๐♥๐ My little Kyara...My ordinary miracle ๐♥๐
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
Marriage in Thailand and family reunion visa

การขอวีซ่าเพื่อสมรสในประเทศไทยและวีซ่าติดตามคู่สมรส(FAMILY REUNION VISA)



BEFORE THE MARRIAGE:

The following documents have to be presented at the Embassy of Belgium in order to enable you to marry in Thailand:

1) By the future Belgian spouse:

1 Photocopy of the bio-page of the valid Belgian international passport + all of the immigration stamps for all entries into the Kingdom of Thailand
1 Photocopy of Belgian identity card
1 certified full copy of the birth certificate by the Belgian municipality (not older than 6 months) (*), legalized by the Ministry of Foreign Affairs in Belgium.
1 Certificate of nationality, residence and civil status (by the Belgian municipality) (not older than 6 months) (*), legalized by the Ministry of Foreign Affairs in Belgium.
1 certified full copy of certificate of divorce (if applicable). (*)
1 Photocopy of Belgian identity card (recto-verso) of 2 Belgian witnesses living in Belgium + mentioning the present address in Belgium.(according to the request of the Thai authorities)
(*) The validity of all official documents is 6 months

2) By the future Thai spouse:

a. 1 Photocopy of the bio-page of the valid Thai international passport (if available).

b. 1 Photocopy of Thai identity card

These documents can be presented at the Embassy every working day between 08h00 and 11h30. If the request is completed and all legal conditions are fulfilled, the Embassy will provide you 2 documents, one “ Certificate of no diriment impediment” + Thai translation and the other “ Affidavit ” for you to complete.

The Embassy, therefore, will legalize your signature on the “Affidavit” . (Please pay for the said two documents in Thai Baht according to the exchange rate of 20 EURO « 10 EURO/document »). Only “Affidavit” has to be translated by a translation office into Thai.

Finally, the two certificates as well as the Thai translations must be presented at the Thai Ministry of Foreign Affairs (Department of Consular Affairs, Legalization Department), Chaeng Wattana Road, Laksi District, Bangkok Province 10210 for legalization. With the legalized documents, the marriage can be contracted at any Thai city hall as per your choice.

THE MARRIAGE:

The marriage can take place in a Thai municipality («AMPHOE»). After its conclusion, you will be given 2 documents in Thai:

- A Marriage Certificate.

- A true copy of the registration of the Marriage Certificate («Copy of Marriage Registration Book»).

AFTER THE MARRIAGE:

These 2 documents must me legalized by the Thai Ministry of Foreign Affairs (see address above) before they are translated in the official language of the municipality of the Belgian spouse by a recognized translation office (list at your disposal at the Embassy). Finally, they must be legalized by the Embassy (per document the counter value in Baht of 10 Euro will be required) in order to allow you to register your marriage certificate at your Belgian municipality. If the Thai spouse now wishes to apply for a family reunion visa, the following documents must be presented at the visa section of the Embassy.

V. VISA APPLICATION FOR FAMILY REUNION BY THE THAI SPOUSE

To apply for a family reunion visa, the Thai spouse should present the following documents:

a. Passport with a validity of at least 1 year on the date of application (+ 2 photocopies of the bio-page).

b. 2 Application forms, filled out completely, with 2 recent photographs with a white background

c. Proof of legal residence in Belgium of the Belgian spouse by the passport or the identity card (+ 2 photocopies) or by the original of a certificate of registration in the municipality (+ 1 photocopy). The original passport or identity card must not necessarily be presented. A copy will do.

d. 1 Certified true copy (by the Thai Ministry of Foreign Affairs) of the birth certificate, with translation that will be legalized by the Embassy.

e. The original of the marriage certificate (legalized by the Thai Ministry of Foreign Affairs)with translation that will be legalized by the Embassy.

f. 1 Certified true copy (by the Thai Ministry of Foreign Affairs) of the registration of the marriage, with translation that will be legalized by the Embassy.

g. 1 Certified true copy (by the Thai Ministry of Foreign Affairs) of the registration of divorce (if applicable) with translation that will be legalized by the Embassy.

h. The original of a certificate of good conduct (delivered in English by a Thai authority) (+ 1 photocopy) that will be legalized by the Embassy.

If the person to join in Belgium is not a citizen from E.U:

· Medical certificate for family reunion issued by a doctor recognized by the Embassy, mentioning that the applicant doesn’t have any disease that might endanger the public health (point A of the attachment of the rule of 1980 December 15th);

· Certificate of sufficient accommodation for family reunion;

· Insurance:

- Or a certificate from a National Health Service confirming that all family member of the foreigner to join can be affiliated on their arrival on the Belgian territory.

