space
space
space
<<
พฤษภาคม 2560
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
19 พฤษภาคม 2560
space
space
space

วิธีปลูกลองกองคุณภาพดี


 วันนี้มาแนะนำเพื่อนๆสำหรับใครที่ต้องการปลูกลองกองไปดูข้อมูลกันเลยค่ะ
ลองกอง เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ดังนั้นสภาพอากาศที่ปลูกลองกอง ควรมีอากาศร้อนและชุ่มชื้น
อัปเดท ( 22 พฤษภาคม 2554 ) , เข้าชมแล้ว (37,080) , ความคิดเห็น (1) , สั่งพิมพ์คลิกที่นี่
ลองกอง

ลองกอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lansium domesticum Corr.

แหล่งปลูกที่เหมาะสม
ลองกองเป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ดังนั้นสภาพอากาศที่ปลูกลองกองควรมีอากาศร้อนและชุ่มชื้น
• อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส
• ความชื้นในอากาศ 70- 80%
• ปริมาณน้ำฝน 2000-3000 มิลลิเมตรต่อปี
• ระดับความสูงน้อยกว่า 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำดี และต้องมีแหล่งน้ำเพียง พอที่จะให้กับลองกองตามเวลาที่ต้องการ

การปลูก
ลองกองสามารถปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดโดยตรง หรือต้นกล้าที่เปลี่ยนยอดแล้ว การเปลี่ยนยอดทำได้หลายวิธี คือ การเสียบยอด การเสียบข้าง การทาบกิ่ง และติดตา ก่อนปลูกลองกอง ควรเตรียมพื้นที่วางระบบน้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงาให้เรียบร้อย

การเตรียมต้นกล้า
ต้นกล้าที่ใช้ควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปี สมบูรณ์แข็งแรง ใบยอดคู่สุดท้ายแก่เต็มที่ ก่อนปลูกค่อย ๆ งดน้ำและปุ๋ย และเพิ่มแสงให้มากขึ้นทีละน้อย

การปรับพื้นที่
ควรขุดตอและรากไม้เก่าออกให้หมด ไถตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปรับพื้นที่ให้เสมอ

การวางระบบน้ำ
การปลูกลองกองเป็นการค้า จำเป็นต้องมีระบบน้ำ ควรใช้ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกอร์)

ระยะปลูก
ถ้าปลูกแซมกับพืชอื่นระยะปลูกที่ใช้ขึ้นกับพืชหลัก (พืชประธาน) ถ้าปลูกเป็นพืชเดี่ยว ควร ใช้ระยะระหว่างต้น 4-6 เมตร และระหว่างแถว 6-8 เมตร
พืชที่ให้ร่มเงา
ปลูกในสวนที่ปลูกลองกองพืชเดี่ยว เช่น กล้วย ยอป่า ทองหลาง แคฝรั่ง และสะตอ เป็นต้น และควรมีพืชบังลม เช่น กระถิน ไผ่ และสน รอบ ๆ สวนด้วย

การเตรียมหลุมปลูกขึ้นกับสภาพของดิน และการวางระบบน้ำ
• กรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การขุดหลุมไม่จำเป็นต้องทำ หลังจากกำหนดแนวและจุดปลูกแล้ว ให้โรยหินฟอสเฟต 500 กรัม (ประมาณ 1.5 กระป๋องนมข้น) พรวนคลุกกับหน้าดินให้เข้ากัน
• ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุมขนาด กว้าง ลึก และยาว ด้านละ 50 ซม. ใส่ปุ๋ยคอก 1 ปี๊บ และหินฟอสเฟต 1.5 กระป๋องนมข้น คลุกกับดินที่ขุดหลุมแล้วกลบคืนลงในหลุม 2ใน3 ของหลุม

ฤดูปลูก
ควรปลูกต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) แต่ถ้ามีน้ำรดเพียงพอก็สามารถปลูกในฤดูร้อนได้
การปฏิบัติดูแลหลังจากปลูก
หลังจากปลูกควรมีวัสดุคลุมโคน เช่น ฟางข้าว แกลบ ใบกล้วย หรือทางมะพร้าว และทำร่มเงาโดยใช้ ตาข่ายพรางแสง ทางมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน

การดูแลรักษา

การให้น้ำ
ควรให้อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ฝนทิ้งช่วง ในต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้น้ำสม่ำเสมอ จนกระทั่งแก่เต็มที่ จึงจะลดปริมาณน้ำและงดให้น้ำในที่สุดเพื่อกระตุ้นให้ลองกองสร้างตาดอก หลัง จากนั้น 30-50 วัน จึงเริ่มให้น้ำ

การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี หว่านปุ๋ยบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30 ซม. พรวนดินกลบ และใส่หลังจากตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืช
ปริมาณที่ใส่ขึ้นกับอายุและขนาดของต้น

ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กก./ต้น ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 150-200 กรัม/ต้น
ปีต่อ ๆ ไป(ยังไม่ให้ผลผลิต) ใส่ 2 ครั้ง/ปี ต้นและปลายฤดูฝน
• ใส่ปุ๋ยคอก 15-50 กก./ต้น/ครั้ง และปุ๋ย15-15-15 อัตรา 0.5-3.0 กก./ต้น/ครั้ง
• ใช้ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 1.0 เมตร ใส่ปุ๋ย 1.0 กก

ก่อนออกดอกประมาณ 2 เดือน(ประมาณดือนมกราคม เมื่อลองกองมีใบแก่)
• ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 2 ก.ก./ต้น
• พ่นปุ๋ยเกล็ด 10-52-17 อัตรา 2 ช้อนแกง/ น้ำ 20 ลิตร
• ใส่ปุ๋ยคอก 10-20 ก.ก./ ต้น
ระยะที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 3-5 กก./ต้น
ถ้าการแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอ หรือแตกช้า ควรพ่นด้วย 46-0-0 อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

