Group Blog
 
 
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
22 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
3G ติดปีก ครีเอ้ โกอินเตอร์ บูม แอปไทย ฝันเข้าตลาดหุ้น


"แอป" ไทยบนเวทีโลกคงไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม เพราะจะว่าไปตลาดแอปพลิเคชั่นเปิดกว้างสำหรับทุกคนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามีแอปอะไรออกมาก็ได้ ดังนั้นกว่าจะประสบความสำเร็จจึงไม่ง่าย

"ครีเอ้" เป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาแอปสัญชาติไทยที่มองตลาดโลกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน โดยเริ่มก้าวแรกด้วยการเปิดทางให้ยักษ์มือถือมือวางอันดับ 2 ของเมืองไทย "ดีแทค" เข้ามาร่วมทุนด้วยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับนี้มีโอกาสพูดคุยกับ "ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครีเอ้ จำกัด หลากหลายแง่มุมทั้งมีต่อแผนอนาคตของพวกเขาเอง และมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นดังนี้

- สถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบัน

มีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่ประเทศไทยเริ่มมีเครือข่ายความเร็วสูงอย่าง 3G โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังดีแทคได้ให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำให้ช่วยขยายฐานผู้ใช้ในไทยมากขึ้นด้วย ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากพอ ที่จะเริ่มคิดถึงการออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ

- รายได้หลักมาจากอะไร

มาจากแอปพลิเคชั่นประเภทเซอร์วิส เราเน้นรูปแบบธุรกิจที่ลงทุนเยอะช่วงแรก แต่ได้เงินกลับมาต่อเนื่องทุกเดือน ทำแอปเกี่ยวกับระบบการสื่อสารจับ กลุ่มลูกค้าดีแทคเป็นหลัก ก่อนหน้านี้ มีแอปสมาร์ทแชท, พุชเมล์ และเพลย์กราวนด์ ล่าสุดทำโซเชียลแอปร่วมกับดีแทค เป็นแอปที่ทำให้ฟีเจอร์โฟนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กได้

รายได้อีกส่วนมาจากการรับพัฒนาแอปพลิเคชั่น มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 20% รายได้จากแอปที่ให้บริการบนดีแทค 80% คิดเป็นรายได้ปีละหลายสิบล้าน โตปีละ 10-20%

- แผนในการขยายธุรกิจ

ปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มฐานผู้ใช้โซเชียลแอปให้ถึง 1 ล้านคน และมีแผนนำไปเปิดตลาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียกลาง เพราะมีฐานผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนเป็นจำนวนมาก จะเข้าไปคุยกับผู้ให้บริการในประเทศนั้น ๆ เริ่มจากเทเลนอร์เพราะคุ้นเคยกับดีแทค แต่คงต้องเพิ่มฟีเจอร์ให้มากกว่านี้ และรอให้ตลาดในไทยอิ่มตัวก่อน ค่อยไปต่างประเทศ เพราะจะทำให้ฟีเจอร์และราคาแข่งกับบริษัทต่างประเทศได้

- การร่วมทุนกับดีแทคส่งผลต่อการ ครีเอ้อย่างไร

ดีแทคถือหุ้น 51% ตั้งแต่ปี 2551 มีจุดประสงค์ 3 ข้อ 1.เราต้องการให้ดีแทคช่วยด้านการตลาดและโปรโมต แอปพลิเคชั่น 2.ต้องการเตรียมช่องทางสำหรับขยายไปต่างประเทศ

และ 3.ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้บริษัทในฐานะเป็นบริษัทลูกดีแทคเมื่อต้องเข้าตลาดหุ้น

หลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดีแทค ทำให้งานเรามีสเกลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดดีแทคเปิด 3G ส่งผลกับเราเยอะ เนื่องจากแอปพลิเคชั่นของเราเกี่ยวกับการสื่อสาร เมื่อใช้ได้ดีขึ้นเร็วขึ้น คนอยากใช้มากขึ้น

3G ช้าทำให้ธุรกิจครีเอ้ชะลอตัวไปด้วย เพราะเราลงทุนโปรเจ็กต์เกี่ยวกับ 3G เยอะ เช่น วิดีโอสตรีมมิ่งหรือโซเชียลเน็ตเวิร์กความเร็วสูง

- คิดอย่างไรกับนโยบายแจกแท็บเลต

โดยส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างโอเค เพราะการเข้าถึงข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศเป็นเรื่องสำคัญ คอมพิวเตอร์อาจใหญ่เกินไป แต่แท็บเลตเหมือนหนังสือเพียงพอกับการใช้อินเทอร์เน็ต และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องทำให้มีอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่ายในทุกที่ด้วย

ถามว่าจะส่งผลต่อตลาดแอปพลิเคชั่นแค่ไหน คงช่วยในแง่การเรียนรู้ เพราะแท็บเลตที่แจกคงไม่ใช่เครื่องสเป็กสูง เน้นเข้าเว็บไซต์ได้ ประหยัดไฟ ทั้งตลาดแอปพลิเคชั่นผลักดันด้วยตัวผู้บริโภคเองอยู่แล้ว

- ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแค่ไหน

ได้เรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการตั้งบริษัท เพราะเราอยู่ในอาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ค่าเช่าถูก และได้รับการยกเว้นภาษี 8 ปี แต่คิดว่าโครงการที่ซิป้าทำไม่ค่อยตรงเป้า เฉพาะจุดเกินไป บางปีเน้นเกมไปต่างประเทศ อีกปีเน้นแอนิเมชั่น อีกปีเน้นโมบายแอปทำให้มีบริษัทบางกลุ่มได้ประโยชน์บางกลุ่มไม่ได้ประโยชน์ ไม่ช่วยผลักดันภาพรวมของอุตสาหกรรม

สิ่งที่อยากให้ภาครัฐทำ คือเน้นช่วยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานให้บริษัทซอฟต์แวร์ในไทย เช่น สร้างอาคารแบบซอฟต์แวร์พาร์คมาก ๆ เพราะมีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยจำนวนมากที่ต้องการเข้ามาอยู่ในซอฟต์แวร์พาร์คแต่ไม่มีที่ เตรียมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไว้ให้ใช้, เตรียมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เซิร์ฟเวอร์สำหรับอำนวยความสะดวกให้บริษัทเกิดใหม่ และพาออกไปโรดโชว์บ้าง

นอกจากนี้ ควรทำให้มีเงินทุนที่กู้ได้ง่าย เรื่องการขอบีโอไออยากให้ชัดเจนกว่านี้ เพราะกฎเข้มงวดเกินไป เหมาะกับบริษัทต่างชาติมากกว่า เนื่องจากกำหนดให้ต้องลงทุน 1 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ แต่บริษัทซอฟต์แวร์สิ่งที่ลงทุนเยอะที่สุดคือ คน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ จึงอยากให้ปรับนโยบายลดการลงทุนเหลือ 2-3 แสนก็พอแล้ว

- อุปสรรคของบริษัทพัฒนาแอปในไทย

เรื่องแรกคือ โครงสร้างพื้นฐานยังน้อย ในกรุงเทพฯอาจเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ต่างจังหวัดหรือชานเมืองยังไม่พร้อม เครือข่าย 3G และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไม่ค่อยมี 2.เรื่องเงินทุน หาเงินทุนได้ค่อนข้างยาก คนที่มีแค่ไอเดียหรือความสามารถไม่ใช่จะทำกันได้ 3.ตลาดในไทยไม่ใหญ่มาก มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนในเมือง 3-5 ล้านคน ยิ่งเป็นไอโฟนอย่างเดียวอาจมีแค่ 1 ล้านคน ตลาดเล็กเกินอาจได้ไม่คุ้มทุน หากทำควรทำในระดับตลาดโลกไปเลย ซึ่งคนไทยอาจติดปัญหาเรื่องภาษา

บริษัทในไทยส่วนใหญ่ยังเน้นรับจ้างทำแอปให้คนอื่นมากกว่าพัฒนาของตนเอง ทำให้บริษัทไทยต้องมาแข่งกันเอง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เพราะตลาดเรายังเล็ก การรับจ้างทำแอปให้บริษัทอื่นทำให้บริษัทนำผลงานมาใช้ใหม่อีกไม่ได้ ทั้งกำหนดทิศทางของบริษัทไม่ได้เหมือนทำของตนเอง

- แพลตฟอร์มที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย

ไอโอเอสและแอนดรอยด์เพราะผู้ใช้โตต่อเนื่อง แต่อาจแข่งลำบากและต้องดูโมเดลธุรกิจให้ดี ที่ไม่คิดว่าระบบปฏิบัติการอื่นน่าสนใจ เพราะมองว่าถ้าไม่ใช่บริษัทใหญ่จริง ไม่ควรลงทุนมาก ๆ กับอะไรที่ยังไม่แน่นอน ต้องดูฐานผู้ใช้ ดูว่าเขาขายได้กี่เครื่องก่อน

ตอนนี้ก็รอให้ตลาดชัดก่อนดีกว่า ศึกษาไว้ก่อนได้ แต่ถ้าลงทุนไปผูกกับระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ เลยจะลำบาก เพราะไม่รู้ว่าแบรนด์ต่าง ๆ จะตัดหางระบบของเขาเมื่อไรถ้าไม่ประสบความสำเร็จ

ด้านซิมเบียนของโนเกียหากใครทำธุรกิจบนระบบปฏิบัติการนี้อยู่แล้วก็ยังโอเค เพราะฐานผู้ใช้เยอะ แต่ถ้าเป็นบริษัทใหม่ไม่ควรทำบนซิมเบียน อาจยังดีอยู่บ้างในกลุ่มฟีเจอร์โฟน



Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 7:37:51 น. 0 comments
Counter : 366 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tangmo_tsu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add tangmo_tsu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.