พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
''หมอนอิง'' ไอเดียร่วมสมัยขายลื่น

''หมอนอิง'' ไอเดียร่วมสมัยขายลื่น

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555 เวลา 00:00 น.

ใจจรักและความชอบมักเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้หลายคนหันมาทุ่มเทเอาจริงเอาจังในสิ่งที่รักที่ชอบ และหลายครั้งความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังก็ยังสามารถทำให้งอกเงยเป็น ’ช่องทางทำกิน“ ได้อย่างน่าสนใจ ยิ่งกับคนช่างสังเกต รู้จักศึกษามองหาช่องว่างของตลาด โอกาสที่จะทำเงินก็ยิ่งเพิ่ม อย่างเช่นงานไอเดียช่างคิดประดิษฐ์ ’หมอนอิง“ รายนี้...
  
“อรุณโรจน์ บุญฉลอง” เพิ่งเรียนจบมาได้ไม่นาน ซึ่งด้วยความที่เป็นคนชอบงานศิลปะกับเป็นคนช่างคิดประดิษฐ์ จึงชอบสินค้าประเภทงานฝีมือเป็นอย่างมาก ตั้งใจไว้ว่าเมื่อเรียนจบแล้วอยากจะผลิตงานฝีมือของตนเองขึ้นมาทำเป็นธุรกิจ และด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องของเทคโนโลยีไอทีด้วย จึงมองว่าปัจจุบันตลาดจำหน่ายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ซ น่าจะเหมาะสำหรับคนที่คิดเริ่มต้นทำธุรกิจ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในเรื่องของหน้าร้าน การเปิดร้านตกแต่งร้าน สามารถจะใช้รูปแบบการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย จึงทำให้เกิดธุรกิจ “หมอนอิง” ขึ้นโดยใช้ชื่อ “ฉลองหมอนอิง” จำหน่ายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ //www.chalongpillow.weloveshopping.com

สาเหตุที่เลือกทำงานหมอนอิงนี้ เธอเล่าว่า ได้แรงบันดาลใจจากการเห็นของขวัญของฝากที่ขายตามท้องตลาด เลยคิดว่าเป็นสินค้าที่มีตลาดน่าสนใจ บวกกับความชื่นชอบในความน่ารักของสินค้าประเภทนี้ จึงคิดว่า “หมอนอิง” ขนาดไม่ใหญ่มาก น่าจะสามารถทำตลาดในกลุ่มของขวัญ-ของที่ระลึกได้ โดยหมอนอิงที่ผลิตขึ้น “มีจุดเด่นที่รูปแบบ” ที่เน้นไปที่การ ขายความน่ารัก ความกวนของตัวการ์ตูนต่าง ๆ อาทิ ตัวสัตว์ประหลาดหรือมอนสเตอร์ 

นอกจากนี้ ยังมีบริการให้ ลูกค้าสามารถที่จะใส่ข้อความไว้ด้านหลังหมอนอิงได้ เช่น ใส่ชื่อคนที่จะมอบให้, ชื่อคนรัก, วันเดือนปีเกิด เป็นต้น อีกทั้งลูกค้ายังสามารถสั่งทำหมอนอิงแบบชนิดหมอนคู่ได้อีกด้วย

“เน้นขายที่ความน่ารักและความกวนของตัวการ์ตูนที่ทำขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าเราหลัก ๆ ก็จะเป็นกลุ่มคนวัยเดียวกัน คือกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ซึ่งกลุ่มนี้จะชอบสินค้าที่ไม่ใหญ่เกินไปนัก และมีราคาที่ไม่สูงมาก นอกจากนี้ก็จะชอบงานที่ไม่ซ้ำใคร รวมถึงรูปแบบที่ดูแปลกตา” อรุณโรจน์กล่าว

ในเรื่องช่องทางในการจำหน่ายสินค้า เจ้าตัวบอกว่า ช่องทางจำหน่ายตอนนี้ก็เน้นที่การขายชิ้นงานทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมองว่าคนรุ่นใหม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมาก ลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการก็น่าจะสามารถเข้ามาชมสินค้า และสามารถเข้าถึงได้ง่าย บวกกับในระยะเริ่มต้นการเปิดร้านค้าแบบออนไลน์ก็มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเปิดร้านจริงมาก

