space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2561
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
28 พฤศจิกายน 2561
space
space
space

โลกจินตนาการ เรื่องที่เด็กๆมักแยกไม่ออกจากความเป็นจริง


พี่เลี้ยงเด็ก

เพราะเด็กในวัย 4 - 6 ปีนี้เป็นวัยที่ช่างจินตนาการ และชอบเลียนแบบจากสิ่งที่ได้พบเห็น แต่จะเป็นอย่างไร หากเด็ก ๆ ของเรายังไม่สามารถแยกแยะระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการได้ 

พื้นฐานความคิดและจินตนาการของเด็กวัยนี้ 
- เด็ก ๆ มักจะคิดว่า อะไรที่เคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต (Animism) 
- เด็ก ๆ มีความคิดเชิงเวทมนตร์ (Magical thinking) คือจะมีจินตนาการแนวแฟนตาซีเกินจริง 
- เด็ก ๆ มักคิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลกัน (Phenominalistic Causality) เป็นพื้นฐานของการคิดเชื่อมโยง 
- เด็ก ๆ มักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) ตัวเอกของหนังสือที่เขาชอบก็คือตัวเขานั่นเอง 
การจินตนาการและการสร้างเรื่องจะพบมากในเด็กวัยนี้ เด็กจะชอบคิดฝันและชอบเล่นสมมติเป็นชีวิตจิตใจ เด็กมักลอกเลียนเรื่องราวในชีวิตจริงที่ได้พบเห็นและนำมาสู่โลกสมมติ เช่น เป็นครู นักเรียน พ่อ แม่ ฯลฯ หรือบางครั้งก็ลอกเลียนจากเรื่องราวที่ตนได้ยินได้ฟังจากนิทาน 
เพียเจย์ นักจิตวิทยาท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า การเล่นสมมติจะทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกพึงพอใจในตัวเอง ในการเปลี่ยนความจริงให้เป็น ความปรารถนา เป็นการก่อรากฐานทางอารมณ์และพัฒนาความคิดให้กว้างไกลออกไป เป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อมั่นในตนเอง 
การเล่นสมมติยังเป็นการฝึกให้เด็กได้คิดอย่างเสรีเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นจริงทั้งหลาย และยังช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียดได้ด้วย การส่งเสริมให้เด็กได้เล่นสมมติที่เหมาะสมกับวัยเช่นนี้ จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เมื่อเด็กโตขึ้น 
การเล่นสมมตินี้จะเป็นการคิดฝันของเด็ก แต่ถ้าเด็กเพ้อฝันมากเกินไปอาจทำให้เด็กหลุดออกไปจากโลกของความเป็นจริงและจะทำให้เกิดความสับสนระหว่าง ข้อเท็จจริง (Facts) กับ ความเพ้อฝัน (Fantasy) 
ดังตัวอย่างจากข่าวที่เด็กหญิงอายุ 6 ปี เลียนแบบการผูกคอตายจากละครเรื่องหนึ่ง หรือข่าวเด็กฟิลิปปินส์ที่แต่งกายเลียนแบบเป็นซูเปอร์แมนบินได้ก็เคยตกตึกมาแล้ว สิ่งนี้ล้วนเกิดจากจินตนาการและการเลียนแบบของเด็กที่ยังไม่สามารถแยกแยะโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการได้นั่นเอง 
วิธีส่งเสริมจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ 
1. เลือกนิทาน บทละคร ภาพวาด หรือภาพยนตร์ที่ไม่มีความรุนแรงและเหมาะสมกับวัยเด็ก โดยคุณครูควรถามความรู้สึกหรือความคิดเห็นของพวกเขาไปด้วยขณะดูหรือเมื่อจบแล้ว เพื่อเราจะได้ทราบความคิดความรู้สึกของเขาขณะนั้น ว่าเขาสามารถเข้าใจเรื่องได้ตามความเป็นจริงหรือไม่ 
2. พูดคุยกับเด็ก เป็นวิธีง่าย ๆ ที่คุณครูสามารถใช้กับเด็กได้ทันที เพื่ออธิบายให้เด็กเข้าใจ ว่าอะไรเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติ ทำไมตัวละครตัวนี้ถึงทำได้ ทำไมเราถึงทำอย่างตัวละครนี้ไม่ได้ 
3. จัดสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ปลอดภัย พร้อมทั้งส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการผ่านการเล่นอย่างเต็มที่ โดยคุณครูทำหน้าที่เพียงเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็ก และปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำการเล่นเอง เช่น เล่นต่อเลโก้ หรือบล็อก 
4. กระตุ้นพฤติกรรมที่ดี โดยอาจยกพฤติกรรมที่ดีของตัวละครขึ้นมา เช่น ป๊อบอายชอบกินผักโขมทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมกินผักของป๊อบอาย เป็นต้น 
5. จินตนาการและการเลียนแบบของเด็กเป็นสิ่งที่ดี คุณครูจึงควรส่งเสริมและดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี ไม่ให้เด็กหลุดไปอยู่ในโลกจินตนาการมากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียตามมา 


หากสนใจหาพี่เลี้ยงเด็ก สามารถติดต่อสอบถามปรึกษาเรื่อง พี่เลี้ยงเด็กพี่เลี้ยงฟิลิปปินส์ ได้ที่
เว็บไซต์ : https://www.kidnario.com
Facebook : https://www.facebook.com/KiDNARIO




Create Date : 28 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2561 13:13:15 น. 0 comments
Counter : 720 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4742812
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4742812's blog to your web]
space
space
space
space
space