|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
ช้อปปิ้งออนไลน์ ฉุดอัตราเช่าพื้นที่ค้าปลีก |
|
ช้อปปิ้งออนไลน์ ฉุดอัตราเช่าพื้นที่ค้าปลีก
ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันไป "ช้อปปิ้งออนไลน์" มากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าว เริ่มเข้ามาปั่นป่วนพื้นที่ค้าปลีก ทั้งในเชิงอัตราการเช่า ค่าเช่า และการเปิดพื้นที่ค้าปลีกในอนาคต ที่ส่อจะมีแนวโน้มลดลงในอนาคต ที่ส่อจะมีแนวโน้มลดลงในอนาคต
ตามข้อมูลจาก บริษัทฟินิกซ์พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์คอนซัลแทนซี่ สำรวจอัตราการเช่าพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ ณ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ระบุว่า อัตราการเช่าพื้นที่ค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 93% มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้าเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3-5 % สะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวของกำลังซื้อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการขยายร้านค้า และการเช่าพื้นที่ในโครงการพื้นที่ค้าปลีก
บริษัทนี้ยังให้ความเห็นว่าแบรนด์สินค้า หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ หรือจากต่างประเทศจะมองหาช่องทางในการขยายสาขามาประเทศไทย แต่ก็อีกไม่น้อยที่เปลี่ยนแผนไปขายทางออนไลน์ หรือเป็นธุรกิจออนไลน์มากขึ้นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากการเปิดร้านแบบในอดีต ซึ่งการแข่งขันในโลกออนไลน์มีผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่มีแนวโน้มสูญเสียผู้เช่าต่อเนื่องในอนาคต
จากสถานการณ์ดังกล่าว ยังทำให้ค่าเช่าเปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะผู้ประกอบการต้องการให้โครงการของตนเองมีร้านค้าเช่าเต็มก่อน ค่าเช่าจึงไม่ได้แตกต่างจากโครงการอื่น ๆ มากนักโครงการในพื้นที่เมืองชั้นในมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,600 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่ในบางพื้นที่ของบางศูนย์การค้าก็อาจจะขึ้นไปถึงมากกว่า 4,000 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่เป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยเท่านั้นค่าเช่าของโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่อยู่นอกเมืองมีค่าเช่าเฉลี่ยที่ประมาณ 1,300 บาทต่อตารางเมตร แต่มีบางพื้นที่ในบางโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ที่ค่าเช่าอาจจะเพียง 300 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนเท่านั้น เพราะผู้ประกอบการเจ้าของโครงการต้องการให้มีผู้เช่าเต็มพื้นที่
ขณะที่พื้นที่ค้าปลีกที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จในอนาคตมีทิศทางลดลงชัดเจน แม้ว่าในปี 2565 จะมีโครงการพื้นที่ค้าปลีกจำนวนมากมีกำหนดเปิดให้บริการในปีนั้น แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้หากชอปปิ้งออนไลน์ที่เข้ากินส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้นในอนาคต
ผู้ประกอบการโครงการพื้นที่ค้าปลีกจึงเลือกที่จะชะลอการพัฒนาโครงการใหม่ และปรับรูปแบบของโครงการที่อยู่ในแผนการพัฒนาของตนเองให้แตกต่าง และโดดเด่นจากที่ผ่านมามากขึ้น เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับโครงการของตนเองเมื่อต้องแข่งขันกับโลกออนไลน์
Create Date : 23 ตุลาคม 2562 |
Last Update : 23 ตุลาคม 2562 4:47:14 น. |
|
0 comments
|
Counter : 23522 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|