Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
22 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
หลักการครองงาน

หลักการครองงาน


หลักการครองงานหมายถึง หลักธรรมข้อปฏิบัติ ให้ถึงความสำเร็จความเจริญก้าว หน้า และความมั่นคงในหน้าที่กิจการงานโดยชอบ ในการประกอบสัมมาอาชีวะ ซึ่งย่อมยังผลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงความเจริญก้าวหน้า และความสุขในชีวิต



หลัก การครองงานนั้น จะต้องเป็นหน้าที่กิจการงาน หรือเป็นการประกอบอาชีพโดยสุจริต โดยชอบธรรม จึงจะได้ผลเป็นความเจริญและความสุขในชีวิต



ถ้าเป็นหน้าที่ กิจการงาน หรืออาชีพที่ทุจริตที่ไม่ชอบธรรม เรียกว่า "มิจฉาอาชีวะ" แม้จะกระทำกิจการงานในหน้าที่หรือในอาชีพอันทุจริต ไม่ชอบธรรมเช่นนั้นได้สำเร็จ ก็ย่อมจะหาความเจริญและความสันติสุขที่แท้จริงในชีวิตได้ยาก หรือหาไม่ได้เลย เพราะความทุจริตหรือความชั่วที่ได้กระทำไปแล้วนั้น ย่อมจะให้ผลเป็นความทุกข์เดือดร้อนได้ในภายหลัง

ไม่ช้าก็เร็ว



หลักการครองงาน คือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ และความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่กิจการงาน หรือในอาชีพโดยชอบธรรมในที่นี้ ก็คือ ความเป็นผู้มีอิทธิบาทธรรม 4 ประการ ได้แก่



1. ฉันทะ ความรักงาน คือ จะต้องเป็นผู้รักงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ และทั้งจะต้องเอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน และเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำ

กิจการงาน และมุ่งมั่นที่จะทำงานของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ ต้องทำงานด้วยใจรัก จิตใจจึงมีศรัทธา มีพลังกล้าแข็ง ผลักดันให้กิจการงานที่ทำนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ ถ้าขาดใจรักที่จะทำแล้ว กิจการงานนั้นหวังความสำเร็จและความเจริญได้ยาก



2. วิริยะ ความเพียร จะต้องเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ประกอบด้วยความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่ของตน จึงจะถึงความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าได้ ผู้มีปกติเกียจคร้านในการทำกิจการงาน ไม่อดทนต่อความยาก

ลำบากแล้ว ยากที่จะกระทำกิจการใดๆ ให้สำเร็จด้วยดีได้



3. จิตตะ ความเป็นผู้มีใจจดจ่ออยู่กับการงาน ผู้ที่จะทำงานได้สำเร็จด้วยดีมี

ประสิทธิภาพ นั้น จะต้องเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจการงานที่ทำ และมุ่งกระทำงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ ไม่ทอดทิ้งหรือวางธุระเสียกลางคัน ไม่เป็นคนจับจด หรือทำงานแบบ

ทำๆ หยุดๆ เหมือนกิ้งก่าที่มีปกติคลานๆ ไปหน่อยก็หยุดเสียแล้ว ไม่มุ่งต่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางให้สำเร็จ กิจการงานจึงล้มเหลวหรือสำเร็จได้ยาก



4. วิมังสา ความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผล คือ จะต้องหมั่นพิจารณาไตร่ตรองการปฏิบัติงานของตนและของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา อยู่เสมอ เพื่อให้ทราบเหตุผลของปัญหาหรืออุปสรรคข้อขัดข้องในการทำงาน แล้วพิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ให้ถึงความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปได้



ความเป็นผู้มีอิทธิบาทธรรม คือ ฉันทะ ความรักงาน, วิริยะ ความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน, จิตตะ ความเอาใจใส่ มีใจจดจ่ออยู่กับงานในหน้าที่รับผิดชอบ และวิมังสา ความรู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการทำงาน เป็นคุณธรรมในการทำกิจการงานให้ถึงความสำเร็จ และความเจริญก้าวหน้า



บุคคล ผู้หวังความสำเร็จในหน้าที่กิจการงาน พึงหมั่นประกอบอิทธิบาท 4 นี้ไว้เสมอ จะประสบความเจริญรุ่งเรืองและความสุขในชีวิตได้ ไม่มีเสื่อมอย่างแน่นอน


สมัครงาน




Create Date : 22 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 11 ธันวาคม 2551 12:59:09 น. 2 comments
Counter : 360 Pageviews.

 
สาธุครับ
อิทธิบาท ๔ นี้มีคุณอนันต์


โดย: อัสติสะ วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:44:18 น.  

 
อาหารเสริม


โดย: อาหารเสริม (mlmboy ) วันที่: 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:20:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

danudanu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add danudanu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.