- Or (if the applicant has chosen a private insurance) the proof that the foreigner to join is affiliated to a National Health Service.

Remarks:

a) All translations must be done in the official language of the municipality where the Belgian spouse resides. A list of recognized translation offices is at your disposal at the Embassy.

b) The visa is delivered free of charge.

c) To rule out all confusion concerning the number of photocopies required, is might be good to know that one copy of the file is sent to Brussels (usually containing the originals) and one copy is kept at the Embassy. 2 photocopies are required for every document that does not remain in the file (e.g. passport).

d) All documents of which a certified true copy is required can also be presented in their original form.

e) The visa application can be granted locally (in about 3 days) or can be sent to Brussels for decision (delay of about 1 month). In the latter case, and once the decision from Brussels has arrived, the applicant will be informed by telephone by the Embassy.

f) The visa section is open every weekday from 08h15 until 11h30.

g) Additional documents, even those not featured in the list above, may be required by the Embassy!

update July 2008



ภาคภาษาไทย : ระเบียบปฏิบัติเพื่อประกอบการสมรสในประเทศไทย

ก่อนการสมรส

กรณีที่ชาวเบลเยี่ยมประสงค์จะสมรสกับบุคคลสัญชาติไทย

จำเป็นต้องยื่นเอกสารสำคัญดังระบุไว้ด้านล่าง ต่อสถานเอกอัครราชฑูตเบลเยี่ยม ดังนี้

เอกสารของคู่สมรสชาวเบลเยี่ยม

๑. สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้า รวมถึงหน้าที่มีตราประทับเข้าออกประเทศไทย

๒. สำเนาบัตรประชาชนเบลเยี่ยม

๓. สำเนาสูติบัตร ออกโดยทางราชการของเบลเยี่ยมจากที่ว่าการอำเภอ อายุไม่เกิน 6 เดือนและรับรองเอกสารโดยกระทรวงต่างประเทศเบลเยี่ยม ที่อยู่ Legalisatie : Kamerlietenstraat 27 1000 Brussel

๔. ใบรับรองสัญชาติหรือใบทะเบียนบ้านออกโดยที่ว่าการอำเภอ อายุไม่เกิน 6 เดือนและรับรองเอกสารโดยกระทรวงต่างประเทศเบลเยี่ยม

๕. ใบสำคัญการหย่า พร้อมสำเนา(ถ้ามี)

๖. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน(หน้าหลัง)ของพยานสัญชาติเบลเยี่ยมสองราย(สามีให้คุณพ่อคุณแม่เค้าเป็นพยานค่ะ) และต้องมีใบระบุที่อยู่ด้วย เนื่องจากบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิคส์ของเบลเยี่ยม จะไม่ได้ระบุที่อยู่บนบัตร แต่ที่อยู่ จะอยู่ในใบแนบ จำเป็นต้องถ่ายเอกสารมาด้วย

เอกสารที่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องมีอายุไม่เกินหกเดือน

เอกสารของคู่สมรสชาวไทย

๑. สำเนาหนังสือเดินทางหน้าแรกซึ่งยังมีอายุบังคับใช้

๒. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

## เอกสารเหล่านี้ ต้องนำไปแสดงต่อสถานฑูต ในวันและเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 08:30-11:30น เพื่อดำเนินการขอแอฟฟิดาวิด(Affidavid)หรือใบรับรองโสด อนุญาติให้ทำการสมรสกันได้ เป็นใบเบิกทาง (ต้องไปพร้อมกันทั้งสองฝ่าย เพราะจะมีการสัมภาษณ์ด้วย)

หลังตรวจสอบเอกสาร ถ้าผ่าน เจ้าหน้าที่จะให้แอฟฟิดาวิด ให้คู่สมรสฝ่ายเบลเยี่ยมกรอกเอกสารให้สมบูรณ์ พร้อมลงนามกำกับไว้เป็นสำคัญ + ฉบับแปลภาษาไทย รวมค่าดำเนินการขอแอฟฟิดาวิด 20 ยูโรค่ะ

และจะประทับตรารับรองเอกสาร พร้อมออกหนังสือส่งตัวขอใบรับรองความประพฤติให้(**)

จากนั้นให้คู่สมรสนำแอฟฟิดาวิดพร้อมคำแปลภาษาไทย ไปติดต่อขอประทับตรารับรองเอกสาร ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