จุดอ่อนที่จะมีอยู่บ้าง ก็น่าจะเป็นเรื่องของความรู้สึกลูกค้า ที่มักอยากจะลองจับหรือได้เห็นสินค้าจริง โดยปัจจุบันสินค้าที่ทำขึ้นมาขายนั้นจะยังเน้นที่การผลิตหมอนอิงเป็นหลัก แต่ในอนาคตก็อาจจะเพิ่มสินค้าประเภทอื่นเข้ามาให้มากขึ้น เพื่อทำให้เกิดความหลากหลาย เช่น หมอนรองนั่ง, หมอนรองคอ, พวงกุญแจ, ที่ห้อยโทรศัพท์ เป็นต้น

ทุนเบื้องต้นอาชีพนี้ อรุณโรจน์ บอกว่า อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ คือ จักรเย็บผ้าและผ้า ส่วนทุนวัสดุอยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย โดยสินค้ามีเริ่มต้นที่ 250-500 บาท หรือแล้วแต่ออร์เดอร์ที่ีลูกค้าสั่ง

วัสดุอุปกรณ์ในการทำ หลัก ๆ ประกอบด้วย จักรเย็บผ้า, ผ้า สีและชนิดต่าง ๆ, วัสดุตกแต่ง เช่น กระดุม โบ ริบบิ้น ผ้าลูกไม้, เข็มกับด้าย, กรรไกร, คัตเตอร์, ใยสังเคราะห์ สำหรับยัดในหมอน ซึ่งวัตถุดิบหรือวัสดุเหล่านี้สามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายอุปกรณ์งานผ้าและงานฝีมือได้ทั่วไป  

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการออกแบบรูปแบบของหมอนอิงที่จะทำ โดยใช้การวาดร่างบนกระดาษเพื่อกำหนดแบบไว้ก่อน จากนั้นนำผ้าที่เลือกไว้มาตัดขึ้นแบบตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยอาจใช้วิธีตัดเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ไว้ทีเดียวหลาย ๆ ชิ้นเพื่อประหยัดเวลาในการทำ จากนั้นนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บเข้ามุมไว้ด้วยกันจนขึ้นรูปเป็นปลอกหมอน
ลำดับถัดมาคือการตกแต่งตามจินตนาการ ตามไอเดีย ด้วยวัสดุตกแต่งที่เตรียมไว้ จากนั้นยัดใยสังเคราะห์ที่เตรียมไว้ข้างในตัวหมอนอิง ทำการเย็บปิดและตรวจเช็กความเรียบร้อย เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำงาน “ผ้าที่ใช้จะเน้นที่ลวดลายแปลก ๆ สีสันสดใส และจะเลือกใช้ผ้าเกรดดี ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงหน่อย แต่ก็จะได้คุณภาพของชิ้นงานที่แข็งแรงทนทานขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและไว้ใจในสินค้า ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับการจำหน่ายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ” อรุณโรจน์กล่าว

ใครสนใจชิ้นงาน ’หมอนอิง“ ของอรุณโรจน์ อยากจะดูรูปแบบสินค้าที่หลากหลาย ก็คลิกเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ที่ระบุไว้แต่ตอนต้น หรือต้องการติดต่อกับผู้ทำก็ติดต่อได้ที่ โทร.08-0952-9914 หรือทางอีเมล arunrod_b@yahoo.com ซึ่งนี่ก็เป็นอีกกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ ที่เกิดจากใจรัก-ความชอบ และการศึกษาเรื่องการตลาด ที่ก็น่าสนใจ.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ เรื่อง - ภาพ

ขอบคุณ เดลินิวส์




Create Date : 10 พฤษภาคม 2555
Last Update : 10 พฤษภาคม 2555 16:44:28 น.
Counter : 1671 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

BIG MANGO
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]