|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ทุนรัฐบาลรัสเซียสาขาแพทยศาสตร์ โดยหมีพูห์~* ตอนที่2
มาเจอกันอีกครั้งครับ สำหรับทุนสาขาแพทย์ ไม่ใช่เวลาว่างเยอะแต่อยากจะนำเสนอข้อแตกต่าง หลังจากปีเตรียมขึ้นสู่ปีหนึ่ง
หลังจากผมจบปัดฟักด้วยคะแนนอันหรูหรา (ผ่านมานิดๆหน่อย -_-") ก็ได้เวลาปิดเทอมแทนที่จะกลับบ้าน แต่ก็ดันขอเงินพ่อไปเที่ยว แต่คุณพ่อก็ไม่เคยว่าอะไร เพราะขอมาแค่นิดๆหน่อยๆ ถูกกว่าค่าตั๋วกลับไทยตั้งเยอะนิ ผมก็ได้เดินทางทางรถไฟขึ้นเหนือจากรัสโตฟไปเมืองตูลาซึ่งห่างจากมอสโคว 5 ชั่วโมงทางรถไฟ โดยมีไรฮานเพื่อนลุยชาวอินโดของเราเปลี่ยนใจนั่งรถไฟมาด้วย ทั้งที่ตอนแรกพี่แกบอกจะไปรถบัสลูกเดียว แต่จุดหมายของไรฮานคือมอสโคว ก่อนถึงมอสโควห้าชั่วโมงเราจึงต้องแยกจากกัน
ตูลาเป็นเมืองหลวงของโอบลาสต์ครับ โอบลาสต์นี่ก็ประมาณว่ารัฐแหละครับ มีการปกครองส่วนตัวแต่ก็ขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ที่นี่การปกครองหลายหลากครับ เลยมีชื่อเรียกประเทศว่า สหพันธรัฐรัสเซีย กลับมาต่อที่ตูลา ก็เป็นเมืองที่เทียบกับรัสโตฟแล้วก็ยังเล็กกว่า มีประชากรเกินครึ่งล้านมานิดๆ แต่ที่น่าสนใจคือ มีเครมลิน เช่นเดียวกับมอสโคว แต่ไม่ใหญ่และหรูหราเท่าที่มอสโคว
เค้าว่ากันว่ามอสโควอันตรายสำหรับชาวต่างชาติ แต่ที่ตูลาดูเหมือนว่าจะไม่มีพิษมีภัยเลยครับ อาจจะเป็นเพราะเล็กและสงบ แต่ถึงยังไงการออกมาเดินกลางคืนหรือไปอยู่ในที่ๆไม่สมควรก็ไม่ปลอดภัยอยู่ดี
หลังจากที่มาได้เดือนหนึ่งก็มี sms มาจากกวางตามกลับไปรัสโตฟ เพราะต้องกลับไปขนของย้ายเมือง ไปเรียนต่อปีหนึ่งที่ สถาบันแพทยศาสตร์เมชนิกอฟ ที่เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ก็เลยต้องจับรถไฟกลับอย่างเร่งด่วน กลับไปเก็บข้าวของและรับเอกสารจากทางมหาวิทยาลัยที่รัสโตฟ เพื่อนในกลุ่มเดียวกันเจ็ดคนได้ไปเรียนที่เซ็นปีเตอร์สเบิร์กกันหกคน โดยมีคิงส์ลีย์ต้องเรียนรัสตอฟต่อคนเดียว แต่สี่คนที่ได้เรียนที่เดียวกันอีกสองคนก็แบ่งไปที่ ปาฟโลฟ และ มหาวิทยาลัยกุมารแพทย์ ทั้งสองที่นี่ก็มีพี่ๆคนไทย เรียนอยู่ แต่ที่เมชนิกอฟ เราจะไปเป็นคนไทยสองคนแรกที่บุกเบิกกันเลยทีเดียว (หมายถึงของทุนนี้นะครับ)
อุณหภูมิจากรัสโตฟ 30 องศา ขึ้นเหนือไปถึงเซ็นต์ ถึงขนาดต้องใส่ชุดรบเตรียมพร้อมกันเลยทีเดียว เพราะช่วงนั้นที่เซ็นต์อากาศประมาณ 10 องศาได้ ปกติที่รัสเซียจะเปิดเทอมวันที่ 1 กันยายน แต่ที่เมชนิกอฟ เปิด 1 ตุลาคม ดังนั้นเราจึงมีเวลาตรวจโรค เตรียมเอกสารจ่ายเงินค่าประกันสุขภาพ ค่าหออย่างเหลือเฟือ แต่หลังจากไปอยู่ได้ไม่นาน ความที่ไม่ชินกับอากาศหนาวแบบชื้นที่เซ็นต์ และอะไรอีกหลายๆอย่าง ก็เลยลองเข้าไปคุยกับรองคณบดี สามารถย้ายเมืองได้หรือไหม ซึ่งเป้าหมายของผมก็คือที่ตูลา ที่เมื่อปิดเทอมไปแล้วชอบใจอะไรๆอยู่หลายอย่าง
อาจจะเป็นเพราะเรื่องแปลกที่นักศึกษาขอย้ายจากเมืองหลวงอย่างเซ็นต์ไปเมืองเล็กๆอย่างตูลา การขอย้ายครั้งนี้จึงสำเร็จอย่างง่ายดาย..