การตัดแต่งกิ่งควรตัดแต่งกิ่งแห้ง เป็นโรค และกิ่งกระโดงออก

การตัดแต่งช่อดอก
ควรทำในระยะที่ช่อดอกยาว 5-10 ซม. (สัปดาห์ที่ 3-5) ตัดให้เหลือ 1 ช่อต่อหนึ่งจุด (โดยให้แต่ละช่อห่างกัน 10-15 ซม.) แล้ว เลือกตัดช่อบริเวณปลายกิ่งที่มีขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 ซม.) ช่อที่ชี้ขึ้นบน ช่อที่สั้นและไม่สมบูรณ์ออก จำนวนช่อต่อต้นขึ้นกับขนาดทรงพุ่ม อายุ ความสมบูรณ์ของต้น
การตัดแต่งช่อผล
ควรทำเมื่อผลมีอายุ 2-3 สัปดาห์หลังดอกบาน ตัดช่อที่มีผลร่วงมาก และช่อที่ผลเจริญเติบโตช้า ควรตรวจช่อผล ถ้าหากมีผลแตกหรือผลที่แคระแกร็น ควรเด็ดออกเพื่อให้ผลในช่อมีขนาดสม่ำเสมอ

การกำจัดวัชพืช
ควรใช้วิธีการตัด หรือถาก ขุด หรือถอน หลีกเลี่ยง การใช้สารเคมี

แมลงและการป้องกันกำจัด

หนอนชอนใต้เปลือกผิว
ป้องกันกำจัดโดย
1. ใช้ไส้เดือนฝอยพ่น ความหนาแน่น 2,000 ตัว/น้ำ 1 มล. จำนวน 3-5 ลิตร สำหรับต้นเล็ก และ 5-7 ลิตร สำหรับต้นใหญ่ ต้องพ่นตอนเย็น (หลัง 5 โมงเย็น) และพ่นน้ำเปล่าให้ต้นลองกองเปียกก่อนจึงจะพ่นไส้เดือนฝอย
2. ขุดผิวเปลือกออก แต่ต้องเป็นบริเวณที่ไม่มีตาดอก
3. ใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น มดง่าม กระแต กระรอก และตัวห้ำ

แมลงวันทอง
ป้องกันกำจัดโดยใช้สารฟีโรโมนล่อ พ่นสารยีสต์โปรตีนไฮโดรไลซีส ใช้กับดักกาวเหนียว และการห่อผล เป็นต้น
ผีเสื้อมวนหวาน
เข้าทำลายเมื่อผลลองกองสุก แก้ไขโดยใช้หลอดไฟล่อแมลง กรงกับดัก การรมควันไล่ และการห่อผล เป็นต้น
เพลี้ยแป้ง
ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยไวท์ออย

โรคและการป้องกันกำจัด

โรคราดำ
เกิดจากเชื้อรา เชื้อราจับที่ผลทำให้ผลมีสีดำ คล้ายเขม่าติดอยู่ ระบาดมากในสภาพอากาศแห้ง และเย็นป้องกันกำจัดโดย พ่นด้วยกำมะถันผง หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ และเมื่อผลโตพ่นด้วยคาร์เบนดาซิม

โรคราแป้ง
ระบาดในสภาพอากาศชื้น เชื้อราปกคลุมบริเวณขั้วผล และกระจายไปทั่วผล คล้ายแป้งสีขาว ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยกำมะถันผง และคาร์เบนดาซิม

โรคราสีชมพู
ทำให้ใบและยอดแห้งตาย มีราสีขาวแกมชมพูเจริญรอบกิ่งที่ตายและเปลือกล่อนจากกิ่ง
ป้องกันกำจัดโดย ตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และกิ่งที่ตายออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง แล้วพ่นด้วย แมนโคเซป หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

การเก็บเกี่ยว
ช่วงอายุที่เหมาะสมกับการเก็บ
ผลลองกองแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว หลังจากดอกบาน 12-13 สัปดาห์ (180-200 วัน)

วิธีการเก็บ
ควรใช้กรรไกรตัดช่อผลเพื่อไม่ให้กิ่งช้ำ ช่อดอกที่เจริญในปีต่อไปไม่ถูกทำลาย

เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว
ควรมีการแต่งช่อผลตัดผลที่เน่า ผลแตกและผลแกร็นออก แล้วเป่าด้วยเครื่องเป่าลม ทำความสะอาดแล้วผึ่งลมให้ผิวเปลือกแห้ง จากนั้นคัดขนาดและจัดเกรด เกรดเอ ผลมีขนาดสม่ำเสมอ มี 2-3 ผลต่อ 100 กรัม ช่อผลมีน้ำหนัก 0.7 กก. ผลสีเหลืองนวล เปลือกนิ่ม กลิ่นหอม เนื้อในสีใสเป็นแก้ว

การเคลือบผิว
จะช่วยลดการคายน้ำ ทำให้เก็บรักษาได้นานขึ้น

การบรรจุหีบห่อ
กล่องที่ใช้ควรเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก 2 ชั้น ฝาสวมทับ ขนาด 24x42x30 สามารถบรรจุได้ 10 กก. การบรรจุไม่ควรใส่ให้แน่นเกินไป มีกระดาษฝอยอัดระหว่างช่อผลกันการกระแทก ไม่ควรใส่ใบลองกองลงไปในกล่อง

อ้างอิง : //it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=40




Create Date : 19 พฤษภาคม 2560
Last Update : 19 พฤษภาคม 2560 12:12:04 น. 0 comments
Counter : 13511 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 3781317
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3781317's blog to your web]
space
space
space
space
space