขาวติดกัน ผล เป็นผักผลแห้งสามารถแตกเองได้
สรรพคุณ ดอกชำมะนาด มีกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นข้าวใหม่ หอมเหมือนใบเตยอ่อน หรือข้าวหอมมะลิสุกใหม่ ช่วยในการผ่อนคลาย บำรุงหัวใจซึ่งอาจเป็นเพราะมีกลิ่นอ่อนคนโบราณจึงมักนำดอกชำมะนาดอบเพื่อใช้กลิ่นมาทำขนมไทยๆ นอกจากนี้ชำมะนาดยังนำมาใช้ในการทำน้ำปรุงอีกด้วย ยางขาวของชำมะนาดใช้รักษาแผลภายนอกและยังเป็นยาถ่ายอย่างแรง
การขยายพันธุ์ ชำมะนาดขยายพันธุ์โดยเมล็ด หรือตอนการตอนต้องรอให้ยางหมดก่อนจึงจะลงมือหุ้มมะพร้าวได้ ปกติแล้วควรทำซุ้มให้ หรือจะปลูกเป็นพุ่มก็สวยดี บางบ้านอาจปลูกตามรั้วบ้านกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ เป็นไม้หอมในใจผมเลยครับ ความหอมของชำมะนาดไม่เหมือนใคร ปลูกต้นเดียวหอมฟุ้งไปทั้งบ้านเลยครับ
Create Date : 15 กันยายน 2551 |
Last Update : 1 มิถุนายน 2552 12:59:23 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1643 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|