(**)การขอใบรับรองความประพฤติ รายละเอียดดังนี้

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
(ฝ่ายอำนวยการ ๕ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล)
มีหน้าที่ให้บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ สำหรับประชาชน
ที่ประสงค์ไปศึกษาต่อ สมรส ทำงาน หรือขอมีถิ่นที่อยู่ ฯลฯ ยังต่างประเทศ
โดยเปิดให้บริการในวัน จันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)

ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยไม่หยุดพักกลางวัน และประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการให้บริการ

หลักฐานในการประกอบการพิจารณาออกหนังสือรับรองความประพฤติ

1. สำหรับผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศไทย
1) หนังสือเดินทาง
2) บัตรประจำตัวประชาชน
3) ทะเบียนบ้าน
4) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล (ถ้ามี)
5) ใบสำคัญการสมรส / หย่า (ถ้ามี)
6) หลักฐานทางการทหาร (สด.9 , สด.8 , สด.43ฯ)
7) หนังสือส่งตัวขอตรวจสอบประวัติจากสถานทูต
8) กรณีผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
9) กรณีไปทำงานต้องมีสัญญาจ้างจากนายจ้าง
10) ยื่นใบคำร้องด้วยตนเองพร้อมสำเนาหลักฐานทุกฉบับและรับรองความถูกต้อง
11) ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
12) ผู้ร้องสามารถมารับหนังสือด้วยตนเองหรือชำระค่าไปรษณีย์ลงทะเบียนเพื่อจัดส่งเอกสาร
13) หากผู้ร้องไม่สามารถมารับหนังสือด้วยตนเองให้ทำหนังสือมอบอำนาจแก่ผู้มารับแทน
14) ระยะเวลาดำเนินการ 7 วันทำการ ยกเว้น ตรวจสอบพบประวัติการกระทำความผิด หรือส่งมอบเอกสารไม่ครบ

ก่อน/การจดทะเบียนสมรสและหลังจากจดทะเบียนสมรส


หลังจากได้แอฟฟิดาวิด พร้อมคำแปลที่ผ่านการประทับตรารับรองเอกสารถูกต้องจากกระทรวงต่างประเทศแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดไปขอดำเนินการจดทะเบียนที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตไหนก็ได้ในประเทศไทย

โดยแสดงเอกสารทั้งสองฉบับนั้นประกอบเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานปกครอง เพื่อลงบันทึกทะเบียนการสมรสโดยละเอียด เมื่อลงบันทึกทะเบียนการสมรสเรียบร้อยแล้วเราก็จะได้

๑. ใบสำคัญการสมรส ใบสีชมพูลายดอกไม้

๒. ทะเบียนการสมรส และสำเนาทะเบียนสมรสที่มีตราประทับพร้อมลายเซ็นต์เช่นเดียวกับต้นฉบับ

แล้วยื่นคำร้องขอคัดสำเนาบันทึกทะเบียนการสมรสมาเป็นหลักฐานอีกหนึ่งฉบับ(สำเนาทะเบียนการสมรสต้องมีตราประทับรับรองสำเนาถูกต้องตามต้นฉบับพร้อมลายเซนต์เจ้าพนักงานปกครองหรือนายทะเบียนและตราประจำหน่วยงานไว้เป็นสำคัญ) แต่ถ้าจดที่เขตบางรัก เจ้าหน้าที่จะทำให้สามชุดค่ะ

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ตามปกติ หญิงชาวเบลเยี่ยม เมื่อสมรสกับชาวเบลเยี่ยมแล้ว จะไม่เปลี่ยนนามสกุลกันเท่าไหร่ เพราะมักจะยุ่งยากและโยงกับเอกสารหลายอย่าง แต่หากคู่สมรสฝ่ายชาย หรือทั้งสองฝ่าย ประสงค์จะให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลตนเอง ก็ไม่ได้มีข้อห้ามอย่างใด

แต่หากจดทะเบียนที่ประเทศไทย ในใบทะเบียนสมรสจะระบุว่าฝ่ายชายยินยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลตนเอง ซึ่งหากไม่ประสงค์จะเปลี่ยน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ให้ออกใบคร.สอง ยืนยันว่าฝ่ายหญิงใช้นามสกุลตนเอง และมีลายเซ็นต์ของสามียินยอม

ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะเมื่อแปลออกมาแล้วนำไปยื่นที่อำเภอที่ตนจะไปพำนักแล้ว อาจจะมีการขัดข้องทางเทคนิค เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของที่ว่าการอำเภอนั้นๆ จะออกบัตรให้ตามชื่อนามสกุลโดยยึดจากทะเบียนสมรสตัวที่แปลและผ่านการรับรองเอกสารแล้ว

จากนั้น นำใบสำคัญการสมรส(พร้อมสำเนา)และสำเนาทะเบียนการสมรส(พร้อมสำเนาเช่นกัน) และใบคำร้องบันทึกครั้งที่สอง(หากมี) ไปประทับตรารับรองเอกสารที่กรมการกงศุล

ก่อนนำไปแปลเป็นภาษาราชการประจำท้องถิ่นของชาวเบลเยี่ยม เช่น ดัช(แฟลมมิช) ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน (ตอนไปแปลแอฟฟิดาวิด แนะนำว่าให้เอาสำเนาสูติบัตรติดไปแปลด้วย จะได้นำไปยื่นประทับตรารับรองเอกสารพร้อมๆกัน แต่ใช้ตอนยื่นขอวีซ่าติดตามคู่สมรส เพื่อเข้ามาพำนักในราชอาณาจักร)

จากนั้น นำเอกสารทุกตัวทั้งหมดกลับมาที่สถานฑูตเพื่อรับรองเอกสารและประทับลงตรา ค่าธรรมเนียมใบละ 10 euro เอกสารเหล่านี้ ใช้เพื่อยื่นวีซ่าติดตามคู่สมรส



วีซ่าติดตามคู่สมรสและเอกสารที่ใช้


๑. หนังสือเดินทางที่มีอายุบังคับใช้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีพร้อมสำเนา 2 ฉบับ

๒. แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่า 2 ชุดพร้อมรูปถ่ายปัจจุบัน 2 รูป(ควรเป็นพื้นขาว)

๓. หลักฐานยืนยันว่าคู่สมรสมีถิ่นที่พำนักภายในประเทศเบลเยี่ยมโดยถูกต้องตามกฏหมาย เช่น บัตรประจำตัวหรือพาสปอร์ตของคู่สมรสชาวเบลเยี่ยมพร้อมสำเนา 2 ฉบับ

๔. สำเนาสูติบัตรพร้อมคำแปลที่ผ่านการรับรองจากกรมการกงศุลพร้อมสำเนา 1 ฉบับ

๕. สำเนาใบสำคัญการสมรส พร้อมคำแปลที่ผ่านการรับรองจากกรมการกงศุลและหรือสำเนาทะเบียนการหย่าและใบสำคัญการหย่า(ถ้ามี) พร้อมตราประทับรับรองสำเนาถูกต้องตามต้นฉบับจากกระทรวงการต่างประเทศพร้อมคำแปลพร้อมสำเนา 1 ฉบับ

๖. สำเนาทะเบียนการสมรส พร้อมคำแปลที่ผ่านการรับรองจากกรมการกงศุล

๗. หนังสือรับรองการสอบประวัติอาชญากร(Police Record) เจ้าหน้าที่จะออกเป็นภาษาอังกฤษให้ ไม่ต้องแปล แค่นำไปประทับตรารับรองเอกสารที่สถานฑูตพร้อมสำเนา 1 ฉบับ

เมื่อยื่นเอกสารทั้งหมดแล้ว ในกรณีที่เคยเดินทางเข้าราชอาณาจักรมาก่อนแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งว่าราวๆสามวันทำการก็จะกลับมารับเล่มได้ (ในกรณีไม่เคยเดินทางเข้าราชอาณาจักรมาก่อน จำเป็นจะต้องรอผลสามถึงสี่สัปดาห์หรือสามเดือน ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเบลเยี่ยมและไทย)

หากมีตั๋วเดินทางแล้ว(ที่ไม่ใช่ใบจอง) เอาไปแสดงวันนั้นด้วยก็ได้ แต่เจ้าหน้าที่จะไม่ขอดูเท่าไหร่ค่ะ


เพิ่มเติม หากคู่สมรสไม่ได้มีสัญชาติเบลเยี่ยมหรือมิได้มีสัญชาติในกลุ่มประเทศอียู จำเป็นต้องใช้หลักฐานเพิ่มเติมอีกดังนี้

๑. ใบรับรองแพทย์

๒. หนังสือรับรองฐานะทางการเงินว่าสามารถเลี้ยงดูคู่สมรสตนได้

๓. ประกันชีวิต



For further information :