มากล่าวถึงมหาวิทยาลัยแห่งรัฐตูลาหรือ Tula state university เป็นมหาวิทยาลัยรุ่นราวคราวเดียวกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในบ้านเรา คือ ม.ตูลา มีอายุมากกว่า มธ. สี่ปี และ แต่คณะแพทยศาสตร์ที่ตูลา อ่อนกว่า ของมธ. สี่ปีเช่นกัน แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าเรื่องวิชาการจะด้อยไปกว่า เพราะวิทยาศาสตร์ วิทยาการต่างๆที่รัสเซียเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับวิทยาศาสตร์โลก ยกตัวอย่างง่ายๆ ตารางธาตุก็เกิดมาจากที่รัสเซียนั่นแล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐตูลา ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐตูลา เมื่อปี 2007 คณาจารย์ก็จบมาจากทั้งเซ็นต์และมอสโคว
ที่นี่เปิดเทอม 1 กันยาไม่เหมือนที่เมชนิกอฟ ผมจึงเข้าเรียนช้ากว่าเพื่อนถึงสองสัปดาห์ และก็ไม่รู้อะไรเลยเรื่องการทำคะแนนในห้องเรียน เพื่อนร่วมกลุ่มเป็นชนชาวอาหรับจากอิสราเอลและปาเลสไตน์ แต่ไม่ยักจะทะเลาะกันเหมือนในทีวีแฮะ เล่นหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน มาถึงทำเอกสารเสร็จภายในวันแรก แต่ปันหาก็คือวีซ่าที่จะหมดภายในวันอังคาร ซึ่งวันที่ผมทำเอกสารเป็นวันจันทร์ ทางเจ้าหน้าที่ได้บอกว่าอาจจะต้องเสียค่าปรับหลายตังอยู่เหมือนกัน วันอังคาเข้าเรียนคาบแรกเคมีพื้นฐาน ทำไมนั่งหัวเด่กันสองคนในห้องเอง นึกดีใจว่ากลุ่มเล็ก พอคาบสองภาษาลาติน พอเดินย้ายตึกไปถึงห้องเรียนเท่านั้นแหละ เสียงภาษาอาหรับกระเด็นเข้าเต็มสองหูเลย ประมาณสิบสองสิบสามคนได้ที่นั่งรอเรียน เข้าเรียนช้ากว่าคนอื่นสองอาทิตย์จึงโดนอาจารย์เจ้าระเบียบบ่น วันแรกเลยไม่มีกระจิตกระใจเรียนเลยไปนั่งเล่นที่ห้องวาดรูป แล้วก็กลับไปพักผ่อน หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไรครับ ปรับตัว ไม่นานอาทิตย์ต่อๆมาก็มีเพื่อนชาวทาจิกิสถานเข้ามา พวกนี้พูดภาษารัสเซียเป็นต่อยหอยเลย แถมอีกคนก็มีแม่เป็นรัสเซีย จึงเบาใจว่าเรามีเพื่อนมีคนให้คอยถามแล้ว เพราะอาหรับพูดก็ไม่คล่องสำเนียงสำหรับเราฟังแล้วไม่เข้าใจนัก แต่ก็สามารถผ่านเทอมแรกมาได้อย่างหวุดหวิดด้วยคะแนนเส้นยาแดงผ่าแปด เกือบทั้งสิ้น ยกเว้ยคอมพิวเตอร์และภาษารัสเซีย ที่ได้ดีมาหน่อย โดยเฉพาะภาษารัสเซียอาจารย์ให้คะแนนเลยโดยไม่ต้องเข้าสอบ เพราะร่วมกิจกรรมและเข้าเรียนอย่งสม่ำเสมอ จึงมีเวลาไปเตรียมตัวและสอบวิชาอื่น อาจจะเพราะเนื่องด้วยเข้าช้าไม่รู้วิธีการคิดคะแนนและไม่เข้าหาอาจารย์เท่าไหร่เลยเป็นเช่นนี้ ตอนนี้ก็รู้แล้วเลยฟิตเก็บคะแนนมาเยอะพอสมควร
มาว่ากันถึงวิชาเรียนเลยดีกว่าครับ ในปีหนึ่งเทอมแรกเรียนกันทั้งหมด 11 วิชา
ภาษารัสเซีย ทบทวนเรื่องเดิมๆ เพิ่มเติมเรื่องใหม่ๆไม่มีอะไรมากเรียนกันถึงปีสี่เลย ภาษาลาติน อะไรกันนี่ภาษารัสเซียยังไม่คล่องมาเรียนภาษาลาตินด้วยภาษารัสเซียจะเข้าใจไหมหนอ วิชานี้เรียนเกี่ยวกับศัพท์ทางการแพทย์ซึ่งเทอมแรกเป็นเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะอนาโตมี่ อนาโตมี่ นั่งจำชื่อเรียกสองภาษา รัสเซียและลาติน ซึ่งจะเรียนกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ จากของจริง ชีววิทยา เรียนกันแบบม.ปลาย และลึกกว่านิดหน่อยเกี่ยวกับเซลล์การแบ่งเซลล์ การขยายพันธ์ เคมีพื้นฐาน พื้นฐานเคมีทางการแพทย์ เอนโทรปี เอนทาปี ปฏิกิรยาเคมีต่าง ชีวเคมีอินทรีย์ พื้นฐานเคมีอินทรีซึ่งใช้ต่อยอดในวิชาเคมีอินทรีย์ในปีสอง ฟิสิกส์ กลศาสตร์และก๊าซในอุดมคติ คณิตศาสตร์และสารสนเทศ ชื่อวิชาหลอกกันชัดๆครับที่จริงมันคือ แคลคูลัสของบ้านเราชัดๆเลยวิชานี้ฆ่าผมไปแล้ว สารสนเทศ(คอมพิวเตอร์) เรียนทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งชื่อเรียกเป็นภาษารัสเซียหมดเลย ขยันตั้งชื่อกันจริงๆ พละศึกษา เข้าไปแบบเป้นโรงยิมครับเล่นอะไรก็ได้ ได้ครั้งละสามคะแนนเก็บกันไปเรื่อยๆเลย ประวัติศาสตร์รัสเซีย วิชานี้อีกแล้วเหมือนตอนปัดฟักเด๊ะเลย ก็ผ่านมาได้นั่งเล่าตั้งแต่เมืองหลวงอยู่ที่เคียฟนู่นเลย
ก็ไม่มีอะไรมากครับ ตอนนี้เรียนเทอมสองอยู่ไว้เรียนจบแล้วจะมาเล่ากันอีกที เอารูปมาฝากกันอีกแล้ว ไม่ได้น่ากลัวอะไรเหมือนคราวก่อน ขอให้โชคดีกันทุกคนครับ ชื่อ : ภูวดล วิรุฬห์ลือชา ศึกษาที่ : Medical Institute of Tula state university ระดับ : ปีหนึ่ง ือีเมล์ : shuseizz@msn.com
Create Date : 21 มีนาคม 2552 |
Last Update : 21 มีนาคม 2552 17:11:19 น. |
|
9 comments
|
Counter : 1109 Pageviews. |
|
|
|
โดย: *omega* วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:58:15 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:12:19 น. |
|
|
|
โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:30:37 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:37:29 น. |
|
|
|
โดย: ColdOut วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:20:16 น. |
|
|
|
โดย: นิกกี้ (N_silk ) วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:17:18:57 น. |
|
|
|
โดย: คนไข้ ใจนักเลง (พี่รี่+ต๊อก ) วันที่: 23 สิงหาคม 2552 เวลา:20:04:12 น. |
|
|
|
|
|
|
|
จะเข้ามาอ่านบ่อยๆนะครับ สนุกดี
ว่าแต่แพทย์ศาสตร์ทางโน้นเรียน 6 ปีเหมือนเรารึเปล่าครับ