Belgium Embassy

Sathorn City Tower - 17th floor

175 South Sathorn Road

Tungmahamek - Bangkok 10120

Opening hours and public holidays

Monday through Friday : 8 AM to 4 PM

8 15 AM to 11 30 AM (visa and administration)

Tel: +662-679.54.54

Urgencies: +6681-833.99.87

Fax: +662-679.54.67 or +662-679.54.65

website : //www.diplomatie.be/bangkok/

E-mail address : Bangkok@diplobel.org


เช็คสถานะของวีซ่า

In Nedelands :
//www.dofi.fgov.be/infovisa/nederlands/visum.htm

In Frans :
//www.dofi.fgov.be/infovisa/francais/visum.htm

For further information :

//www.diplomatie.be/bangkok








Create Date : 31 สิงหาคม 2550
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2552 1:53:25 น. 6 comments
Counter : 928 Pageviews.

 
อยากจะทราบเรื่องการขอวีซ่าติดตามคู่สมรสนะคะว่า ถ้ายื่นวีซ่าแล้วจะต้องรอนานเท่าไหร่ค่ะ กี่เดือนคะ


โดย: น้อง IP: 125.26.183.11 วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:20:30:16 น.  

 
ตามปกติแล้วหากคุณเคยเดินทางมาที่นี่ รอผลสามวันทำการค่ะ หากไม่เคยเดินทางมาที่นี่มาก่อน อาจจะต้องรอผลสามถึงสี่สัปดาห์นะคะ หรืออาจจะมากน้อยขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ค่ะ


โดย: bunny2teddy วันที่: 31 มีนาคม 2551 เวลา:0:27:54 น.  

 
ขอบคุณพี่ๆ สะใภ้เบลเยียมทุกคน โอ๋ได้ วีซ่า แล้วค่ะ
เดินทาง ศุกร์ี้ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: เกณิืกา IP: 124.120.249.187 วันที่: 10 กันยายน 2551 เวลา:21:59:35 น.  

 
พี่คะ เอกสารที่ต้องเอาไปแปลก่อนแล้วค่อยให้กงสุลประทับตราใช่ไหมคะ รบกวนตอบด่วนขอบคุณคะ


โดย: Tiggy IP: 124.121.119.25 วันที่: 29 เมษายน 2552 เวลา:19:08:32 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ เดี๋ยวนี้ รับรองเอกสาร สะดวกขึ้นเยอะเลยนะครับ


โดย: ต้าโก่ว วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:17:07:45 น.  

 
พี่ค่ะ ฝนยื่นวีซ่าติดตามสามี รอนานมาก 3เดือน17วันได้แล้วค่ะทามไมมันนานอย่างนี้ รบกวนแนะนำด้วยค่ะ


โดย: รอ IP: 58.10.92.93 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:19:06:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bunny2teddy
Location :
Heusden Belgium

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





สามปีแห่งการรอคอย
จวบจนถึงวันที่เราสองคน
ตัดสินใจจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

สามปีของการใช้ชีวิตคู่แบบ"เรา"สองคน
วันนี้อะไรๆหลายๆอย่างในชีวิตเปลี่ยนไป

"เรา"สองคน กำลังจะมีสมาชิกใหม่
สมาชิกคนที่สามของบ้าน
(บ้าน รังเล็กๆ ที่แสนจะอบอุ่นของเรา)
มาเติมเต็มความรัก ความอบอุ่น และหัวเราะด้วยกัน
ไม่ว่าจะในวันที่ทุกข์หรือสุขในใจ

เก้าเดือนนับจากนี้ไป
ชีวิตกำลังจะไม่เหมือนเดิม
เพราะคำว่า "แม่" บทบาทใหม่ในชีวิต
ช่างมีความหมาย เกินกว่าที่จะหาคำใดๆมาบรรยาย

มันฝรั่งน้อยของแม่กับปาป้า
..หนู...คือสิ่งมหัศจรรรย์เล็กๆของเรานะ
เราจะรักและดูแลหนูให้ดีที่สุดเลยจ้ะ
แม่กับปาป้า ให้สัญญา

...When you wake up everyday
Please don't throw your dreams away
Hold them close to your heart
'Cause we are all a part...

...The sun comes out
and shines some bright
And disappears again at night

It's just another
Ordinairy miracle today...



พระราชบัญญัตลิขสิทธิ์ ปี พ.ศ.2537
มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศน วัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา 16 ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา 15 (5) ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้

Friends' blogs
[Add bunny2teddy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.